MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ. ดร. กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์ อ. ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อ. ดร. จิระพล จิระไกรศิริ อ. ดร. เอกลักษณ์ คันศร Mr. Magnus Findlater |
ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* |
จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีหลากหลายเช่น อาหาร ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ภูมิปัญญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เครื่องจักสาน ผ้าทอ วัฒนธรรม ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สนับสนุนการสร้างสรรค์ บุกเบิก การประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของวัฒนธรรม ตลอดจนการนำวัฒนธรรมไทยเผยแพร่สู่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดอุทัยธานีกำลังเป็นที่สนใจการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ภูมิปัญญาและนิเวศวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และเป็นระบบ ข้อมูล เบื้องต้นนี้ได้จากการสัมภาษณ์คุณสมบัติ ชูมา ผู้ศึกษาและวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกระเหรี่ยงโปว์ จังหวัดอุทัยธานี จากสถาบันธรรมชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ทาให้เราทราบว่า ทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของชาวกระเหรียงโปว์ในพื้นที่จังหวัดอุทัยเป็นที่สนใจของนักท่องเทียวชาต่างชาติจานวนมากในช่วงระยะเวลาก่อนโควิด 19 ระบาดมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจานวนมากสนใจและใช้ระบบการนาทางด้วยดาวเทียม GPS ขับรถมาเที่ยวในพื้นที่เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ทราบว่าบุคลากรการท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นยังไม่เคยได้รับการอบรมภาษาอังกฤษและไม่มีคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ จึงอาจทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมให้ชาวต่างชาติ |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.3.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 1,11,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 11.4, 11.6, 11.8, 17.4.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* |
1) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี 2) ศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี 3) สถาบันธรรมชาติพัฒนา จังหวัดอุทัยธานี |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | สังเคราะห์ความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ให้สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 4.3.4 |
Category: Goal 11 : Sustainable cities and communities
Goal 11 : Sustainable cities and communities
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province)
MU-SDGs Case Study* | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province) | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
เนื้อหา* | แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต หลายคนเมื่อรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเองก็เลือกที่จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก จึงเกิดความต้องการดูแลประคับประคองที่บ้าน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญร่วมกับเครือข่ายสุขภาพที่อยู่ในชุมชนและคนในครอบครัว เพื่อร่วมจัดกิจกรรมช่วยให้เผชิญความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีจวบจนถึงวาระสุดท้าย และเสียชีวิตอย่างสงบ อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ดูแล 12 หมู่บ้าน ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของ รพ.สต.บ้านเขาทอง พ.ศ. 2564 พบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่จริงจำนวน 5,352 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 1,639 คน คิดเป็นร้อยละ 30.62 ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี จำนวน 326 คนคิดเป็น 19.89 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 1,614 ราย ซึ่งป่วยด้วยโรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคจิตเวช โรคไตวายเรื้อรัง และโรคมะเร็ง ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้สูงอายุระยะบั้นปลายของชีวิตจำนวน 24 คน เป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังเข้าถึงบริการได้ไม่ครอบคลุม ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภาระงานและจำนวนของบุคลกรในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีจำกัด ระบบการส่งต่อผู้ป่วยและการเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการระหว่างหน่วยงานบริการด้านสุขภาพมีความล่าช้า อีกทั้งเจ้าหน้าที่และเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชนขาดความมั่นใจในการดูแลด้านจิตใจ ผู้ดำเนินการจึงใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยนำผลการทำวิจัยและพัฒนารูปแบบแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ประยุกต์ใช้ร่วมกับการภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของชุมชนตำบลเขาทอง จัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบททางสังคมของชุมชน โดยประยุกต์กิจกรรมร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. การดำเนินกิจกรรม 1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง พยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่ชุมชน 3.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยแต่ละราย รายละเอียดการเจ็บป่วย เพื่อวางแผนการให้บริการ 4.ประสานงานชี้แจงรูปแบบกิจกรรมการดูแล แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสหวิชาชีพด้านสุขภาพ แกนนำชุมชม อสม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้บริการ และกำหนดนัดหมาย 5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแผนการดูแลสำหรับการให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย 6.ให้บริการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ตามลักษณะและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยและครอบครัว 7.กำหนดนัดหมายการดูแลต่อเนื่องตามลักษณะความต้องการของผู้ป่วย 8.สรุปผลการให้การดูแล รายงานผลการดูแลผู้ป่วยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้การดูแล เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 18 ราย จำแนกเป็น เพศชาย 10 ราย เพศหญิง 8 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 4 ราย ผู้สูงอายุระยะบั้นปลายและป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 9 ราย เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 5 ราย ผู้ที่ได้รับการดูแล มี คะแนน PPS อยู่ระหว่าง 10 – 80 คะแนน เฉลี่ยคือ 41 คะแนน อัตราการเข้าถึงบริการร้อยละ 75 ประชาชนในชุมชน ญาติ และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับซึ่งประเมินได้จากท่าทีและคำพูดที่แสดงความขอบคุณให้กับทีมผู้รับดำเนินกิจกรรม | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.7 3(c) | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/257441?fbclid=IwAR0k-4W9FFtt10lbdIzQ25ic3olEtki6MfjygMjcgZ6eEcDXSVYM5u2cN3g | ||||||||
