MU-SDGs Case Study* | โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานโดยมักจะมีอาการชาบริเวณปลายเท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้สูงอายุมักจะลืมรับประทานยา อีกทั้งผู้สูงอายุเองยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้า ขาดข้อมูลและขาดกำลังใจในการดูแลตนเอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา
ดังนั้น นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า” ณ ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยไปกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุได้ใช้ปฏิทินยาเพื่อลดการลืมรับประทานยา ทำให้พวกเขาสามารถรับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำอุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) ที่ไม่ใช้แล้ว และถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาประดิษฐ์เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ทำให้พวกเขามีอาการชาลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.5 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290643694757489/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 2. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2 |