Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Start Up, Early Stage ปี 2560 – 2563
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิวัต อุณฑพันธุ์
ที่มาและความสำคัญ

       ผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย ในอดีตได้มีการดำเนินกิจการอย่างไม่เป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ประกอบการในภาคเกษตรกรและภาคทั่วไป พบว่า ผู้ประกอบการยังดำเนินกิจการที่ขาดการวางแผนทำให้เกิดปัญหาด้านหนี้สิน ด้านสินค้าไม่ได้คุณภาพ ไม่มีมาตรฐานรองรับ จนถึงยอดการขาย เป็นต้น ดังนั้นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการเป็นส่วนงานหนึ่งในสังกัดโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีภารกิจในการวิจัยและบริการวิชาการให้กับเครือข่ายด้านเกษตร สิ่งแวดล้อม และการประกอบการ จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start up) ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ.2560-2563) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการใหม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสร้างนวัตกรรมสู่ SME 4.0 การใช้องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ มีระบบการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจให้เกิด High Value และพัฒนาวิสาหกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนของรากฐานเศรษฐกิจ ส่งผลให้สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ไปสู่การดำเนินงานด้านอื่นๆของมหาวิทยาลัยได้ทั้งในเรื่องของหลักสูตร พันธกิจมหาวิทยาลัย การหาเงินเข้ามหาวิทยาลัย การสร้างองค์ความรู้ให้กับอาจารย์และทีมงานของมหาวิทยาลัย พื้นที่การของฝึกของนกศึกษา และสร้างหน่วยงานภาคีเครือข่าย อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการในโครงการได้ปรับเปลี่ยน Mindset ทางธุรกิจให้สามารถ ผลิตได้ ขายได้ และรวย และทำให้เกิดมูลค่าทางเศรฐกิจในพื้นที่ที่รับผิดชอบอีกด้วย

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสร้างนวัตกรรมสู่ SME 4.0 รวม 4 ปีจำนวน 4,200 ราย

2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ มีระบบการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจให้เกิด High Value รวม 4 ปีจำนวน 1,355 ธุรกิจ

3.เพื่อพัฒนาวิสาหกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนของรากฐานเศรษฐกิจ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2560-2563
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 4 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ธุรกิจภาคเอกชน , กลุ่มวิสาหกิจ , หน่วยงานภาครัฐ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

หน่วยงานสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประจำจังหวัด 8 จังหวัด

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารออมสิน

สำนักงานเกษตรจังหวัด

สำนักงานสภาเกษตรจังหวัด

อุตสาหกรรมจังหวัด

หอการค้า

สมาพันธ์เอสเอ็มอี

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงาน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ 8 จังหวัด

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5,585 ราย
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต (การประกอบการเชิงนิเวศและวัฒนธรรม) ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มีการนำกระบวนการจัดการของโครงการไปใช้ในรายวิชาเรียน

2.ต้นแบบโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement) เนื่องด้วยการดำเนินโครงการที่มีการช่วยเหลือผู้ประกอบการภายนอกมหาวิทยาลัยฯอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้เลือกได้คัดเลือกมาประเมินโครงการที่มีผลกระทบทางสังคม และ Mahidol channel ได้ทำวีดิทัศน์โครงการที่เป็นต้นแบบในด้าน Engagement กับสังคม

3.การหาเงินเข้ามหาวิทยาลัยฯ ซึ่งการดำเนินโครงการ Startup ในช่วงปี 2560-2563 สามารถนำเงินเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัยมหิดล (ร้อยละ 10 ของงบประมาณโครงการ) เป็นจำนวนเงิน 1,399,000 บาท 1,383,700 บาท  1,519,000 บาท และ 1,580,000 บาท ตามลำดับ รวม 5,881,700 บาท

4.สร้างองค์ความรู้ให้กับอาจารย์ โดยคณาจารย์ที่เข้ามาร่วมในทีมของโครงการทั้งในรูปแบบของวิทยากร และพี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ได้มีการลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับอาจารย์ด้วย

5.พื้นที่ฝึกของนักศึกษา สถานประกอบการของผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการ ได้มีการรับเป็นที่สถานที่ฝึกของนักศึกษาของวิทยาเขตนครสวรรค์

6.หน่วยงานภาคีเครือข่ายได้นำกระบวนการของโครงการไปประยุกต์ใช้ในงานประจำ เช่น สภาเกษตรกรได้มีการสอนการทำแผนธุรกิจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เป็นต้น

7.ผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยน Mindset ทางธุรกิจจำนวน 4 ปีรวม 5,585 ราย และส่งผลทำให้เกิดมูลค่าทางเศรฐกิจในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ในช่วงปี 2560 – 2563 เป็นจำนวนเงิน 402,331,850 บาท 137,760,460 บาท 186,308,000 บาท ตามลำดับมูลค่ารวม 726,400,310บาท

Web link
รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 8 : Decent work and economic growth