Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการวิจัยบทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
ที่มาและความสำคัญ

ข้อมูลองค์การสหประชาชาติที่คาดประมาณจำนวนการเกิดในแต่ละปีว่าจะมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือน้อยกว่า 500,000 รายต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2588-2593 (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ, 2559: ออนไลน์) และจากการสำรวจพัฒนาการของเด็กไทยในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะเด็กอายุ 3-5 ปี ที่ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กยังมีพัฒนาการล่าช้าทางด้านภาษา ซึ่งมีผลทำให้เด็กเมื่อเข้าเรียนแล้วอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ได้ รวมไปถึงคิดไม่เป็น (กระทรวงสาธารณสุข, 2559) นอกจากนี้ข้อมูลของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (2559: ออนไลน์) ยังพบว่าในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในประเทศไทยมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) ขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า โดยเฉพาะการไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและเกลือแร่ที่มีผลต่อสมอง 2) ปัจจัยการเลี้ยงดูหรือคนเลี้ยงมีปัญหา และ 3) การใช้สื่อโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และครอบครัวในสังคมไทยเองต่างมีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่ในครอบครองกันมากขึ้น โดยครัวเรือนไทยที่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในครอบครัวมากถึงร้อยละ 68.2 และมีแท็บเล็ตคิดเป็นร้อยละ 24.6 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2559) ทำให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันกับเด็กจนกลายเป็นเรื่องปกติ เด็กในยุคนี้จึงเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างสะดวกจากการเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของพ่อแม่หรือของตนเองที่พ่อแม่ซื้อให้

ผลจากการวิจัยของสหรัฐอเมริกาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กชี้ว่า พ่อแม่ยังไม่ควรให้เด็กปฐมวัยเล่นสมาร์ทโฟนและหรือแท็บเล็ต เพราะในช่วงเด็กทารกถึงวัย 2 ขวบ สมองของเด็กมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว และสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาของสมอง หากเด็กใกล้ชิดกับเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตหรือโทรทัศน์ อุปกรณ์ดังกล่าวจะชะลอการเติบโตของสมองรวมถึงทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น เอาแต่ใจตัวเองมากขึ้น เพราะควบคุมตัวเองได้น้อยลง (Cris Rowan, 2015) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2559: ออนไลน์) ที่สะท้อนแนวคิดไว้ว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ยังไม่มีงานวิจัยใดรองรับว่าการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะมีประโยชน์ในเด็กกลุ่มนี้ ดังนั้นการใช้สื่อเหล่านี้สำหรับเด็กปฐมวัยจึงควรอยู่ในการกำกับดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรควบคุมระยะเวลาที่เด็กใช้ และมีการพูดคุยหรือเล่นกับเด็กขณะที่กำลังเล่นอุปกรณ์ดังกล่าว

จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยยังไม่พบงานวิจัยที่ทำการศึกษาการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัยโดยตรง ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงสนใจว่า จะมีแนวทางใดบ้างที่จะส่งเสริมให้ครอบครัวเด็กปฐมวัยรู้เท่าทันสมาร์ทดีไวซ์และใช้สมาร์ทดีไวซ์เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาในเขตพื้นสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร และทำการศึกษากับเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา เขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร
วัตถุประสงค์

มีวัตถุประสงค์หลักข้อที่ 2 ของงานวิจัยคือ ค้นหาแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาเป็นคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2562-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 จัดทำการวิจัยเชิงคุณภาพ

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 จัดทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

– ศูนย์อนามัยที่ 3 จ.นครสวรรค์

– โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

– สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

– คลินิกกิจกรรมบำบัดนครสวรรค์ บ้านครูมด คลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

– มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

– คลินิกเด็ก หมอธนาธรณ์

– โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต

– Rose Marie Academy School

– โรงเรียนระดับอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 30 แห่ง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 คณะวิจัยทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม กับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34 คน ซึ่งผลการศึกษาทำให้ได้ข้อสรุปของ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม” โดยผู้วิจัยนำเสนอไว้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลสรุปสาระสำคัญ และสรุปประเด็นสำคัญด้วยอินโฟกราฟิก และคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟน

 

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 เป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเป็นการต่อยอดจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ได้แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมมาแล้ว ในระยะนี้จะทำการทดสอบว่าแนวทางที่ออกแบบไว้สามารถปฏิบัติได้จริงและสัมฤทธิ์ผลได้หรือไม่ อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว กลุ่มทดลองนำแนวทางและเครื่องมือที่โครงการออกแบบไว้ไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยระหว่าง 3 เดือนนี้จะมีนักวิจัยที่เป็นพยาบาลคอยให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แล้ววัดผลการเปลี่ยนแปลงว่าเด็กลดการใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บลงอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 30 นาทีต่อวัน สำหรับกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆ อย่างไรก็ดีโครงการวิจัยเก็บข้อมูลของกลุ่มควบคุมไว้เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง

 

แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ในกลุ่มทดลองระหว่าง 3 เดือน

เมื่อทำการทดลองแล้วเสร็จ ผลของค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการใช้สมาร์ทดีไวซ์เฉลี่ยต่อวัน ของเด็กที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองเชิงปฏิบัติการ (n=29) มีดังนี้

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการออกแบบ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม”

– จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน

– ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34

2) อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม – ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

รายการสื่อของโครงการที่เผยแพร่ผลงานวิจัยที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ ใช้เวลาสั้น กระชับ

VDO1:
แนะนำโครงการ “บทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย”
VDO2:
ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO3:

แนะนำวิธีแก้ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO4:

เล่าประสบการณ์ลดเวลาเล่นมือถือลูกสาววัย 3 ขวบ

VDO5:

แชร์ประสบการณ์แก้ปัญหาลูกวัย 4 ขวบติดแท็บเล็ต

VDO6:

ลดเวลาเล่นมือถือของหลานชายจากเล่นทั้งวัน เหลือ 1-2 ชม.

Poster:

ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้ได้อย่างเหมาะสม

Infographic:

สถานการณ์การใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กไทยอายุ 2-5 ปี

Infographic:

วิธีการแก้ปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

คู่มือ:

จัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นการช่วยยืนยันแนวทางในการปฏิบัติที่ได้จากการค้นหาคำตอบในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครอบครัวเด็กปฐมวัย ที่จะมีแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทดีไวซ์ที่ครอบครัวสามารถปฏิบัติได้จริง

Web link https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/การใชสมารทดไวซในเดก?authuser=0
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 17 : Partnerships for the goals