MU-SDGs Case Study* | พลังงานทดแทน : รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22801) | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร นายสรรเสริญ แต้ประยูร | ส่วนงานร่วม | หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | ในภาคการเกษตรต้นทุนด้านพลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีราคาสูง อีกทั้งประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานดังกล่าวจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงาน และการขาดทุน ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทดแทน ที่จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนด้านพลังงานให้แก่เกษตรกร ซึ่งในปัจจุบันโซล่าเซลล์ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นทำในช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดด ได้แก่ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบผลิตกระแสไฟ้ฟ้าจากแสงอาทิตย์จะประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก คือ 1) ส่วนของระบบผลิตไฟฟ้าสูบน้ำ และ 2) ส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ โดยส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์มี 2 แบบ คือ แบบติดตั้งถาวร และแบบเคลื่อนย้ายได้ แบบที่ติดตั้งถาวรจะเหมาะกับพื้นที่แปลงเกษตรขนาดใหญ่ และต้องมีการดูแลใกล้ชิด เพราะอาจสูญหายได้หากสร้างไว้ในที่ห่างไกลคนดูแล ดังนั้นจึงมีการพัฒนาชุดรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้และได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาด ถ้ามีขนาดที่ใหญ่เกินไปก็ทำให้เคลื่อนย้ายยาก หรือ ถ้าเล็กเกินไปก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs7 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 7.1,7.2 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIycSUyMiUzQSUyMjIyODAxJTIyJTJDJTIyaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2 VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlMkMlMjJkaXNwbGF5JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW5kZXhfY3 JlYXRlJTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW4lMjIlM0ExJTJDJTIyb3JkZXIlMjIlM0ElMjJfc2Nvcm UlMkNkZXNjJTIyJTJDJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMnNlYXJjaF9hbGwlMjIlMkMlMjJ0eXBlX25hbWUlMjIlM0ElMjIlRTAlQjg lQUQlRTAlQjglOTklRTAlQjglQjglRTAlQjglQUElRTAlQjglQjQlRTAlQjglOTclRTAlQjglOTglRTAlQjglQjQlRTAlQjglOUElRTAlQ jglQjElRTAlQjglOTUlRTAlQjglQTMlMjIlMkMlMjJ0YWJfaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlN0Q%3D | ||
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=815063667297671&set=a.477621531041888&type=3&locale=th_ TH&paipv=0&eav=AfbzSzKGjWDPNvGE-RaeI5zMi5xLkfakMxlQ4Vrygagd4KLT7I31Sh5K498FjktI0qc&_rdr | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | พื้นที่การเกษตรในประเทศไทยหลายพื้นที่ ระบบสายส่งไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงทำให้เกษตรกรมีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการสูบน้ำเข้าแปลงนา ใช้รถน้ำต้นไม้ การให้แสงสว่าง และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้า และสูบน้ำ โครงสร้างตัวรถซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก เมื่อเกษตรกรต้องการนำรถดังกล่าวไปสูบน้ำในแปลงนา หรือในพื้นที่สวน ที่มีคันนา หรือทางเดินที่คับแคบ ก็สามารถที่จะนำรถลากจูงดังกล่าวเข้าไปในจุดที่ต้องการได้สะดวก สามารถใช้คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถไถ รถไถนาแบบเดินตาม ในการลากจูงรถเข้าไปในพื้นที่ได้ เพียงแต่ต้องมีการติดตั้งชุดลากจูงเข้ากับตัวโครงสร้างตัวรถ ส่วนการใช้แรงงานคนก็สามารถดันรถลากจูงฯให้เคลื่อนที่ได้ง่ายจากการที่ ตัวรถลากจูงฯ ติดตั้งมือจับไว้ในส่วนท้ายตัวรถ เมื่อนำรถลากจูงฯไปถึงจุดที่ต้องการสูบน้ำ หรือจุดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ตัวรถลากจูงฯนี้ยังมีจุดเด่น คือ ยังมีขาค้ำยันทั้ง 4 มุม ยึดติดกับโครงสร้าง เพื่อใช้ในการป้องกันการผลิกคว่ำขณะชุดแผงรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ถูกกางออกเติมที่ และถึงแม้กระทั้งมีลมแรงพัดมาปะทะกับแผงโซล่าเซลล์โดยตรง ตัวค้ำยันยังป้องกันการพลิกคว่ำหรือการเคลื่อนที่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 7.2.4, 7.4.1 |
Tag: ปี 2567
ปี 2567
การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์
MU-SDGs Case Study* | การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร ดร.ณพล อนุตตรังกูร นายจิระเดช บุญมาก ดร.วชิระ กว้างขวาง รศ.ดร. วีระเดช มีอินเกิด | ส่วนงานร่วม | 1. หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำและดิน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด การขับเคลื่อน Bio hub ด้านอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้าว โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 132,737 ไร่ ครอบคลุมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก ซึ่งจากการประชุมสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดยสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ที่ประชุมสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดประเด็นเร่งด่วนได้ 10 ประเด็น ได้แก่ 1. การสร้างระบบการบริหารจัดการในลุ่มน้ำย่อยเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยการขุดบึง และขุดลอกตะกอนดิน 2. การส่งเสริมการทำเกษตรวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การปลูกไม้ริมน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน 4. การปลูกพืชกรองน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เข้าสู่บึงบอระเพ็ด 5. การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดเพื่อใช้ประโยชน์ 6. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรของบอระเพ็ด 7. การจัดทำปุ๋ยจากตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 8. การแปรรูปพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ด 9. การแปรรูปเศษเหลือของปลาบึงบอระเพ็ด และ 10. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs12, SDGs6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.2,6.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 2. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | รูปภาพที่ 1 แสดงลักษณะของเนื้อดินตะกอนแต่ละสิ่งทดลองหลังจากหมักในที่ร่ม 1 เดือน และลักษณะการเจริญเติบโตของคะน้าหลังจากปลูก 45 วัน (T1 = ดินผสมทางการค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด T2 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ขุดลอกจากบึงบอระเพ็ด T3 = ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงสภาพ T4 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 20% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 80% T5 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ30% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 70% T6 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 40% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 60% T7 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 50% และ T8 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 40%) | ||
