Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล | ||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์ | ||||||||||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
เกิดจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต ทางศูนย์ฯจึงได้เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณมาเพื่อดำเนินงานแก้ปัญหา และในปีงบประมาณ 2559 และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พิจิตร ,กำแพงเพชร,นครสวรรค์ และอุทัยธานี) โดยในโครงการได้มีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ และเครือข่ายหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มาระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหา จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน โดยในกระบวนการสร้างมาตรฐานได้อิงจากมาตรฐานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เกิดเป็น “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล”จากการร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างมาตรฐานการปลูกข้าวอินทรีย์ และส่งผลให้เกิด “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล” เกษตรกรได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ ลดข้อสงสัย และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง |
||||||||||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี |
||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ให้เกิดกลุ่มที่เข้มแข็งและมีมาตรฐาน 2.สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ เพื่อนำมาพัฒนาการทำนาแบบอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย 4.สร้างองค์ความรู้เรื่องใช้สารชีวินทรีย์และสมุนไพรที่ใช้ในการทำนาอินทรีย์ที่ได้ผลดี และรวบรวมเก็บเป็นข้อมูลเพื่อนำไปถ่ายทอด 5.เพื่อให้เกษตรกรที่ทำข้าวอินทรีย์สามารถเข้าถึงมาตรฐานที่สามารถทำได้ และเกษตรกรสามารถเชื่อมโยงผลผลิตข้าวไปต่อยอดทางการตลาดร่วมกันได้ โดยเกษตรกรจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้ |
||||||||||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2559-ปัจจุบัน | ||||||||||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 5 ปี | ||||||||||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด | ||||||||||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เครือข่ายเกษตรกรจังหวัด พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี สภาเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ |
||||||||||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การวางแผนปลูก การขึ้นทะเบียนสมาชิกก่อนเริ่มฤดูกาลปลูกจะต้องมีการแจ้งปลูก และมีการแบ่งทีมตรวจแปลงกันภายในกลุ่ม การตรวจข้ามกลุ่ม รวมทั้งการเรียนรู้แนวทางวิธีการการป้องกัน กำจัด โรค แมลงศัตรู โดยชีววิธีร่วมด้วย โดยตลอดกระบวนการเพาะปลูกข้าวจะต้องทำตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันตามมาตรฐานเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกลุ่มจะไม่รับรองให้ผ่านกระบวนการปลูก แต่ถ้าท่านใดปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้ได้ทุกเรื่องจะได้ผ่านการรับรองกระบวนการปลูกจากทางกลุ่ม ผู้ผ่านกระบวนการปลูกสามารถส่งผลผลิตเข้าตรวจสารกำจัดแมลงที่ห้องแลปของวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการทดสอบสารฆ่าแมลงในเมล็ดข้าว กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC) ไพเรทรอยด์(PT) ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM) โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2 | ||||||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี |
||||||||||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
มีผู้สนใจเข้าร่วม เครือข่าย ทั้งหมด344 ราย มาจากรายเดี่ยว(ไม่มีกลุ่ม) 15 ราย และมาจาก 34 กลุ่ม ซึ่งสามารถแยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้คือ มาจากจังหวัดพิจิตร 12 กลุ่ม จำนวน 157 ราย จากจังหวัดกำแพงเพชร 22 กลุ่ม 81 ราย สจากจังหวัดนครสวรรค์ 14 กลุ่ม 59 ราย และจากจังหวัดอุทัยธานี 10 กลุ่ม 47 ราย |
||||||||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.เกิดเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ต้นแบบ ที่เข้มแข็ง โดยการขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 1 เครือข่าย จำนวนสมาชิก 344 ราย มีพื้นที่การทำนาอินทรีย์รวมประมาณ 3,500 ไร่ 2.เกิดการบูรณาการและพัฒนาการบริการวิชาการ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และสามารถยกระดับสู่การขอรับรองอนุสิทธิบัตร ( ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 378760 รับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562) 3.สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ยรายละไม่น้อยกว่า 35,000 บาท ต่อปี 4.เกษตรกรที่เข้าร่วมสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รอบละ ไม่น้อยกว่า 1,500 – 2,000 บาทต่อไร่ หรือ ประมาณ 3,000 – 4,000 บาท ต่อปี (คิดจากการทำนาปีละ 2 รอบ) |
||||||||||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||||||||||
SDGs goal | Goal 1 : No poverty Goal 2 : Zero hunger Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 8 : Decent work and economic growth Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 15 : Life on land |