กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์ 6126001
2. นายชตฤณ ลาดแดง 6126005
3. นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ 6126007
4. นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ 6126009
5. นายดรัล รักธัญญะการ 6126012
6. นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา 6126022นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันกระแสการเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศมีเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งในมหาวิทยาลัยก็มีการเรียกร้องให้สร้างห้องน้ำสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องของประเด็นความปลอดภัยและความจำเป็นสำหรับการจัดสร้างห้องน้ำดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของมุมมองของคนทั่วไป ความเข้าใจรวมถึงเจตคติที่มีต่อการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศขึ้นมา ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะสามารถขับเคลื่อนการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศจึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ“สุขาของฉัน(All genders restroom)อยู่หนใด?”ขึ้นในครั้งนี้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันจันทร์ ที่ 9 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Webex โดยเป็นรูปแบบของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นหัวข้อวิธีการขับเคลื่อนในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All genders restroom) อยู่หนใด”กับเจ้าของความรู้ทั้งหมด 3 ท่านได้แก่

1. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รักษาการแทนในตำแหน่งรองคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 149 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะอย่างเสมอภาค
Web link

https://youtu.be/u6YfOvQ-nl8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1146466679175192/?d=n

รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 5 : Gender equality
Goal 10 : Reduced inequalities

 

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์
ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน

       นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560)

นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง

การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก

นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก

แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป

 

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง
วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น

2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้

5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3)

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม พ.ศ. 2562
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ

-การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง

-การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน

-การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท.

-การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท.

-การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

-การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา

-การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 228 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท

-อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ

-อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

-การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

Web link

Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab

Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/

SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/

Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ

รูปภาพประกอบ
  
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 5 : Gender equality
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals