MU-SDGs Case Study* | การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายยุทธิชัย โฮ้ไทย | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 ภาคีเครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้มีการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่และขับเคลื่อนตลอดมาตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกลไกที่ใช้องค์กรผู้ใช้น้ำในการขับเคลื่อนจากภาคประชาชน ซึ่งเดิมมีการจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดครบแล้วจำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพระนอน ตำบลวังมหากร ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ และตำบลเกรียงไกร ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสู่พื้นที่ต้นน้ำนอกบึงบอระเพ็ด โดยปี 2566 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลพนมรอก และปี 2567 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลวังใหญ่ ตำบลไผ่สิงห์ และตำบลสายลำโพง พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างพื้นที่ตอนบนและตอนล่าง ซึ่งไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ มีการแบ่งปันการใช้น้ำ และการขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐในการรักษาระดับน้ำ และสูบน้ำรักษาระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำภาคการมีส่วนร่วมของจังหวัดนครสวรรค์ ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับเครือข่ายบึงบอระเพ็ดกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ดตามหลักวิชาการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำของทุกภาคส่วนอีกด้วย เมื่อเกิดระบบการบริหารจัดการน้ำแล้ว ทำให้มีการขับเคลื่อนประเด็นต่อมาเป็นการพัฒนาอาชีพที่มีการทดลองปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้ขับเคลื่อนโครงการที่มีกิจกรรมย่อยในการทำนาเปียกสลับแห้ง ที่มีการใช้น้ำน้อยเพื่อลดการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด และการนำพืชน้ำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่จะปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยายกาศได้ โดยเบื้องต้นได้มีการทดลองทำในพื้นที่ตำบลพระนอน และตำบลวังมหากร ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะขยายสู่ส่วนใหญ่ของบึงบอระเพ็ดต่อไป ผู้ได้รับผลประโยชน์ ภาคประชาชน ได้รับการจัดสรรน้ำ มีการแบ่งปันกันใช้น้ำอย่างเที่ยงธรรม ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs13,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1, 15.1 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล ม.มหิดล ร่วมนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในสพระองค์ การบริการวิชาการให้กับเครือข่าย | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | จังหวัดนครสวรรค์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |