การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี2568

MU-SDGs Case Study*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2568

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

1. ความสำคัญ
“บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาติของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพัดปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี ๒๔๖๙ จำนวน ๑๓๒,๗๓๗ ไร่ ๕๖ ตารางวา ครอบคลุมพื้นที่ใน 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร ตำบลพระนอน ตำบลกลางแดด ตำบลนครสวรรค์ออก และตำบลพนมรอก ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี ๒๕๑๘ จำนวน ๖๖,๒๕๐ ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง ๓ ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑๓ หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน ๕,๖๘๔ ครัวเรือน 

การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า ๓๐ กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเอง จนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน ซึ่งไม่เพียงพอต่อตื้นเขินในพื้นที่ชุ่มน้ำ เนื่องจากตะกอนดินที่ไหลจากพื้นที่ต้นน้ำ การทับถมของวัชพืช และการปลดปล่อยน้ำจากการไถพรวนของนาข้าวรอบบึงบอระเพ็ด ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดเพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

ในการนี้จึงมีความจำเป็นในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดด้วยการสร้างระบบการบริหารจัดการด้วยการรับฟังความคิดเห็น สร้างการรับรู้ สร้างความร่วมมือ และทำงานร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นนวัตกรรมประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ และสามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไปได้ โดยคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้เห็นชอบและรับทราบให้ดำเนินการขับเคลื่อนในวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เพื่อขอทุนสนับสนุนจากโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมจากมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อไป
 
2. ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานของผลงาน “การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด” แบ่งผลการดำเนินงานทั้งหมด 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำ และช่วงการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) ช่วงการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำได้มีการดำเนินการในปี 2565 ซึ่งมีการสร้างความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ดที่ประกอบไปด้วยภาครัฐ ภาคประชาชนในแต่ละตำบล และสถาบันการศึกษา ด้วยการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านทรัพยากรน้ำ และวิเคราะห์ข้อมูลไปนำเสนอให้กับแต่ละเวทีการประชุม พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและความต้องการในแต่ละพื้นที่ไปแบ่งปันให้กับทุกภาคส่วน เพื่อให้รู้เท่ากันและความเข้าใจร่วมกัน มีการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้น้ำรูปแบบความสำคัญทางสถิติซึ่งเป็นข้อมูลทางวิชาการ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับทุกภาคส่วนและสร้างโมเดลการใช้น้ำร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีการสร้างโครงสร้างในการบริหารจัดการน้ำที่มีแนวทางการดำเนินงานที่ยอมรับร่วมกันทุกภาคส่วน ผลักดันสู่ระดับนโยบายที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ พร้อมทั้งสร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ดังรูปที่ 1 ผลกระทบของงานในช่วงนี้ พบว่า ทุกภาคส่วนได้มีการสร้างโมเดลการจัดการบึงบอระเพ็ดร่วมกัน ดังรูปที่ 2 เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำ ดังรูปที่ 3 พร้อมทั้งผลักดันข้อตกลงในการใช้น้ำเข้าสู่แผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดอีกด้วย นอกจากนี้ชุมชนได้มีการรวมกลุ่มกันจดทะเบียนจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดทั้งหมดรวมจำนวน 5 ตำบล ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย มีการสร้างการทำงานร่วมกันที่สามารถลดความขัดแย้งได้

2) ช่วงการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำ
ปี 2566-2567 เป็นช่วงการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการน้ำกับโครงสร้างที่มีอยู่ โดยการประชาสัมพันธ์ระบบการบริหารจัดการน้ำ การขึ้นทะเบียนผู้ต้องการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด การสร้างทีมที่เป็นเอกภาพ และการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในพื้นที่ นอกจากนี้มีการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำด้วยการพัฒนาศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ด และการจัดทำสื่อการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำ ผลกระทบของงานที่เกิดขึ้นพบว่า มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำเพิ่มขึ้นที่เชื่อมโยงจากในบึงสู่นอกบึงบอระเพ็ดอีก 4 ตำบล รวมทั้งหมดเป็น 9 ตำบล ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้น้ำ จึงได้มีการขึ้นทะเบียนต้องการใช้น้ำทั้งในเขตและนอกเขตบึงบอระเพ็ดรวมจำนวน 3,723 ราย 5,011 แปลง รวมขนาดเนื้อที่ 69,871 ไร่ ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดได้ใช้งานจริง โดยมีการสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการชุดต่างๆ นอกจากนี้คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มาหนุนเสริมการทำงานให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด ด้วยการสร้างระบบ Bueng Boraphet – Water Image Downloader ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียมได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีคนเข้ามาดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดมากกว่า 200 คน ในการนี้ตัวชี้วัดที่สำคัญเป็นเรื่องความขัดแย้งที่ลดลงจนเป็นศูนย์ในปี 2566-2567 และคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด ได้มีการรับรองเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ 4 ระดับ ดังรูปที่ 4 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่1/2567 ได้รับรอง “ระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด” เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ขับเคลื่อนร่วมกันอย่างเป็นทางการและยั่งยืนต่อไป 

เครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้ส่งประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ประจำปี 2567 ของรัฐสภา ผลงานประเภทชุมชน องค์กร โดยส่งผลงานเรื่อง “การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด” ในนามคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด ซึ่งทำให้ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของผลงานร่วมกันทั้งในระดับชุมชนและระดับจังหวัด การแข่งขันได้มีการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ และออกบูทนำเสนอคณะกรรมการที่รัฐสภา ผลปรากฏว่าผลงานนี้ได้รับรางวัลระดับ “ดีมาก” ซึ่งได้รับโล่รางวัลกับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2567 ณ รัฐสภา 

ระยะถัดไปช่วงปี 2567-2568 ได้ต่อยอดจากการบริหารจัดการน้ำสู่การพัฒนาอาชีพของประชาชนในพื้นที่ โดยการปรับวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการทำนาเปียกสลับแห้งที่เป็นนาที่ใช้น้ำน้อยและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการทำปุ๋ยจากวัชพืชน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการน้ำท่วมวัชพืชอีกด้วย
การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ทั้งการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำ และการขับเคลื่อนตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เป็นนวัตกรรมประชาธิปไตยที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมทุกกระบวนการ พร้อมทั้งมีการสร้างความร่วมมือ การรับฟังความคิดเห็น การทำงานร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน จนถึงการขับเคลื่อนส่งต่อไปในระดับนโยบายผ่านกฎหมายต่างๆ ได้อย่างราบรื่น เนื่องจากเป็นแนวทางที่ทุกภาคร่วมยอมรับร่วมกันแล้ว ในการนี้กระบวนการจะขับเคลื่อนได้อย่างยั่งยืน และสามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆได้อีกด้วย ในการนี้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้ลงพื้นที่ถอดบทเรียนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ “บึงบอระเพ็ด” ในการปรับตัวต่อการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำไปสู่ต้นแบบของการปรับตัวด้านการบริหารจัดการน้ำ

ในปี 2568 เครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้รับการยอมรับในระดับที่สูงขึ้น ด้วยการได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ประธานองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลทับกฤช ได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคเกษตรกรรม รวมทั้งบุคลากรของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐสภา

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs13,14,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 14.2.1, 15.1, 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/videos/270841642755512

ม.มหิดล ร่วมนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในสพระองค์
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/13291

การออกสื่อสาธารณะ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/337926?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1Eg4EvBDNThdqRm-hLmX42p3aEBWEXsJzCWRw2Vub4EgK9PRyvhEwT_eo_aem_AQw-VZjwG00nG0FP4VCvKvjZybYGsCzWtnQTDRM8DiyFoO_jVCDqbCn8f2SFumNN0HbcYf8frP3uUC6yIub7kUaW

การบริการวิชาการให้กับเครือข่าย
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/12986

การประกวดนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย รัฐสภา
https://www.youtube.com/watch?v=DtmKLv-Gvqc

ถอดบทเรียนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ “บึงบอระเพ็ด” ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE)
https://tei.or.th/th/activities_us_detail.php?eid=3003

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ส่วนเครื่องกลสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 2 (กรมทรัพยากรน้ำ)
โครงการชลประทานนครสวรรค์
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 ตำบล
เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำ 9 ตำบล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

MU-SDGs Case Study*

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล
ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
นายธนากร จันหมะกสิต
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

ความสำคัญ
บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา นอกจากนี้การทำนาปรังส่งผลให้เกิดการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ส่วนพืชน้ำที่เจริญเติบโตหนีน้ำไม่ทันในช่วงฤดูน้ำหลาก จะทำให้เกิดหญ้าเน่าจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน ในการนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นการทำนาปรังและน้ำท่วมวัชพืชในช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีแนวคิดในการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกด้วยการปรับวิธีการทำนาจากนาปรังเป็นนาเปียกสลับแห้งที่ใช้น้ำน้อยและปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยกว่านาปรังหลายเท่า และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้การส่งเสริมให้นำวัชพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ดมาใช้ประโยชน์แปรรูปเป็นปุ๋ยที่สร้างรายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลพระนอน มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย ซึ่งรูปแบบที่จะออกมาขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานทั้งหมดสอดคล้องกับนโยบายของ COP28 และบึงบอระเพ็ด sandbox ที่ตั้งเป้าให้เกิด Net Zero ในปี 2573 ต่อไป

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการปรับแนวคิดของประชาชนสู่การปรับวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

2) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

3) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำและการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

โครงการอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ โดยมีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลวังมหากรและตำบลพระนอน และมีการสอบถามความต้องการในการขับเคลื่อน (Need Assessment) ในการทำนาและการจัดการวัชพืชน้ำบึงบอระเพ็ด มีการดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และการทดลองการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 100 ไร่ อีกด้วย 

ผลผลิตของโครงการ
1) การฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาเทคโนโลยีสีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SDGs BCG และการปรับตัวในการทำการเกษตรในพื้นที่ชุ่มน้ำ
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้ง และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
3) พื้นที่ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด และการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยในตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4) ผลการคำนวณอัตราผลตอบแทนเชิงสังคม (SROI) ของโครงการ
5) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานในพื้นที่
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้งและการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ และขยายผลต่อในอนาคตบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ
3) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม
4) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆที่มีบริบทคล้ายกับบึงบอระเพ็ด
5) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์สามารถกำหนดแนวทางการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสัญญาเช่าของประชาชนบึงบอระเพ็ดในอนาคตต่อไป
 
ผลการดำเนินงาน
1) ชุมชนได้มีการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการนำวัชพืชน้ำมาหมักเป็นปุ๋ยในพื้นที่ตำบลพระนอน และการทำนาเปียกสลับแห้งจำนวน 100 ไร่ ในพื้นที่ตำบลวังมหากรและตำบลทับกฤช 
2) ชุมชนมีการจัดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 2 ตำบล ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบึงบอระเพ็ดโลว์คาร์บอนตำบลวังมหากร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบึงบอระเพ็ดโลว์คาร์บอนตำบลพระนอน  และเกิดแบรนด์ “บึงบอระเพ็ดโลว์คาร์บอน” ดังรูปที่ 1
3) เกิดผลิตถัณฑ์ต้นแบบบึงบอระเพ็ดจำนวน 2 ชื้น ได้แก่ วัสดุปรับปรุงดินจากวัชพืชน้ำ และข้าวจากนาเปียกสลับแห้ง 
4) มีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนและผู้ที่สนใจ
 

สิ่งที่ได้ได้ต่อยอดจากโครงการ

1) จังหวัดนครสวรรค์ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการทำนาเปียกสลับแห้ง ดังคำสั่งจังหวัดนครสวรรค์หมายเลข 03367/2567 เรื่อง “แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาการทำการเกษตรด้วยการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่ต้นแบบบึงบอระเพ็ด และพื้นที่อื่นๆ จังหวัดนครสวรรค์” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของการทำนาเปียกสลับแห้ง   

2) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใต้โครงการ “โครงการส่งเสริมการปรับวิถีการเกษตรบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์” เพื่อส่งเสริมการทำนาเปียกสลับแห้งด้วยการปรับพื้นที่และการส่งเสริมการขยายตัวเพิ่มปีละ 800 ไร่ภายใน 3 ปี

3) เครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้มีการเชื่อมโยงกับภาคเอกชน เพื่อผลักดันการปรับพื้นที่การเกษตรของบึงบอระเพ็ดให้เหมาะสมกับการทำนาเปียกสลับแห้ง โดยบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG) และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้ามาสนับสนุนในการเชื่อมโยงเครือข่ายกับระดับนโยบายและสนับสนุนเครื่องจักรในการทดลองใช้เครื่องมือเพื่อปรับระดับพื้นที่เพื่อส่งเสริมการทำนาเปียกสลับแห้งในแปลงทดลองของชุมชนที่ตำบลพระนอน

4) เกิดการเชื่อมโยงด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้และเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้นำไปปรับปรุงพันธุ์ข้าวในบึงบอระเพ็ด

                      รูปที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2,6,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3, 6.3, 6.4, 6.5, 17.1
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

ม.มหิดล นครสวรรค์ ร่วมเครือข่ายชุมชน ชู 3 กลยุทธ์พลิกฟื้นนาข้าวยั่งยืน
https://www.nstda.or.th/sci2pub/3-strategies-to-revive-sustainable-rice-fields/
https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2024-5-2-1.pdf

รายการเคลียร์คัด ชัดเจน:การขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำ
https://www.youtube.com/watch?v=aVkXHnNr-38

บึงบอระเพ็ด ช่วยลดโลกร้อนด้วยการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
https://op.mahidol.ac.th/ga/bueng-boraphet/

VDO: โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
https://youtu.be/Ow3Jrap6ePI

VDO: Promoting Eco-Friendly Agricultural Practices in the Bueng Boraphet Wetlands.
https://youtu.be/lcbHgujks9Y

VDO: การเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบบึงบอระเพ็ดโลว์คาร์บอน
https://youtu.be/VJzAFp8ln-M

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
หน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ด
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอนและวังมหากร
เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำบึงบอระเพ็ด
ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การปรับวิถีการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การทำนาเปียกสลับแห้ง
การทำปุ๋ยจากวัชพืชน้ำบึงบอระเพ็ด
การปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

13.2

โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ในพื้นที่นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

MU-SDGs Case Study*

โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
ในพื้นที่นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.ปัญฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานหลัก*

วิชาการและหลักสูตร

ผู้ดำเนินการร่วม

รศ.ดร.สงพงษ์ โอทอง
นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานร่วม

วิชาการและหลักสูตร
ศูนย์บริการวิชาการ

เนื้อหา*

                ในปัจจุบันพื้นที่นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเป้าหมายพิเศษในพื้นที่นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ พัฒนาทุนมนุษย์สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมอัตลักษณ์นิคมสร้างตนเอง (นิคมNEXT) พัฒนาสังคมจากรากฐานให้เข้มแข็งและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พัฒนาทักษะและอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาด สนับสนุนให้สมาชิกนิคมและราษฎรในพื้นที่มีอาชีพมีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยผ่านการพัฒนา 6  ด้าน คือ 1) ด้านการสร้างอาชีและรายได้ 2)ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน 3) ด้านการพัฒนาผู้สูงอายุ 4) ด้านการพัฒนาคนพิการ  5)  ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสตรีและครอบครัว และ 6) ด้านการพัฒนาป่านิเวศชุมชน  ซึ่งประชาชนในพื้นที่นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีรายได้น้อยและขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน เกษตรกรในพื้นที่ยังประสบปัญหาการผลิตผลเกษตรที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ และยังขาดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น หน่อไม้ฝรั่งและเศษหน่อไม้ฝรั่ง นอกจากนี้ ปัญหาการเลี้ยงโคนมยังมีการใช้ต้นทุนสูง และผลผลิตน้ำนมที่ต่ำ ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่สามารถเพิ่มรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนิคมสร้างตนเองตากฟ้าหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเป้าหมายพิเศษที่อาศัยอยู่ในนิคมสร้างตนเองตากฟ้า โดยการการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าของเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการตัดแต่งทางการเกษตร รวมถึงการพัฒนาการเลี้ยงโคนม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในการเลี้ยงโคนม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถนำไปใช้จริงได้อย่างยั่งยืน ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ คือ การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ อีกทั้งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเป้าหมายพิเศษในพื้นที่นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ โดยการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและการพัฒนาการเลี้ยงโคนม ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน และช่วยลดปัญหาความยากจนในระยะยาว

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.2, 2.4 

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs1,8,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

1.1, 1.4, 8.1, 8.2, 8.6, 12.2,  12.3, 12.5
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/profile.php?id=100057309017433

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 1

Partners/Stakeholders*

1. ประชาชนในนิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
2. นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ หน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

สร้างความยั่งยืน ด้านรายได้ แก้ไขปัญหาการทำการเกษตรด้วยงานวิจัยเชิงพื้นที่ โดยทำงานประสานกันระหว่างหน่วยงาน ชุมชน และมหาวิทยาลัย

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

17.2.4

เตรียมตัวอย่างไร ให้สูงวัยอย่าง Smart

MU-SDGs Case Study*

เตรียมตัวอย่างไร ให้สูงวัยอย่าง Smart

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged society) ตั้งแต่ปี 2548 คือ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 10 ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดและ ในปี 2574 ประเทศไทย จะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานการคาดการณ์ประชากรของประเทศไทยระหว่างปี 2553-2583
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ด้านบูรณาการสู่การพัฒนาสังคมในภูมิภาค มีความสามารถด้านวิชาการ งานวิจัยและบริการวิชาการแบบบูรณาการที่เป็นต้นแบบนำสู่การพัฒนาชุมชน สังคม เป็นที่พึ่งพิงของชุมชนและสังคมในภูมิภาคเหนือล่าง-กลางบน 7 จังหวัด ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ชัยนาท และนครสวรรค์จังหวัดและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1)บูรณาการงานวิจัยในสังคมภูมิภาคและระดับสากล ยุทธศาสตร์ที่3)บริการทางวิชาการเป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคมและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับวิทยาเขต และยุทธศาสตร์ที่ 4)ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้สูงอายุ
พันธกิจหลักของศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยจะเป็นเลิศด้านการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เล็งเห็นความสำคัญของการวางแผนการดูแล และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ เพื่อเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ (smart Aging) มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เช่น ด้านหลักประกันรายได้ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพ ด้านการประกอบอาชีพ เป็นต้น
วิธีการดำเนินโครงการ
– จัดรูปแบบวงเสวนา
– เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่ประชาคมมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ให้ความเคารพ ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านต่างๆเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนสูงวัยและเตรียมก่อนวัยเกษียณ

– ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาคมมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์และและผู้สนใจในการเตรียมความพร้อม

จากการจัดกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ พบว่า ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เข้าร่วมในรูปแบบ Onsite จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 97.2 และในรูปแบบ Online จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.8
จากผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมพบว่า ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อการเสวนาเรื่อง “เตรียมตัวอย่างไรให้สูงวัยอย่าง SMART” โดยเฉพาะในด้านความน่าสนใจของหัวข้อ, ความรู้ที่ได้รับ, และการถ่ายทอดของวิทยากรที่ได้รับคะแนนในระดับ 5 เป็นส่วนใหญ่ ในด้านที่ควรพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมคือ ระยะเวลาการอบรม เนื่องจากมีการให้คะแนนในระดับที่น้อยที่สุด ทั้งนี้ สาเหตุเกิดจากการเสวนาที่ดำเนินเลยเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากมีคำถามจากผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก วิทยากรจึงตอบคำถามอย่างครบถ้วนเพื่อความชัดเจนซึ่งทำให้ระยะเวลาการจัดงานเกินกำหนดจากที่แจ้งไว้
ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสะท้อนมุมมองที่สำคัญเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพคือ
– การเตรียมความพร้อมควรเริ่มตั้งแต่วัยรุ่นและวัยทำงาน ไม่ใช่เพียงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วเท่านั้น เพื่อให้สามารถปรับตัวได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต
– การวางแผนทางการเงินเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ซึ่งการวางแผนรายได้ระยะยาว คือปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความมั่นคงในวัยชรา

– สุขภาพร่างกายและจิตใจต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีสุขภาพที่ดี ย่อมไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ แม้จะมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง
– การเข้าสู่วัยสูงอายุต้องอาศัยการปรับมุมมอง การยอมรับบทบาทที่เปลี่ยนไป และการมีทัศนคติที่เป็นบวกต่อตนเอง คุณภาพชีวิตที่ดีในวัยสูงอายุต้องครอบคลุมหลายมิติ ได้แก่ ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม เครือข่ายสังคมที่สนับสนุน การมีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และการสื่อสารที่เข้าใจกันระหว่างวัย
– ผู้เข้าร่วมตระหนักว่า “เวลา” เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ การเริ่มต้นเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้คือการลงทุนที่มีค่าที่สุด
ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วม
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอแนะให้มีการจัดเสวนาและอบรมลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ทั้งในชีวิตประจำวันและในบทบาทของการดูแลครอบครัว

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.7
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/posts/pfbid02sMRA9bYjtTwPhiMyZKgmMCh6iZvGBYyaYqzFaSxwQm5e3f5D7bQ25rn83G8M9YHrl?rdid=9f3r74Yz7JmCROW1#

https://www.facebook.com/MahidolUniversity/posts/pfbid02LzQUjHNBSy1F2H8AZaGw5yFadqs3tj7Nx1RjmQabyUYV4J9yfgTN5fh59oQJ7UTrl?rdid=4EiNXZbhfz0zqiok#

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

– งานวิชาการและหลักสูตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
– หลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
– สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ จ.นครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

“สูงวัยอย่าง Smart ต้องเริ่มที่การเตรียมพร้อมทั้งกาย ใจ สังคม และเทคโนโลยี ตั้งแต่วันนี้ เพื่อชีวิตสูงวัยที่มีคุณค่า”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d, 4.7

การนำรูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านในเครือข่ายบริการปฐมภูมิขยายผลในเขตสุขภาพที่ 3

MU-SDGs Case Study*

การนำรูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ขยายผลในเขตสุขภาพที่ 3

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี
น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

