โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจิตอาสาเพื่อพัฒนาความเป็นครู


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจิตอาสาเพื่อพัฒนาความเป็นครู
ที่มาและความสำคัญ เนื่องจากนักศึกษาคณะครุศาตร์ส่วนใหญ่จะต้องเข้าทำงานในโรงเรียนต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความรู้พื้นฐานในเรื่องการเกษตรอย่างถูกต้องจึงได้เข้ามาอบรมและฝึกปฏิบัติทักษะทางด้านการเกษตร
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา  
วัตถุประสงค์ 1.เพิ่มพูนความรู้ทางด้านการเกษตร
2.ฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างประสบการณ์ทางด้านการเกษตร
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง  
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ มหาวิทยาลัย, หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม อบรมวิชาการ และฝึกปฏิบัติจริง
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 ท่าน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1 นักศึกษานำความรู้ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน
2 นำความรู้และประสบการณ์ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียนต้นสังกัดของนักศึกษาแต่ละคน
Web link  
รูปภาพประกอบ
 
SDG goal Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 12 : Responsible consumption and production​

ผักอินทรีย์ในเมือง @ Bangkok Rooftop Farming


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

ผักอินทรีย์ในเมือง @ Bangkok Rooftop Farming
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ.ดร.วรรณา ประยุกวงศ์ และ อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง
ที่มาและความสำคัญ      หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง มีเป้าหมายเพื่อสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคนของประเทศให้จบออกไปเป็น “เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) ที่สามารถ ผลิตได้-ขายเป็น” เป็นเกษตรกรรมยั่งยืน ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการหลายศาสตร์ ไม่เพียงประสานและเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเกษตรศาสตร์เท่านั้น แต่ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการผลผลิตครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต สำรวจตลาด ไปจนกระทั่งการจำหน่าย โดยอยู่บนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นต้นทุนทางทรัพยากรในท้องถิ่นที่ตนเองมีอยู่ ดังนั้น เมื่อบัณฑิต/ผู้เรียนจบการศึกษาจะมีความพร้อมสามารถจบออกไปเป็น SMART Farmer และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้คำขวัญ “SMART Farmer ผลิตได้-ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบสัมมาชีพได้อย่างเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชน นำสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรของประเทศ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา Bangkok Rooftop Farming ณ อาคาร Center One
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติตั้งแต่การเตรียมปัจจัยการผลิต ปลูก และจำหน่าย หลักสูตรจึงกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชา นวกษ111 ศาสตร์พระราชากับวิถีชีวิต และ นวกษ141 เกษตรปริทัศน์สำหรับเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง บูรณาการการจัดการเรียนการสอนร่วมกับ บริษัท Bangkok Rooftop Farming

2. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องการปลูกผักในเมืองที่สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับตนเองและชุมชน

3. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2563
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง ตามช่วงเวลาที่กำหนด
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. บริษัท Bangkok Rooftop Farming SE

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การจัดการเรียนการสอนผ่านรายวิชา นวกษ111 ศาสตร์พระราชากับวิถีชีวิต และ นวกษ141 เกษตรปริทัศน์สำหรับเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง ผ่านการลงมือปฏิบัติ โดยมีครูพี่เลี้ยงจาก Bangkok Rooftop Farming
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 7 คน

ครูพี่เลี้ยง จำนวน 4 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1. นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จาการลงมือปฏิบัติไปใช้ได้

2. ผักปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

Web link https://www.facebook.com/smartfarmer.muna
รูปภาพประกอบ
     
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone project)


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone project)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสัตวแพทย์เอกสิทธิ์  ติยานันต์
ที่มาและความสำคัญ

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรงซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยากร และเศรษฐกิจ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังคงพบรายงานการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในคนและในสัตว์ ด้วยเหตุนี้ปัญหา
ดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป

เพื่อร่วมขจัดปัญหาข้างต้น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับองค์กรต่างๆ
อาทิเช่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ร่วมจัดโครงการการสร้างเขตปลอดโรคพิษสุนัขขึ้นมา โดยมีกิจกรรมการณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับ
การป้องกันโรคพิษสุนัข พร้อมกับมีการให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการให้บริการทำหมัน
แก่สุนัขและแมวจรจัด ในพื้นที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ แล้วขยายความร่วมมือ
ไปยังพื้นที่อื่นๆใน จ.นครสวรรค์เพิ่มเติม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง

2.เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัขและแมว

3.เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า

4.เพื่อผลักดันให้นำไปสู่การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

5.เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการศัลยกรรมให้แก่นักศึกษาสัตวแพทย์

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2566
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 2557-2566
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ และ อบต ต่างๆ)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ และ อบต ต่างๆ) 
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

– รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัข

– ให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

– ให้บริการทำหมันแก่สุนัขและแมวจรจัด

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ชุมชน,จังหวัดนครสวรรค์
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

-ในปี 2566 มีสุนัขและแมวจรจัดได้รับการทำหมันประมาณ 120 ตัว 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เป็นต้นแบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวให้แก่พื้นที่อื่นๆ
Web link https://www.facebook.com/MUNAOHC
รูปภาพประกอบ


SDG goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

การแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา การแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผศ.ดร. สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
ที่มาและความสำคัญ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases: NCDs) ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างมาก จากการคาดประมาณปี พ.ศ.2674 จะมีประชากรโลกที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจประมาณ 23 ล้านคน และมีต้นทุนการดูแลโรคระหว่างปี 2554-2573 มากถึง 1,401 ล้านล้านบาท ในประเทศไทยผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รับยาจากโรงพยาบาล ไม่ได้ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ หยุดหรือปรับยาด้วยตนเอง ลืมกินยา รวมถึงได้รับยามากเกินกว่าที่ต้องการใช้จริง แพทย์สั่งยาเกินวันนัด แพทย์สั่งยาเดิมซ้าก่อนถึงวันนัด และได้รับยาจากสถานบริการมากกว่าหนึ่งแห่ง แม้มียาเหลือแต่ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้นำยาคืนกลับให้โรงพยาบาล ทำให้มียาเหลือในครัวเรือนและชุมชนเป็นจำนวนมาก บางส่วนปล่อยทิ้งไว้จนยาเสื่อมคุณภาพ หมดอายุและต้องทิ้งไปในที่สุด งานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะแก้ปัญหายาเหลือใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 โรคหลัก ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และไต ทีมวิจัยจึงพัฒนาเป็นโครงการวิจัยเรื่อง “การแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ยาเหลือใช้และออกแบบแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินยาและออกแบบแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ถูกต้องเหมาะสม 3) เพื่อสำรวจรายการ ปริมาณ มูลค่ายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหายาเหลือใช้ในชุมชน นำไปสู่การลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลงได้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ยาเหลือใช้และออกแบบแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินยาและออกแบบแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ถูกต้องเหมาะสม
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2563
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ 1. ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) หน่วยสนับสนุนทุนแก้ปัญหายาชุมชน 2. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล หน่วยในการดำเนินงานวิจัยและบริการวิชาการ 3. รพ.สต.บ้านเขาทอง หน่วยสนับสนุนข้อมูลและการแจกจ่ายกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ 4. สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง (94.25 MHz) หน่วยสนับสนุนการเผยแพร่บทวิทยุให้ความรู้กับประชาชาชนในตำบลเขาทอง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียด)เพิ่มเติม)
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม 1. ศึกษาสถานการณ์ยาเหลือใช้ การคืนยาเหลือใช้ และสำรวจรายการ ปริมาณ มูลค่ายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. จัดทำและเผยแพร่นวัตกรรมการแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และจัดทำและเผยแพร่นวัตกรรมการส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ถูกต้องเหมาะสม 1.1 กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ผลิตเพื่อแจกผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1,000 ใบ 1.2 บทวิทยุและสปอตวิทยุ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคืนยาเหลือใช้ และสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ความยาวไม่เกิน 3-4 นาที ต่อคลิป) ใช้เปิดในสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง (94.25 MHz) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563-มิถุนายน 2564 ทุกวัน วันละ 7 ครั้ง ทุกต้นชั่วโมง ก่อนเข้าสู่รายการปกติของทางสถานีวิทยุ ลิงค์เข้าฟัง หรือ scan ผ่าน QR Code ด้านล่าง https://drive.google.com/drive/folders/1mMiEuxaMnti_OybStf7q3pYxOeIEFhuM?usp=sharing 1.3 ชุดความรู้ การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคืนยาเหลือใช้ – ตัวอย่างหลอดเลือดที่ปกติกับหลอดเลือดที่มีการเกาะตัวของไขมันและ plug ที่ผนังของหลอดเลือด – สาธิตการทำงานของหลอดเลือดที่มีภาวะการตีบตันของหลอดเลือด 1.4 คลิปวิดีโอ การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ความยาว 4.37 นาที) ใช้เปิดควบคู่กับชุดความรู้ 1.3 (ชุดความรู้ การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม) 3. ประเมินผลนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นด้วยงานวิจัยเชิงคุณภาพ
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการใน รพ.สต.บ้านเขาทอง และประชาชนตำบลเขาทองและข้างเคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1. ผู้ป่วยที่ได้รับกระเป๋าคืนยาช่วยชาติเป็นจำนวน 1,000 คน 2. ข้อมูลผ่านทางวิทยุชุมชนตำบลเขาทองสามารถกระจายข้อมูลไปได้ไกลทั้ง 12 หมู่บ้านในตำบลเขาทองและตำบลรอบๆ ข้างเคียง (ประชากรในตำบลเขาทองประมาณ 7,000 คน)
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับ 1,000 คน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 2. บทวิทยุและสปอตวิทยุ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคืนยาเหลือใช้ และสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ความยาวไม่เกิน 3-4 นาที ต่อคลิป) ใช้เปิดในสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง (94.25 MHz) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563-ปัจจุบัน ทุกวัน วันละ 7 ครั้ง ทุกต้นชั่วโมง ก่อนเข้าสู่รายการปกติของทางสถานีวิทยุ
Web link
รูปภาพประกอบ 1.1 ภาพกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ผลิตเพื่อแจก 1,000 ใบ
  1.2 การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ณ รพ.สต.บ้านเขาทอง
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

