กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์ 6126001
2. นายชตฤณ ลาดแดง 6126005
3. นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ 6126007
4. นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ 6126009
5. นายดรัล รักธัญญะการ 6126012
6. นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา 6126022นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันกระแสการเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศมีเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งในมหาวิทยาลัยก็มีการเรียกร้องให้สร้างห้องน้ำสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องของประเด็นความปลอดภัยและความจำเป็นสำหรับการจัดสร้างห้องน้ำดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของมุมมองของคนทั่วไป ความเข้าใจรวมถึงเจตคติที่มีต่อการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศขึ้นมา ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะสามารถขับเคลื่อนการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศจึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ“สุขาของฉัน(All genders restroom)อยู่หนใด?”ขึ้นในครั้งนี้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันจันทร์ ที่ 9 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Webex โดยเป็นรูปแบบของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นหัวข้อวิธีการขับเคลื่อนในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All genders restroom) อยู่หนใด”กับเจ้าของความรู้ทั้งหมด 3 ท่านได้แก่

1. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รักษาการแทนในตำแหน่งรองคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 149 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะอย่างเสมอภาค
Web link

https://youtu.be/u6YfOvQ-nl8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1146466679175192/?d=n

รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 5 : Gender equality
Goal 10 : Reduced inequalities

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นางสาว กนกอร รังศรี รหัสนักศึกษา 6126003
2. นางสาว ศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด รหัสนักศึกษา 6126010
3. นางสาว ซอฟียะห์ เจ๊ะหะ รหัสนักศึกษา 6126014
4. นางสาว สาธิดา ต๊ะคีรี รหัสนักศึกษา 6126020
5. นาย พิชิตชัย วงษา รหัสนักศึกษา 6126026
6. นางสาว มณีรัตน์ ไตรรัตน์ รหัสนักศึกษา 6127040นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ             ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) และกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ” ขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1) เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ)

2) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ พ.ศ. 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล และระดับมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ ทางโปรแกรม Zoom Application มีการดำเนินกิจกรรมกับเจ้าของความรู้ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิษณุกรณ์ กวยลี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3) คุณอภิญญา แก้วเทพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 88 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– องค์ความรู้เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”

– แนวทางในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ข้อที่ 6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล อย่างยั่งยืน

Web link

https://youtu.be/NHDmca0ceqg

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147181502437043/?d=n

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ เทคนิคการพูดเรื่อง Sex อย่างไรให้กล้าเปิดใจ


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ เทคนิคการพูดเรื่อง Sex อย่างไรให้กล้าเปิดใจ
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ

1.นาย ศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 6126011

2.นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ รหัสนักศึกษา 6126016

3.นางสาวอาวาติฟ ยานยา รหัสนักศึกษา 6126021

4.นางสาวพรรณวดี ระกุล รหัสนักศึกษา 6126023

5.นางสาวศิริพร ทองคำ รหัสนักศึกษา 6126026

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ เนื่องจากว่าปัจจุบันเด็กมีการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เร็วขึ้น และมีการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้การได้รับความรู้ทางเพศศึกษาผิด ๆ บวกกับวัฒนธรรมไทยทำให้ไม่มีการกล้าพูดคุย หรือการสอนเรื่องเพศที่ละเอียดมากพอ ผู้จัดทำจึงต้องการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเทคนิคการพูดเรื่องเพศยังไงให้กล้าเปิดใจ ภายใต้ SDGs Sustainable Development Goal ทางคณะผู้จัดกิจกรรมได้เลือกเป้าหมายข้อที่ 3 จาก 17 ข้อ มาพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน เพื่อสร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย ในประเด็นการสร้างสร้างหลักประกันถ้วนหน้า ในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเทคนิคการพูดเรื่องเพศอย่างไรให้กล้าเปิดใจ

2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการพูดเรื่องเพศอย่างไรให้กล้าเปิดใจ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันที่ 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ หน่วยงานสาธารณสุข, สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท, กองวิชาการแพทย์ กรมการเเพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทาง Webex และ Youtube live กับเจ้าของความรู้ 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิจิตรา บุญจิตร นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สังกัด กองวิชาการแพทย์ กรมการเเพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

3) คุณปนัดดา นามสอน นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักวิชาการสาธารณสุข บุคลากร นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  164 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ นำองค์ความรู้เรื่องวิธีการพูดเรื่องเพศศึกษาให้เป็นเรื่องธรรมชาติ วิธีการสอนเรื่องเพศศึกษาแบบสนุกเข้าใจง่ายสามารถนำมาใช้ได้จริงมาประยุกต์ใช้ในการปรึกษาเรื่องเพศศึกษาแก่เด็กวัยรุ่น
Web link

https://www.youtube.com/watch?v=ckLna3EfJq8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147340709087789/?d=n

รูปภาพประกอบ
    
 
SDG goal Goal 3 : Good health and well being

 

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์
ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน

       นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560)

นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง

การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก

นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก

แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป

 

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง
วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น

2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้

5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3)

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม พ.ศ. 2562
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ

-การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง

-การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน

-การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท.

-การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท.

-การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

-การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา

-การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 228 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท

-อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ

-อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

-การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

Web link

Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab

Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/

SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/

Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ

รูปภาพประกอบ
  
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 5 : Gender equality
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจิตอาสาเพื่อพัฒนาความเป็นครู


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจิตอาสาเพื่อพัฒนาความเป็นครู
ที่มาและความสำคัญ เนื่องจากนักศึกษาคณะครุศาตร์ส่วนใหญ่จะต้องเข้าทำงานในโรงเรียนต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความรู้พื้นฐานในเรื่องการเกษตรอย่างถูกต้องจึงได้เข้ามาอบรมและฝึกปฏิบัติทักษะทางด้านการเกษตร
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา  
วัตถุประสงค์ 1.เพิ่มพูนความรู้ทางด้านการเกษตร
2.ฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างประสบการณ์ทางด้านการเกษตร
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง  
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ มหาวิทยาลัย, หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม อบรมวิชาการ และฝึกปฏิบัติจริง
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 ท่าน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1 นักศึกษานำความรู้ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน
2 นำความรู้และประสบการณ์ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียนต้นสังกัดของนักศึกษาแต่ละคน
Web link  
รูปภาพประกอบ
 
SDG goal Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 12 : Responsible consumption and production​

ผักอินทรีย์ในเมือง @ Bangkok Rooftop Farming


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

ผักอินทรีย์ในเมือง @ Bangkok Rooftop Farming
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ.ดร.วรรณา ประยุกวงศ์ และ อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง
ที่มาและความสำคัญ      หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง มีเป้าหมายเพื่อสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคนของประเทศให้จบออกไปเป็น “เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) ที่สามารถ ผลิตได้-ขายเป็น” เป็นเกษตรกรรมยั่งยืน ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการหลายศาสตร์ ไม่เพียงประสานและเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเกษตรศาสตร์เท่านั้น แต่ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการผลผลิตครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต สำรวจตลาด ไปจนกระทั่งการจำหน่าย โดยอยู่บนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นต้นทุนทางทรัพยากรในท้องถิ่นที่ตนเองมีอยู่ ดังนั้น เมื่อบัณฑิต/ผู้เรียนจบการศึกษาจะมีความพร้อมสามารถจบออกไปเป็น SMART Farmer และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้คำขวัญ “SMART Farmer ผลิตได้-ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบสัมมาชีพได้อย่างเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชน นำสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรของประเทศ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา Bangkok Rooftop Farming ณ อาคาร Center One
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติตั้งแต่การเตรียมปัจจัยการผลิต ปลูก และจำหน่าย หลักสูตรจึงกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชา นวกษ111 ศาสตร์พระราชากับวิถีชีวิต และ นวกษ141 เกษตรปริทัศน์สำหรับเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง บูรณาการการจัดการเรียนการสอนร่วมกับ บริษัท Bangkok Rooftop Farming

2. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องการปลูกผักในเมืองที่สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับตนเองและชุมชน

3. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2563
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง ตามช่วงเวลาที่กำหนด
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. บริษัท Bangkok Rooftop Farming SE

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การจัดการเรียนการสอนผ่านรายวิชา นวกษ111 ศาสตร์พระราชากับวิถีชีวิต และ นวกษ141 เกษตรปริทัศน์สำหรับเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง ผ่านการลงมือปฏิบัติ โดยมีครูพี่เลี้ยงจาก Bangkok Rooftop Farming
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 7 คน

ครูพี่เลี้ยง จำนวน 4 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1. นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จาการลงมือปฏิบัติไปใช้ได้

2. ผักปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

Web link https://www.facebook.com/smartfarmer.muna
รูปภาพประกอบ
     
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone project)


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone project)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสัตวแพทย์เอกสิทธิ์  ติยานันต์
ที่มาและความสำคัญ