https://www.facebook.com/257376708255620/posts/pfbid02uhMm3RAQAV9cvEWUoqQQwh33AbLdC8GyHQ4hdYV8ifh6XKjvwxLtGQB6t8ApdMDAl/ | |||||||||
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0kvfBQcWMFT1yvePcDGAQ6S53fyEGZVanHSyEuBpAP13L3dPfd5ESdxAvDyprDxH7l&id=100001448635895 | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนเขาทอง เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิพยุหะคีรี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขาทอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขาทอง | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเสมอภาค การดูแลประคับประคองที่บ้านถือเป็นบริการด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มของความต้องการมากขึ้น การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจะนำมาซึ่งการจัดบริการอย่างครอบคลุมและเกิดความยั่งยืนในชุมชน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1 3.3.2 |
โครงการ 3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money)
MU-SDGs Case Study* | โครงการ 3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money) | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนในชุมชนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ ไม่รับรู้ถึงประโยชน์ของการแยกขยะ ขาดทักษะในการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการที่ร้านค้าในชุมชนยังมีการใช้ถุงพลาสติกในการใส่สินค้าให้ลูกค้า โดยปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นแหล่งรังโรคของยุงและแมลง และมีสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) โรงพยาบาลคลองท่อม องค์การบริการส่งตำบลคลองท่อมใต้ ร้านวงษ์พานิชย์ สาขาคลองท่อม ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money)” ณ ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการคัดแยกขยะและสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนนำขยะรีไซเคิลไปขายที่ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลที่เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งยังร่วมกับร้านค้าต้นแบบในชุมชนในการลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติกในการใส่สินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3, 12.4, 12.5 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288650214956837/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 2. องค์การบริการส่งตำบลคลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 3. ร้านวงษ์พานิชย์ สาขาคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 4. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะรีไซเคิล เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2 |
โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน
MU-SDGs Case Study* | โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากชุมชนนั้นยังไม่ได้รับการบริการการจัดเก็บขยะจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งคนในชุมชนยังขาดความรู้ในการกำจัดขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยส่วนใหญ่คนในชุมชนมักจะนำขยะทุกชนิดไปทิ้งบริเวณสวน ไร่ นา โดยไม่ได้คัดแยก และมีการเผา ทำลายขยะ ทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีแมลงนำโรคและสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ องค์การบริการส่งตำบลตะคุ สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน” ณ ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร อีกทั้งยังร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3, 12.4, 12.5 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2, 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4, 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287997358355456/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 2. องค์การบริการส่งตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 3. สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 4. ผู้นำชุมชน ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร จัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.3.2 |
โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์
MU-SDGs Case Study* | โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์ | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนไม่นิยมคัดแยกประเภทหรือชนิดของขยะในครัวเรือน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะเพิ่มมากขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นขาดความรู้ และทักษะในการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการขาดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในประเด็นเรื่องการจัดการขยะ ทั้งนี้ ผลจากการที่คนในชุมชนไม่คัดแยกขยะนั้น ก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น เสียทัศนียภาพ มีสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร เทศบาลตำบลแม่โจ้ ปราชญ์ชาวบ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์” ณ ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้ อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้ อสม. มีทักษะที่ดีในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ อสม. ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านในการคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำปุ๋ยหมักดังกล่าวกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน ส่งผลให้ขยะในครัวเรือนต้นแบบมีจำนวนลดลงจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2, 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4, 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287992851689240/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. ศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. เทศบาลตำบลแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.2.4, 12.3.2 |
