การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

MU-SDGs Case Study*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 ภาคีเครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้มีการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่และขับเคลื่อนตลอดมาตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกลไกที่ใช้องค์กรผู้ใช้น้ำในการขับเคลื่อนจากภาคประชาชน ซึ่งเดิมมีการจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดครบแล้วจำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพระนอน ตำบลวังมหากร ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ และตำบลเกรียงไกร ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสู่พื้นที่ต้นน้ำนอกบึงบอระเพ็ด โดยปี 2566 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลพนมรอก และปี 2567 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลวังใหญ่ ตำบลไผ่สิงห์ และตำบลสายลำโพง พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างพื้นที่ตอนบนและตอนล่าง ซึ่งไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ มีการแบ่งปันการใช้น้ำ และการขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐในการรักษาระดับน้ำ และสูบน้ำรักษาระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำภาคการมีส่วนร่วมของจังหวัดนครสวรรค์ ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับเครือข่ายบึงบอระเพ็ดกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ดตามหลักวิชาการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำของทุกภาคส่วนอีกด้วย

เมื่อเกิดระบบการบริหารจัดการน้ำแล้ว ทำให้มีการขับเคลื่อนประเด็นต่อมาเป็นการพัฒนาอาชีพที่มีการทดลองปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้ขับเคลื่อนโครงการที่มีกิจกรรมย่อยในการทำนาเปียกสลับแห้ง ที่มีการใช้น้ำน้อยเพื่อลดการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด และการนำพืชน้ำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่จะปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยายกาศได้ โดยเบื้องต้นได้มีการทดลองทำในพื้นที่ตำบลพระนอน และตำบลวังมหากร ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะขยายสู่ส่วนใหญ่ของบึงบอระเพ็ดต่อไป

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ภาคประชาชน ได้รับการจัดสรรน้ำ มีการแบ่งปันกันใช้น้ำอย่างเที่ยงธรรม 

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs13,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/videos/270841642755512

ม.มหิดล ร่วมนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในสพระองค์
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/13291

การออกสื่อสาธารณะ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/337926?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1Eg4EvBDNThdqRm-hLmX42p3aEBWEXsJzCWRw2Vub4EgK9PRyvhEwT_eo_aem_AQw-VZjwG00nG0FP4VCvKvjZybYGsCzWtnQTDRM8DiyFoO_jVCDqbCn8f2SFumNN0HbcYf8frP3uUC6yIub7kUaW

การบริการวิชาการให้กับเครือข่าย
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/12986

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
โครงการชลประทานนครสวรรค์
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

MU-SDGs Case Study*

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล

ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ

นายธนากร จันหมะกสิต

นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

ความสำคัญ

บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา นอกจากนี้การทำนาปรังส่งผลให้เกิดการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ส่วนพืชน้ำที่เจริญเติบโตหนีน้ำไม่ทันในช่วงฤดูน้ำหลาก จะทำให้เกิดหญ้าเน่าจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน ในการนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นการทำนาปรังและน้ำท่วมวัชพืชในช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีแนวคิดในการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกด้วยการปรับวิธีการทำนาจากนาปรังเป็นนาเปียกสลับแห้งที่ใช้น้ำน้อยและปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยกว่านาปรังหลายเท่า และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้การส่งเสริมให้นำวัชพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ดมาใช้ประโยชน์แปรรูปเป็นปุ๋ยที่สร้างรายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลพระนอน มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย ซึ่งรูปแบบที่จะออกมาขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานทั้งหมดสอดคล้องกับนโยบายของ COP28 และบึงบอระเพ็ด sandbox ที่ตั้งเป้าให้เกิด Net Zero ในปี 2573 ต่อไป

 

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการปรับแนวคิดของประชาชนสู่การปรับวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

2) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

3) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำและการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

โครงการอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ โดยมีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลวังมหากรและตำบลพระนอน และมีการสอบถามความต้องการในการขับเคลื่อน (Need Assessment) ในการทำนาและการจัดการวัชพืชน้ำบึงบอระเพ็ด มีการดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และการทดลองการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 100 ไร่ อีกด้วย 

