กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.นิวัต  อุณฑพันธุ์
ที่มาและความสำคัญ

      เกิดจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์  และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต  ทางศูนย์ฯจึงได้เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณมาเพื่อดำเนินงานแก้ปัญหา  และในปีงบประมาณ 2559 และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พิจิตร ,กำแพงเพชร,นครสวรรค์ และอุทัยธานี) โดยในโครงการได้มีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ และเครือข่ายหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ได้มาระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหา  จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน  โดยในกระบวนการสร้างมาตรฐานได้อิงจากมาตรฐานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน  เกิดเป็น “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล”จากการร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างมาตรฐานการปลูกข้าวอินทรีย์ และส่งผลให้เกิด  “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล” เกษตรกรได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ  ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน  และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ  ลดข้อสงสัย  และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  และส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว  และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว  เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

วัตถุประสงค์

1.สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ให้เกิดกลุ่มที่เข้มแข็งและมีมาตรฐาน

2.สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ เพื่อนำมาพัฒนาการทำนาแบบอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย

4.สร้างองค์ความรู้เรื่องใช้สารชีวินทรีย์และสมุนไพรที่ใช้ในการทำนาอินทรีย์ที่ได้ผลดี และรวบรวมเก็บเป็นข้อมูลเพื่อนำไปถ่ายทอด

5.เพื่อให้เกษตรกรที่ทำข้าวอินทรีย์สามารถเข้าถึงมาตรฐานที่สามารถทำได้ และเกษตรกรสามารถเชื่อมโยงผลผลิตข้าวไปต่อยอดทางการตลาดร่วมกันได้ โดยเกษตรกรจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2559-ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 5 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

เครือข่ายเกษตรกรจังหวัด พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

สภาเกษตร

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง

เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การวางแผนปลูก  การขึ้นทะเบียนสมาชิกก่อนเริ่มฤดูกาลปลูกจะต้องมีการแจ้งปลูก  และมีการแบ่งทีมตรวจแปลงกันภายในกลุ่ม  การตรวจข้ามกลุ่ม  รวมทั้งการเรียนรู้แนวทางวิธีการการป้องกัน กำจัด โรค แมลงศัตรู  โดยชีววิธีร่วมด้วย  โดยตลอดกระบวนการเพาะปลูกข้าวจะต้องทำตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันตามมาตรฐานเท่านั้น  หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกลุ่มจะไม่รับรองให้ผ่านกระบวนการปลูก  แต่ถ้าท่านใดปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้ได้ทุกเรื่องจะได้ผ่านการรับรองกระบวนการปลูกจากทางกลุ่ม  ผู้ผ่านกระบวนการปลูกสามารถส่งผลผลิตเข้าตรวจสารกำจัดแมลงที่ห้องแลปของวิทยาเขตนครสวรรค์  มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการทดสอบสารฆ่าแมลงในเมล็ดข้าว กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC)  ไพเรทรอยด์(PT)  ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM)  โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography   ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

มีผู้สนใจเข้าร่วม เครือข่าย ทั้งหมด344 ราย มาจากรายเดี่ยว(ไม่มีกลุ่ม) 15 ราย และมาจาก 34 กลุ่ม ซึ่งสามารถแยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้คือ มาจากจังหวัดพิจิตร 12 กลุ่ม จำนวน 157 ราย  จากจังหวัดกำแพงเพชร 22 กลุ่ม  81 ราย  สจากจังหวัดนครสวรรค์ 14 กลุ่ม 59 ราย  และจากจังหวัดอุทัยธานี  10 กลุ่ม  47 ราย

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.เกิดเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ต้นแบบ ที่เข้มแข็ง โดยการขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2  จำนวน 1 เครือข่าย จำนวนสมาชิก  344 ราย มีพื้นที่การทำนาอินทรีย์รวมประมาณ 3,500  ไร่

2.เกิดการบูรณาการและพัฒนาการบริการวิชาการ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และสามารถยกระดับสู่การขอรับรองอนุสิทธิบัตร (   ข้อมูลลิขสิทธิ์  เลขที่ 378760 รับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562)

3.สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ยรายละไม่น้อยกว่า  35,000 บาท ต่อปี

4.เกษตรกรที่เข้าร่วมสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รอบละ ไม่น้อยกว่า 1,500 – 2,000 บาทต่อไร่ หรือ ประมาณ 3,000 – 4,000 บาท ต่อปี (คิดจากการทำนาปีละ 2 รอบ)

