พัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

พัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

          หนึ่งในสัจธรรมแห่งชีวิตที่มนุษย์นั่นคือ “ความตาย” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธที่จะพูดถึง ในทางพุทธศาสนาพระภิกษุเป็นผู้สืบทอดศาสนา เป็นผู้เยียวยาด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ พระภิกษุมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความตายมากที่สุด จากการทบทวนวรรณกรรม สุขสันติ งามแก้มและบำเพ็ญจิต แสงชาติ, (2559) ได้ศึกษา การตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุ พบว่า การสะท้อนการตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุจำนวน 3 แก่นสาระ ดังนี้1) การตายที่ไม่ทรมาน 2) การตายที่เป็นไปตามวัฏ และ 3) การตายที่เข้าใจ ในความตาย องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ช่วยยืนยันและขยายภาพการตายดีจากการศึกษาที่ผ่านมาผ่านการรับรู้ของพระภิกษุผู้ให้การดูแลพระภิกษุอาพาธจนกระทั่งมรณภาพ และการศึกษาของพระครูอรรถจริยานุวัตร (สุเทพ ศรีทอง), (2564) ได้ศึกษา การเตรียมตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าท่าทีต่อความตายและวิธีปฏิบัติต่อความตายนั้น เห็นว่า ยิ่งพิจารณาเห็นความตายให้เป็นความธรรมดาได้มากเท่าไหร่ก็จะลดความทุกข์ที่เกิดจากความตายได้มากเท่านั้น การทำความคุ้นเคยกับความตาย เพื่อเผชิญกับความตายอย่างมีสติจึงจะเป็นการตายดีที่มีคุณภาพตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ เป็นการเติมเต็มองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ให้มีความครอบคลุมทุกมิติ เกี่ยวข้องกับความตายให้มีความสมบูรณ์ในฐานะพระภิกษุซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสามารถนำไปถ่ายทอด ส่งเสริมชุมชนให้อยู่ดีและตายดีได้ โดยครอบคลุมทุกมิติ สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีพุทธ การศึกษาการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ผลก่อนและหลังการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุและฆารวาส และเปรียบเทียบผลการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายระหว่างพระภิกษุและฆารวาส

          วิธีดำเนินการ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านการพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100  คน เป็น พระภิกษุ จำนวน 15 รูป ฆารวาส จำนวน 15 คน และมีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน ผลการวิเคราะห์ความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาสก่อนและหลังการอบรม เมื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาส ก่อนการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 42, p < 0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆราวาสสูงกว่าพระสงฆ์ (ค่าเฉลี่ยคะแนนพระสงฆ์ = 10.80,ค่าเฉลี่ยคะแนนฆราวาส =20.20) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้ของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-2.138], p < 0.05)  3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆารวาสก่อนและหลังการอบรม พบว่าคะแนนความรู้ของกลุ่มฆราวาส ก่อนและหลังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-1.039], p > 0.05) 

          จากการสัมภาษณ์พระภิกษุที่เข้าร่วมอบรมภายหลังใช้เครื่องมือ เกมส์ไพ่ไขชีวิต และกร์าดแชร์กันเปิดใจยอมรับในการพูดคุยเรื่องความตายและมีมุมมองเรื่องความตายที่เปลี่ยนไป จากคำบอกเล่า “ เป็นการอบรมที่แปลก ไม่เคยอบรมและเรียนรู้เรื่องนี้แบบจริงจังขนาดนี้” “คำถามบางคำถามทำให้เราได้ฉุกคิด” “สมุดเบาใจมีประโยชน์มากทำให้เราได้ทำหน้าที่แทนเราในวันที่เราไร้สติสัมปชัญญะ ..สมุดนี้กระผมอยากซื้อเพิ่ม” และสัมภาษณ์กลุ่มฆารวาส ภายหลังเข้าร่วมอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมเปิดใจยอมรับและพูดคุยเรื่องความตาย มีประทับใจกับชุดเครื่องมือและเห็นประโยชน์ของสมุดเบาใจ “ ถ้าเรามีหลักฐานสมุดเบาใจ ถ้าเราเป็นอะไรไป เขาก็จะเข้าใจและทำตามที่เราบอกไว้ เขาจะได้ไม่รู้สึกเสียใจและรู้สึกผิดภายหลัง”