ผลผลิตของโครงการ
1) การฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาเทคโนโลยีสีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SDGs BCG และการปรับตัวในการทำการเกษตรในพื้นที่ชุ่มน้ำ
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้ง และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
3) พื้นที่ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด และการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยในตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4) ผลการคำนวณอัตราผลตอบแทนเชิงสังคม (SROI) ของโครงการ
5) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานในพื้นที่
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้งและการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ และขยายผลต่อในอนาคตบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ
3) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม
4) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆที่มีบริบทคล้ายกับบึงบอระเพ็ด
5) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์สามารถกำหนดแนวทางการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสัญญาเช่าของประชาชนบึงบอระเพ็ดในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2,6,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3, 6.3, 6.4, 6.5, 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2024-5-2-1.pdf
https://www.nstda.or.th/sci2pub/3-strategies-to-revive-sustainable-rice-fields/
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
หน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ด
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอนและวังมหากร
เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำบึงบอระเพ็ด
ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การปรับวิถีการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การทำนาเปียกสลับแห้ง
การปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

13.2

เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี

MU-SDGs Case Study*

เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข
ผศ.ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล
นางลักขณา สถาพรสถิตอยู่
นางอรทัย สร้อยสวน

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

การพูดเรื่องความตาย ส่วนใหญ่ไม่ควรพูดถึงเพราะเป็นเรื่องอัปมงคล ตลอดระยะเวลา10 ปี ที่ดำเนินงานการดูแลการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ได้ทบทวนและเกิดการเรียนรู้ถึงการสร้างความเข้าใจเรื่อง “การเตรียมความพร้อมก่อนตาย” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพื่อนำไปสู่การ“ตายดี” จึงเป็นที่มาของการโครงการ“เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี” ให้กับเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และยกระดับในการสื่อสารผ่านชุดเครื่องมือ ของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี ผลการดำเนินโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจเรื่องความตายและการเตรียมความพร้อมก่อนตายและผู้เข้าร่วมการอบรมมีทักษะในการใช้เครื่องมือและนำไปปฏิบัติจริงกับผู้สูงอายุในศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองให้สามารถร่วมพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า(Advance care plan) จึงเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้ดำเนินชีวิตที่ดี ทั้งกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ การวางแผนการดูแลล่วงหน้าก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในระยะท้าย จึงขยายผลการนำเครื่องมือไปกับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้วเป็นการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ประเมินผลตัวชีวัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วย

กระบวนการสัมภาษเชิงลึก focus group ผ่านการใช้เครื่องมือของ Peaceful Death ในการนำพาการพูดคุยเรื่องความตาย ผลการดำเนินโครงการ ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและมีผู้สูงอายุเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ขอนำไปศึกษารายละเอียดและให้พี่เลี้ยงช่วยเขียน(กรณีเขียนหนังสือไม่ได้) นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีมติร่วมกันเมื่อเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้าแล้วให้นำไปไว้ที่เรือนพยาบาลเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลสุขภาพและต้องการให้มีการเขียนการวางแผนการล่วงหน้าทุกคนในสถานสงเคราะห์คนชรา การขยายผลโครงการงานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เสนอขอทุนเพื่อขยายเครือข่ายให้มีทักษะความรู้ในการใช้เครื่องมือและขยายการเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า พื้นที่ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ผลของการขยายผล ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้และทักษะในการใช้ชุดเครื่องมือและสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ แกนนำกระบวนกรชุมชนกรุณาสามารถเลือกใช้ชุดเครื่องมือกับผู้สูงอายุในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม ผู้สูงอายุเปิดใจ ยอมรับการพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าได้

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs16

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

16.7

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว
อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

ให้ความตายเป็นเรื่องที่พูดได้ เพื่อการอยู่ดีและตายดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d

สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม

MU-SDGs Case Study*

สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม

ผู้ดำเนินการหลัก*

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นางศศิธร  มารัตน์
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

การบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน เป็นสาเหตุหนึ่งของการทหให้เกิดโรคไม่ติดต่ออเรื้อรัง (Non-Communicable Desease : NCDs) ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568 ว่าด้วยประเด็นยุทธศาสตร์- SALTS ดังนี้ 1). ยุทธศาสตร์ S (Stakeholder network) การสร้าง พัฒนาและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 2). ยุทธศาสตร์ A (Awareness) การเพิ่มความรู้ความตระหนัก และเสริมทักษะให้ประชาชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและผู้กำ หนดนโยบาย 3). ยุทธศาสตร์ L (Legislation and environmental reform) การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิด การผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมตํ่า รวมทั้งเพิ่มทางเลือกและช่องทางการเข้าถึงอาหาร ที่ปริมาณโซเดียมตํ่า 4). ยุทธศาสตร์ T (Technology and innovation) การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้และการนำสู่ ปฏิบัติ 5). ยุทธศาสตร์ S (Surveillance, monitoring and evaluation) การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผล เน้นตลอดกระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม (Healthy University : (Low Sodium Policy) เพื่อเป็นต้นแบบลดการบริโภคโซเดียมและส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ

เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เกิดความตระหนักในการบริโภคอาหาร ผลของการดำเนินโครงการ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้สูงอายุมีความเข้าใจถึงกลไกของโซเดียมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกายทำให้ผู้สูงอายุเห็นภาพมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อรับประทานโซเดียมมากเกินไป มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดจากโซเดียม ทำให้เกิดความระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะนำความรู้กลับไปถ่ายทอดให้คนในครอบครัวได้ทราบถึงผลกระทบของโซเดียมและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมอีกด้วย

เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และส่งเสริมความตระหนักในการขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม จึงขยายผลการให้ความรู้ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกาย แก่กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาท ผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ เข้าใจกลไกการทำงานของโซเดียมในร่างกายผ่านนวัตกรรม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.14

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

  

Key Message*

 ลดเค็ม ลดโรค

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d

พลังงานทดแทน : รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22801)

MU-SDGs Case Study*

พลังงานทดแทน : รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22801)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
นายสรรเสริญ แต้ประยูร

ส่วนงานร่วม

หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

ในภาคการเกษตรต้นทุนด้านพลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีราคาสูง อีกทั้งประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานดังกล่าวจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงาน และการขาดทุน ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทดแทน ที่จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนด้านพลังงานให้แก่เกษตรกร ซึ่งในปัจจุบันโซล่าเซลล์ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นทำในช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดด ได้แก่ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบผลิตกระแสไฟ้ฟ้าจากแสงอาทิตย์จะประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก คือ 1) ส่วนของระบบผลิตไฟฟ้าสูบน้ำ และ 2) ส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ โดยส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์มี 2 แบบ คือ แบบติดตั้งถาวร และแบบเคลื่อนย้ายได้ แบบที่ติดตั้งถาวรจะเหมาะกับพื้นที่แปลงเกษตรขนาดใหญ่ และต้องมีการดูแลใกล้ชิด เพราะอาจสูญหายได้หากสร้างไว้ในที่ห่างไกลคนดูแล ดังนั้นจึงมีการพัฒนาชุดรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้และได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาด ถ้ามีขนาดที่ใหญ่เกินไปก็ทำให้เคลื่อนย้ายยาก หรือ ถ้าเล็กเกินไปก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของ “รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ” ที่สามารถเข็นและลากจูงได้ มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป มีความคล่องตัว จึงสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งในแปลงเกษตรหรือพื้นที่ที่มีขนาดเล็กเส้นทางคับแคบ ใช้สูบน้ำและกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในยามค่ำคืน หรือในสถานที่ๆไฟฟ้าเข้าไม่ถึง อีกทั้งยังมีชุดรองรับแผ่นโซล่าเซลล์เพิ่มความแข็งแรงให้กับแผ่นโซล่าเซลล์และสามารถพับเก็บ ทำให้สะดวกและปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย มีขาสำหรับค้ำยันทั้ง 4 มุมของตัวรถ เพื่อเพิ่มความมั่นคงขณะใช้งาน ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากรถสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วไป

รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ มีศักยภาพที่จะผลิตในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ความหลากหลายในการใช้งานสูง มีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ และมีความปลอดภัยขณะใช้งาน มีการบำรุงรักษาที่ง่าย และมีความแข็งแรงทนทาน รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นรูปแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาใช้ในงาน ในสถานที่ต่างๆ ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงหรือในแหล่งที่ห่างไกลจากเส้นทางการขนส่ง การเคลื่อนย้ายรถลากจูงฯ ไปในที่ต่างๆทำได้ง่ายคล่องตัว สามารถใช้ คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ หรือรถใช้งานทางด้านการเกษตรชนิดต่าง ๆ เป็นตัวลากจูง สามารถใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ใน งานไร่ นา สวน หรือ เพื่อสูบน้ำใช้ในพื้นที่ๆ ต้องการ ไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนหรืองานอื่นๆที่ต้องการ โครงสร้างมีความคงทน มั่นคง และแข็งแรง ใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ทั่วไป ทำให้ใช้ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำหากผลิตในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งระบบในการควบคุมการใช้งานก็ง่ายไม่ซับซ้อน การบำรุงรักษาน้อยค่าใช้จ่ายไม่สูง และอายุการใช้งานยาวนานหากใช้ถูกต้องตามวิธีการ

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs7

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

7.1,7.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIycSUyMiUzQSUyMjIyODAxJTIyJTJDJTIyaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2
VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlMkMlMjJkaXNwbGF5JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW5kZXhfY3
JlYXRlJTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW4lMjIlM0ExJTJDJTIyb3JkZXIlMjIlM0ElMjJfc2Nvcm
UlMkNkZXNjJTIyJTJDJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMnNlYXJjaF9hbGwlMjIlMkMlMjJ0eXBlX25hbWUlMjIlM0ElMjIlRTAlQjg
lQUQlRTAlQjglOTklRTAlQjglQjglRTAlQjglQUElRTAlQjglQjQlRTAlQjglOTclRTAlQjglOTglRTAlQjglQjQlRTAlQjglOUElRTAlQ
jglQjElRTAlQjglOTUlRTAlQjglQTMlMjIlMkMlMjJ0YWJfaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlN0Q%3D
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=815063667297671&set=a.477621531041888&type=3&locale=th_
TH&paipv=0&eav=AfbzSzKGjWDPNvGE-RaeI5zMi5xLkfakMxlQ4Vrygagd4KLT7I31Sh5K498FjktI0qc&_rdr
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

พื้นที่การเกษตรในประเทศไทยหลายพื้นที่ ระบบสายส่งไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงทำให้เกษตรกรมีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการสูบน้ำเข้าแปลงนา ใช้รถน้ำต้นไม้ การให้แสงสว่าง และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้า และสูบน้ำ โครงสร้างตัวรถซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก เมื่อเกษตรกรต้องการนำรถดังกล่าวไปสูบน้ำในแปลงนา หรือในพื้นที่สวน ที่มีคันนา หรือทางเดินที่คับแคบ ก็สามารถที่จะนำรถลากจูงดังกล่าวเข้าไปในจุดที่ต้องการได้สะดวก สามารถใช้คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถไถ รถไถนาแบบเดินตาม ในการลากจูงรถเข้าไปในพื้นที่ได้ เพียงแต่ต้องมีการติดตั้งชุดลากจูงเข้ากับตัวโครงสร้างตัวรถ ส่วนการใช้แรงงานคนก็สามารถดันรถลากจูงฯให้เคลื่อนที่ได้ง่ายจากการที่ ตัวรถลากจูงฯ ติดตั้งมือจับไว้ในส่วนท้ายตัวรถ เมื่อนำรถลากจูงฯไปถึงจุดที่ต้องการสูบน้ำ หรือจุดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ตัวรถลากจูงฯนี้ยังมีจุดเด่น คือ ยังมีขาค้ำยันทั้ง 4 มุม ยึดติดกับโครงสร้าง เพื่อใช้ในการป้องกันการผลิกคว่ำขณะชุดแผงรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ถูกกางออกเติมที่ และถึงแม้กระทั้งมีลมแรงพัดมาปะทะกับแผงโซล่าเซลล์โดยตรง ตัวค้ำยันยังป้องกันการพลิกคว่ำหรือการเคลื่อนที่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