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรงซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยากร และเศรษฐกิจ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังคงพบรายงานการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในคนและในสัตว์ ด้วยเหตุนี้ปัญหา
ดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป

เพื่อร่วมขจัดปัญหาข้างต้น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับองค์กรต่างๆ
อาทิเช่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ร่วมจัดโครงการการสร้างเขตปลอดโรคพิษสุนัขขึ้นมา โดยมีกิจกรรมการณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับ
การป้องกันโรคพิษสุนัข พร้อมกับมีการให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการให้บริการทำหมัน
แก่สุนัขและแมวจรจัด ในพื้นที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ แล้วขยายความร่วมมือ
ไปยังพื้นที่อื่นๆใน จ.นครสวรรค์เพิ่มเติม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง

2.เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัขและแมว

3.เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า

4.เพื่อผลักดันให้นำไปสู่การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

5.เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการศัลยกรรมให้แก่นักศึกษาสัตวแพทย์

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2566
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 2557-2566
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ และ อบต ต่างๆ)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ และ อบต ต่างๆ) 
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

– รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัข

– ให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

– ให้บริการทำหมันแก่สุนัขและแมวจรจัด

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ชุมชน,จังหวัดนครสวรรค์
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

-ในปี 2566 มีสุนัขและแมวจรจัดได้รับการทำหมันประมาณ 120 ตัว 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เป็นต้นแบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวให้แก่พื้นที่อื่นๆ
Web link https://www.facebook.com/MUNAOHC
รูปภาพประกอบ


SDG goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

การแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา การแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผศ.ดร. สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
ที่มาและความสำคัญ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases: NCDs) ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างมาก จากการคาดประมาณปี พ.ศ.2674 จะมีประชากรโลกที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจประมาณ 23 ล้านคน และมีต้นทุนการดูแลโรคระหว่างปี 2554-2573 มากถึง 1,401 ล้านล้านบาท ในประเทศไทยผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รับยาจากโรงพยาบาล ไม่ได้ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ หยุดหรือปรับยาด้วยตนเอง ลืมกินยา รวมถึงได้รับยามากเกินกว่าที่ต้องการใช้จริง แพทย์สั่งยาเกินวันนัด แพทย์สั่งยาเดิมซ้าก่อนถึงวันนัด และได้รับยาจากสถานบริการมากกว่าหนึ่งแห่ง แม้มียาเหลือแต่ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้นำยาคืนกลับให้โรงพยาบาล ทำให้มียาเหลือในครัวเรือนและชุมชนเป็นจำนวนมาก บางส่วนปล่อยทิ้งไว้จนยาเสื่อมคุณภาพ หมดอายุและต้องทิ้งไปในที่สุด งานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะแก้ปัญหายาเหลือใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 โรคหลัก ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และไต ทีมวิจัยจึงพัฒนาเป็นโครงการวิจัยเรื่อง “การแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ยาเหลือใช้และออกแบบแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินยาและออกแบบแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ถูกต้องเหมาะสม 3) เพื่อสำรวจรายการ ปริมาณ มูลค่ายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหายาเหลือใช้ในชุมชน นำไปสู่การลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลงได้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ยาเหลือใช้และออกแบบแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินยาและออกแบบแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ถูกต้องเหมาะสม
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2563
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ 1. ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) หน่วยสนับสนุนทุนแก้ปัญหายาชุมชน 2. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล หน่วยในการดำเนินงานวิจัยและบริการวิชาการ 3. รพ.สต.บ้านเขาทอง หน่วยสนับสนุนข้อมูลและการแจกจ่ายกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ 4. สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง (94.25 MHz) หน่วยสนับสนุนการเผยแพร่บทวิทยุให้ความรู้กับประชาชาชนในตำบลเขาทอง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียด)เพิ่มเติม)
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม 1. ศึกษาสถานการณ์ยาเหลือใช้ การคืนยาเหลือใช้ และสำรวจรายการ ปริมาณ มูลค่ายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. จัดทำและเผยแพร่นวัตกรรมการแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และจัดทำและเผยแพร่นวัตกรรมการส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ถูกต้องเหมาะสม 1.1 กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ผลิตเพื่อแจกผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1,000 ใบ 1.2 บทวิทยุและสปอตวิทยุ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคืนยาเหลือใช้ และสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ความยาวไม่เกิน 3-4 นาที ต่อคลิป) ใช้เปิดในสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง (94.25 MHz) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563-มิถุนายน 2564 ทุกวัน วันละ 7 ครั้ง ทุกต้นชั่วโมง ก่อนเข้าสู่รายการปกติของทางสถานีวิทยุ ลิงค์เข้าฟัง หรือ scan ผ่าน QR Code ด้านล่าง https://drive.google.com/drive/folders/1mMiEuxaMnti_OybStf7q3pYxOeIEFhuM?usp=sharing 1.3 ชุดความรู้ การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคืนยาเหลือใช้ – ตัวอย่างหลอดเลือดที่ปกติกับหลอดเลือดที่มีการเกาะตัวของไขมันและ plug ที่ผนังของหลอดเลือด – สาธิตการทำงานของหลอดเลือดที่มีภาวะการตีบตันของหลอดเลือด 1.4 คลิปวิดีโอ การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ความยาว 4.37 นาที) ใช้เปิดควบคู่กับชุดความรู้ 1.3 (ชุดความรู้ การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม) 3. ประเมินผลนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นด้วยงานวิจัยเชิงคุณภาพ
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการใน รพ.สต.บ้านเขาทอง และประชาชนตำบลเขาทองและข้างเคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1. ผู้ป่วยที่ได้รับกระเป๋าคืนยาช่วยชาติเป็นจำนวน 1,000 คน 2. ข้อมูลผ่านทางวิทยุชุมชนตำบลเขาทองสามารถกระจายข้อมูลไปได้ไกลทั้ง 12 หมู่บ้านในตำบลเขาทองและตำบลรอบๆ ข้างเคียง (ประชากรในตำบลเขาทองประมาณ 7,000 คน)
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับ 1,000 คน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 2. บทวิทยุและสปอตวิทยุ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคืนยาเหลือใช้ และสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ความยาวไม่เกิน 3-4 นาที ต่อคลิป) ใช้เปิดในสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง (94.25 MHz) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563-ปัจจุบัน ทุกวัน วันละ 7 ครั้ง ทุกต้นชั่วโมง ก่อนเข้าสู่รายการปกติของทางสถานีวิทยุ
Web link
รูปภาพประกอบ 1.1 ภาพกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ผลิตเพื่อแจก 1,000 ใบ
  1.2 การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ณ รพ.สต.บ้านเขาทอง
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