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 10.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/photo/?fbid=979047657593986&set=pcb.979047720927313

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

วัดเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จังหวัดนครสวรรค์
ชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาทอง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

ก่อนเข้าร่วมอบรมกลุ่มฆารวาสที่มีคะแนนความรู้เท่าทันความตายสูงกว่าพระภิกษุ เพราะอสม. มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในชุมชน ได้พูดคุย ได้เห็นตลอดกระบวนการดูแลจนเสียชีวิต ทำให้มีความเข้าใจความรู้เท่าทันความตายมากกว่าพระภิกษุ ถึงแม้พระภิกษุเปรียบเหมือนผู้นำทางจิตตวิญญาณและมีความเข้าใจในหลักธรรม มีการศึกษาเรื่องความเป็นไปในชีวิตตามหลักสัจธรรม (การเกิด แก่ เจ็บ ตาย) หากเปรียบเทียบเชิงอุปมา “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ” ช่วยให้เข้าใจถึงพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้ชิดกับแนวคิดเรื่องความตายเสมอ แต่อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยหรือสัมผัสกับกระบวนการตายอย่างใกล้ชิด ทำให้การรับรู้เกี่ยวกับความตายถูกจำกัดอยู่ในกรอบของแนวคิดทางธรรม โดยไม่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตจริง ดังเช่นนกที่อยู่ในท้องฟ้าตลอดเวลาแต่ไม่เห็นถึงท้องฟ้าที่ห้อมล้อมตัวเอง หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำโดยไม่ตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมที่รายล้อม แต่เมื่อพระสงฆ์เปิดใจยอมรับที่จะพูดถึงและเรียนรู้เกี่ยวกับความตาย โดยผ่านการอบรมพัฒนาความรู้เท่าทันความตายตามองค์ประกอบทั้ง 4 ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) ทำให้พระสงฆ์เกิดความเข้าใจเห็นถึงความจริงของชีวิตในมิติที่ไม่สามารถเข้าใจได้จากการศึกษาทางธรรมเพียงอย่างเดียว นำไปสู่การวัดผลหลังเข้าร่วมอบรมคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3d, 10.3

กิจกรรมสร้างสุข ส่งเสริมสุขภาพจิตทุกช่วงวัยภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

MU-SDGs Case Study*

กิจกรรมสร้างสุข ส่งเสริมสุขภาพจิตทุกช่วงวัย
ภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.จุฑารัตน์ สว่างชัย
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.ทัตติยา ชังชั่ว
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์
3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน
5. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

เนื้อหา*

1. ความสำคัญ

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายมุ่งเน้นประจำปี พ.ศ. 2566 ในการส่งเสริมและดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) จนสามารถดูแลตัวเองได้ ปัญหาด้านสุขภาพจิตสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการถูกกระทำรุนแรงด้านจิตใจ เช่น การพูดไม่ดี ทะเลาะ ทำให้เสียใจ น้อยใจ การปลูกผังค่านิยมที่ผิดของสังคม รุนแรงไปถึงปัญหาการทอดทิ้งไม่ดูแล จากปัญหาเหล่านี้ส่งผลเกิดความคิดด้านลบ อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธี อาจทำให้เกิดปัญหาต่ออารมณ์ พฤติกรรมและร่างกายที่ร้ายแรง

ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางสุขภาพของประเทศไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดทำโครงการสร้างสุข ส่งเสริมสุขภาพจิตทุกช่วงวัยขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้น ซึ่งสามารถส่งต่อข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการป้องกัน ฟื้นฟู และส่งต่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

2. ผลการดำเนินงาน

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติรวมทั้งการพัฒนาสุขภาพจิต โดยมีระดับความพึงพอใจต่อโครงการภาพรวม          

           1.1 กลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยรวมระดับมาก 

           1.2 กลุ่มวัยทำงาน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยรวมระดับมากที่สุด   