7.2.4, 7.4.1

การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
ดร.ณพล อนุตตรังกูร
นายจิระเดช บุญมาก
ดร.วชิระ กว้างขวาง
รศ.ดร. วีระเดช มีอินเกิด

ส่วนงานร่วม

1. หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำและดิน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
4. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดินตะกอนบึงบอระเพ็ดที่มีสภาพไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ให้สามารถเพาะปลูกพืชได้โดยการผสมกับปุ๋ยหมักที่ทำจากวัชพืชน้ำของบึงบอระเพ็ดในอัตราส่วนต่างๆ
2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกในดินที่ปรับปรุงคุณภาพแล้ว
3. เพื่อศึกษาลักษณะทางประสาทสัมผัสของพืชที่ปลูกในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ

สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด การขับเคลื่อน Bio hub ด้านอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้าว โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 132,737 ไร่ ครอบคลุมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก ซึ่งจากการประชุมสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดยสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ที่ประชุมสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดประเด็นเร่งด่วนได้ 10 ประเด็น ได้แก่ 1. การสร้างระบบการบริหารจัดการในลุ่มน้ำย่อยเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยการขุดบึง และขุดลอกตะกอนดิน 2. การส่งเสริมการทำเกษตรวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การปลูกไม้ริมน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน 4. การปลูกพืชกรองน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เข้าสู่บึงบอระเพ็ด 5. การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดเพื่อใช้ประโยชน์ 6. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรของบอระเพ็ด 7. การจัดทำปุ๋ยจากตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 8. การแปรรูปพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ด 9. การแปรรูปเศษเหลือของปลาบึงบอระเพ็ด และ 10. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
โดยงานวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาในประเด็นที่ 7 เกี่ยวกับตะกอนดินบึงบอระเพ็ดและวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2564 ลุ่มน้ำภาคกลางและภาคตะวันออกจำนวน 19 จังหวัด มีการจัดเก็บวัชพืชน้ำประมาณ 4,513,836.75 ตัน (มติชนออนไลน์, 2564) โดยพบว่าการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำในแหล่งน้ำที่มีเป็นจำนวนมากและการทับถมของตะกอนดินส่งผลให้แหล่งน้ำตื้นเขิน โดยวัชพืชน้ำส่งผลกระทบในหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง และภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการบริหารจัดการปีละหลายร้อยล้านบาท สำหรับบึงบอระเพ็ดพบว่าวัชพืชน้ำที่ส่วนใหญ่ 95% เป็นผักตบชวาที่มีการเจริญเติบโตและการทับถมอยู่เป็นจำนวนมากภายในบึงบอระเพ็ดและคลองสาขาของบึงบอระเพ็ด โดยมีหน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ดภายใต้กำกับดูแลของกรมประมงเข้ามาทำการขุดลอกวัชพืชน้ำ และนำไปกองไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงบอระเพ็ดหรือบริเวณขอบของตลิ่งบึงบอระเพ็ดในเขตพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์บึงบอระเพ็ดและชาวบ้านโดยรอบ อีกทั้งยังไม่ได้มีการนำวัชพืชน้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้บึงบอระเพ็ดยังมีปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขินเนื่องจากตะกอนดินไหลมาพร้อมกับน้ำเข้ามายังบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคในหน้าแล้งลดลง จากการศึกษาของ ณพล อนุตตรังกูร และคณะ (2561) รายงานว่าอัตราการชะล้างพังทลายของดินที่ลงมาสู่บึงบอระเพ็ดมีจำนวนปีละ 2,890,000 ลูกบาศก์เมตร โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้อนุมัติให้มีการดำเนินการขุดลอกตะกอนดินภายในบึงบอระเพ็ดเพื่อแก้ไขปัญหาการตื้นเขิน ซึ่งมีปริมาณตะกอนดินที่ขุดลอกถึงปีละไม่น้อยกว่า 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร อีกทั้งยังมีหน่วยงานภายในจังหวัดขุดลอกอยู่เป็นประจำตามรอบ (มติชนออนไลน์, 2559)