การประชุมถอดบทเรียนเครือข่ายโรงเรียนอาหารปลอดภัย สสส.ร่วมกับ Node flagship นครสวรรค์

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

การประชุมถอดบทเรียนเครือข่ายโรงเรียนอาหารปลอดภัย สสส.ร่วมกับ Node flagship นครสวรรค์

ที่มาและความสำคัญ

จากสภาพปัญหาความปลอดภัยด้านอาหารของโรงเรียนบ้านท่ากร่าง และรอบๆ บริเวณโรงเรียน พบว่า นักเรียน และผู้ปกครอง   มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง และยังขาดความรู้ความใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัย เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หวาน และเค็ม อาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียน ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ชุมชนร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อพัฒนาแกนนำนักเรียนและผู้ปกครอง ให้เกิดความรู้และปรับพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

โรงเรียนบ้านท่ากร่างเป็นโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลท่าไม้  อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

วัตถุประสงค์

1 เพื่อเกิดคณะทำงานและพัฒนาแกนนำนักเรียนและผู้ปกครองให้มีศักยภาพในการเผยแพร่ความรู้อาหารปลอดภัยให้กับบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้อง

2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนและผู้ปกครองเกิดความตระหนักและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3 เพื่อสร้างกิจกรรมและแนวทางการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

4 เพื่อสร้างเครือข่ายการบริโภคอาหารปลอดภัยทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม

1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล,ชุมชน,จังหวัด,หน่วยงาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

(สสส.) Node flagship นคสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ให้คำปรึกษา ร่วมกิจกรรม และให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

มีนักเรียนทั้งสิ้น 30 คน  ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ครอบคลุมเขตพื้นที่การบริการ จำนวน 2 หมู่บ้าน มีผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 ท่าน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1 มีแปลงปลูกผัก และผลไม้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

2 จำนวนนักเรียนที่บริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น

(400 กรัม/คน/วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 )

3.จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเป้าหมายบริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น (400 กรัม/คน/วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 )

4 ได้ต้นแบบเพื่อนำไปต่อยอดกับโรงเรียนอื่นๆ

Web link

รูปภาพประกอบ

SDG goal


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78