หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๖ (ฉบับปรับปรุง)

1. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science Program in Sustainable Agriculture for Health and Entrepreneurship
  1.  ชื่อปริญญา
    (ภาษาไทย) ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ)
    ชื่อย่อ : วท.บ. (เกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ)
    (ภาษาอังกฤษ) ชื่อเต็ม : Bachelor of Sciences (Sustainable Agriculture for Health and Entrepreneurship)
    ชื่อย่อ : B.Sc. (Sustainable Agriculture for Health and Entrepreneurship)
ภาพรวมของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
จำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร 4 ปี
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน เริ่มจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
การให้ปริญญา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว (Single Degree)
สถาบันผู้ประสาทปริญญา
(ความร่วมมือกับสถาบันอื่น)
มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
เป้าหมาย / วัตถุประสงค์
Purpose / Goals / Objectives
เป้าหมาย / Goals
มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า เกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพเกษตรกรรม มีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม คำนึงถึง “เกษตรปลอดภัย” เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยการน้อมนำและประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบสัมมาชีพ ภายใต้คำขวัญ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ / Objectives

โดยจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีความรูความสามารถ ดังนี้
1) เป็นเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืนบนความหลากหลายทางชีวภาพในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ ชุมชน และฐานทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน
2) เป็นผู้รู้รอบ มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การบริหารจัดการ การตลาด และธุรกิจเกษตรอย่างเพียงพอและมีดุลยภาพพร้อมที่จะนำไปใช้ในการประกอบสัมมาชีพได้
3) มีทัศนคติเชิงบวก มีความภาคภูมิใจต่ออาชีพเกษตรกรรม และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
4) น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบสัมมาชีพได้อย่างเหมาะสม
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
Distinctive Features
1) เป็นหลักสูตรที่บูรณาการความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการบริหารจัดการเข้าด้วยกัน มุ่งเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นเกษตรกรปราชญ์เปรื่องที่ ผลิตได้-ขายเป็น โดยคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย สังคม และสิ่งแวดล้อม
2) หลักสูตรออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนกลับไปสร้างสรรค์ฟาร์มหรือพื้นที่เกษตรที่บ้าน และสามารถต่อยอดเป็นอาชีพต่อได้
 ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต ทวิภาค
มีการฝึกงานในภาคฤดูร้อน แต่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนปกติ
เส้นทางความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษา
อาชีพสามารถประกอบได้ 1) เป็นผู้ประกอบการอิสระด้านการเกษตรโดยสามารถผลิต แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และจำหน่ายสินค้าได้ด้วยตนเอง
2) นักวิชาการ/นักวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น
3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการการเกษตรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4) พนักงานส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 การศึกษาต่อ ศึกษาต่อระดับหลังปริญญาในสาขาเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์เกษตร เกษตรและสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาการบริหารจัดการ
ปรัชญาการศึกษาในการบริหารหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยยึดตามกรอบแนวคิดและหลักการสำคัญ คือ 1) น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังตอบสนองต่อ “ไทยแลนด์ 4.0” “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์” รวมถึงภาคการเกษตรที่ต้องเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ (เกษตร 4.0) ที่เน้นการบริหารจัดการ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเป็นเกษตรกรแบบที่เป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้านของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุทธศาสตร์ 2 Excellence in outcome-based education for globally- competent graduates และยุทธศาสตร์ 3 Excellence in professional services and social engagement ทั้งนี้ หลักสูตรฯ มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes) และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรคือ “เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) ผลิตได้-ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน”
สมรรถนะที่เสริมสร้างให้นักศึกษาของหลักสูตร
Generic Competences สอดคล้องกับ MU Graduates Core Competencies และ MU Graduates Attributes ซึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะทั่วไป (Generic Competency) ของหลักสูตร ดังนี้
1. แสดงออกการมีจิตสำนึกที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินข้อมูลและความคิดจากหลากหลายทัศนมิติ (Critical thinking)
3. สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในสถานการณ์ที่แตกต่างกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม (Communication)
4. เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น (Interpersonal skills) และรับผิดชอบต่อสังคม
5. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม (Interpersonal skills)
6. อดทนอดกลั้นในการทำงานและในสถานการณ์ต่างๆ
7. เลือกและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) อย่างเข้าใจและตระหนักในการสื่อสาร และประเมินบริบทพื้นที่เกษตรเป้าหมาย วางแผน ผลิต และขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรปลอดภัย
8. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ในทางที่ถูกต้อง (Creativity innovation)
Subject-specific Competences 1. ประยุกต์ความรู้ภาคทฤษฏีและปฏิบัติ (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ ฐานทรัพยากร เศรษฐศาสตร์ การตลาดและการบริหารจัดการ) ในการทำการเกษตร ผลิตและขายผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย
2. วางแผนและจัดการกระบวนการ (Process management) เพื่อผลิตและขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้านเกษตรปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3. ทำวิจัยเบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหา พัฒนา และ/หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้านเกษตรปลอดภัย
4. เป็นผู้ประกอบการสังคม (Social entrepreneur) ด้านเกษตรปลอดภัย
5. มีทักษะเกษตร (Farm skills) ในการเลือกใช้เครื่องมือได้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานด้านการเกษตร และลงมือปฏิบัติงานด้านการเกษตรได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต 
PLO1
ประเมินบริบทพื้นที่เกษตรเป้าหมายโดยคำนึงถึงเกษตรปลอดภัย


1.1 ประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ และฐานทรัพยากรสู่การจัดการ ปรับปรุง แก้ปัญหาพื้นที่เกษตรเป้าหมาย
1.2 ประยุกต์ความรู้การบริหารจัดการความเสี่ยงในพื้นที่เกษตรเป้าหมาย
1.3 สำรวจ เก็บ รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินบริบทพื้นที่เกษตรเป้าหมาย โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.4 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนจัดการบริบทพื้นที่เกษตรเป้าหมาย
PLO2
วางแผนการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยคำนึงถึงเกษตรปลอดภัย



2.1 ประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ และฐานทรัพยากรในการวางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
2.2 ประยุกต์ความรู้เศรษฐศาสตร์ การตลาดและการบริหารจัดการในการวางแผนการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
2.3 น้อมนำและประยุกต์ศาสตร์พระราชาในการวางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
2.4 วางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมได้และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
2.5 วางแผนบริหารความเสี่ยงในการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เหมาะสมกับสถานการณ์/บริบท
PLO3
ผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยคำนึงถึงเกษตรปลอดภัยได้ตามแผนการผลิต



3.1 ประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ ฐานทรัพยากร เศรษฐศาสตร์ การตลาดและการบริหารจัดการในการสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวางแผนเพื่อผลิตและแก้ปัญหาการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้านเกษตรปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3.2 น้อมนำและประยุกต์ศาสตร์พระราชาในการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
3.3 เลือกและใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสมในการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
3.4 เลือกและใช้กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยคำนึงถึงคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยตามมาตรฐานใดมารตรฐานหนึ่ง ได้แก่ GAP PGS Organic IFOAM และ/หรือ อื่นๆ
3.5 มีทักษะเกษตร (Farm skills) ในการเลือกใช้เครื่องมือได้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานด้านการเกษตร และลงมือปฏิบัติงานด้านการเกษตรได้
PLO4
วางแผนการตลาดและการขาย ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร บนพื้นฐานหลักการเป็นผู้ประกอบการสังคม (Social entrepreneur)

4.1 ประยุกต์ความรู้เศรษฐศาสตร์ การตลาด และการบริหารจัดการในการขายและแก้ปัญหาการขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้านเกษตรปลอดภัย
4.2 ใช้เทคโนโลยีในการขายและเลือกช่องทางการขายได้อย่างเหมาะสม
4.3 ขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีธรรมาภิบาล
PLO5
สื่อสารและนำเสนอข้อมูลวิชาการด้านการเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร กับนักวิชาการเกษตร กลุ่มเกษตรกร ผู้บริโภคที่คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัย และบุคคลทั่วไปได้อย่างเหมาะสม


5.1 สื่อสารและนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ตรงกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง
5.2 สื่อสารกับนักวิชาการเกษตร กลุ่มเกษตรกร ผู้บริโภคและบุคคลทั่วไปในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม
5.3 สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
5.4 รู้เท่าทันและใช้สื่อออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ
PLO6
สดงออกคุณลักษณะของเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer Characters) และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้



6.1 แสดงบทบาทหน้าที่ของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น อดทนอดกลั้นในการทำงานและในสถานการณ์ต่างๆ
6.2 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
6.3 สร้างและบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือด้านเกษตรปลอดภัยได้
6.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นและบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือด้านเกษตรปลอดภัยได้
ช่องทางติดต่อ 1) งานการศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โคงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 086-445-6406
2) Facebook Page
https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/

 

Social Share