ในปัจจุบันปัญหาของปริมาณวัชพืชน้ำที่มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลต่อการตื้นเขินและประสิทธิภาพของบึงบอระเพ็ด โดยวัชพืชน้ำนั้นยากต่อการกำจัดและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแหล่งน้ำในด้านต่างๆ เพราะทำให้สูญเสียเวลา แรงงาน และงบประมาณในการจัดการ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2546) ดังนั้น จึงมีความพยายามหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำ เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณและเพิ่มมูลค่า ซึ่งเป็นการบูรณาการและการจัดการในเชิงพื้นที่ โดยพบว่ามีการนำวัชพืชน้ำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิเช่น วัสดุรองพื้นในการเลี้ยงไส้เดือน (พีรยุทธ สิริฐนกร และคณะ, 2557) การทำปุ๋ยจากผักตบชวาเพื่อการปลูกพืช (เฉลิมชัย แพะคำ และคณะ, 2557; จักรกฤช ศรีลออ และคณะ, 2363; ประไพพรรณ จันทร์ทิพย์, 2559)
จากการศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินบึงบอระเพ็ด พบว่ามีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชโดยมีค่าความเป็นกรดด่างของดินเท่ากับ 5.3 และปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ อีกทั้งตะกอนดินที่ถูกพัดพามาทับถมทุกปีและวัชพืชน้ำที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อปริมาณการกักเก็บน้ำและคุณภาพของน้ำในบึงบอระเพ็ด เป็นสาเหตุให้กักเก็บน้ำได้ลดลงและน้ำที่มีความขุ่นจึงมีผลต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำและต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการขุดลอกทุกปี ดังนั้นจากสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ดของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) จึงมีข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำตะกอนดินที่มีการขุดลอกจากการดำเนินการของสำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์มาปรับปรุงสภาพดินให้มีคุณสมบัติที่สามารถปลูกพืชและนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ด้วยการผสมกับปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ได้จากการขุดลอกจากบึงบอระเพ็ดซึ่งนำมากองไว้ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดยการศึกษานี้ได้ผสมปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำและตะกอนดินในอัตราส่วนต่างๆทั้งหมด 8 สิ่งทดลอง หลังจากนั้นตรวจสอบสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ พร้อมทั้งทดลองปลูกคะน้าในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ และทดสอบทางประสาทสัมผัสของคะน้า เมื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการปรับปรุงคุณภาพก็พบว่าทุกสิ่งทดลองตะกอนดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ, ปริมาณฟอสฟอรัสที่แลกเปลี่ยนได้, ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ รวมทั้งค่าการนำไฟฟ้า และค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และที่อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน เมื่อพิจารณาจากน้ำหนักสดของคะน้าพบว่าสิ่งทดลองที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ สิ่งทดลอง T2, T7 และ T8 ซึ่งประกอบด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 100%, ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ : ตะกอนดิน ในอัตราส่วน 50% : 50% และ 60% : 40% ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักสดของคะน้ามีค่าสูงกว่าสิ่งทดลองอื่นๆ และเมื่อทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยให้ผู้ทดสอบจำนวน 40 คน ทำการชิมผักคะน้าพบว่าคะน้าในสิ่งทดลอง T2 มีค่าเฉลี่ยความชอบโดยรวม, สี, รสชาติ และเนื้อสัมผัสสูงที่สุด รองลงมาคือ T7 และ T8 ตามลำดับ ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่นำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างตะกอนดินและวัชพืชน้ำไปสู่การใช้ประโยชน์ และยังสามารถลดปัญหาของบึงบอระเพ็ดได้อีกด้วย 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.2,6.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
2. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*


รูปภาพที่ 1 แสดงลักษณะของเนื้อดินตะกอนแต่ละสิ่งทดลองหลังจากหมักในที่ร่ม 1 เดือน และลักษณะการเจริญเติบโตของคะน้าหลังจากปลูก 45 วัน (T1 = ดินผสมทางการค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด T2 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ขุดลอกจากบึงบอระเพ็ด T3 = ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงสภาพ T4 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 20% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 80% T5 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ30% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 70% T6 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 40% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 60% T7 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 50% และ T8 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 40%)