การประชุมถอดบทเรียนเครือข่ายโรงเรียนอาหารปลอดภัย สสส.ร่วมกับ Node flagship นครสวรรค์

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

การประชุมถอดบทเรียนเครือข่ายโรงเรียนอาหารปลอดภัย สสส.ร่วมกับ Node flagship นครสวรรค์

ที่มาและความสำคัญ

จากสภาพปัญหาความปลอดภัยด้านอาหารของโรงเรียนบ้านท่ากร่าง และรอบๆ บริเวณโรงเรียน พบว่า นักเรียน และผู้ปกครอง   มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง และยังขาดความรู้ความใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัย เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หวาน และเค็ม อาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียน ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ชุมชนร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อพัฒนาแกนนำนักเรียนและผู้ปกครอง ให้เกิดความรู้และปรับพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

โรงเรียนบ้านท่ากร่างเป็นโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลท่าไม้  อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

วัตถุประสงค์

1 เพื่อเกิดคณะทำงานและพัฒนาแกนนำนักเรียนและผู้ปกครองให้มีศักยภาพในการเผยแพร่ความรู้อาหารปลอดภัยให้กับบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้อง

2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนและผู้ปกครองเกิดความตระหนักและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3 เพื่อสร้างกิจกรรมและแนวทางการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

4 เพื่อสร้างเครือข่ายการบริโภคอาหารปลอดภัยทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม

1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล,ชุมชน,จังหวัด,หน่วยงาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

(สสส.) Node flagship นคสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ให้คำปรึกษา ร่วมกิจกรรม และให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

มีนักเรียนทั้งสิ้น 30 คน  ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ครอบคลุมเขตพื้นที่การบริการ จำนวน 2 หมู่บ้าน มีผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 ท่าน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1 มีแปลงปลูกผัก และผลไม้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

2 จำนวนนักเรียนที่บริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น

(400 กรัม/คน/วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 )

3.จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเป้าหมายบริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น (400 กรัม/คน/วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 )

4 ได้ต้นแบบเพื่อนำไปต่อยอดกับโรงเรียนอื่นๆ

Web link

รูปภาพประกอบ

SDG goal


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78