ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๖ (ฉบับปรับปรุง)
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science Program in Sustainable Agriculture for Health and Entrepreneurship |
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ) ชื่อย่อ : วท.บ. (เกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ) (ภาษาอังกฤษ) ชื่อเต็ม : Bachelor of Sciences (Sustainable Agriculture for Health and Entrepreneurship) ชื่อย่อ : B.Sc. (Sustainable Agriculture for Health and Entrepreneurship) |
|
ภาพรวมของหลักสูตร |
|
ประเภทของหลักสูตร | หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ |
จำนวนหน่วยกิต | ไม่น้อยกว่า ๑๒๖ หน่วยกิต |
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร | ๔ ปี |
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน | เริ่มจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เป็นต้นไป |
การให้ปริญญา | ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว (Single Degree) |
สถาบันผู้ประสาทปริญญา (ความร่วมมือกับสถาบันอื่น) |
มหาวิทยาลัยมหิดล |
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร | |
เป้าหมาย / วัตถุประสงค์ Purpose / Goals / Objectives |
เป้าหมาย / Goals บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรมีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ สามารถนำองค์ความรู้และทักษะมาใช้ในอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ และมีแนวคิด (mindset) การเป็นผู้ประกอบการ โดยใช้องค์ความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ให้เกิดรายได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง และสามารถผลิต ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด “ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล วัตถุประสงค์ / Objectives จัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถ ดังนี้ ๑. มีความรู้และสามารถวางแผนการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานได้ตามแนวทางของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy) ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และคำนึงถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ๒. สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้ตามแนวทางของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy) ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และคำนึงถึงมารตรฐานที่เกี่ยวข้อง ๓. สามารถบริหารจัดการธุรกิจและการประกอบการทางการเกษตร โดยใช้เครื่องมือทางธุรกิจ อาทิ Business Model Canvas (BMC), SWOT analysis และ Five Force Model เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์โดยคำนึงถึงเกษตรปลอดภัยและสุขภาพ ๔. สามารถสื่อสารข้อมูลและบอกเล่าเรี่องราวของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม ๕. สามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ร่วมงานที่ดีเพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเคารพสิทธิของผู้อื่น คำนึงถึงความแตกต่างทางสังคม และวัฒนธรรม ๖. ประพฤติและปฏิบัติตนมีคุณธรรมและจริยธรรมในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรโดยเคารพสิทธิของผู้อื่น คำนึงถึงความแตกต่างทางสังคม และวัฒนธรรม |
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร Distinctive Features |
๑. จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการความรู้การฝึกปฏิบัติงานจริง (Authentic learning) และใช้โครงงาน (Project-based learning) เป็นฐานในการเรียนรู้ โดยมีพื้นที่ภายในวิทยาเขต ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย และเครือข่ายด้านการเกษตรที่เอื้อต่อการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติตลอดหลักสูตร ๒. ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มความหลากหลายให้กับสินค้าเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy) ๓. ผลิตบัณฑิตให้ป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรปลอดภัยตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy) และคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ((Sustainable Development Goals : SDGs) ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และสามารถผลิตผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ |
ระบบการศึกษา | ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต ทวิภาค |
เส้นทางความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษา | |
อาชีพสามารถประกอบได้ | ๑) ผู้ประกอบการด้านการเกษตรที่คำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพ โดยสามารถผลิต แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และจำหน่ายสินค้าได้ด้วยตนเอง ๒) เจ้าหน้าที่หรือพนักงานส่งเสริมการเกษตรและขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ๓) นักวิชาการในหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๔) นักวิชาการในหน่วยงานภาคเอกชน |
การศึกษาต่อ | ศึกษาต่อระดับหลังปริญญาตรีในสาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เกษตร สาขาเกษตรและสิ่งแวดล้อม สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หรือสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง |
ปรัชญาการศึกษาในการบริหารหลักสูตร | |
