Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล การคัดแยกองค์ประกอบขยะมูลฝอย จ.พิจิตร จ.อุทัยธานี จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ |
||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ดร.จุฑารัตน์ แสงกุล | ||||
ที่มาและความสำคัญ | จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น | ||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | จ.นครสวรรค์ จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.อุทัยธานี | ||||
วัตถุประสงค์ | การสำรวจ และศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชนของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ภายใต้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 4 ประกอบไปด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครสวรรค์ จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยรวมทั้งสิ้น 54 แห่ง เป็นสถานที่กำจัดขยะที่เป็นหัวหน้ากลุ่มCluster จำนวน 9 แห่ง และรูปแบบเทกอง 45 แห่ง ในการศึกษาครั้งนี้ ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 ได้คัดเลือกพื้นที่ ในการศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบขยะ จำนวน 15 แห่ง ได้แก่สถานที่กำจัดขยะที่เป็นหัวหน้ากลุ่มCluster จำนวน 9 แห่ง และสถานที่กำจัดขยะแบบเทกองจำนวน 6 แห่ง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงข้อมูลลักษณะ และชนิดขององค์ประกอบขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อที่จะให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการกำหนดนโยบาย วางมาตรการ และแนวทางในการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพต่อไป | ||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2564 | ||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | เมษายน-สิงหาคม 2564 | ||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ระดับภาค | ||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
อปท. 15 แห่ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมภคที่ 4 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร |
||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน 2. รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน 3. จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน 3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว 3.2 กิจกรรม ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19 3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน 4. จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน
|
||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม | สถานที่กำจัดขยะ จากจังหวัด นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิต และอุทัยธานี ซึ่งมีสถานที่กำจัดขยะทั้งหมด จำนวน 51 แห่ง (นครสวรรค์ 19 แห่ง กำแพง 13 แห่ง พิจิตร 14 แห่ง อุทัย 5 แห่ง) ทำการคัดเลือกโดยแบ่งสถานที่กำจัดขยะในการสำรวจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม Cluster ในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด และมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และมีองค์กรต่าง ๆ ภายนอกที่นำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย มีการให้บริการสาธารณะในการเก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอย รวมทั้งมีการดำเนินงานสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย | ||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | ได้คัดเลือก สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม Cluster ในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดจำนวน 9 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยฯจำนวน 6 แห่ง | ||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ | 1. ผลการการวิเคราะห์ จะสามารถประเมินความสำเสร็จของ กิจกรรมการรณรงค์ในเขตชุมชนที่ได้ 2. สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการบริหารจัดการขยะต้นทางได้ 3. สามารถ นำมาคำนวณชนิด และสัดส่วนของ องค์ประกอบขยะ ในบ่อกำจัดขยะ เพื่อวางผนการจัดการขยะตกค้างได้ |
||||
Web link | |||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||
SDGs goal | Goal 12 : Responsible consumption and production |