           1.3 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยรวมระดับมากที่สุด

2. ประเมินปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มเป้าหมายพบว่า 

           2.1 กลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ไม่มีภาวะเครียด (ร้อยละ 68.38) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 67.88) และไม่มีปัญหาติดเกมส์ (ร้อยละ 81.45)      
           2.2 กลุ่มวัยทำงาน ไม่มีภาวะเครียด (ร้อยละ 60) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 100) ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย (ร้อยละ 100) และไม่มีมีภาวะหมดไฟ ระดับ (ร้อยละ 60)      

           2.3 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ไม่มีภาวะเครียด (ร้อยละ 55) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 95) ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย (ร้อยละ 100) และไม่สงสัยภาวะสมองเสื่อม (ร้อยละ 100)   

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น 
      1) เด็กวัยเรียนมีความสนใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี เรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์ชนิดต่าง ๆ มีความตะหนักถึงการเคารพและให้เกียรติผู้อื่น มีความระมัดระวังในการแสดงพฤติกรรมและคำพูดที่ไม่ดีต่อผู้อื่น สามารถแยกแยะคำพูดที่ดี หรือไม่ดี การพูดให้กำลังใจ การพูดชมเชย และให้เกียรติเพื่อน และผู้อื่น
     2) วัยทำงาน ได้เรียนรู้ตัวตน และความรู้สึกของตนเอง มีความเข้าใจตนเอง และผู้อื่นมากขึ้นผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน
     3) ผู้สูงอายุ ได้ฝึกสมอง พัฒนาความจำ จากการเล่นเกม รวมทั้งการเสริมสร้างสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้ผ่อนคลายความเครียด มีความสนุก เพลิดเพลิน และมีความสุข
 
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.moph.go.th/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์

3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์

4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน

5. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ 

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมการพัฒนาความรู้และศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพจิต จะช่วยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.1, 3.3.2

กิจกรรม โลกสดใสด้วยสุขภาวะทางตาที่ดี ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

MU-SDGs Case Study*

กิจกรรม โลกสดใสด้วยสุขภาวะทางตาที่ดี ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.ดร.สรัญยา ลิ้มสายพรหม
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.จุฑารัตน์ สว่างชัย
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.ทัตติยา ชังชั่ว
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์
3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

เนื้อหา*

1. ความสำคัญ

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายมุ่งเน้นประจำปี พ.ศ. 2566 ในการส่งเสริมและดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) จนสามารถดูแลตัวเองได้ รวมถึงการเพิ่มขอบเขตความสามารถให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็น Smart อสม. เพื่อดูแลและให้ข้อมูลประชาชนได้อย่างครอบคลุม ซึ่งปัญหาสุขภาพของแต่ละช่วงวัยพบได้แตกต่างกันออกไป ในกลุ่มผู้สูงอายุ มักพบปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะการมองเห็น เช่น สายตายาว จอประสาทตาเสื่อม ต้อชนิดต่าง ๆ หรืออาจเป็นโรคร้ายหากไม่ได้รับการตรวจและส่งต่อรักษาอย่างทันท่วงที โดยผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพตาทุกปี และต้องมีความรู้ในการดูแลและปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพตา ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางสุขภาพของประเทศไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดทำโครงการโลกสดใสด้วยสุขภาวะทางตาที่ดี ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพตา และได้รับการประเมิน คัดกรองปัญหาสุขภาพตาและการส่งต่อเบื้องต้น ซึ่งสามารถส่งต่อข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการป้องกัน ฟื้นฟู และส่งต่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

2. ผลการดำเนินงาน

   กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพตา และจากการประเมิน คัดกรองปัญหาสุขภาพตาเบื้องต้นพบว่า

