MU-SDGs Case Study* | พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | โรงพยาบาลมโนรมย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีเครื่อข่ายปฐมภูมิ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร) แต่ละพื้นที่มีจัดบริการกองทุน Long Term Care ซึ่งเป็นการดูแล ส่งต่อ ตั้งแต่โรงพยาบาลสู่บ้านมีการส่งข้อมูลสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลแบบประคับประคองร่วมกันทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านแต่ด้วยจำนวนพยาบาลที่จำนวนจำกัดในการดูแลที่ซึ่งต้องทำ family meeting และAdvance care plan ที่บ้านจึงทำให้เกิดการดูแลไม่ทั่วถึง เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการตายดีและการดูแลแบบประคับประคองให้เป็นระบบ การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการการดูแล จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองของทีมสุขภาพ ในเขตพื้นที่เครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรให้แก่บุคลากรทีมสุขภาพในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ ประกอบด้วยการอบรมทักษะกระบวนกรเบื้องต้น ได้แก่ ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death ได้แก่ เกมส์ไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน การ์ดแชร์กัน แคร์คลับและสมุดเบาใจ ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ (Health Communication Assessment Tool : HCAT) ก่อนและหลังการอบรม | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.c |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 4.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://discord.com/channels/1204631979358822400/1220262637083037747 | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* | เครื่อข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร) | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “ทักษะการสื่อสารของทีมสุขภาพเป็นหัวใจการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ การอบรมนี้จึงป็นการเตรียมบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยตามแนวนโยบายชีวาภิบาล” | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.c, 4.4 |
Author: คังโมยอน
การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว
MU-SDGs Case Study* | การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า (advance care planning: ACP) เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลกับครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อแสดงเจตจำนงค์ของบุคคลต่อการดูแลในช่วงระยะท้ายของชีวิต และช่วยลดความกังวลในการตัดสินใจหรือลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัวและทีมสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การพูดถึงการเตรียมความตายในสังคมไทยส่วนใหญ่ยังมองเป็นเรื่องอัปมงคลที่ไม่ควรพูดถึง การศึกษานี้ได้นำชุดเครื่องมือของ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเตรียมตัวตายและการวางแผนสุขภาพล่วงหน้าในกลุ่มผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านเขาบ่อแก้ว จำนวน 26 คน ที่ได้คัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่ประกอบด้วยกระบวนการวางแผน การปฏิบัติ การประเมิน และการสะท้อน และแนวคิดแนวคิดชุมชนกรุณา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราเข้าร่วมจำนวน 26 คน เพศชาย 16 คน (ร้อยละ 61.5) เพศหญิง 10 คน (ร้อยละ38.5) ผู้สูงอายุจำนวน 15 คน (ร้อยละ 57.7) ได้เขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำเร็จ และจำนวน 11 คน (ร้อยละ 42.3) ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม นอกจากนี้ ผลการปฏิบัติการใช้ชุดเครื่องมือ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า ค้นพบว่า ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ทัศนคติเชิงบวกต่อการพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวตาย (2) ความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิการตายดีเพิ่มขึ้น และ (3) ความตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง (ownership) การศึกษานี้ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมตานโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 10.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “ถึงผู้สูงอายุจะอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา ผู้สูงอายุก็มีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันกับผู้สูงอายุในสังคม เขาก็มีสิทธิในการวางแผนการดูแลสุขภาพและได้รับการดูแลตาเจตจำนงของเขา” | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3d,10.3 |
การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
MU-SDGs Case Study* | การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวอติพร โพธิ์แก้ว | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.สมสุข พวงดี | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ 1. สร้างแหล่งอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยให้แก่ครอบครัวและชุมชน 2. เพิ่มรายได้จากธุรกิจไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพารา 3. เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา 4. จัดการหมุนเวียนเศษเหลือทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ สืบเนื่องจากโครงการนี้เป็น senior project ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) นางสาวอติพร โพธิ์แก้วได้นำความรู้และทักษะจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยมาพัฒนาระบบการเกษตรที่บ้านเกิดให้ยั่งยืนและเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนระบบการเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว (Monoculture) เน้นการปลูกสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน รายได้หลักจึงมาจากผลผลิตจากยางพารา และปาล์มน้ำมัน พืชทั้งสองชนิดนี้ใช้เวลาเก็บเกี่ยวในครั้งแรกนานถึง 5-6 และ 4-7 ปี ตามลำดับ และถูกควบคุมราคาจากพ่อค้าคนกลาง จากข้อจำกัดทั้งสอง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายรับไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีรายได้น้อย ในแง่ของระบบนิเวศ การทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในชุมชนนาวงลดลง ผลที่ตามคือการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช และพึ่งพาแหล่งอาหารจากภายนอกมากขึ้น พื้นที่ตัวอย่างในการทำปริญญานิพนธ์ เป็นพื้นที่ที่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวเช่นกัน การปลูกผลไม้แซมริมขอบสวนยางพาราจึงถูกริเริ่มเพื่อหาแนวทางลดข้อจำกัดดังกล่าว เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง ลองกอง และกล้วย เป็นต้น ผลที่ตามมาคือครอบครัวมีรายได้จากการจำหน่ายผลไม้ทั้งสดและแปรรูปในช่วงผลไม้ให้ผลผลิต รวมถึงสร้างการแบ่งปันให้คนในชุมชนเป็นบางครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและเกิดการหมุนเวียนมูลเป็นปุ๋ยให้พืชได้ขึ้นเอง เนื่องจากนกและไก่ป่าเข้ามาอยู่อาศัยในสวนยางพาราผสมผลไม้ และขับถ่ายมูลลงมาตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีการปลูกผลไม้ร่วมกับยางพารา แม้จะมีข้อดีดังกล่าว แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นตามฤดูกาลเท่านั้น ระหว่างการเรียนรู้การทำธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก ภายใต้แบรนด์ “the teak chicken” ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ากลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพมีอยู่จริง และพร้อมยอมจ่ายให้กับไข่ที่มีคุณภาพ สด ปลอดภัย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวจึงมองเห็นโอกาสการสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้รายวันในสวนยางพาราของตัวเองได้ และการหมุนเวียนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่ส่งกลิ่นเหม็นในชุมชนมาใช้เป็นอาหารไก่เพื่อลดต้นทุน ผลลัพธ์ของ senior project พบว่าการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถ •สร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่สด ปลอดภัย มีคุณภาพ และจำหน่ายในราคาที่ชุมชนเข้าถึงได้ •สร้างรายได้รายวันจากการจำหน่ายไข่ไก่และรายเดือนจากการจำหน่ายปุ๋ยมูลไก่ให้แก่ครอบครัว •เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา •จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นเหม็นจากกากมะพร้าวคั้นกะทิในชุมชน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs2,12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.1, 2.3, 2.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 15.1, 15.4, 15.9 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/profile.php?id=100024874219328&mibextid=LQQJ4d | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถดำเนินเป็นธุรกิจในชุมชนได้ ไม่เพียงสร้างรายได้รายวันเท่านั้น แต่ยังสร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพ สด และปลอดภัยให้แก่ชุมชนได้เข้าถึงในราคาไม่แพง (SDGs2, 12) นอกจากนี้การเลี้ยงไก่ไข่ยังช่วยเพิ่มสิ่งมีชีวิตในสวนยางพาราให้มีความหลากหลายได้อีกด้วย (SDGs15) ในแง่สิ่งแวดล้อมการเลี้ยงไก่ไข่ในสวนยางพาราช่วยเปลี่ยนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่เหลือทิ้งเป็นไข่ที่มีคุณภาพ และหมุนเวียนมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืชได้อย่างครบวงจร (SDGs12) ดังนั้นผลประกอบการครั้งนี้จึงเป็นโมเดลธุรกิจให้ผู้ปลูกยางพาราเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความยั่งยืนทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสวนยางพารา ในท้ายสุดสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.4.1, 2.5.1, 2.5.3, 2.5.4 |
Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
MU-SDGs Case Study* |
Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นายธนากร จันหมะกสิต |
ส่วนงานหลัก* |
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม |
ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร |
ส่วนงานร่วม |
หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* |
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning) 2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน 3. เพื่อสร้างการมีจิตอาสาผ่านกิจกรมสาธารณะ
บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
วันที่ 12 พ.ค. 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ 2 หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลยางขาว จัดให้บริการตรวจดินแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลดินของตำบล และการต่อยอดสู่การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการปุ๋ยเพื่อชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนายธนากร จันหะมกสิต (นักวิชาการเกษตร) สังกัดศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตร SMART Farmer ชั้นปีที่ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการฝึกตรวจดินภาคสนามและให้บริการกับชุมชนในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมส่งตรวจอย่างดินเพื่อวิเคราะห์จำนวน 50 ราย นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกทักษะ (Upskill) ให้กับน้องๆเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้วิธีการเก็บตัวอย่างดิน, การวิเคราะห์ดิน และการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอีกด้วย |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs2 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
2.4,2.5 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs4,12,17 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
4.7,12.a,17.7 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 |
||
Partners/Stakeholders* |
1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|||
Key Message* |
กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573 | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
17.4.3, 2.4.1, 2.5.2 |
SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
MU-SDGs Case Study* | SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.ศศิมา วรหาญ ผศ.ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อ.ดร.สมสุข พวงดี อ.ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง นายอภินันท์ ปลอดแก้ว นายฌานเทพฤทธิ์ วงศ์วิลาส | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) | ส่วนงานร่วม | สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) |
