MU-SDGs Case Study* | เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การพูดเรื่องความตาย ส่วนใหญ่ไม่ควรพูดถึงเพราะเป็นเรื่องอัปมงคล ตลอดระยะเวลา10 ปี ที่ดำเนินงานการดูแลการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ได้ทบทวนและเกิดการเรียนรู้ถึงการสร้างความเข้าใจเรื่อง “การเตรียมความพร้อมก่อนตาย” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพื่อนำไปสู่การ“ตายดี” จึงเป็นที่มาของการโครงการ“เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี” ให้กับเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และยกระดับในการสื่อสารผ่านชุดเครื่องมือ ของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี ผลการดำเนินโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจเรื่องความตายและการเตรียมความพร้อมก่อนตายและผู้เข้าร่วมการอบรมมีทักษะในการใช้เครื่องมือและนำไปปฏิบัติจริงกับผู้สูงอายุในศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองให้สามารถร่วมพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า(Advance care plan) จึงเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้ดำเนินชีวิตที่ดี ทั้งกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ การวางแผนการดูแลล่วงหน้าก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในระยะท้าย จึงขยายผลการนำเครื่องมือไปกับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้วเป็นการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ประเมินผลตัวชีวัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วย กระบวนการสัมภาษเชิงลึก focus group ผ่านการใช้เครื่องมือของ Peaceful Death ในการนำพาการพูดคุยเรื่องความตาย ผลการดำเนินโครงการ ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและมีผู้สูงอายุเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ขอนำไปศึกษารายละเอียดและให้พี่เลี้ยงช่วยเขียน(กรณีเขียนหนังสือไม่ได้) นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีมติร่วมกันเมื่อเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้าแล้วให้นำไปไว้ที่เรือนพยาบาลเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลสุขภาพและต้องการให้มีการเขียนการวางแผนการล่วงหน้าทุกคนในสถานสงเคราะห์คนชรา การขยายผลโครงการงานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เสนอขอทุนเพื่อขยายเครือข่ายให้มีทักษะความรู้ในการใช้เครื่องมือและขยายการเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า พื้นที่ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ผลของการขยายผล ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้และทักษะในการใช้ชุดเครื่องมือและสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ แกนนำกระบวนกรชุมชนกรุณาสามารถเลือกใช้ชุดเครื่องมือกับผู้สูงอายุในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม ผู้สูงอายุเปิดใจ ยอมรับการพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าได้ | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs16 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 16.7 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251 | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | ให้ความตายเป็นเรื่องที่พูดได้ เพื่อการอยู่ดีและตายดี | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.d |
Category: Goal 16 : Peace, justice and strong institutions
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions
การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายยุทธิชัย โฮ้ไทย นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์ นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ | ส่วนงานร่วม | คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ได้รับผลประโยชน์ ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินการ 1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด 2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง 3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด 4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด ผลกระทบทางสังคม 1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์ 3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด 4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ) | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13,15,16,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1, 15.1 16.7 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province)
MU-SDGs Case Study* | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province) | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
เนื้อหา* | แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต หลายคนเมื่อรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเองก็เลือกที่จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก จึงเกิดความต้องการดูแลประคับประคองที่บ้าน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญร่วมกับเครือข่ายสุขภาพที่อยู่ในชุมชนและคนในครอบครัว เพื่อร่วมจัดกิจกรรมช่วยให้เผชิญความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีจวบจนถึงวาระสุดท้าย และเสียชีวิตอย่างสงบ อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ดูแล 12 หมู่บ้าน ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของ รพ.สต.บ้านเขาทอง พ.ศ. 2564 พบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่จริงจำนวน 5,352 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 1,639 คน คิดเป็นร้อยละ 30.62 ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี จำนวน 326 คนคิดเป็น 19.89 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 1,614 ราย ซึ่งป่วยด้วยโรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคจิตเวช โรคไตวายเรื้อรัง และโรคมะเร็ง ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้สูงอายุระยะบั้นปลายของชีวิตจำนวน 24 คน เป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังเข้าถึงบริการได้ไม่ครอบคลุม ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภาระงานและจำนวนของบุคลกรในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีจำกัด ระบบการส่งต่อผู้ป่วยและการเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการระหว่างหน่วยงานบริการด้านสุขภาพมีความล่าช้า อีกทั้งเจ้าหน้าที่และเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชนขาดความมั่นใจในการดูแลด้านจิตใจ ผู้ดำเนินการจึงใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยนำผลการทำวิจัยและพัฒนารูปแบบแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ประยุกต์ใช้ร่วมกับการภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของชุมชนตำบลเขาทอง จัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบททางสังคมของชุมชน โดยประยุกต์กิจกรรมร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. การดำเนินกิจกรรม 1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง พยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่ชุมชน 3.