หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรี

1. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาวิชาการประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts Program in Ecocultural Entrepreneurship
  1.  ชื่อปริญญา
    (ภาษาไทย) ศิลปศาสตรบัณทิต (การประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม)
    (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts (Ecocultural Entrepreneurship)
ภาพรวมของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรี
จำนวนหน่วยกิต 125 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร 4 ปี
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2562
เปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562
การให้ปริญญา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว (Single Degree)
สถาบันผู้ประสาทปริญญา
(ความร่วมมือกับสถาบันอื่น)
มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
เป้าหมาย / วัตถุประสงค์
Purpose / Goals / Objectives
เป้าหมายของหลักสูตร
บัณฑิตจบจากหลักสูตรมีแรงบันดาลใจและมุ่งมั่นในการเป็นผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความคิดสร้างสรรค์ ชูคุณค่าทุนทางวัฒนธรรมเป็น เก่งการตลาด กล้าคิดกล้าตัดสินใจ สามารถเชื่อมและประสานประโยชน์เครือข่ายได้ แสวงหาความรู้ พัฒนาทักษะในการประกอบการ และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดลวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
จัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถและคุณลักษณะ ดังนี้
1) มีความรู้ความเข้าใจในทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและชุมชนสังคม
2) พัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการผ่านประสบการณ์การ
ประกอบการที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรม
3) สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4) สร้างโอกาสในการประกอบการและการพัฒนาธุรกิจด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม
5) มีทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ และการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
Distinctive Features
ผลิตผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ (สินค้าหรือบริการ) ด้วยคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติได้
 ระบบการศึกษา แบบหน่วยกิตทวิภาค
เส้นทางความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษา
อาชีพสามารถประกอบได้ 1) ผู้ประกอบการใหม่
2) ผู้ประกอบการที่ต่อยอดธุรกิจครอบครัว
3) ผู้จัดการและพนักงานขายในสถานประกอบการ
4) ผู้จัดการ นักการตลาด นักวางแผนกลยุทธ์ พนักงานขาย ในองค์กรภาคเอกชนหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
5) เจ้าพนักงานทั่วไป ในหน่วยงานภาครัฐ
การศึกษาต่อ ศึกษาต่อปริญญาโทจนถึงระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตลอดจนสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปรัชญาการศึกษาในการบริหารหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome based Education) โดยใช้ความสนใจในผลิตภัณฑ์และการประกอบการของนักศึกษาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Learning-center Education) และเน้นการเรียนรู้จากภาคปฏิบัตินำภาคทฤษฎี เรียนรู้และสร้างความเข้าใจผ่านความล้มเหลวและการประสบความสำเร็จจากการลงมือปฏิบัติ เกิดเป็นวิธีคิดและทักษะการประกอบการเฉพาะบุคคล (Constructionism) ทำให้บัณฑิตเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์และนำพาสังคมให้ยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 2 Excellence in outcome-based education for globally- competent graduates
สมรรถนะที่เสริมสร้างให้นักศึกษาของหลักสูตร
Generic Competences 1) มีทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวางแผน จัดการแก้ไข
ปัญหา และการตัดสินใจด้วยมุมมองที่หลากหลาย
2) คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทำวิจัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยการ
ประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
3) มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อ
ประโยชน์ในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ
4) เลือกใช้วิธีการสื่อสาร ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
ที่มีประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมาย
5) มีภาวะผู้นำและผู้ตามที่เหมาะสมตามสถานการณ์
6) รู้เท่าทันตนเองและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเป็น
อิสระแห่งตัวตนภายใต้กฎระเบียบของสังคมและรับผิดชอบต่อส่วนรวม
7) ทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถี
ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม โดยเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
Subject-specific Competences 1) ใช้ความรู้ด้านการเงิน การตลาด กฎหมาย ธุรกิจ การประกอบการ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัย การออกแบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำการตลาด และการประกอบการ
2) วางแผนและจัดการกระบวนการ (Process management)
ผลิตผลิตภัณฑ์ การตลาด และการประกอบการ
3) มีทักษะในการนำคุณค่าจากทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคมและวัฒนธรรม มาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
4) มีทักษะในการทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของลูกค้า
5) มีทักษะในการประสานและเชื่อมโยงเครือข่ายในการ
ประกอบการให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต 
PLOs Sub PLOs
PLO1
ใผลิตผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศวัฒนธรรม (สินค้าหรือบริการ) ได้สร้างสรรค์ตรงกับความต้องการของลูกค้า


1.1 วิเคราะห์ สังเคราะห์และเลือกใช้คุณค่าจากทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคมและวัฒนธรรม ในการประกอบการได้
1.2 ประยุกต์ใช้ความรู้ทางสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างสร้างสรรค์
1.3 ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐาน
1.4 วางแผนการผลิตและผลิตผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศวัฒนธรรมได้ตามแผนที่วางไว้อย่างน้อย 1 ชิ้น
PLO2
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบการได้
2.1 ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และในการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และการประกอบการได้
2.2 ทำ digital content, digital marketing และทำธุรกิจออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO3
ขายผลิตภัณฑ์ (สินค้าหรือบริการ) และทำการตลาดได้อย่างสร้างสรรค์และน่าสนใจ
 
 
 
3.1 สื่อสารและนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์ได้ตรงประเด็น สร้างสรรค์และน่าสนใจ
3.2 สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการขายผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
3.3 ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการตลาดในการวางแผนและแก้ปัญหาการขายผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
3.4 ขายผลิตภัณฑ์ได้ตามแผนที่วางไว้
PLO4
ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และส่งมอบคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรม
 
 
4.1 เขียนแผนธุรกิจและวางแผนจัดการความเสี่ยงในการประกอบการได้อย่างที่มีประสิทธิภาพ
4.2 แก้ไขปัญหาในการประกอบการที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและส่งมอบคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมได้
4.3 จดทะเบียนพาณิชย์และจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้
PLO5
บริหารจัดการการสร้างเครือข่ายในการประกอบการเพื่อให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันได้
 
5.1 บริหารจัดการการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการของตนเองได้
5.2 ทำงานเป็นทีมร่วมกับเครือข่ายในการประกอบการให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันได้
PLO6
แสดงออกถึงคุณลักษณะของผู้ประกอบการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีคุณธรรมจริยธรรม และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
 
6.1 สร้างแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นในการประกอบการอยู่เสมอ
6.2 กล้ายอมรับการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วนำไปปรับใช้กับการประกอบการได้อย่างเหมาะสม
6.3 กล้าคิดกล้าแสดงออก การตัดสินใจ ปรับตัวตามสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมได้ ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
6.4 หาความรู้และประสบการณ์ด้านการประกอบการให้กับตนเองอยู่เสมอ
ช่องทางติดต่อ 1) งานการศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โคงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 086-445-6406
2) Facebook Page
https://www.facebook.com/ECEP.MUNA/

 

Social Share