เนื้อหา* | โครงการ SMART Farmer Fair เป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นโดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (ชื่อใหม่: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนทำการเกษตรเพื่อสุขภาพและการประกอบการ ในยุคที่เกษตรกรรมของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้จึงมีเป้าหมายในการเตรียมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้พร้อมกับความท้าทายเหล่านี้ หลักสูตร SMART Farmer จึงมุ่งเน้นการสร้างนักศึกษาให้เป็นมากกว่าเกษตรกรทั่วไป แต่ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจ นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรจะมีทักษะที่สามารถนำไปพัฒนาธุรกิจเกษตรของตนเองได้ รวมถึงสามารถเป็นผู้นำในชุมชนในการนำเอานวัตกรรมมาปรับใช้กับภาคการเกษตรในรูปแบบที่ยั่งยืน การดำเนินงานของโครงการ SMART Farmer Fair เป็นตัวอย่างของการนำแนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาใช้ในภาคการเกษตร โดยสรุปได้ดังนี้ SDG 2: ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) โครงการมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบผสมผสานที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ และลดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหารในระยะยาว SDG 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being) การส่งเสริมการเกษตรที่ปลอดภัยและการผลิตอาหารที่มีคุณภาพช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีอาหารที่ปลอดภัย ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education) โครงการ SMART Farmer Fair เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ให้นักศึกษาและเกษตรกรได้ฝึกปฏิบัติจริงในสาขาเกษตร ส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน SDG 8: การเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำงานที่มีคุณค่า (Decent Work and Economic Growth) โครงการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด สร้างงานและรายได้ในชุมชนท้องถิ่น SDG 12: การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) การเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การแปรรูปผลิตผลเพื่อเพิ่มมูลค่า และการคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืนและลดของเสียในกระบวนการผลิต | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs2,3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3, 2.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs8,12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 8.2, 8.3 12.3, 12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
มหิดลนครสวรรค์ จัดมหกรรม SMART Farmer Fair 2023 SMART FARMER FAIR 2024 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ Facebook Page: smartfarmer.muna | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. คูโบต้า ฮั้วเฮงหลี ที่นำโดรน และนวัตกรรมเกษตรมาโชว์ในงาน | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.3, 2.4 3.9 4.4 |
เครือข่ายเกษตรและการประกอบการ
MU-SDGs Case Study* | เครือข่ายเกษตรและการประกอบการ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | ดร. ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | ตามที่ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรและผู้ประกอบการ เช่น โครงการเครือข่ายข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน จากนั้นมีการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ได้มีการทบทวน ติดตาม สอบถาม เรื่องราวความเป็นอยู่และสถานการณ์ธุรกิจหรืออาชีพในปัจจุบัน เพื่อเป็นการทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและรับฟังปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหาและแนวทางพัฒนา เช่น การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นบันไดขั้นแรกในการใช้เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพโดยที่ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว โดยสามารถมเชื่อมโยงวิธีการพัฒนานี้ไปยังกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากเครือข่ายโดยผ่านการทำงานของคณะทำงานขับเคลื่อนด้านการเกษตร ภายใต้คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ได้รับผลประโยชน์ ภาคประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีช่องทางติดต่อกับสอบถามได้ง่ายขึ้น ภาครัฐ มีช่องทางรับฟังภาคประชาชนได้ง่ายและเร็วขึ้น ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | เครือข่ายเกษตรและประกอบการ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การพัฒนาการสื่อสาร, การบริหารจัดการการผลิต,เครือข่ายเกษตรและประกอบการ, การเกษตร, ประกอบการ, ธุรกิจ | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1 |
การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567
MU-SDGs Case Study* | การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายยุทธิชัย โฮ้ไทย | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 ภาคีเครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้มีการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่และขับเคลื่อนตลอดมาตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกลไกที่ใช้องค์กรผู้ใช้น้ำในการขับเคลื่อนจากภาคประชาชน ซึ่งเดิมมีการจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดครบแล้วจำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพระนอน ตำบลวังมหากร ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ และตำบลเกรียงไกร ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสู่พื้นที่ต้นน้ำนอกบึงบอระเพ็ด โดยปี 2566 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลพนมรอก และปี 2567 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลวังใหญ่ ตำบลไผ่สิงห์ และตำบลสายลำโพง พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างพื้นที่ตอนบนและตอนล่าง ซึ่งไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ มีการแบ่งปันการใช้น้ำ และการขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐในการรักษาระดับน้ำ และสูบน้ำรักษาระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำภาคการมีส่วนร่วมของจังหวัดนครสวรรค์ ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับเครือข่ายบึงบอระเพ็ดกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ดตามหลักวิชาการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำของทุกภาคส่วนอีกด้วย เมื่อเกิดระบบการบริหารจัดการน้ำแล้ว ทำให้มีการขับเคลื่อนประเด็นต่อมาเป็นการพัฒนาอาชีพที่มีการทดลองปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้ขับเคลื่อนโครงการที่มีกิจกรรมย่อยในการทำนาเปียกสลับแห้ง ที่มีการใช้น้ำน้อยเพื่อลดการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด และการนำพืชน้ำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่จะปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยายกาศได้ โดยเบื้องต้นได้มีการทดลองทำในพื้นที่ตำบลพระนอน และตำบลวังมหากร ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะขยายสู่ส่วนใหญ่ของบึงบอระเพ็ดต่อไป ผู้ได้รับผลประโยชน์ ภาคประชาชน ได้รับการจัดสรรน้ำ มีการแบ่งปันกันใช้น้ำอย่างเที่ยงธรรม ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs13,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1, 15.1 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล ม.มหิดล ร่วมนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในสพระองค์ การบริการวิชาการให้กับเครือข่าย | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | จังหวัดนครสวรรค์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
MU-SDGs Case Study* | โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ นายธนากร จันหมะกสิต นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์ | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | ความสำคัญ บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา นอกจากนี้การทำนาปรังส่งผลให้เกิดการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ส่วนพืชน้ำที่เจริญเติบโตหนีน้ำไม่ทันในช่วงฤดูน้ำหลาก จะทำให้เกิดหญ้าเน่าจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน ในการนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นการทำนาปรังและน้ำท่วมวัชพืชในช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีแนวคิดในการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกด้วยการปรับวิธีการทำนาจากนาปรังเป็นนาเปียกสลับแห้งที่ใช้น้ำน้อยและปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยกว่านาปรังหลายเท่า และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้การส่งเสริมให้นำวัชพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ดมาใช้ประโยชน์แปรรูปเป็นปุ๋ยที่สร้างรายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลพระนอน มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย ซึ่งรูปแบบที่จะออกมาขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานทั้งหมดสอดคล้องกับนโยบายของ COP28 และบึงบอระเพ็ด sandbox ที่ตั้งเป้าให้เกิด Net Zero ในปี 2573 ต่อไป
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการปรับแนวคิดของประชาชนสู่การปรับวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 2) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 3) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำและการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ความคืบหน้าในการดำเนินการ โครงการอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ โดยมีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลวังมหากรและตำบลพระนอน และมีการสอบถามความต้องการในการขับเคลื่อน (Need Assessment) ในการทำนาและการจัดการวัชพืชน้ำบึงบอระเพ็ด มีการดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และการทดลองการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 100 ไร่ อีกด้วย ผลผลิตของโครงการ 1) การฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาเทคโนโลยีสีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SDGs BCG และการปรับตัวในการทำการเกษตรในพื้นที่ชุ่มน้ำ 2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้ง และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ 3) พื้นที่ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด และการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยในตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 4) ผลการคำนวณอัตราผลตอบแทนเชิงสังคม (SROI) ของโครงการ 5) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานในพื้นที่ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) ประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้งและการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ และขยายผลต่อในอนาคตบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ 3) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม 4) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆที่มีบริบทคล้ายกับบึงบอระเพ็ด 5) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์สามารถกำหนดแนวทางการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสัญญาเช่าของประชาชนบึงบอระเพ็ดในอนาคตต่อไป | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs13 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 13 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2,6,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.3, 6.3, 6.4, 6.5, 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2024-5-2-1.pdf | ||
https://www.nstda.or.th/sci2pub/3-strategies-to-revive-sustainable-rice-fields/ | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครสวรรค์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด หน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ด ประมงจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอนและวังมหากร เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำบึงบอระเพ็ด ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การปรับวิถีการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การทำนาเปียกสลับแห้ง การปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 13.2 |
เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี
MU-SDGs Case Study* | เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การพูดเรื่องความตาย ส่วนใหญ่ไม่ควรพูดถึงเพราะเป็นเรื่องอัปมงคล ตลอดระยะเวลา10 ปี ที่ดำเนินงานการดูแลการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ได้ทบทวนและเกิดการเรียนรู้ถึงการสร้างความเข้าใจเรื่อง “การเตรียมความพร้อมก่อนตาย” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพื่อนำไปสู่การ“ตายดี” จึงเป็นที่มาของการโครงการ“เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี” ให้กับเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และยกระดับในการสื่อสารผ่านชุดเครื่องมือ ของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี ผลการดำเนินโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจเรื่องความตายและการเตรียมความพร้อมก่อนตายและผู้เข้าร่วมการอบรมมีทักษะในการใช้เครื่องมือและนำไปปฏิบัติจริงกับผู้สูงอายุในศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองให้สามารถร่วมพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า(Advance care plan) จึงเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้ดำเนินชีวิตที่ดี ทั้งกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ การวางแผนการดูแลล่วงหน้าก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในระยะท้าย จึงขยายผลการนำเครื่องมือไปกับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้วเป็นการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ประเมินผลตัวชีวัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วย กระบวนการสัมภาษเชิงลึก focus group ผ่านการใช้เครื่องมือของ Peaceful Death ในการนำพาการพูดคุยเรื่องความตาย ผลการดำเนินโครงการ ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและมีผู้สูงอายุเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ขอนำไปศึกษารายละเอียดและให้พี่เลี้ยงช่วยเขียน(กรณีเขียนหนังสือไม่ได้) นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีมติร่วมกันเมื่อเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้าแล้วให้นำไปไว้ที่เรือนพยาบาลเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลสุขภาพและต้องการให้มีการเขียนการวางแผนการล่วงหน้าทุกคนในสถานสงเคราะห์คนชรา การขยายผลโครงการงานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เสนอขอทุนเพื่อขยายเครือข่ายให้มีทักษะความรู้ในการใช้เครื่องมือและขยายการเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า พื้นที่ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ผลของการขยายผล ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้และทักษะในการใช้ชุดเครื่องมือและสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ แกนนำกระบวนกรชุมชนกรุณาสามารถเลือกใช้ชุดเครื่องมือกับผู้สูงอายุในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม ผู้สูงอายุเปิดใจ ยอมรับการพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าได้ | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs16 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 16.7 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251 | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | ให้ความตายเป็นเรื่องที่พูดได้ เพื่อการอยู่ดีและตายดี | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.d |
สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม
MU-SDGs Case Study* | สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน เป็นสาเหตุหนึ่งของการทหให้เกิดโรคไม่ติดต่ออเรื้อรัง (Non-Communicable Desease : NCDs) ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568 ว่าด้วยประเด็นยุทธศาสตร์- SALTS ดังนี้ 1). ยุทธศาสตร์ S (Stakeholder network) การสร้าง พัฒนาและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 2). ยุทธศาสตร์ A (Awareness) การเพิ่มความรู้ความตระหนัก และเสริมทักษะให้ประชาชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและผู้กำ หนดนโยบาย 3). ยุทธศาสตร์ L (Legislation and environmental reform) การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิด การผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมตํ่า รวมทั้งเพิ่มทางเลือกและช่องทางการเข้าถึงอาหาร ที่ปริมาณโซเดียมตํ่า 4). ยุทธศาสตร์ T (Technology and innovation) การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้และการนำสู่ ปฏิบัติ 5). ยุทธศาสตร์ S (Surveillance, monitoring and evaluation) การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผล เน้นตลอดกระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม (Healthy University : (Low Sodium Policy) เพื่อเป็นต้นแบบลดการบริโภคโซเดียมและส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เกิดความตระหนักในการบริโภคอาหาร ผลของการดำเนินโครงการ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้สูงอายุมีความเข้าใจถึงกลไกของโซเดียมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกายทำให้ผู้สูงอายุเห็นภาพมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อรับประทานโซเดียมมากเกินไป มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดจากโซเดียม ทำให้เกิดความระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะนำความรู้กลับไปถ่ายทอดให้คนในครอบครัวได้ทราบถึงผลกระทบของโซเดียมและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมอีกด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และส่งเสริมความตระหนักในการขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม จึงขยายผลการให้ความรู้ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกาย แก่กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาท ผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ เข้าใจกลไกการทำงานของโซเดียมในร่างกายผ่านนวัตกรรม | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.14 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251 | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | ลดเค็ม ลดโรค | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.d |