โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.เบญจพร พุดซา

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น

ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 17.00 – 19.00 น. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” โดย อ.เบญจพร พุดซา ได้ร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเนื้อหาในการพูดคุยนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากรายวิชา นวสธ 103 การเมืองกับสุขภาพ (Politics and Health) และ นวสธ 215 ประชากรกับผลกระทบทางด้านสุขภาพ (Population and health Effects) รวมไปถึงประเด็น เรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการพูดถึงแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ไปยังพื้นที่อื่นอย่างครอบคลุม อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แนวทางในการขยายพื้นที่ต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0N1D8HAStzuK8dSH8imcxSnSfSz2xjiBuzA9AMwRiGLKMMyvKjNU9D3UkWGN3ick8l/?d=n&mibextid=wxGVb6

https://youtu.be/zXoJASchgbU

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 4.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่4

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น

ในวันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 16.30 – 17.30 น. ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” และร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศที่ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0FLPQx5Y4sazDE3TQRS7j3p1y8JPcFYWGGehxZVPQitWdR1dFuuWrosyZazSzjxfzl/?d=n&mibextid=wxGVb6

https://youtu.be/zXoJASchgbU

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
   
    
    
    

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 2 และ 4

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

 

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 ที่มีใจความสำคัญว่านักศึกษาสามารถแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษาตามอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพหรือเพศสภาวะที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็ได้ โดยให้ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ ซึ่งรวมถึงการแต่งกายในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีรับอนุปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรด้วย แต่กลับพบปัญหาว่านักศึกษาที่แต่งตัวตามอัตลักษณ์ทางเพศนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำในสถานศึกษานั้นมีเพียงห้องน้ำสำหรับเพศชาย และเพศหญิงเท่านั้น 

ดังนั้น เมื่อนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ได้เรียนในรายวิชา NWNW 322 การจัดการความรู้เบื้องต้น (Fundamental of Knowledge Management) จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All-Gender Restroom) อยู่หนใด” เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564
เวลา 9.00-12.00 น. ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก 1) ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3) คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งทั้ง 3 ท่านได้เปิดมุมมองในเรื่องของห้องน้ำเสมอภาค และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการขับเคลื่อนให้เกิดห้องน้ำเสมอภาค

หลังจากกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษาในการผลักดันให้เกิดห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น โดยผู้บริหารมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคน โดยทางวิทยาเขตจะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid02MYfqMTWQ8fXuTdw4qfjfuKjRLRhmwE6Xk9AfMTmFqiBGK5V9cioUDhvz96ZAh9KQl/?d=n&mibextid=wxGVb6

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
     
       
       
       

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

 

โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน

MU-SDGs Case Study*

โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ NCDs (Non-Communicable diseases) ซึ่งพวกเขามักจะรับประทานยาไม่ถูกต้องและมักจะลืมรับประทานยาอยู่บ่อยครั้ง มีการจัดเก็บยาหมดอายุปะปนกับยาที่ได้รับในแต่ละเดือน ยาบางชนิดรับประทานหมดก่อนเวลานัด หรือรับประทานผิดเวลา ผู้ดูแลไม่มีเวลาจัดยาให้ผู้ป่วย และผู้ป่วยจัดยารับประทานยาเองไม่ถูกต้อง เพราะมีข้อจำกัดในการอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา

 

ดังนั้น นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน” ณ ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการทำกระเป๋ายาสำหรับผู้ป่วย NCDs สูงอายุที่อ่านไม่ออก ซึ่งนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงอาหารสัตว์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาตัดเย็บเป็นกระเป๋ายาดังกล่าว นอกจากนี้นักศึกษาและ อสม. ได้ช่วยจัดยาให้กลุ่มผู้ป่วยลงในซองยาใหม่ที่ใช้ภาพของช่วงเวลาแทนตัวหนังสือ พร้อมทั้งให้กลุ่มผู้ป่วยฝึกท่องจำรูปภาพด้วยข้อความที่คล้องจองกันว่า “ตอนเช้าไก่ขัน กลางวันเที่ยงตรง ยามเย็นพระอาทิตย์ตก ก่อนนอนมีพระจันทร์” ส่งผลให้พวกเขาสามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.5

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290650491423476/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

2. กลุ่มเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมให้ผู้ป่วย NCDs ที่มีข้อจำกัดในการอ่าน สามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลาด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการประดิษฐ์นวัตกรรมนวัตกรรมกระเป๋ายาที่ใช้ง่ายและเหมาะกับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2

 

โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า

MU-SDGs Case Study*

โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานโดยมักจะมีอาการชาบริเวณปลายเท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้สูงอายุมักจะลืมรับประทานยา  อีกทั้งผู้สูงอายุเองยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้า ขาดข้อมูลและขาดกำลังใจในการดูแลตนเอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา

 

ดังนั้น นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า” ณ ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยไปกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุได้ใช้ปฏิทินยาเพื่อลดการลืมรับประทานยา ทำให้พวกเขาสามารถรับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำอุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) ที่ไม่ใช้แล้ว และถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาประดิษฐ์เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ทำให้พวกเขามีอาการชาลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.5

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290643694757489/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

2. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

  

Key Message*

การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2

 

โครงการปรับเปลี่ยน เสริมพลัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

MU-SDGs Case Study*

โครงการปรับเปลี่ยน เสริมพลัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพอื่น ๆ ตามมา

 

