MU-SDGs Case Study*

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต  นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

เนื้อหา*

           “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

         การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

          ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป 

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน

2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561)

4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด

ผลกระทบทางสังคม

1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน

2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้

3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้

4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้

5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 

6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,14,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

Facebook

หนังสือ  การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5