วัคซีนเพื่อชุมชน
MU-SDGs Case Study* |
วัคซีนเพื่อชุมชน |
||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นายแพทย์เชิดเกียรติ เติมเกษมศานต์ |
ส่วนงานหลัก* |
ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครรสวรรค์ |
||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
นางสาวสิริกร นาคมณี และงานวัคซีน ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครรสวรรค์ |
ส่วนงานร่วม |
สำนักงาน คปภ. , สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ , อบต.เขาทอง , รพ.สต.เขาทอง , ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ |
||||||
เนื้อหา* |
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ๒๐๑๙ ที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ดังนั้นทางออกที่ยั่งยืนของวิกฤตครั้งนี้ คือ การให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ COVID-๑๙ กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการนี้เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง และนักเรียนมัธยม ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด๑๙ ทั้งวัคซีนหลัก และ วัคซีนทางเลือก ในวัคซีนหลักศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ได้ให้บริการฉีดวัคซีนกับผู้ที่จองผ่านระบบ และจองผ่านเจ้าหน้าที่ อสม. ทำให้ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคของตำบลเขาทองได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐%ตามเป้า และขยายเป้าหมายสู่ประชาชนทั่วไป อีกทั้งให้บริการวัคซีนทางเลือกโดยไม่คิดค่าบริการในกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบางของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒๒๖ คน โดยความร่วมมือกับสำนักงาน คปภ. และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ และเพิ่มความครอบคลุมในการดูแลประชาชนในเขตเขาทองให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับทีมอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ออกให้บริการฉีดวัคซีนถึงบ้านจำนวน ๓๐ คน โดยได้รับความร่วมมือจาก อบต.เขาทองและเจ้าหน้าที่ อสม.ในพื้นที่ และยังฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนมัธยมจำนวน ๓๑๗ คน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด๑๙ ได้อย่างทั่วถึง อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ให้กับประชาชนโดยผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจประชาชนในเขตพื้นที่เขาทองมีความพึงพอใจ และได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐% ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และกลุ่มเปราะบาง เช่นผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น |
||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDG 11 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
SDG 11.1 , 11.7 , 11.b |
||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDG 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
3.3 , 3.b
|
||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/111082602286281/posts/4587250791336084/ |
||||||||
https://www.facebook.com/111082602286281/posts/4543711679023329/ |
|||||||||
https://www.facebook.com/111082602286281/posts/4475585035835994/ |
|||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ Excellence in management for sustainable organization |
||||||||
Partners/Stakeholders* |
สำนักงาน คปภ. , สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ , อบต.เขาทอง , รพ.สต.เขาทอง , ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ |
||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||
Key Message* |
ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 ในจังหวัดนครสวรรค์ ,นักเรียนโรงเรียนเขาทอง และ โรงเรียนเขาทองพิทยาคม , ผู้ป่วยติดเตียงและผ้สูงอายุในเขตตำบลเขาทอง ,กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้เข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงมากกว่า ๗๐% ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ให้กับประชาชน |
||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
17.2.5 |
วัคซีนเพื่อชุมชน
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
วัคซีนเพื่อชุมชน | ||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | นางสาวสิริกร นาคมณี | ||||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ๒๐๑๙ ที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ดังนั้นทางออกที่ยั่งยืนของวิกฤตครั้งนี้ คือ การให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ COVID-๑๙ กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการนี้เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง และนักเรียนมัธยม ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด๑๙ ทั้งวัคซีนหลัก และ วัคซีนทางเลือก ในวัคซีนหลักศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ได้ให้บริการฉีดวัคซีนกับผู้ที่จองผ่านระบบ และจองผ่านเจ้าหน้าที่ อสม. ทำให้ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคของตำบลเขาทองได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐%ตามเป้า และขยายเป้าหมายสู่ประชาชนทั่วไป อีกทั้งให้บริการวัคซีนทางเลือกโดยไม่คิดค่าบริการในกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบางของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒๒๖ คน โดยความร่วมมือกับสำนักงาน คปภ. และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ และเพิ่มความครอบคลุมในการดูแลประชาชนในเขตเขาทองให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับทีมอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ออกให้บริการฉีดวัคซีนถึงบ้านจำนวน ๓๐ คน โดยได้รับความร่วมมือจาก อบต.เขาทองและเจ้าหน้าที่ อสม.ในพื้นที่ และยังฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนมัธยมจำนวน ๓๑๗ คน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด๑๙ ได้อย่างทั่วถึง อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ให้กับประชาชนโดยผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจประชาชนในเขตพื้นที่เขาทองมีความพึงพอใจ และได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐% ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และกลุ่มเปราะบาง เช่นผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น |