โครงการ การนำรูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ขยายผลในเขตสุขภาพที่ 3 มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลรูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ให้เกิดระบบการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในเครือข่ายบริการปฐมภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน ซึ่งได้รับการตอบรับเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทและโรงพยาบาลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ รวมครือข่ายบริการปฐมภูมิ 9 พื้นที่ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & Mc Taggart มี 4 กระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน (planing) การปฏิบัติตามแผน (action) การสังเกตผล (observation) และการสะท้อนผล(reflection) และดำเนินการ 3 วงรอบ ดังนี้ วงรอบที่ 1) ศึกษาระบบและขั้นตอนการทำงานในการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ได้แก่ ระบบการรับและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยผ่านโปรแกรม thai COC และนำรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ไปใช้ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ จากการสังเกตการณ์ทำงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ พบว่า มีการใช้โปรแกรม thai COC ในการส่งต่อ ตอบรับข้อมูลผู้ป่วยค่อนข้างน้อย เนื่องจากบุคลากรยังไม่เห็นความสำคัญของการใช้โปรแกรมบางพื้นที่มีการโยกย้ายเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบงานใหม่ ยังไม่มีความรู้และทักษะการใช้โปรแกรม thai COC นอกจากนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดโคก ที่ถ่ายโอนไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท ขอเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นเครือข่ายในการประสานการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยในชุมชนด้วย วงรอบที่ 2) จากการสรุปผลและการสะท้อนกระบวนการทำงานในวงรอบที่ 1 จึงมีการส่งเสริมให้บุคลากรในเครื่องข่ายบริการปฐมภูมิ เห็นความสำคัญของการใช้โปรแกรม thai COC และมีองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการดูแลแบบประคับประคอง โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ระเบียบ ขั้นตอน การส่งข้อมูล และการเบิกจ่ายตามระเบียบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และขั้นตอนการส่งข้อมูลผู้ป่วยผ่านโปรแกรม thai COC และบันทึกข้อมูลส่งเบิกกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากการสังเกตการณ์สะท้อนกระบวนการทำงาน พบว่า บุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการตื่นตัวมีการใช้โปรแกรม thai COC ส่งต่อและตอบรับข้อมูลผู้ป่วยประคับประคองเพิ่มขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการส่งต่อการดูแลต่อเนื่อง ยังพบสูงอายุและกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ไม่อยู่ในระบบการส่งต่อการดูแลต่อเนื่อง บุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิมีความประสงค์ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามรูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ด้วยบุคลากรสะท้อนว่ามีความกังวลและไม่กล้าพูดคุยสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวให้เข้าใจการดูแลประคับประคอง เนื่องจากขาดประสบการณ์และทักษะในการสื่อสาร วงรอบที่ 3) จากการสรุปผลและการสะท้อนกระบวนการทำงานในวงรอบที่ 2 พบว่า บุคลากรขาดทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลประคับประคอง บุคลากรสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะในการสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ให้มีทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว ตามมาตรฐานการดูแลแบบประคับประคองที่ต้องได้รับการทำ family meeting และ Advance care Plan แต่กระบวนการที่จะเข้าระบบการส่งต่อการดูแลต่อเนื่องนั้นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ที่โรงพยาบาล ด้วยอาการของสูงอายุและกลุ่มเปราะบางอยู่ในภาวะไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนย้ายลำบาก เครือข่ายบริการปฐมภูมิร่วมหารือและสรุปขั้นตอนเกิดกระบวนการการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยในระบบเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ผ่านโปรแกรม thai COC ตามบริบทของพื้นที่ทำให้เกิดการประสานการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพและไร้รอยต่อ 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 SDGs10,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 10.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/share/p/1BytsF2L2v/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

1. ระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลมโนรมย์ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลนโนรมย์ (หางน้ำสาคร)
2. หน่วยปฐมภูมิโรงพยาบาลพยุหะคีรี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

“บูรณาการระบบบริการปฐมภูมิเชื่อมต่อการดูแลจากโรงพยาบาลสู่บ้านอย่างไร้รอยต่อ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะท้าย”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d,10.3

กูเกิลไซต์ : แพลตฟอร์มสำรองเพื่อการประชุมวิชาการในสภาวะโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมีปัญหา : ของฟรี คุ้มค่า และเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

MU-SDGs Case Study*

กูเกิลไซต์ : แพลตฟอร์มสำรองเพื่อการประชุมวิชาการในสภาวะโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมีปัญหา : ของฟรี คุ้มค่า และเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.ฤทธิรงค์ พันธ์ดี

ส่วนงานหลัก*

กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ธวัชชัย ก้านศรีรัตน์
น.ส.พรชนก นุชนารถ

ส่วนงานร่วม

กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

งานประชุมวิชาการสาธารณสุขระหว่างสถาบันระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 เป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนถึงความจำเป็น  ในการพัฒนาระบบเว็บไซต์สำรองเพื่อเป็นสื่อกลางข้อมูล ในสภาวะที่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมีความไม่เสถียร เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมมาจากหลากหลายพื้นที่ และต้องพึ่งพาระบบออนไลน์สำหรับการลงทะเบียน การนำเสนอผลงาน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ระบบการทำงานที่เป็นไอทีมากขึ้น แต่ยังพบข้อจำกัดระบบงานไอทีของวิทยาเขตอาจมีปัญหาความไม่เสถียรเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้น การนำชุดเครื่องมือใน กูเกิล เวิร์กสเปซ (Google Workspace) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงง่าย มีความยืดหยุ่น และไม่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการออกแบบ จึงได้เลือกเครื่องมือที่ชื่อว่ากูเกิลไซต์มาพัฒนาเป็นระบบเว็บไซต์สำรองเพื่อการประชุมวิชาการ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพือออกแบบและพัฒนากูเกิลไซต์ (Google Sites) เป็นระบบสำรองสำหรับเผยแพร่ข้อมูลการประชุมวิชาการในสภาวะที่โครงสร้างพื้นฐานไอทีมีปัญหา โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดความเสี่ยงจากความล้มเหลวทางเทคนิค และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังนำเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม  ตามบริบทของงานวิชาการ  อาศัยกรอบแนวคิดการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล และการออกแบบแพลตฟอร์มที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน ผลการศึกษาคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานวิชาการในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสภาวะที่โครงสร้างพื้นฐานไอทีมีปัญหา  ตลอดจนเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลก่อนวันงานประชุมวิชาการสาธารณสุขระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4 ที่มีความคล่องตัวและไม่ต้องกังวลในการใช้งานว่าจะเข้าถึงไม่ได้ 

ซึ่งสอดคล้องการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะ SDGs 9 ในด้านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ยืดหยุ่นอีกด้วย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการฯ ได้ตลอดเวลา ได้ทุกอุปกรณ์พกพา เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ ไอแพด แท็บเล็ต เป็นต้น

ผลลัพธ์

การนำเทคโนโลยีกู กูเกิล เวิร์กสเปซ (Google Workspace) เข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์งานประชุมวิชาการฯ ด้วยกูเกิลไซต์ เพื่อนำมาเป็นเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการข้อมูลดิจิทัล  สามารถบริหารจัดการเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถจัดการได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่มีข้อจำกัด  ด้วยศักยภาพของกูเกิลผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะเข้าใช้งานไม่ได้  

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อเว็บไซต์สาธารณสุขระหว่างสถาบันครั้งที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวมต่อเว็บไซต์ประชุมวิชาการฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุด  และเป็นแนวทางที่ดีในการนำกูเกิล เวิร์กสเปซ มาประยุกต์ใช้กับงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs9

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

9.c

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 –

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 –
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://sites.google.com/view/phmuna-conference/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

สถาบันการศึกษาในเครือข่ายงานประชุมวิชาการด้านสาธารณสุขระหว่างสถาบัน ระดับนานาชาติครั้งที่ 4

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การศึกษาพัฒนาระบบจัดการประชุมวิชาการด้วย Google ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล งานนี้ได้ออกแบบและพัฒนาระบบการประชุมวิชาการโดยใช้ Google Sites ร่วมกับ Drive, Sheet, Forms และ Script เพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานไอทีไม่เสถียร ผลสำรวจผู้ใช้งาน 85 คน พบว่าเว็บไซต์ใช้งานง่าย ความพึงพอใจสูง อีกทั้งเป็นของฟรีช่วยประหยัดต้นทุน และสอดคล้องกับ SDGs 9.c เรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

4.3.5

โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.จุฑารัตน์ สว่างชัย

ส่วนงานหลัก*

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ
อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.ดร.พาณี วิรัชกุล
อ.ศรีสุภา ใจโสภา
อ.สายฝน อำพันกาญจน์
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.นีรนุช โชติวรางกูล
อ.ณัฎฐ์ธัญศา ยิ่งยงเมธี
อ.กาญเขตร์ ทรัพย์สอาด
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.ทัตติยา ชังชั่ว
อ.นิศานาถ ทองใบ

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

1. ความสำคัญ
การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นกิจกรรมที่พัฒนานักศึกษาผ่านรูปแบบของกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีเป้าหมายสำคัญเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นบัณฑิตที่มีปัญญา ความรู้ ความสามารถ มีทักษะชีวิต การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นผู้มีคุณธรรมและจิตอาสา มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้องและรักษ์ความเป็นไทย เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย พัฒนานักศึกษาให้เป็นพลเมืองของโลก (Global Citizen and Global Talent) และมีความรู้ในการใช้ชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 เพิ่มทักษะการสร้างสัมพันธภาพ รู้จักตนเอง เข้าใจ มีทักษะในการดำเนินชีวิต และการเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ในการเปลี่ยนแปลงตนเองในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เกิดความพึงพอใจในการดำเนินชีวิต สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น ยอมรับและเคารพในความแตกต่างของแต่ละบุคคล

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว เนื่องจากนักศึกษาจะต้องได้รับการเตรียมความพร้อม การทำกิจกรรม และเรียนรู้ผ่านกิจกรรม รวมถึงพัฒนาทักษะต่าง ๆ จึงจัดโครงการพัฒนานักศึกษา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ค่านิยมองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล อัตลักษณ์บัณฑิต พัฒนานักศึกษาให้เป็นพลเมืองของโลก (Global Citizen and Global Talent) และมีความรู้ในการใช้ชีวิตยุคศตวรรษที่ 21 ทำให้เข้าใจตนเอง เคารพความแตกต่างของตนเองและผู้อื่น เกิดการเรียนรู้ในการเปลี่ยนแปลงตนเองในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น พัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองของโลก (Global Citizen and Global Talent) และมีความรู้ในการใช้ชีวิตยุคศตวรรษที่ 21

2. ผลการดำเนินงาน
ผลลัพธ์เชิงปริมาณ
1. กิจกรรมวันพยาบาลแห่งชาติ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดี เท่ากับ (
x= 4.24, S.D. = 0.84)
2. กิจกรรมวันลอยกระทง ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดี เท่ากับ (x= 4.39, S.D. = 0.84)
3. กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดี เท่ากับ (x= 4.05, S.D. = 0.94)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. โรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 3 

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณธรรม จิตสาธารณะ และตระหนักในความเป็นไทย พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen and Global Talent) ที่มีศักยภาพในศตวรรษที่ 21 นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต การเรียนรู้ตลอดชีวิต การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการเคารพความแตกต่าง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

4.3.4

โครงการพัฒนาทักษะการฟังบรรยายวิชาการภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา

MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาทักษะการฟังบรรยายวิชาการภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.กาญเขตร์ ทรัพย์สอาด

ส่วนงานหลัก*

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ
อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.ดร.พาณี วิรัชกุล
อ.ศรีสุภา ใจโสภา
อ.สายฝน อำพันกาญจน์
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.นีรนุช โชติวรางกูล
อ.ณัฎฐ์ธัญศา ยิ่งยงเมธี
อ.จุฑารัตน์ สว่างชัย
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.ทัตติยา ชังชั่ว
อ.นิศานาถ ทองใบ