Key Message*

ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ปรับปรุงคุณภาพโดยมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ สามารถเพิ่มศักยภาพจากที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะปลูกพืช ให้สามารถมีความเหมาะสมต่อการนำไปปลูกพืชได้ โดยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% : ตะกอนดิน 50% และ ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% : ตะกอนดิน 40% ซึ่งทั้ง 2 สูตรนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน และธาตุอาหารให้แก่ตะกอนดิน ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด สามารถนำเอาหลักการและสูตรการปรับปรุงภาพตะกอนดินจากปุ๋ยหมักวัชพืชน้ำในงานวิจัยครั้งนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของตนเองก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนใช้ประโยชน์ หรือ พัฒนาเป็นผลิตดินผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อีกทั้งวิธีการนี้ยังเป็นการช่วยให้ตะกอนดินจากที่เป็นปัญหามลภาวะทางน้ำมีคุณภาพและเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.1, 12.4.1

การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายธนากร จันหมะกสิต
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นางสาวศิริญา มีประดิษฐ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning)
2. เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนการวางแผนจัดงานตรวจดินและการแบ่งหน้าที่
3. เพื่อฝึกทักษะการสื่อสารผ่านกระบวนการแปลผลวิเคราะห์ดินให้แก่เกษตร
4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าหมายที่ 4 ในการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อเป็นการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าวรายวิชาหมอดิน ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ โดยให้นักศึกษาเก็บตัวอย่างดินภายในวิทยาเขตนครสวรรค์ มาเพื่อทำการทดสอบทางเคมีในห้องปฏิบัติการ แต่ในช่วงที่ผ่านมาต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ภายในห้องเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนไป โดยรายวิชาได้จัดทำการเรียนออนไลน์ โดยใช้ระบบ Mux ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามพบว่าการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคิดและทักษะในการลงมือปฏิบัติ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆของผู้เรียนได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อื่นๆเช่น ทักษะทางการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ จึงได้นำข้อเสนอแนะของผู้เรียนมาใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ในการตรวจดิน รวมไปถึงทักษะในการปฏิบัติการภาคสนาม ที่จะเกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลที่ได้จากชุมชน ประกอบกับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการรวบรวมความต้องการของชุมชนที่จะวิเคราะห์และตรวจสอบดิน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาการเรียนการสอนจากภาคปฏิบัติการในห้องเรียนสู่ชุมชน โดยในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน
นักศึกษาจากที่เคยทดลองให้ห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสารเคมีสำหรับชุดทดสอบตัวอย่างละ 100 บาท โดยในแต่ละภาคการศึกษาจะต้องใช้ชุดทดสอบอย่างน้อย 50 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นสารที่ใช้แล้วหมดไป เพื่อให้เกิดการใช้สารเคมีอย่างคุ้มค่ามากที่สุดนอกเหนือจากการใช้เรียน จึงเปลี่ยนจากการใช้ดินตัวอย่างที่จัดเตรียมในห้องปฏิบัติการเป็นการไปเก็บตัวอย่างดินในภาคสนามซึ่งเป็นแปลงของเกษตรกรจริง ซึ่งอยู่ในชุมชนโดยรอบวิทยาเขตนครสวรรค์เพื่อมาทำการทดสอบ ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้มีความต้องการในการทราบธาตุอาหารในดินของตนเองก่อนเริ่มทำการเพราะปลูกพืช โดยในเทอมต้น/2566 ได้ไปฝึกปฏิบัติการในพื้นที่ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีเกษตรกรในชุมชน

โดยมีรายละเอียดกระบวนการเรียนรู้ 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ: การชี้แจงโครงการ Open Field Day รับตรวจวิเคราะห์ดิน ในวันที่มีการประชุมหมูบ้าน เพื่ออธิบายถึงประโยชน์ของการตรวจดิน การวิเคราะห์ดิน และสาธิตวิธีการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้อง
2. ระหว่างทำโครงการ: จัดสถานที่รับตรวจดิน เป็นศาลายาประชาคม หมู่ที่ 5, จัดเตรียมตัวอย่างดิน, ตรวจดิน, แปลผล สรุปและนำเสนอผลแก่เกษตรกร
3. หลังทำโครงการ: ถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค ความประทับใจ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินการในอนาคต

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2, SDGs12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4,12.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/share/p/BgqHkRvfwKUSLDQK/?mibextid=Nif5oz
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ได้ต่อไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

17.4.3, 2.4.1, 2.5.2

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์
อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
นางสาวศิริญา มีประดิษฐ

ส่วนงานร่วม

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขา SMART Farmer
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาต้นแบบการทำนาปีที่ลดการใช้ปุ๋ยเคมีของชุมชนรอบวิทยาเขต
2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย ประกอบกับพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย อีกทั้งนางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer มีความสนใจทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พื้นที่นาของครอบครัวเป็นพื้นที่ศึกษา (lesson learn) ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดำเนินการโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการจะเป็นแปลงต้นแบบตัวอย่างของการทำนาที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด

นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการดังกล่าวฯ ยังสอดคล้องกับรายวิชาหมอดิน และรายวิชาวิทยาศาสตร์การผลิตพืช ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ในหัวข้อธาตุอาหารในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน ไปสู่การร่วมเก็บข้อมูลจริงในแปลงทดลองของรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วย (real world situation) และยังก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องอีกด้วย

โดยโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ: การตรวจดิน การวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในดิน และคำนวณปริมาณธาตุอาหารในดินตามหลักการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสั่งตัด
2. ระหว่างทำโครงการ: เตรียมแปลงปลูกข้าวโดยแบ่งออกเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นเริ่มทำการปลูกข้าว โดยแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะใช้วิธีการปลูกและการใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรทำปกติ สำหรับแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัด, เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของข้าวที่อายุ 60, 90 และ 120 วัน, เก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต และผลิตของข้าว
3. หลังทำโครงการ: วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบทางสถิติระหว่างแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและครอบเกษตรกรเจ้าของแปลง รวมทั้งรวบรวมข้อมูลปัญหาอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินการและขยายผลในอนาคต

จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการปลูกข้าว พบว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าปุ๋ยได้ 6% จากเดิม 24% เหลือ 18% และน้ำหนักข้าวเปลือกต่อไร่ที่ความชื่น 14% จากการคำนวณน้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกในการปลูกข้าวแบบนาหว่านพื้นที่ 1 ไร่ พบว่านาที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1400 กก./ไร่ ในขณะที่นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 860 กก./ไร่ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมรวม 26 กก./ไร่ เหลือ 22 กก./ไร่ แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าวและพื้นที่ และเป็นการลดใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถลดการสะสมของปุ๋เคมีในดินและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.a , 4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://r01.ldd.go.th/spb/Document%2059/puisangtat.pdf
https://youtu.be/reiJhsyXxd4?si=n199pLYeCNgol6tX
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย (SDGs12) และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.4.1, 2.5.2, 2.5.3

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

MU-SDGs Case Study*

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer)

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง
3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์

ส่วนงานร่วม

 

เนื้อหา*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้

เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย

นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย

หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG2,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4, 2.5
4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs1,3, 10,12,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

1.2.1, 1.3, 1.4.1
3.3.2
17.2.2

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก”
2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ
3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์
5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์
6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม
7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก
8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
นายกสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้มหาวิทยาลัยมหิดลเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้การประกอบการด้านการเกษตรภายในวิทยาเขตนครสวรรค์


ท่านองคมนตรี ผอ.สำนักงานศึกษาธิการศึกษา หอการค้า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้


ถ่ายทำรายการ Deschooling| ThaiPBS และรายการท่องเที่ยว จังหวัดนครสวรรค์


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทั้งนักเรียนไทยและและชาวต่างชาติ และคอร์สเรียนรู้ “ผู้ประกอบการวัยเยาว์”

Key Message*

1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world.
2. By educating people in the community, Nakhonsawan campus has contributed to knowledge and skill development.

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.3,2.4, 2.5,
3.3.2
4.3
17.2.2