          1) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพตา การดูแล และการแก้ปัญหาเบื้องต้นทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ 66.84 หลังการอบรม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85.42
          2) กลุ่มวัยทำงาน มีปัญหาสุขภาพตา (ร้อยละ 32) ส่วนใหญ่มีต้อเนื้อ (ร้อยละ 14 รองลงมา ต้อกระจก ต้อลม และต้อหิน ตามลำดับ (ร้อยละ 8, 6, 2) นอกจากนี้ไม่มีภาวะตาบอดสี (ร้อยละ 100)
           3) กลุ่มวัยผู้สูงอายุ มีปัญหาสุขภาพตา (ร้อยละ 78.33) ส่วนใหญ่มีต้อกระจก (ร้อยละ 35 รองลงมา ต้อลม และต้อเนื้อ ตามลำดับ (ร้อยละ 26.67, 8.33) นอกจากนี้ไม่มีภาวะตาบอดสี (ร้อยละ 100)

ผลกระทบที่เกิดขึ้น 
      1)  เกิดการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพตา การดูแล และการแก้ปัญหาเบื้องต้น รวมทั้งสร้างตระหนักรู้ในดูแลสุขภาพมากขึ้นในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และกลุ่มผู้สูงอายุ 
      2) กลุ่มเป้าหมายได้ทราบผลคัดกรองสุขภาพตา สามารถส่งต่อข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งได้รับการส่งต่อเพื่อให้ได้การรักษาที่เหมาะสม
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.moph.go.th/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์
3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมการพัฒนาความรู้และศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพตา จะช่วยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.1, 3.3.2

กิจกรรม ประถมศึกษาฉลาดรู้ และเท่าทันเพศวิถี ภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

MU-SDGs Case Study*

กิจกรรม ประถมศึกษาฉลาดรู้ และเท่าทันเพศวิถี
ภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.ทัตติยา ชังชั่ว
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน
3. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

เนื้อหา*

1. ความสำคัญ
          ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายมุ่งเน้นประจำปี พ.ศ. 2566 ในการส่งเสริมและดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) จนสามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพของแต่ละช่วงวัยพบได้แตกต่างกันออกไป สำหรับกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น พบว่า ในปัจจุบันข่าวเรื่องเพศมักปรากฏในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ การท้องในวัยเรียนและการรับมือด้วยวิธีที่ไม่ปลอดภัย จนถึงการเลือกปฏิบัติในผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งทางแก้ไขคือการสอนอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดความเท่าทันต่อเรื่องเพศของตนเอง สามารถเลือกวิธีการที่ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

          ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางสุขภาพของประเทศไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดทำโครงการประถมศึกษาฉลาดรู้ และเท่าทันเพศวิถี ในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา วิธีการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และกระบวนการพัฒนาตนเองทางเพศที่เหมาะสม 

2. ผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

     1) มีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100

     2) อาหารว่างและเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 100

     3) การใช้เวลาอบรมของวิทยากรมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100

     4) อุปกรณ์ที่ใช้ในสื่อการสอนมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100

     5) ความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ระดับพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90 และระดับพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 10 ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥= 4.9, S.D. = .86)

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ
จากการสนทนากลุ่มคุณครู และนักเรียน “กิจกรรมประกอบอุปกรณ์เสริม และหุ่นจำลองช่วยสอนทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น มีความสนุกได้ความรู้ และเหมาะสมกับวัยที่ควรรู้ เด็กสมารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเมื่ออยู่ที่บ้านหรือในชุมชนได้ การเตรียมเด็กตั้งแต่ก่อนวัยรุ่นเป็นสิ่งสำคัญมาก จะช่วยลดปัญหาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้”

ผลกระทบที่เกิดขึ้น 
           กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา วิธีการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และกระบวนการพัฒนาตนเองทางเพศที่เหมาะสม รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง คุณครู และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นถึงความสำคัญเพิ่มมากขึ้น
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.moph.go.th/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน
3. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมการพัฒนาความรู้และศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพ รู้จักวิธีป้องกันและปฏิบัติตัวให้เหมาะสมเกี่ยวกับเพศศึกษาอย่างครอบคลุม จะช่วยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.1, 3.3.2

พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

MU-SDGs Case Study*

พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย    ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

           โรงพยาบาลมโนรมย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีเครื่อข่ายปฐมภูมิ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร) แต่ละพื้นที่มีจัดบริการกองทุน Long Term Care ซึ่งเป็นการดูแล ส่งต่อ ตั้งแต่โรงพยาบาลสู่บ้านมีการส่งข้อมูลสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลแบบประคับประคองร่วมกันทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านแต่ด้วยจำนวนพยาบาลที่จำนวนจำกัดในการดูแลที่ซึ่งต้องทำ family meeting และAdvance care plan ที่บ้านจึงทำให้เกิดการดูแลไม่ทั่วถึง เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการตายดีและการดูแลแบบประคับประคองให้เป็นระบบ การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการการดูแล จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองของทีมสุขภาพ ในเขตพื้นที่เครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรให้แก่บุคลากรทีมสุขภาพในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ ประกอบด้วยการอบรมทักษะกระบวนกรเบื้องต้น ได้แก่ ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death ได้แก่ เกมส์ไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน การ์ดแชร์กัน แคร์คลับและสมุดเบาใจ ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ (Health Communication Assessment Tool : HCAT) ก่อนและหลังการอบรม 

            ผลการประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ พบว่า จากผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 37 คน เป็นชาย 3 คน  หญิง 34 คน อายุเฉลี่ย 55 ปี มีคะแนนทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์หลังอบรมมีค่าเฉลี่ย 98.38 (SD= 13.68) สูงกว่าก่อนอบรมมีค่าเฉลี่ย 83.83 (SD= 8.28) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p<.001)  การเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ ผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง เห็นได้จากผู้เข้าร่วมอบรมสะท้อนว่า“ได้ไปจัดเก็บข้าวของ..(สมบัติ)ให้เป็นหมวดหมู่…เป็นระเบียบ…และหาง่าย” “ได้บอกกับแม่ว่า..ถ้าตายให้สวดหนึ่งคืน…เผาเลย” และสามารถพูดคุยสื่อสารเรื่องความตายกับคนในครอบครัวและสื่อสารพูดคุยกับป่วยและญาติได้ 

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.c

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.4
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://discord.com/channels/1204631979358822400/1220262637083037747

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

เครื่อข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร)

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“ทักษะการสื่อสารของทีมสุขภาพเป็นหัวใจการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ การอบรมนี้จึงป็นการเตรียมบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยตามแนวนโยบายชีวาภิบาล”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.c, 4.4

การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว

MU-SDGs Case Study*

การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ    ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

           การวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า (advance care planning: ACP) เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลกับครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อแสดงเจตจำนงค์ของบุคคลต่อการดูแลในช่วงระยะท้ายของชีวิต และช่วยลดความกังวลในการตัดสินใจหรือลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัวและทีมสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การพูดถึงการเตรียมความตายในสังคมไทยส่วนใหญ่ยังมองเป็นเรื่องอัปมงคลที่ไม่ควรพูดถึง การศึกษานี้ได้นำชุดเครื่องมือของ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเตรียมตัวตายและการวางแผนสุขภาพล่วงหน้าในกลุ่มผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านเขาบ่อแก้ว จำนวน 26 คน ที่ได้คัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่ประกอบด้วยกระบวนการวางแผน การปฏิบัติ การประเมิน และการสะท้อน และแนวคิดแนวคิดชุมชนกรุณา 

            ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราเข้าร่วมจำนวน 26 คน เพศชาย 16 คน (ร้อยละ 61.5) เพศหญิง 10 คน (ร้อยละ38.5) ผู้สูงอายุจำนวน 15 คน (ร้อยละ 57.7) ได้เขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำเร็จ และจำนวน 11 คน (ร้อยละ 42.3) ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม นอกจากนี้ ผลการปฏิบัติการใช้ชุดเครื่องมือ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า ค้นพบว่า ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ทัศนคติเชิงบวกต่อการพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวตาย (2) ความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิการตายดีเพิ่มขึ้น และ (3) ความตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง (ownership) การศึกษานี้ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมตานโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 10.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/share/p/1BazEP4gxV

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“ถึงผู้สูงอายุจะอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา ผู้สูงอายุก็มีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันกับผู้สูงอายุในสังคม เขาก็มีสิทธิในการวางแผนการดูแลสุขภาพและได้รับการดูแลตาเจตจำนงของเขา”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3d,10.3