||||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | จ.นครสวรรค์ | ||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง |
||||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | ตั้งแต่ 2564 เป็นต้นไป | ||||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 1 มิถุนายน พ.ศ.2564 – ปัจจุบัน | ||||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | หน่วยงาน | ||||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
สำนักงาน คปภ. , สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ , อบต.เขาทอง , รพ.สต.เขาทอง , ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ |
||||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
1.ให้บริการฉีดวัคซีนประชาชนทั่วไปในเวลาราชการที่ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ 2.ให้บริการฉีดวัคซีนผู้ป่วยติดเตียงในเขตตำบลเขาทองที่บ้านนอกเวลาราชการ |
||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
1.ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 ในจังหวัดนครสวรรค์ 2.นักเรียนโรงเรียนเขาทอง และ โรงเรียนเขาทองพิทยาคม 3.ผู้ป่วยติดเตียงและผ้สูงอายุในเขตตำบลเขาทอง 4.กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส |
||||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
1.ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 จำนวนมากกว่า 3,000 คน 2.นักเรียนอายุ 12-18 ปี จำนวน 318 คน 3.ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 30 คน 4.กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส จำนวน 226 คน |
||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.สร้างความรู้ความเข้าใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 2.ประชาชนเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง |
||||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
บริการวัคซีนประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 บริการวัคซีนนักเรียน อายุ 12 – 18 ปี ในเขตตำบลเขาทอง บริการวัคซีนทางเลือกแก่ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสโดยไม่คิดค่าบริการ บริการวัคซีนผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุที่บ้าน |
||||||||||||||
SDGs goal | Goal 3 : Good health and well being Goal 10 : Reduced inequalities Goal 11 : Sustainable cities and communities |
A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Subjects | Details | ||||||
Research Project/ Project/Activities/Events |
A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand | ||||||
Project managers |
1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt2.Dr. Pornpirat Kantatasiri |
||||||
Statement problems | Since the world’s population is growing, people are using more energy for several purposes, including their livelihood. Furthermore, motor oil is utilized in vehicle operation, and methane is used to generate fuel and electricity. Many countries are experiencing a scarcity of energy supplies, notably electricity and fuel. Thailand imports fuel and electricity, and its energy prices have been steadily rising for almost a decade, and this trend is likely to continue. Many researchers have looked for alternative energy sources to use instead of imported energy, especially in countries where electricity and other energy sources are unavailable. Furthermore, it is likely that the earth’s fuel and other energy supplies will be exhausted soon. Thailand is a leader in agricultural exports to many nations across the world, and all of its goods are of excellent quality. Thailand can grow energy crops for alternative energy production, such as sugarcane for bioethanol production and Napier grass for electricity generation, that are both low-cost and low-impact on the environment. In Thailand, there are around 20 varieties of Napier grass, each with a large biomass and distinct potential for producing methane, heating value and electricity. The potential of the Napier grass to create methane and heating value has been studied in recent work, which is initiated information on the uses of Napier grass varieties for energy purposes. Furthermore, it might be a practical means of determining the best varieties to employ for electricity generating in the future. | ||||||
Area of Studies/ Area of Activities | Field surveys throughout Thailand, as well as laboratory-based investigations to determine methane production and heating value, as well as the computation of heat value for electricity generation in electricity power generation plant (1 megawatt) from different varieties of Napier grass. | ||||||
Objectives |
1.To study the basic information of Napier grass varieties in Thailand, including strains, botanical characteristics, agricultural practices, and cultivation costs, as well as methane production from pig manure and Napier grass, and heating values from Napier grass for use as a source for electricity generation 2.To determine of cost and financial return of Napier grass cultivation for electricity generation in a power generation plant (1 megawatt) |
||||||
Years | 2020 | ||||||
Project/Activity Duration | January 9 – July 8, 2020 | ||||||
Levels of Collaboration | University and state-owned enterprise level. | ||||||
Collaborative organization | Electricity Generating Authority of Thailand | ||||||
Project approaches/ Activity approaches |
1.Field surveys 2.Laboratory works 3.Meeting between researchers from Mahidol University and staffs from Electricity Generating Authority of Thailand |
||||||
Target groups | – | ||||||
Numbers of Participants | – | ||||||
Outputs/Outcomes |