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

1. ความสำคัญ
การศึกษาในยุคปัจจุบันมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่คนทั่วโลกใช้ในการสื่อสาร บุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และแสวงหาความรู้ได้มากกว่า ทักษะการใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็น ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน ล้วนสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น การความสามารถในการฟังเข้าใจในภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากล ย่อมช่วยในการติดต่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
วิชาชีพพยาบาลเป็นหนึ่งในสาขาวิชาชีพที่ได้ทำข้อตกลง “ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพพยาบาลของอาเซียน” จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายบริการเสรีทางวิชาชีพ ดังนั้นทักษะการใช้ภาษาสากลในการสื่อสารระหว่างประเทศ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างเสริมและพัฒนาให้แก่นักศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเห็นประโยชน์และความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะทางภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในเรื่องของทักษะการฟัง และทักษะการพูด เนื่องจากเป็นทักษะที่นักศึกษาไทยยังมีโอกาสในการฝึกฝนน้อย จึงจัดทำโครงการพัฒนาทักษะการฟังบรรยายวิชาการภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาภาษาอังกฤษ และได้รับประสบการณ์การฟังบรรยายวิชาการภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นในขณะศึกษาในหลักสูตรฯ
2. ผลการดำเนินงาน
ผลลัพธ์เชิงปริมาณ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก (
x= 4.54, S.D. = 1.93)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/share/p/1BfGy5NQVH/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาธรรมชาตินครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

“ในโลกยุคดิจิทัลที่การสื่อสารไร้พรมแดน ภาษาอังกฤษกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปิดประตูสู่ความรู้ระดับสากล โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาพยาบาล ที่กำลังเตรียมพร้อมสู่การเป็นกำลังสำคัญในประชาคมอาเซียน การพัฒนาทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษ จึงเป็นการเพิ่มพูนสมรรถนะวิชาชีพ พร้อมสร้างทัศนคติที่ดีและความมั่นใจในการสื่อสารกับประชาคมโลกอย่างมีประสิทธิภาพ”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

4.3.5

โครงการ NAS BASIC CAMP and SIP+9th School

MU-SDGs Case Study*

โครงการ NAS BASIC CAMP and SIP+9th School

ผู้ดำเนินการหลัก*

ศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ กำจัดภัย

ส่วนงานหลัก*

ผู้อำนวยการศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาธรรมชาตินครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อให้ศูนย์ได้รับการยอมรับในฐานะ national center of learning ในสาชาวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีจากประชาคมฟิสิกส์ไทย
2. เพื่อดึงดูดนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงเข้าเรียนระดับปริญญาเอกที่ศูนย์ฯ   
3. เพื่อสร้างศักยภาพทางความรู้ด้านฟิสิกส์รากฐานให้กับนักฟิสิกส์รุ่นใหม่ของประเทศ
วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2568 ถึงวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 ณ สิกขาลัยเพื่อการค้นคว้าขั้นก้าวหน้า อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

     การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาฟิสิกส์ ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยนั้น อาจมีผลลัพธ์ที่เกิดเป็นองค์ความรู้และทักษะแก่บัณฑิตที่หลากหลาย ทั้งนี้ตัวชี้วัดคือการสร้างงาน การได้งานทำที่ตรงกับสาขาวิชาที่ได้สำเร็จการศึกษามาค่อนข้างจำกัด ด้วยปัจจัยที่หลากหลายทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนขาดประสิทธิภาพไปพอสมควร ทั้งนี้ผลเสียที่เกิดขึ้นนี้ได้ส่งผลกระทบต่อบัณฑิตฟิสิกส์ทั้งในอดีตและปัจจุบันมาอย่างยาวนาน  ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีฯได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และด้วยการที่ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีฯแห่งนี้มีบุคลากรทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีที่ทำงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีมาอย่างยาวนานมีความประสงค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาและยกระดับการศึกษาของสาขาวิชาฟิสิกส์ให้มากขึ้นจึงได้จัดโครงการอบรมรายวิชาสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้จากนักฟิสิกส์ทฤษฎีโดยตรง
     ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีฯ จึงจัดโครงการ NAS BASIC CAMP and SIP+9th School เพื่อการสร้างการรู้จักของสถาบันต่อนิสิตนักศึกษาภายนอก เพื่อเปิดโอกาสในการรับรู้และการรับนักศึกษาที่มีศักยภาพเข้าศึกษาต่อ ณ ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีฯ ในอนาคต

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

 

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
https://na.mahidol.ac.th/nas2020/sip9th/

https://na.mahidol.ac.th/nas2020/nasbasiccamp2/
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาธรรมชาตินครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การยกระดับการศึกษาฟิสิกส์ระดับปริญญาตรี ด้วยการเปิดพื้นที่การเรียนรู้จากนักฟิสิกส์ทฤษฎี เสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะ และแรงบันดาลใจให้แก่นิสิต พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการเติบโตทางวิชาชีพและการศึกษาต่อ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