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

MU-SDGs Case Study*

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวอติพร โพธิ์แก้ว

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer)
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.สมสุข พวงดี
ผศ.ดร. ศศิมา วรหาญ

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์

1. สร้างแหล่งอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยให้แก่ครอบครัวและชุมชน

2. เพิ่มรายได้จากธุรกิจไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพารา

3. เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา

4. จัดการหมุนเวียนเศษเหลือทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์

สืบเนื่องจากโครงการนี้เป็น senior project ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) นางสาวอติพร โพธิ์แก้วได้นำความรู้และทักษะจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยมาพัฒนาระบบการเกษตรที่บ้านเกิดให้ยั่งยืนและเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนระบบการเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว (Monoculture) เน้นการปลูกสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน รายได้หลักจึงมาจากผลผลิตจากยางพารา และปาล์มน้ำมัน พืชทั้งสองชนิดนี้ใช้เวลาเก็บเกี่ยวในครั้งแรกนานถึง 5-6 และ 4-7 ปี ตามลำดับ และถูกควบคุมราคาจากพ่อค้าคนกลาง จากข้อจำกัดทั้งสอง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายรับไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีรายได้น้อย ในแง่ของระบบนิเวศ การทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในชุมชนนาวงลดลง ผลที่ตามคือการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช และพึ่งพาแหล่งอาหารจากภายนอกมากขึ้น 

พื้นที่ตัวอย่างในการทำปริญญานิพนธ์ เป็นพื้นที่ที่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวเช่นกัน การปลูกผลไม้แซมริมขอบสวนยางพาราจึงถูกริเริ่มเพื่อหาแนวทางลดข้อจำกัดดังกล่าว เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง ลองกอง และกล้วย เป็นต้น ผลที่ตามมาคือครอบครัวมีรายได้จากการจำหน่ายผลไม้ทั้งสดและแปรรูปในช่วงผลไม้ให้ผลผลิต รวมถึงสร้างการแบ่งปันให้คนในชุมชนเป็นบางครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและเกิดการหมุนเวียนมูลเป็นปุ๋ยให้พืชได้ขึ้นเอง เนื่องจากนกและไก่ป่าเข้ามาอยู่อาศัยในสวนยางพาราผสมผลไม้ และขับถ่ายมูลลงมาตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีการปลูกผลไม้ร่วมกับยางพารา แม้จะมีข้อดีดังกล่าว แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นตามฤดูกาลเท่านั้น 

ระหว่างการเรียนรู้การทำธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก ภายใต้แบรนด์ “the teak chicken” ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ากลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพมีอยู่จริง และพร้อมยอมจ่ายให้กับไข่ที่มีคุณภาพ สด ปลอดภัย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวจึงมองเห็นโอกาสการสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้รายวันในสวนยางพาราของตัวเองได้ และการหมุนเวียนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่ส่งกลิ่นเหม็นในชุมชนมาใช้เป็นอาหารไก่เพื่อลดต้นทุน

ผลลัพธ์ของ senior project พบว่าการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถ
•สร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่สด ปลอดภัย มีคุณภาพ และจำหน่ายในราคาที่ชุมชนเข้าถึงได้
•สร้างรายได้รายวันจากการจำหน่ายไข่ไก่และรายเดือนจากการจำหน่ายปุ๋ยมูลไก่ให้แก่ครอบครัว
•เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา
•จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นเหม็นจากกากมะพร้าวคั้นกะทิในชุมชน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2,12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.1, 2.3, 2.4
12.3, 12.a, 12.b 