1)To get a fundamental understanding of the biology and agricultural practices of various Napier grass varieties, as well as marketing information for cultivation and marketing, so that they may be used as a source of electricity generation. 2)To generate methane in a mesocosm system using a suitable ratio of fermented pig dung and Napier grass 3)To study about the technique’s optimization, economic and financial values, and investment in a biogas electricity production facility utilizing Napier grass. |
||||||
Web link | https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/?tab=album&album_id=2848422768552237 | ||||||
Pictures/Images |
|
||||||
SDGs goals | Goal 7 : Affordable and clean energy Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure Goal 11 : Sustainable cities and communities Goal 13 : Climate action Goal 17 : Partnerships for the goals |
โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2 | ||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์ | ||||||
ที่มาและความสำคัญ |
เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560) นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป
|
||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง | ||||||
วัตถุประสงค์ |
1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้ 5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3) |
||||||
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม | พ.ศ. 2562 | ||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563 | ||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ | ||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม) |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา | ||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ -การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง -การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย -การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน -การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. -การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท. -การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) -การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา -การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย |
||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม | ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา | ||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 228 คน | ||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท -อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ -อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน -การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม |
||||||
Web link |
Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/ SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/ Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ |
||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||
SDGs goal |
Goal 1 : No poverty |
การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | |||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี | |||||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา | |||||||||
ที่มาและความสำคัญ | กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนและองค์กรท้องถิ่นโดยเน้นที่ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนการจัดการความรู้และพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ตลอดจนสามารถผสมผสานทักษะภาษาอังกฤษกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของคนในชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาให้มีศักยภาพและสร้างรายได้ของชุมชนในอนาคต อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ณ พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมชุมชนกระเหรี่ยงบ้านพุเม้ยง์ (ภูเหม็น) ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี | |||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | จังหวัดอุทัยธานี | |||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.เพื่อศึกษาความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี 2.เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี 3.เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อบุคลากรผู้ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี |
|||||||||
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม | 2563 | |||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 2564 | |||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) | |||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
ศูนย์พัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี สถาบันธรรมชาติพัฒนา |
|||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | จัดอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยใช้บทเรียนนวัตกรรม | |||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม | บุคลากรผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ในตำบลแก่นมะกรูดอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี | |||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 75 คน | |||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
-ถ่ายทอดให้กับประชาชนเขตศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง อำเภอบ้านไร่ ลานสัก และห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสุพรรณบุรี -ดำเนินการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวความคิดขยายวงกว้างออกไปในระดับชุมชนระดับตำบลและจังหวัด ร่วมไปถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ -ดำเนินการถ่ายทอดผ่านสื่อมมวลชนทั้งท้องถิ่นและระดับประเทส เพื่อกระจ่ายไปในกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อื่น ๆ -ดำเนินการถ่ายทอดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกมิติเพื่อประชาสัมพันธ์ในในวงกว้างมากขึ้น |
|||||||||
Web link |
แสกนQR Code เพื่ออ่าน e-Handbook ได้ที่นี่ ดาวน์โหลดเอกสารการอบรมได้ที่ |
|||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
|||||||||
SDGs goal | Goal 4 : Quality education Goal 11 : Sustainable cities and communities Goal 12 : Responsible consumption and production |