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยแต่ละราย รายละเอียดการเจ็บป่วย เพื่อวางแผนการให้บริการ 4.ประสานงานชี้แจงรูปแบบกิจกรรมการดูแล แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสหวิชาชีพด้านสุขภาพ แกนนำชุมชม อสม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้บริการ และกำหนดนัดหมาย 5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแผนการดูแลสำหรับการให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย 6.ให้บริการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ตามลักษณะและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยและครอบครัว 7.กำหนดนัดหมายการดูแลต่อเนื่องตามลักษณะความต้องการของผู้ป่วย 8.สรุปผลการให้การดูแล รายงานผลการดูแลผู้ป่วยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้การดูแล เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 18 ราย จำแนกเป็น เพศชาย 10 ราย เพศหญิง 8 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 4 ราย ผู้สูงอายุระยะบั้นปลายและป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 9 ราย เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 5 ราย ผู้ที่ได้รับการดูแล มี คะแนน PPS อยู่ระหว่าง 10 – 80 คะแนน เฉลี่ยคือ 41 คะแนน อัตราการเข้าถึงบริการร้อยละ 75 ประชาชนในชุมชน ญาติ และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับซึ่งประเมินได้จากท่าทีและคำพูดที่แสดงความขอบคุณให้กับทีมผู้รับดำเนินกิจกรรม | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.7 3(c) | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/257441?fbclid=IwAR0k-4W9FFtt10lbdIzQ25ic3olEtki6MfjygMjcgZ6eEcDXSVYM5u2cN3g | ||||||||
https://www.facebook.com/257376708255620/posts/pfbid02uhMm3RAQAV9cvEWUoqQQwh33AbLdC8GyHQ4hdYV8ifh6XKjvwxLtGQB6t8ApdMDAl/ | |||||||||
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0kvfBQcWMFT1yvePcDGAQ6S53fyEGZVanHSyEuBpAP13L3dPfd5ESdxAvDyprDxH7l&id=100001448635895 | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนเขาทอง เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิพยุหะคีรี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขาทอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขาทอง | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเสมอภาค การดูแลประคับประคองที่บ้านถือเป็นบริการด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มของความต้องการมากขึ้น การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจะนำมาซึ่งการจัดบริการอย่างครอบคลุมและเกิดความยั่งยืนในชุมชน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1 3.3.2 |
เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ |
รายละเอียด |
||||||
โครงการ ชื่องานวิจัย |
เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์ |
||||||
ผู้รับผิดชอบ |
นางศศิธร มารัตน์ |
||||||
ที่มาและความสำคัญ |
สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 19 (Covid- 19) ที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีนเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีการระบาดอีกหลายประเทศทั่วโลกติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน และในช่วงเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมาประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก รัฐบาลมีนโยบายให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ได้รับเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา โดยให้ทุกชุมชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ได้รับเชื้อโควิด 19 ที่ไม่แสดงอาการกลับมาพักคอยในชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่จะต้องจัดตั้งศูนย์พักคอยและขยายศูนย์มาใช้พื้นที่ของวโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ด้วยเห็นความสำคัญและห่วงใยต่อสภาพจิตใจและการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ได้รับเชื่อโควิด 19 ที่ศูนย์พักคอยตำบลเขาทองและศูนยพักคอยกันภัยมหิดล และเพื่อยึดมั่นต่อพันธกิจของ วิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือชุมชน |
||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
1. ศูนย์พักคอย ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่เขาทอง 2. ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดล |
||||||
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทอง 2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองได้ผ่อนคลายลดภาวะความเครียด 3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองได้มีความรู้ปฏิบัติตัวและดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 4เพื่อสนับสนุนพันธกิจของวิทยาเขตด้านงานบริการวิชาการต่อสังคม |
||||||
ปีที่จัด |
2564 |
||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง |
สิงหาคม 2564 – กันยายน 2564 |
||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ |
ระดับชุมชน ระดับตำบล |
||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม) |
1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล 2.องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง 3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทอง |
||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
1. ประสานงานกับผู้ดูแลศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และรูปแบบการดำเนินกิจกรรม 2. วางรูปแบบการจัดโครงการ 3. ดำเนินกิจกรรม – เป็นการจัดกิจกรรมระหว่างวัน วันล่ะ ครั้ง 5 ครั้ง/สัปดาห์ – จัดกิจกรรมผ่านกระบวนการจิตตปัญญา – ให้สุขศึกษาด้านการปฏิบัติตัวและดูแลตนเองตามหลักวิชาการ |
||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
จำนวนผู้ได้รับเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง) รวม 21 คน
|
||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
|||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1. จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง) รวม 21 คน 2. ผู้ติดเชื้อที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้ระบายความทุกข์/ความโคกเศร้าผ่านการวาดภาพ 3. ส่วนใหญ่จะมีความเครียดและวิตกกังวลสูงในช่วงสัปดาห์แรกเมื่อทราบผลการติดเชื้อ 4. สาเหตุของความเครียดส่วนใหญ่กลัวทำให้ผู้ที่ใกล้ชิดติดเชื้อด้วย ลองลงมาคือเสียงรอบข้างกล่าวโทษทำให้ชุมชนเดือดร้อน 5.สัปดาห์ที่ 2 ผู้ติดเชื้อทุกคนผ่อนคลายและชุมชนให้การยอมรับการกลับสู่ชุมชน 6. ผู้ติดเชื้อปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง และออกกำลังกายทุกวันตามที่ได้รับคำแนะนำ 7. หน่วยงานองค์กรภายในชุมชนร่วมมือเอื้อเฟื้อให้ความช่วยเหลือ 8.เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วนในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนในชุมชน |
||||||
Web link |
– |
||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||
SDGs goal |
Goal 3 : Good health and well being Goal 6 : Clean water and sanitation Goal 16 : Peace, justice and strong institutions |
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย | ||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย | ||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศและการกักเก็บน้ำ ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเข้มข้นของชาวบ้านในพื้นที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันในกลุ่มอาชีพของภาคประชาชน การไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐและประชาชน การดำเนินการที่ติดขัดข้อกฎหมายที่มีหลายฉบับ และอำนาจตัดสินใจอยู่ในหลายหน่วยงาน ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2564) มีการขับเคลื่อนด้วยการศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการทบทวนเอกสาร รวบรวมข้อมูลงานวิจัย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีการคืนข้อมูลให้กับทุกภาคส่วนทีละกลุ่ม แล้วนำตัวแทนมาคืนข้อมูลร่วมกันกับทุกกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจปัญหา ยอมรับปัญหา เข้าใจสาเหตุของปัญหา และเข้าใจกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มและสร้างความร่วมมือ จนนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดร่วมกันเพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้บึงบอระเพ็ดถูกตั้งเป็นปัญหาวาระสำคัญของชาติ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาที่เป็นแผนปฏิบัติการ และการทบทวนแผนการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สุดท้ายแล้วคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2563–2572) วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,701.5 ล้านบาท ต่อมาเครือข่ายบึงบอระเพ็ดร่วมพัฒนาโครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด เพื่อสร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การจัดทำแผนที่บึงบอระเพ็ด การประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด เป็นต้น การเกิดเครือข่ายบึงบอระเพ็ดทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในบึงบอระเพ็ด ทำให้แสดงให้เห็นว่าการที่ทุกภาคส่วนมีความรู้ที่ถูกต้องและเท่ากัน จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดที่ยั่งยืนได้ |
||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในบึงบอระเพ็ด |
||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2554-2564 | ||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 10 ปี | ||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด | ||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน) ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ประชาชนในบึงบอระเพ็ด |
||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การให้คำปรึกษา การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายบึงบอระเพ็ด (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน) |
||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 50 คน | ||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.ประชาชนได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์เป็นไปตามข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยล่าสุดได้รับสัญญาเช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นว.339 (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,542 แปลง คงเหลืออีกประมาณ 5,000 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาการเช่า 2.โครงการภายใต้ข้อเสนอของ “เครือข่ายบึงบอระเพ็ด” ถูกบรรจุในส่วนหนึ่งของแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดที่ได้รับอนุมัติดำเนินการ 10 ปี (2563-2572) ซึ่งแผนปฏิบัติการเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีระยะ 3 ปี (2563-2565) จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท 3.เกิดการตรวจสอบแนวเขตและเข้าครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 6,888 แปลง ทำให้ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ดได้ 4.การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายบึงบอระเพ็ด สามาถลดความขัดแย้งของทุกภาคส่วน 5.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด |
||||||||
Web link |
https://na.mahidol.ac.th/th/2021/6650 https://na.mahidol.ac.th/bungresearch/index.php/2021-11-16-09-38-44 |
||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||
SDGs goal | Goal 6 : Clean water and sanitation Goal 16 : Peace, justice and strong institutions Goal 17 : Partnerships for the goals |
โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2 | ||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์ | ||||||
ที่มาและความสำคัญ |
เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560) นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป
|
||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง | ||||||
วัตถุประสงค์ |
1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้ 5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3) |
||||||
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม | พ.ศ. 2562 | ||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563 | ||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ | ||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม) |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา | ||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ -การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง -การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย -การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน -การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. -การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท. -การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) -การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา -การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย |
||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม | ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา | ||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 228 คน | ||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท -อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ -อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน -การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม |
||||||
Web link |
Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/ SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/ Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ |
||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||
SDGs goal |
Goal 1 : No poverty |