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs15

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 15.1, 15.4, 15.9
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/profile.php?id=100024874219328&mibextid=LQQJ4d

https://youtube.com/shorts/U2mDfcVcKgc?si=ph1oFacX2sUILKhI

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ชุมชนบ้านไสบ่อ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถดำเนินเป็นธุรกิจในชุมชนได้ ไม่เพียงสร้างรายได้รายวันเท่านั้น แต่ยังสร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพ สด และปลอดภัยให้แก่ชุมชนได้เข้าถึงในราคาไม่แพง (SDGs2, 12) นอกจากนี้การเลี้ยงไก่ไข่ยังช่วยเพิ่มสิ่งมีชีวิตในสวนยางพาราให้มีความหลากหลายได้อีกด้วย (SDGs15) ในแง่สิ่งแวดล้อมการเลี้ยงไก่ไข่ในสวนยางพาราช่วยเปลี่ยนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่เหลือทิ้งเป็นไข่ที่มีคุณภาพ และหมุนเวียนมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืชได้อย่างครบวงจร (SDGs12) ดังนั้นผลประกอบการครั้งนี้จึงเป็นโมเดลธุรกิจให้ผู้ปลูกยางพาราเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความยั่งยืนทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสวนยางพารา ในท้ายสุดสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.4.1, 2.5.1, 2.5.3, 2.5.4

Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

MU-SDGs Case Study*

Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานร่วม

หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ  โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning) 

2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

3. เพื่อสร้างการมีจิตอาสาผ่านกิจกรมสาธารณะ

 

บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน

เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

วันที่ 12 พ.ค. 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

 

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ 2 หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลยางขาว จัดให้บริการตรวจดินแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลดินของตำบล และการต่อยอดสู่การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการปุ๋ยเพื่อชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนายธนากร จันหะมกสิต (นักวิชาการเกษตร) สังกัดศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตร SMART Farmer ชั้นปีที่ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการฝึกตรวจดินภาคสนามและให้บริการกับชุมชนในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมส่งตรวจอย่างดินเพื่อวิเคราะห์จำนวน 50 ราย 

นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกทักษะ (Upskill) ให้กับน้องๆเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้วิธีการเก็บตัวอย่างดิน, การวิเคราะห์ดิน และการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอีกด้วย 

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.4,2.5

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs4,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.7,12.a,17.7
Links ข้อมูลเพิ่มเติม *  

https://www.facebook.com/share/p/17k8tJnd9H/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
4. หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

17.4.3, 2.4.1, 2.5.2

SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.ศศิมา วรหาญ

ผศ.ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

อ.ดร.สมสุข พวงดี

อ.ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล

อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง

นายอภินันท์ ปลอดแก้ว

นายฌานเทพฤทธิ์ วงศ์วิลาส

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT)

ส่วนงานร่วม

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT)

เนื้อหา*

    โครงการ SMART Farmer Fair เป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นโดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (ชื่อใหม่: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนทำการเกษตรเพื่อสุขภาพและการประกอบการ ในยุคที่เกษตรกรรมของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้จึงมีเป้าหมายในการเตรียมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้พร้อมกับความท้าทายเหล่านี้ หลักสูตร SMART Farmer จึงมุ่งเน้นการสร้างนักศึกษาให้เป็นมากกว่าเกษตรกรทั่วไป แต่ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจ นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรจะมีทักษะที่สามารถนำไปพัฒนาธุรกิจเกษตรของตนเองได้ รวมถึงสามารถเป็นผู้นำในชุมชนในการนำเอานวัตกรรมมาปรับใช้กับภาคการเกษตรในรูปแบบที่ยั่งยืน
    โครงการ SMART Farmer Fair มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรจากไอเดียสร้างสรรค์ของนักศึกษา นำเสนอโครงการต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เกษตรเพื่อการสร้างรายได้ เทคโนโลยีด้านการเกษตร ตลอดจนการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการสร้างบัณฑิตของหลักสูตรทางการศึกษาของวิทยาเขตนครสวรรค์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ด้านการประกอบการ เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนไปประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานด้านการเกษตรในพื้นที่
     งาน SMART Farmer Fair จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2023 ณ ห้างสรรพสินค้าวี-สแควร์ พลาซ่า จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ในปี 2024 จัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาคการเกษตรทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนท้องถิ่น ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากภาคการเกษตร และการนำเสนอผลงานของนักศึกษา ทั้งนี้ งาน SMART Farmer Fair 2024 ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น การแข่งขันจัดสวนถาด การแข่งขันส้มตำลีลา การสาธิตการประยุกต์ใช้ IoT กับการเลี้ยงไก่ในป่าสัก รวมไปถึงบูธจัดแสดงผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเกษตรและอาหารของนักศึกษาและหน่วยงานด้านการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชน

     การดำเนินงานของโครงการ SMART Farmer Fair เป็นตัวอย่างของการนำแนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาใช้ในภาคการเกษตร โดยสรุปได้ดังนี้ 

SDG 2: ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger)

โครงการมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบผสมผสานที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ และลดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหารในระยะยาว

SDG 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being)

การส่งเสริมการเกษตรที่ปลอดภัยและการผลิตอาหารที่มีคุณภาพช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีอาหารที่ปลอดภัย ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education)

โครงการ SMART Farmer Fair เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ให้นักศึกษาและเกษตรกรได้ฝึกปฏิบัติจริงในสาขาเกษตร ส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

SDG 8: การเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำงานที่มีคุณค่า (Decent Work and Economic Growth)

โครงการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด สร้างงานและรายได้ในชุมชนท้องถิ่น

SDG 12: การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)

การเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การแปรรูปผลิตผลเพื่อเพิ่มมูลค่า และการคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืนและลดของเสียในกระบวนการผลิต 
      การเชื่อมโยงกับ SDGs เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความครอบคลุมของโครงการในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตรและสังคมโดยรวม

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2,3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4
3.9
4.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs8,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

8.2, 8.3
12.3, 12.4
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

มหิดลนครสวรรค์ จัดมหกรรม SMART Farmer Fair 2023
https://na.mahidol.ac.th/th/en/2023/12305

SMART FARMER FAIR 2024 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์
https://int.mahidol.ac.th/2024/05/27/dd-at-smart-farmer-fair-2024/

Facebook Page: smartfarmer.muna
https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/about/
ข้อมูลเกี่ยวกับงาน #SMART Farmer Fair

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. คูโบต้า ฮั้วเฮงหลี ที่นำโดรน และนวัตกรรมเกษตรมาโชว์ในงาน
2. บ.เบทาโกรอุตสหกรรมเกษตร นครสวรรค์
3. ฟาร์มฝันปันสุข ออแกนิคฟาร์ม
4. รร.สตรีนครสวรรค์ และน้องๆวง Soft Sweet
5. รร.เซนโยเซฟ นครสวรรค์
6. ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์
7. สถาบันพยาบาลศาสตร์ มหิดลนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.3, 2.4
3.9
4.4

เครือข่ายเกษตรและการประกอบการ

MU-SDGs Case Study*

เครือข่ายเกษตรและการประกอบการ

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร. ณพล อนุตตรังกูร
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์
นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

ส่วนงานร่วม

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

ตามที่ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรและผู้ประกอบการ เช่น โครงการเครือข่ายข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน จากนั้นมีการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

เมื่อเวลาผ่านไป ได้มีการทบทวน ติดตาม สอบถาม เรื่องราวความเป็นอยู่และสถานการณ์ธุรกิจหรืออาชีพในปัจจุบัน เพื่อเป็นการทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและรับฟังปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหาและแนวทางพัฒนา เช่น การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นบันไดขั้นแรกในการใช้เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพโดยที่ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว 

โดยสามารถมเชื่อมโยงวิธีการพัฒนานี้ไปยังกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากเครือข่ายโดยผ่านการทำงานของคณะทำงานขับเคลื่อนด้านการเกษตร ภายใต้คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัดนครสวรรค์

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ภาคประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีช่องทางติดต่อกับสอบถามได้ง่ายขึ้น

ภาครัฐ มีช่องทางรับฟังภาคประชาชนได้ง่ายและเร็วขึ้น 

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://shorturl.asia/k4FcU

https://shorturl.asia/uYFeL

https://shorturl.asia/GQdrx

https://shorturl.asia/StROu

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เครือข่ายเกษตรและประกอบการ
คณะทำงานขับเคลื่อนด้านการเกษตร ภายใต้คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การพัฒนาการสื่อสาร, การบริหารจัดการการผลิต,เครือข่ายเกษตรและประกอบการ, การเกษตร, ประกอบการ, ธุรกิจ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.5.1