โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.ทัตติยา ทองสุขดี
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1.องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์
3.ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4.อสม.ตำบลวัดไทรย์

เนื้อหา*

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีความรุนแรง และเกิดสายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ร่วมกับโอกาสในการติดเชื้อจากญาติหรือผู้ดูแลที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายในร่างกาย มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง อวัยวะภายในร่างกายอาจถูกทำลาย และทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน รวมถึงสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกต้อง อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ การรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และการขาดความตระหนักในการปฏิบัติ พฤติกรรรมการปฏิบัติตัวที่บ้าน ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ   

การส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุและสตรีตั้งครรภ์ ได้นั้นต้องพัฒนาทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ทักษะความรู้ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ 3) ทักษะการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการสุขภาพ และสามารถนำข้อมูลไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นยอมรับและเข้าใจ 4) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพก่อนตัดสินใจเชื่อหรือปฏิบัติตาม 5) ทักษะการตัดสินใจในการเลือกข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และ 6) ทักษะการจัดการตนเองโดยสามารถนำข้อมูลสุขภาพที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติในการดูแลตนเอง ที่จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับปฏิสัมพันธ์ และ 3) ระดับวิจารณญาณ โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ชุมชน และผู้สูงอายุ การให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และอสม. และการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และอสม.ในการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูล มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ โดยการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กิจกรรมพัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพโดยสอนการเลือกสื่อ แหล่งความรู้จากหลายช่องทาง รวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต สอนสาธิตการใช้แอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ให้ลงมือปฏิบัติโดยมีพี่เลี้ยง การใช้เกมส์บัตรคำ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว กิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการสื่อสารโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เทคนิค 1 คำถามในการจัดการตนเอง พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสื่อจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการตัดสินใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลือกใช้สื่อ กิจกรรมพัฒนาทักษะทางปัญญาและสังคมที่สูงขึ้น การสนทนาเพื่อการสะท้อนคิด (Reflecting conversation) การสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันฯ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ผลที่ได้รับคือ ทั้งผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์มีความรู้ และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่ สูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินโครงการ และมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ระดับมากที่สุด จากการติดตามผลหลังการทำกิจกรรม พบว่า สามารถนำกิจกรรมที่ทำไปใช้ได้จริงถ้าอายุไม่มากกว่า 70 ปี มีการกระตุ้นความรู้และการใช้โทรศัพท์ในการค้นหาข้อมูลโดยชมรมผู้สูงอายุ และอสม.

 
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3, 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.3

17.4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.moph.go.th/

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mor.promplus&hl=th&gl=US

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ktb.thaichana.prod&hl=th&gl=US

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
 
 
 
  

Key Message*

ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และสายพันธุ์ใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.7, 3.3.1

โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.เบญจพร พุดซา

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น

ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 17.00 – 19.00 น. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” โดย อ.เบญจพร พุดซา ได้ร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเนื้อหาในการพูดคุยนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากรายวิชา นวสธ 103 การเมืองกับสุขภาพ (Politics and Health) และ นวสธ 215 ประชากรกับผลกระทบทางด้านสุขภาพ (Population and health Effects) รวมไปถึงประเด็น เรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการพูดถึงแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ไปยังพื้นที่อื่นอย่างครอบคลุม อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แนวทางในการขยายพื้นที่ต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0N1D8HAStzuK8dSH8imcxSnSfSz2xjiBuzA9AMwRiGLKMMyvKjNU9D3UkWGN3ick8l/?d=n&mibextid=wxGVb6

https://youtu.be/zXoJASchgbU

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 4.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่4

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น

ในวันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 16.30 – 17.30 น. ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” และร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศที่ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0FLPQx5Y4sazDE3TQRS7j3p1y8JPcFYWGGehxZVPQitWdR1dFuuWrosyZazSzjxfzl/?d=n&mibextid=wxGVb6

https://youtu.be/zXoJASchgbU

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
   
    
    
    

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 2 และ 4

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

 

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 ที่มีใจความสำคัญว่านักศึกษาสามารถแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษาตามอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพหรือเพศสภาวะที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็ได้ โดยให้ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ ซึ่งรวมถึงการแต่งกายในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีรับอนุปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรด้วย แต่กลับพบปัญหาว่านักศึกษาที่แต่งตัวตามอัตลักษณ์ทางเพศนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำในสถานศึกษานั้นมีเพียงห้องน้ำสำหรับเพศชาย และเพศหญิงเท่านั้น 

ดังนั้น เมื่อนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ได้เรียนในรายวิชา NWNW 322 การจัดการความรู้เบื้องต้น (Fundamental of Knowledge Management) จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All-Gender Restroom) อยู่หนใด” เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564
เวลา 9.00-12.00 น. ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก 1) ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3) คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งทั้ง 3 ท่านได้เปิดมุมมองในเรื่องของห้องน้ำเสมอภาค และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการขับเคลื่อนให้เกิดห้องน้ำเสมอภาค

หลังจากกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษาในการผลักดันให้เกิดห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น โดยผู้บริหารมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคน โดยทางวิทยาเขตจะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid02MYfqMTWQ8fXuTdw4qfjfuKjRLRhmwE6Xk9AfMTmFqiBGK5V9cioUDhvz96ZAh9KQl/?d=n&mibextid=wxGVb6

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
     
       
       
       

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6