ดังนั้น นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง งานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลปักธงชัย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ปรับเปลี่ยน เสริมพลัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน” ณ ชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และ อสม. ในการสร้างเสริมความรู้ให้แก่คนในชุมชนในเรื่องของความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวานและแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยเน้นเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย รวมไปถึงการฝึกทักษะการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการบริหารท่าทางที่ทำง่ายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดน้ำตาลในกระแสเลือดและลดการเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจและสมอง รวมถึงการลดน้ำตาลในกระแสเลือดอีกด้วย

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1291890291299496/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

2. งานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้ และสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2

โครงการเทรนนิ่ง อสม. UP Skill DM

MU-SDGs Case Study*

โครงการเทรนนิ่ง อสม. UP Skill DM

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ แม้ว่า อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะคอยดูแลผู้ป่วยในหมู่บ้านโดยเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านอย่างเป็นประจำ 4 ครั้ง/เดือน แต่กลับพบว่า อสม. ยังขาดข้อมูลที่จำเป็นบางส่วนในการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย รวมไปถึงการขาดทักษะในการออกกำลังกาย จึงไม่สามารถสอนผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา

 

ดังนั้น นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “เทรนนิ่ง อสม. UP Skill DM” ณ ชุมชนบ้านโตนด ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่ง ทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการสร้างเสริมให้ อสม. มีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้ อสม. มีทักษะที่ดีในการเลือกอาหารและท่ากายบริหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ อีกทั้งยังสร้างเสริมให้ อสม. มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ทำให้ อสม. มีความมั่นใจในการให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นกว่าเดิม

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1289940764827782/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี

2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านโตนด ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้ และสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่ อสม. เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2

 

โครงการ อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง

MU-SDGs Case Study*

โครงการ อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้อันเนื่องมาจากการขาดกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ทราบถึงวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมไปถึงการไม่มีเพื่อนในการออกกำลังกาย ทั้งนี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีกิจกรรมทางกายที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อที่จะควบคุมความดันโลหิตให้ได้ แต่พวกเขาเกิดความกังวลใจ ขาดการรับรู้ความสามารถของตนเองจนไม่มีความเชื่อมั่นที่จะไปสอนผู้อื่นให้ออกกำลังกาย หรือไปเป็นแบบอย่างในการออกกำลังกายให้แก่คนในชุมชนได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา

 

ดังนั้น นางสาวศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลบางปลาม้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง” ณ ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และผู้นำชุมชนในการสร้างเสริมให้ อสม. รับรู้ความสามารถของตนเอง ผ่านการพูดเสริมแรง และให้กำลังใจ อสม. รวมไปถึงการให้ อสม. ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วยท่าออกกำลังกายที่ง่าย และไม่ซับซ้อน พร้อมทั้งฝึกให้ อสม. ผลัดกันฝึกสอนการออกกำลังกายในกลุ่ม อสม. ด้วยกันเอง จน อสม. เกิดทักษะในการสอนออกกำลังกาย และที่สำคัญคือ อสม. เกิดความมั่นใจในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย อีกทั้ง อสม. เองก็สามารถเป็นต้นแบบในการออกกำลังกาย และเป็นเพื่อนในการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนได้ ส่งผลให้พวกเขาสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้นกว่าเดิม

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1289936531494872/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลบางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

2. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการสร้างเสริมรับรู้ความสามารถของตนเองให้แก่ อสม. เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2



โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์

MU-SDGs Case Study*

โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนศรีสังวาลย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนและคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ทั้งนี้พบปัญหาว่า เด็กนักเรียนที่นั่งวีลแชร์ (Wheelchair) ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาแผลกดทับ เนื่องจากต้องนั่งเป็นเวลานานและถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อีกทั้งเด็กนักเรียนยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดแผลกดทับ ขาดข้อมูลในการดูแลตนเอง และด้วยการที่จำนวนบุคลากรที่ดูแลนักเรียนมีค่อนข้างจำกัดเลยทำให้ไม่สามารถดูแลเด็กนักเรียนทุกคนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน

 

ดังนั้น นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย โรงเรียนศรีสังวาลย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์” ณ ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลอาการแผลกดทับให้แก่ครูผู้ดูแลและเด็กนักเรียน รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คนในชุมชน และครูผู้ดูแลไปยังเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงน้ำยาล้างไตที่ใช้แล้วมาทำเป็นเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไตให้เด็กนักเรียนที่ใช้วีลแชร์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดแผลกดทับลง ลดการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 4, 10, 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

4.5, 10.2, 12.5

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288656244956234/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

2. แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

3. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

4. โรงเรียนศรีสังวาลย์ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

6. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

7. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

   

Key Message*

การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 4.3.4, 4.3.5, 10.6.8, 10.6.9, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2

โครงการ 3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money)

MU-SDGs Case Study*

โครงการ 3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนในชุมชนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ ไม่รับรู้ถึงประโยชน์ของการแยกขยะ ขาดทักษะในการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการที่ร้านค้าในชุมชนยังมีการใช้ถุงพลาสติกในการใส่สินค้าให้ลูกค้า โดยปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นแหล่งรังโรคของยุงและแมลง และมีสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา

 

ดังนั้น นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) โรงพยาบาลคลองท่อม องค์การบริการส่งตำบลคลองท่อมใต้ ร้านวงษ์พานิชย์ สาขาคลองท่อม ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money)” ณ ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการคัดแยกขยะและสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนนำขยะรีไซเคิลไปขายที่ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลที่เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งยังร่วมกับร้านค้าต้นแบบในชุมชนในการลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติกในการใส่สินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.3, 12.4, 12.5

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 11

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

11.6

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288650214956837/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

2. องค์การบริการส่งตำบลคลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

3. ร้านวงษ์พานิชย์ สาขาคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

4. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะรีไซเคิล เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2