ปรัชญาการศึกษา | สร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรปลอดภัยเพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ที่มีคุณธรรม จริยธรรม โดยจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome Based Education) มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learning-Centered Education) และคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน เน้นการเรียนรู้จากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติด้วยตนเองด้วยวีธีการหลากหลาย (Active learning) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism) และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง |
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน |
– จัดกลยุทธ์การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs) โดยเน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning – จัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาเรียนรู้จากง่ายไปยาก (basic, intermediate และ advanced) ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 โดยมีแนวคิดในแต่ละชั้นปี คือ ทำได้ > ทำเป็น > ทำฉลาด > ทำสร้างสรรค์ โดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติเพื่อได้สัมผัสประสบการณ์จริง (Experiential Learning) – ส่งเสริมการเรียนการสอนที่บูรณาการความรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติ ผ่านการเรียนรู้ในห้องเรียนและแหล่งฝึกประสบการณ์จริง ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ (Participatory learning) โดยมีคณาจารย์ทำหน้าที่เป็นโค้ช (coaching) หรือวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน – การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ ๑) การปฏิบัติในสถานการณ์จริง และสถานการณ์เสมือนจริง อาทิ การทำงานฟาร์ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (แปรรูป) การออกร้านเพื่อจำหน่ายสินค้า ๒) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (self directed learning) ๓) การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active learning) เช่น การบรรยายแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning) การเรียนรู้แบบทีม (Team based learning) ๔) จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) เช่น การสะท้อนการเรียนรู้ ๕) การไปทัศนศึกษา (Field trip) ๖) Work-Integrated Learning (สหกิจศึกษา) |
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติ ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา |
การประเมินผลการเรียนรู้โดยสอดคล้องกับ Program-level Learning Outcomes: PLOsมุ่งเน้นการประยุกต์ความรู้ การปฏิบัติ และสมรรถนะในอาชีพ โดยเครื่องมือและวิธีการวัด ประเมินผลที่มีมาตรฐาน ๑) การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ พูดคุย ๒) การประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับผู้เรียนนำไปพัฒนาตนเอง เช่น การสะท้อนความคิด การทำ After Action Review (AAR) ๓) การประเมินผลเพื่อการตัดสินผลการเรียน (Summative Assessment) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา แบบอิงเกณฑ์ โดยมีการประเมินหลายรูปแบบ เช่น – ประเมินจากการสอบหลากหลายวิธีการ (เช่น MCQ, MEQ, Oral examination, Takehome exam) – ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย/ชิ้นงาน/ผลงาน – ประเมินจากการนำเสนอ รายงาน โครงงาน ผลการดำเนินงาน และ/หรือ ชิ้นงาน ๔) ตัดสินผลแบบอิงเกณฑ์ เพื่อให้เครื่องมือวัดผลเกิดความเที่ยงตรง และน่าเชื่อถือ |
สมรรถนะที่เสริมสร้างให้นักศึกษาของหลักสูตร | |
Generic Competences | สอดคล้องกับ MU Graduates Core Competencies และ MU Graduates Attributes ซึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะทั่วไป (Generic Competency) ของหลักสูตร ดังนี้ ๑. มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ที่มีจิตสำนึกเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ๒. มีทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวางแผน จัดการแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจด้วยมุมมองที่หลากหลาย ๓. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้องเหมาะสมกับงาน เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ๔. สื่อสาร ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่มีประสิทธิภาพตรงกลุ่มเป้าหมาย ๕. ทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของทีม โดยเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล ๖. มีความอดทนอดกลั้นในการทำงานและในสถานการณ์ต่างๆ ๗. รู้เท่าทันตนเองและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และปฏิบัติตนภายใต้กฎระเบียบของสังคมรวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม |
Subject-specific Competences | มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ต่างๆ ภายใต้แนวคิด “ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” ๑. มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการเกษตรยั่งยืน ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ เกษตรศาสตร์ ฐานทรัพยากร ๒. มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกานรประกอบอการ ได้แก่ การวางแผนธุรกิจ การตลาดและการบริหารจัดการ จนเกิดเป็นทักษะผู้ประกอบการ (Entrepreneurial skills) และสามารถแก้ปัญหา พัฒนา หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้านเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพ ๓. มีทักษาะในการวางแผนและจัดการกระบวนการ (Process management) เพื่อผลิตและขายผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ๔. มีทักษะเกษตร (Farm skills) และเลือกใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง เหมาะสมกับงานด้านการเกษตร และลงมือปฏิบัติงานด้านการเกษตรได้ ๕. มีความรู้และทักษะการแปรรูป (Processing skills) ผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) และผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อย (SubPLOs) เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถ | |
PLO1 วางแผนการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานได้ ตามแนวทางของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy) |
1.1 ออกแบบพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อสุขภาพและการประกอบการ ตามหลักภูมิสังคม อาทิ ระบบนิเวศวิทยาทางการเกษตร การจัดการดิน การจัดการทรัพยากรน้ำ และมาตรฐานสินค้าเกษตร 1.2 วางแผนทำการเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยใช้ความรู้วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร ข้อมูลทางสถิติ และนวัตกรรมการเกษตร 1.3 วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยคำนึงถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรฐานสินค้าเกษตร มาตรฐานอาหารปลอดภัย |
PLO2 ผลิตสินค้าเกษตร ตามแนวทางของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy) |
2.1 ใช้วิธีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรักษาคุณภาพสินค้าเกษตรตามหลักมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้อง 2.2 จัดการทรัพยากรในพื้นที่เกษตร อาทิ ดิน น้ำ พลังงาน ของเสีย การจัดการศัตรูและโรคในการเกษตร รวมทั้งหลักการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยใช้วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.3 แสดงทักษะทางการเกษตร (Farm Skills) ในการผลิตสินค้าเกษตร โดยเลือกใช้เครื่องมือได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน และคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม 2.4 พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพและมีความปลอดภัย เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยคำนึงถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง |
PLO3 บริหารจัดการธุรกิจและการประกอบการทางการเกษตรโดยคำนึงถึงเกษตรปลอดภัยและสุขภาพ |
3.1 วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตร (Agricultural Value Chain Analysis) ตั้งแต่การผลิตจนถึงผู้บริโภค ระบุโอกาสในการเพิ่มมูลค่า และการเชื่อมโยงตลาด ที่สอดคล้องกับหลักการเกษตรปลอดภัยและสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติได้ 3.2 วางแผนธุรกิจโดยใช้ Business Model Canvas (BMC) สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อสุขภาพ ได้ถูกต้องตามหลักการเขียน BMC 3.3 ประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางธุรกิจ อาทิ SWOT analysis และ Five Force Model 3.4 สำรวจตลาด การจัดการทางการเงิน กลยุทธ์การตลาดและการขาย ที่สอดคล้องกับ Business Model Canvas (BMC) |
PLO4 สื่อสารข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม |
4.1 เสนอแนวคิดธุรกิจเกษตรของตนเองได้ เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของธุรกิจ ที่สอดคล้องกับ Business Model Canvas (BMC) 4.2 สื่อสารข้อมูลทางวิชาการ และข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ นักวิชาการเกษตร กลุ่มเกษตรกร ผู้บริโภค และบุคคลทั่วไป โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม 4.3 สร้างสรรค์เรื่องราว (story telling) ของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์กับลูกค้า ที่สอดคล้องกับ Business Model Canvas (BMC) 4.4 เลือกใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) ได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับ Business Model Canvas (BMC) |
PLO5 ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในฐานะผู้นําและผู้ร่วมงานที่ดี โดยเคารพสิทธิของผู้อื่น คำนึงถึงความแตกต่างทางสังคม และวัฒนธรรม |
5.1 ยอมรับและเคารพความเห็นต่างของสมาชิกในทีม 5.2 ทำงานเป็นทีมได้ในสถานการณ์ที่แตกต่าง โดยสามารถทำงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5.3 ปฏิบัติตนตามข้อกำหนดและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของทีมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของงาน |
PLO6 ประพฤติตนมีคุณธรรมและจริยธรรมในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร |
6.1 ปฏิบัติตนสอดคล้องกับคุณธรรมและจริยธรรมในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร โดยคำนึงถึงการค้าที่เป็นธรรมและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า 6.2 แสดงความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานส่วนตัวและส่วนรวม โดยสามารถทำงานได้ตามกำหนดเวลาและบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6.3 แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร โดยใช้วิธีการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.4 แสดงความเคารพกฎหมาย ประเพณี ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม ในการประกอบการด้านเกษตร |
ช่องทางติดต่อ | 1) งานการศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โคงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 086-445-6406 2) Facebook Page https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/ |