16.3.4

พัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

พัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

          หนึ่งในสัจธรรมแห่งชีวิตที่มนุษย์นั่นคือ “ความตาย” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธที่จะพูดถึง ในทางพุทธศาสนาพระภิกษุเป็นผู้สืบทอดศาสนา เป็นผู้เยียวยาด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ พระภิกษุมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความตายมากที่สุด จากการทบทวนวรรณกรรม สุขสันติ งามแก้มและบำเพ็ญจิต แสงชาติ, (2559) ได้ศึกษา การตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุ พบว่า การสะท้อนการตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุจำนวน 3 แก่นสาระ ดังนี้1) การตายที่ไม่ทรมาน 2) การตายที่เป็นไปตามวัฏ และ 3) การตายที่เข้าใจ ในความตาย องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ช่วยยืนยันและขยายภาพการตายดีจากการศึกษาที่ผ่านมาผ่านการรับรู้ของพระภิกษุผู้ให้การดูแลพระภิกษุอาพาธจนกระทั่งมรณภาพ และการศึกษาของพระครูอรรถจริยานุวัตร (สุเทพ ศรีทอง), (2564) ได้ศึกษา การเตรียมตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าท่าทีต่อความตายและวิธีปฏิบัติต่อความตายนั้น เห็นว่า ยิ่งพิจารณาเห็นความตายให้เป็นความธรรมดาได้มากเท่าไหร่ก็จะลดความทุกข์ที่เกิดจากความตายได้มากเท่านั้น การทำความคุ้นเคยกับความตาย เพื่อเผชิญกับความตายอย่างมีสติจึงจะเป็นการตายดีที่มีคุณภาพตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ เป็นการเติมเต็มองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ให้มีความครอบคลุมทุกมิติ เกี่ยวข้องกับความตายให้มีความสมบูรณ์ในฐานะพระภิกษุซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสามารถนำไปถ่ายทอด ส่งเสริมชุมชนให้อยู่ดีและตายดีได้ โดยครอบคลุมทุกมิติ สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีพุทธ การศึกษาการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ผลก่อนและหลังการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุและฆารวาส และเปรียบเทียบผลการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายระหว่างพระภิกษุและฆารวาส

          วิธีดำเนินการ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านการพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100  คน เป็น พระภิกษุ จำนวน 15 รูป ฆารวาส จำนวน 15 คน และมีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน ผลการวิเคราะห์ความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาสก่อนและหลังการอบรม เมื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาส ก่อนการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 42, p < 0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆราวาสสูงกว่าพระสงฆ์ (ค่าเฉลี่ยคะแนนพระสงฆ์ = 10.80,ค่าเฉลี่ยคะแนนฆราวาส =20.20) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้ของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-2.138], p < 0.05)  3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆารวาสก่อนและหลังการอบรม พบว่าคะแนนความรู้ของกลุ่มฆราวาส ก่อนและหลังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-1.039], p > 0.05) 

          จากการสัมภาษณ์พระภิกษุที่เข้าร่วมอบรมภายหลังใช้เครื่องมือ เกมส์ไพ่ไขชีวิต และกร์าดแชร์กันเปิดใจยอมรับในการพูดคุยเรื่องความตายและมีมุมมองเรื่องความตายที่เปลี่ยนไป จากคำบอกเล่า “ เป็นการอบรมที่แปลก ไม่เคยอบรมและเรียนรู้เรื่องนี้แบบจริงจังขนาดนี้” “คำถามบางคำถามทำให้เราได้ฉุกคิด” “สมุดเบาใจมีประโยชน์มากทำให้เราได้ทำหน้าที่แทนเราในวันที่เราไร้สติสัมปชัญญะ ..สมุดนี้กระผมอยากซื้อเพิ่ม” และสัมภาษณ์กลุ่มฆารวาส ภายหลังเข้าร่วมอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมเปิดใจยอมรับและพูดคุยเรื่องความตาย มีประทับใจกับชุดเครื่องมือและเห็นประโยชน์ของสมุดเบาใจ “ ถ้าเรามีหลักฐานสมุดเบาใจ ถ้าเราเป็นอะไรไป เขาก็จะเข้าใจและทำตามที่เราบอกไว้ เขาจะได้ไม่รู้สึกเสียใจและรู้สึกผิดภายหลัง”

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 10.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/photo/?fbid=979047657593986&set=pcb.979047720927313

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

วัดเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จังหวัดนครสวรรค์
ชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาทอง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

ก่อนเข้าร่วมอบรมกลุ่มฆารวาสที่มีคะแนนความรู้เท่าทันความตายสูงกว่าพระภิกษุ เพราะอสม. มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในชุมชน ได้พูดคุย ได้เห็นตลอดกระบวนการดูแลจนเสียชีวิต ทำให้มีความเข้าใจความรู้เท่าทันความตายมากกว่าพระภิกษุ ถึงแม้พระภิกษุเปรียบเหมือนผู้นำทางจิตตวิญญาณและมีความเข้าใจในหลักธรรม มีการศึกษาเรื่องความเป็นไปในชีวิตตามหลักสัจธรรม (การเกิด แก่ เจ็บ ตาย) หากเปรียบเทียบเชิงอุปมา “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ” ช่วยให้เข้าใจถึงพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้ชิดกับแนวคิดเรื่องความตายเสมอ แต่อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยหรือสัมผัสกับกระบวนการตายอย่างใกล้ชิด ทำให้การรับรู้เกี่ยวกับความตายถูกจำกัดอยู่ในกรอบของแนวคิดทางธรรม โดยไม่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตจริง ดังเช่นนกที่อยู่ในท้องฟ้าตลอดเวลาแต่ไม่เห็นถึงท้องฟ้าที่ห้อมล้อมตัวเอง หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำโดยไม่ตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมที่รายล้อม แต่เมื่อพระสงฆ์เปิดใจยอมรับที่จะพูดถึงและเรียนรู้เกี่ยวกับความตาย โดยผ่านการอบรมพัฒนาความรู้เท่าทันความตายตามองค์ประกอบทั้ง 4 ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) ทำให้พระสงฆ์เกิดความเข้าใจเห็นถึงความจริงของชีวิตในมิติที่ไม่สามารถเข้าใจได้จากการศึกษาทางธรรมเพียงอย่างเดียว นำไปสู่การวัดผลหลังเข้าร่วมอบรมคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3d, 10.3