Key Message* | ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ปรับปรุงคุณภาพโดยมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ สามารถเพิ่มศักยภาพจากที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะปลูกพืช ให้สามารถมีความเหมาะสมต่อการนำไปปลูกพืชได้ โดยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% : ตะกอนดิน 50% และ ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% : ตะกอนดิน 40% ซึ่งทั้ง 2 สูตรนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน และธาตุอาหารให้แก่ตะกอนดิน ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด สามารถนำเอาหลักการและสูตรการปรับปรุงภาพตะกอนดินจากปุ๋ยหมักวัชพืชน้ำในงานวิจัยครั้งนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของตนเองก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนใช้ประโยชน์ หรือ พัฒนาเป็นผลิตดินผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อีกทั้งวิธีการนี้ยังเป็นการช่วยให้ตะกอนดินจากที่เป็นปัญหามลภาวะทางน้ำมีคุณภาพและเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.1, 12.4.1 |
การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายธนากร จันหมะกสิต นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์ นางสาวศิริญา มีประดิษฐ์ | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าหมายที่ 4 ในการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อเป็นการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าวรายวิชาหมอดิน ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ โดยให้นักศึกษาเก็บตัวอย่างดินภายในวิทยาเขตนครสวรรค์ มาเพื่อทำการทดสอบทางเคมีในห้องปฏิบัติการ แต่ในช่วงที่ผ่านมาต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ภายในห้องเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนไป โดยรายวิชาได้จัดทำการเรียนออนไลน์ โดยใช้ระบบ Mux ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามพบว่าการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคิดและทักษะในการลงมือปฏิบัติ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆของผู้เรียนได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อื่นๆเช่น ทักษะทางการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ จึงได้นำข้อเสนอแนะของผู้เรียนมาใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ในการตรวจดิน รวมไปถึงทักษะในการปฏิบัติการภาคสนาม ที่จะเกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลที่ได้จากชุมชน ประกอบกับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการรวบรวมความต้องการของชุมชนที่จะวิเคราะห์และตรวจสอบดิน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาการเรียนการสอนจากภาคปฏิบัติการในห้องเรียนสู่ชุมชน โดยในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน โดยมีรายละเอียดกระบวนการเรียนรู้ 3 ส่วนหลัก ดังนี้ | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.7 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2, SDGs12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4,12.a |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/share/p/BgqHkRvfwKUSLDQK/?mibextid=Nif5oz | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ได้ต่อไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 17.4.3, 2.4.1, 2.5.2 |
การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
MU-SDGs Case Study* | การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร นางสาวศิริญา มีประดิษฐ | ส่วนงานร่วม | 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย ประกอบกับพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย อีกทั้งนางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer มีความสนใจทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พื้นที่นาของครอบครัวเป็นพื้นที่ศึกษา (lesson learn) ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดำเนินการโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการจะเป็นแปลงต้นแบบตัวอย่างของการทำนาที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการดังกล่าวฯ ยังสอดคล้องกับรายวิชาหมอดิน และรายวิชาวิทยาศาสตร์การผลิตพืช ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ในหัวข้อธาตุอาหารในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน ไปสู่การร่วมเก็บข้อมูลจริงในแปลงทดลองของรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วย (real world situation) และยังก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องอีกด้วย โดยโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ส่วน ดังนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการปลูกข้าว พบว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าปุ๋ยได้ 6% จากเดิม 24% เหลือ 18% และน้ำหนักข้าวเปลือกต่อไร่ที่ความชื่น 14% จากการคำนวณน้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกในการปลูกข้าวแบบนาหว่านพื้นที่ 1 ไร่ พบว่านาที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1400 กก./ไร่ ในขณะที่นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 860 กก./ไร่ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมรวม 26 กก./ไร่ เหลือ 22 กก./ไร่ แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าวและพื้นที่ และเป็นการลดใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถลดการสะสมของปุ๋เคมีในดินและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs12, SDGs4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.a , 4.7 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://r01.ldd.go.th/spb/Document%2059/puisangtat.pdf | ||
https://youtu.be/reiJhsyXxd4?si=n199pLYeCNgol6tX | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย (SDGs12) และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.4.1, 2.5.2, 2.5.3 |
โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”
MU-SDGs Case Study* | โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken” | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | 1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ 2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง 3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ | ส่วนงานร่วม | |
เนื้อหา* | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG2,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3, 2.4, 2.5 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs1,3, 10,12,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | 1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก” 2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ 3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์ 5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ 6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม 7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก 8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | | ||
Key Message* | 1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world. | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 2.3,2.4, 2.5, 3.3.2 4.3 17.2.2 |