ประวัติความเป็นมาวิทยาเขตนครสวรรค์

20 มิถุนายน 2538
8 ตุลาคม 2539
9 กันยายน 2540
16 กันยายน 2540
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค เพื่อพัฒนาการศึกษาและให้โอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสในต่าง จังหวัด
3 ธันวาคม 2540 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ นครสวรรค์ ทบวงมหาวิทยาลัย 274/2540 และแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายการเงินและรณรงค์จัดหาทุนสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 1283/2542 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2542
25 มกราคม 2542 ทบวงมหาวิทยาลัย เห็นชอบจัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำแผนแม่บทวิทยาเขตสารสนเทศ จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดนครสวรรค์ รวมเป็นเงิน 2,600,000.- บาท
30 มิถุนายน 2542
27 มีนาคม 2544
27 มิถุนายน 2544
มหาวิทยาลัยมหิดล ทำสัญญาจ้าง บริษัท ชินครอนกรุ๊ป จำกัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และจัดทำแผนแม่บท วิทยาเขตสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ จังหวัดนครสวรรค์ ตามลำดับ
25 พฤษภาคม 2543 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ สนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ นครสวรรค์ที่ นว 51004/1450 จำนวน 5,000,000.- บาท
20 มิถุนายน 2543 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ (นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร) ส่งมอบเงินบริจาคจากชุมชนชาวจังหวัดนครสวรรค์ สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ นครสวรรค์ จำนวน 20,000,000.- บาท
19 กรกฎาคม 2543 ทบวงมหาวิทยาลัย จัดสรรงบประมาณ ปี 2543 ให้ มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ จำนวน 30,000,000.- บาท
10 สิงหาคม 2543 –
13 กันยายน 2543
ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารอำนวยการ ได้ห้างหุ้นส่วนจำกัด พงศ์เจริญค้าไม้ 1991 ดำเนินการ เป็นเงินทั้งสิ้น 59,523,816.- บาท กำหนด 360 วัน
18 กันยายน 2544 คณะรัฐมนตรี มีมติให้มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศจังหวัดนครสวรรค์ ต่อไปได้ ตามหนังสือ สำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
นร 0205/10483 และ นร 0205/10471 ลงวันที่ 25 กันยายน 2544 และ สำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา ส่วนวิเคราะห์โครงการ ที่ ทม 0204(3)/25402 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
29 มีนาคม 2545 เริ่มก่อสร้างอาคารอำนวยการ ใช้เงินงบประมาณ ปี 2543 เป็นเงิน 30,000,000.- บาท และเงินสมทบจากการบริจาคของชุมชนชาวจังหวัดนครสวรรค์ 20,000,000.- บาท แล้ว
เสร็จวันที่ 12 พฤษภาคม 2546
2 เมษายน 2545 สภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 316 วันที่ 24 พฤษภาคม 2543 อนุมัติให้จัดตั้ง “โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์” ขึ้น ในสังกัด สำนักงานอธิการบดี และ คำสั่งที่
581/ 2545 แต่งตั้งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ)
ตุลาคม 2545 น้ำท่วมใหญ่ปากน้ำโพ และ พื้นที่บึงเสนาท
14 สิงหาคม 2546 –
21 สิงหาคม 2549
ก่อสร้างอาคารเรียนรวม (งบประมาณทั้งสิ้น 100,000,000.- บาท)
ปีการศึกษา 2547 รับนักศึกษา หลักสูตรการจัดการบัณฑิต จำนวน 32 คน
ปีการศึกษา 2548 รับนักศึกษา หลักสูตรการจัดการบัณฑิต จำนวน 41 คน
รับนักศึกษา หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต จำนวน 17 คน
ปีการศึกษา 2549 รับนักศึกษา หลักสูตรการจัดการบัณฑิต จำนวน 32 คน
รับนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต จำนวน 24 คน
7 ธันวาคม 2547 –
22 สิงหาคม 2549
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 15 สำนักงานพัฒนาภาค 1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด เริ่มงานก่อสร้างปรับปรุงเพิ่มความสูงของพนังกั้นน้ำรอบบึงเสนาท งบประมาณ 29,018,218.- บาท
24 กุมภาพันธ์ 2549 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ใช้พื้นที่ เฉพาะอาคารวิทยาเขต จำนวนเนื้อที่ 32 ไร่ โดยห้ามขยายพื้นที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก
11 ตุลาคม 2549 น้ำท่วมใหญ่ปากน้ำโพ และ พื้นที่บึงเสนาท เนื่องจากการชำรุดของพนังกั้นน้ำด้านตะวันออก
พ.ศ. 2550 จังหวัดนครสวรรค์ใช้เงินกองทุนจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ นครสวรรค์ ดำเนินการซ่อมแซมพะนังกั้นน้ำ เป็นเงิน 1,000,000.- บาท
ปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ยุติการรับนักศึกษา และ ย้ายนักศึกษาทั้งหมดไปศึกษาต่อที่ วิทยาเขตศาลายา และ วิทยาเขตกาญจนบุรี
พฤศจิกายน 2549

พ.ศ. 2550

กลุ่มนครสวรรค์สร้างสรรค์สังคม เข้าพบนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อปรึกษาหาแนวทางเกี่ยวกับการดำเนินการวิทยาเขตนครสวรรค์
ผวจ.นครสวรรค์ (นาย ชนินทร์ บัวประเสริฐ) แต่งตั้งคณะทำงานจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการขับเคลื่อนวิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขต (ผศ.นคร เหมะ)
20 – 21 กรกฎาคม 2550 ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดลสัญจร ณ อาคารอำนวยการบึงเสนาท
(ได้รับคำแนะนำว่าควรจัดหาที่ตั้งวิทยาเขตใหม่เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้)
21 – 22 มีนาคม 2551 มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เวทีเสวนา สานพลังมหิดล – คนนครสวรรค์ สรรค์สร้างแนวทางการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ “มองปัจจุบันสู่อนาคต” เพื่อระดมสมองในการกำหนดทิศทางการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล มีมติให้จังหวัดนครสวรรค์จัดหาที่ตั้งวิทยาเขตใหม่ (Main campus)
พ.ศ. 2551 คณะทำงานจังหวัดนครสวรรค์ดำเนินการเพื่อจัดหาที่ตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ใหม่ (พื้นที่ ตำบลเก้าเลี้ยว-ตำบลเขาเขียว-ตำบลเขาทอง)
26 มีนาคม 2552 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (ศ.คลินิก ปิยสกล สกลสัตยาทร) ร่วมกับ ผวจ.นครสวรรค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ และภาคประชาสังคม ตัดสินใจดำเนินการมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ (Main campus) บนที่ตั้งแห่งใหม่ ณ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี และ จะยังคงใช้พื้นที่เดิม ตำบลบึงเสนาท และ ตำบลเนินยายผาด อำเภอเก้าเลี้ยว ต่อไป
1 เมษายน 2552 มหาวิทยาลัยมหิดล แต่งตั้ง นายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง เป็น ผู้ช่วยอธิการบดี และ รองอธิการบดี ตามลำดับ รับผิดชอบโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
7 กันยายน 2552 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (ศ.คลินิก ปิยสกล สกลสัตยาทร) และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ (นายอำนาจ ศิริชัย) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ จะจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเตรียมความพร้อม จำนวนเงินปีละ 20 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2554 – 2556 รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท
18 มกราคม 2553 ได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ ประมาณ 1 พันไร่เศษ จากกรมธนารักษ์
26 มกราคม 2553 ดำเนินการวางผังแม่บท (Master plan) โดย สถาบันอาศรมศิลป์ แล้วเสร็จ
6 พฤศจิกายน 2553 นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตรวจเยี่ยม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
17 ธันวาคม 2553 นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อนุมัติงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สนับสนุนโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เพื่อเร่งเตรียมความพร้อมในการเปิดหลักสูตร จำนวนเงิน 42.611ล้านบาท
29 มีนาคม 2554
27 มิถุนายน 2554
ออกแบบอาคารศูนย์การแพทย์มหิดลนครสวรรค์ และ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ แล้วเสร็จ
ติดต่อสอบถาม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    เราใช้ google analytics เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของเว็บไซต์โดยไม่ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

Save
*/ //]]>