Web link
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 15 : Life on land

 

มาตรฐาน MU Organic


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
มาตรฐาน MU Organic
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.นิวัต  อุณฑพันธุ์,
ดร.ณพล อนุตตตรังกูร ,นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ,นายธนากร
จันหมะกสิต,นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์,นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ และนายยุทธิชัย
โฮ้ไทย
ที่มาและความสำคัญ

       สืบเนื่องจากผลของการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ในช่วงปี 2559 และทำให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน  และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ  ลดข้อสงสัย  และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว  และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว  เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง จากแนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งตามมา  และเครือข่ายได้มีการวางแนวทางการพัฒนาเครือข่าย มีการจัดประชุมเพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาของเครือข่าย ในปี 2562 โดยเครือข่ายได้เสนอแนะแนวทางการยกระดับมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เป็น มาตรฐาน MU Organic เพื่อให้เกิดการรับรองการผลิตที่ครอบคลุม และหลากหลายชนิดพืช เพิ่มขึ้น เพราะเนื่องจากสมาชิกเครือข่าย ไม่ได้ผลิตข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการปลูกผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นมาและจำหน่ายทำตลาดควบคู่กับข้าวอินทรีย์  และได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดผู้บริโภค

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

วัตถุประสงค์

1.สร้างและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ครอบคลุมหลากหลาย มีมาตรฐานและผู้ผลิตสามารถเข้าถึงได้ง่าย

2.สร้างกระบวนการ วิธีการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการรับสมัคร และการตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง แบบออนไลน์

3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2562-ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 4 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่าย, ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด, กลุ่มจังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

มหาวิทยาลัยมหิดล

เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน

สภาเกษตรกร

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์

ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง

เครือข่ายผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.)

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรฐาน ผ่านระบบออนไลน์ โดยการกรอกข้อมูลผ่าน Google Form

2.คัดกรอง ประเมิน ผู้สมัคร และคัดเลือก

3.ทำความเข้าใจ ให้คำแนะนำ อธิบาย แนวทางข้อปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมมาตรฐาน

4.จัดทำ QR Code ประจำแปลงผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก

5.จัดผังการตรวจประเมินในระดับเครือข่าย และอบรมให้ความรู้วิธีการตรวจประเมิน

6.เครือข่ายตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง ตามผังที่วางไว้

7.ทีมประเมินกลางสุ่มตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง

8.ผู้ตรวจประเมินในระดับเครือข่ายจัดเก็บผลผลิต ของสมาชิกที่ผ่านการปฏิบัติในระดับแปลง เพื่อนำผลผลิตส่งตรวจในห้องแลป     ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์  มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตรวจหาสารฆ่าแมลงในผลผลิต กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC)  ไพเรทรอยด์(PT)  ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM)  โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography   ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2  และตรวจหาสารกำจัดวัชพืช กลุ่มพาราควอท   ด้วยวิธีการ Spectrophotometry  ผู้ที่ผ่านกระบวนการปฏิบัติในระดับแปลง และผลผลิตที่ส่งตรวจในแลป ไม่พบสารตกค้าง จะได้รับมาตรฐาน “MU Organic”

9.สุ่มตรวจแปลง พื้นที่ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน หลังจากที่ได้รับมาตรฐานแล้ว เพื่อ React Credit

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สมัคร 81 ราย จาก 8 จังหวัด  
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.เป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการตรวจรับรองมาตรฐาน

2.เป็นต้นแบบการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการบูรณาการข้ามศาสตร์ ในการให้บริการและพัฒนาชุมชน

3.เกิดเครือข่ายและการรวมกลุ่มยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ประเภท ข้าว ผัก และผลไม้ ในภูมิภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ที่มีมาตรฐาน 81 ราย และมีพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ประมาณ 717 ไร่

4.เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน สามารถยกระดับการผลิตของตนเอง และสามรถนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดระดับที่สูงขึ้น และมีตลาดที่รับซื้ออย่างต่อเนื่อง

5.สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ผ่านมาตรฐานมีมูลค่าที่สูงขึ้น

Web link
รูปภาพประกอบ
   
SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 15 : Life on land

พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Start Up, Early Stage ปี 2560 – 2563


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Start Up, Early Stage ปี 2560 – 2563
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิวัต อุณฑพันธุ์
ที่มาและความสำคัญ

       ผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย ในอดีตได้มีการดำเนินกิจการอย่างไม่เป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ประกอบการในภาคเกษตรกรและภาคทั่วไป พบว่า ผู้ประกอบการยังดำเนินกิจการที่ขาดการวางแผนทำให้เกิดปัญหาด้านหนี้สิน ด้านสินค้าไม่ได้คุณภาพ ไม่มีมาตรฐานรองรับ จนถึงยอดการขาย เป็นต้น ดังนั้นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการเป็นส่วนงานหนึ่งในสังกัดโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีภารกิจในการวิจัยและบริการวิชาการให้กับเครือข่ายด้านเกษตร สิ่งแวดล้อม และการประกอบการ จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start up) ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ.2560-2563) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการใหม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสร้างนวัตกรรมสู่ SME 4.0 การใช้องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ มีระบบการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจให้เกิด High Value และพัฒนาวิสาหกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนของรากฐานเศรษฐกิจ ส่งผลให้สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ไปสู่การดำเนินงานด้านอื่นๆของมหาวิทยาลัยได้ทั้งในเรื่องของหลักสูตร พันธกิจมหาวิทยาลัย การหาเงินเข้ามหาวิทยาลัย การสร้างองค์ความรู้ให้กับอาจารย์และทีมงานของมหาวิทยาลัย พื้นที่การของฝึกของนกศึกษา และสร้างหน่วยงานภาคีเครือข่าย อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการในโครงการได้ปรับเปลี่ยน Mindset ทางธุรกิจให้สามารถ ผลิตได้ ขายได้ และรวย และทำให้เกิดมูลค่าทางเศรฐกิจในพื้นที่ที่รับผิดชอบอีกด้วย

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสร้างนวัตกรรมสู่ SME 4.0 รวม 4 ปีจำนวน 4,200 ราย

2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ มีระบบการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจให้เกิด High Value รวม 4 ปีจำนวน 1,355 ธุรกิจ

3.เพื่อพัฒนาวิสาหกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนของรากฐานเศรษฐกิจ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2560-2563
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 4 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ธุรกิจภาคเอกชน , กลุ่มวิสาหกิจ , หน่วยงานภาครัฐ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

หน่วยงานสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประจำจังหวัด 8 จังหวัด

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารออมสิน

สำนักงานเกษตรจังหวัด

สำนักงานสภาเกษตรจังหวัด

อุตสาหกรรมจังหวัด

หอการค้า

สมาพันธ์เอสเอ็มอี

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงาน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ 8 จังหวัด

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5,585 ราย
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต (การประกอบการเชิงนิเวศและวัฒนธรรม) ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มีการนำกระบวนการจัดการของโครงการไปใช้ในรายวิชาเรียน

2.ต้นแบบโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement) เนื่องด้วยการดำเนินโครงการที่มีการช่วยเหลือผู้ประกอบการภายนอกมหาวิทยาลัยฯอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้เลือกได้คัดเลือกมาประเมินโครงการที่มีผลกระทบทางสังคม และ Mahidol channel ได้ทำวีดิทัศน์โครงการที่เป็นต้นแบบในด้าน Engagement กับสังคม

3.การหาเงินเข้ามหาวิทยาลัยฯ ซึ่งการดำเนินโครงการ Startup ในช่วงปี 2560-2563 สามารถนำเงินเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัยมหิดล (ร้อยละ 10 ของงบประมาณโครงการ) เป็นจำนวนเงิน 1,399,000 บาท 1,383,700 บาท  1,519,000 บาท และ 1,580,000 บาท ตามลำดับ รวม 5,881,700 บาท

4.สร้างองค์ความรู้ให้กับอาจารย์ โดยคณาจารย์ที่เข้ามาร่วมในทีมของโครงการทั้งในรูปแบบของวิทยากร และพี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ได้มีการลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับอาจารย์ด้วย

5.พื้นที่ฝึกของนักศึกษา สถานประกอบการของผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการ ได้มีการรับเป็นที่สถานที่ฝึกของนักศึกษาของวิทยาเขตนครสวรรค์

6.หน่วยงานภาคีเครือข่ายได้นำกระบวนการของโครงการไปประยุกต์ใช้ในงานประจำ เช่น สภาเกษตรกรได้มีการสอนการทำแผนธุรกิจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เป็นต้น

7.ผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยน Mindset ทางธุรกิจจำนวน 4 ปีรวม 5,585 ราย และส่งผลทำให้เกิดมูลค่าทางเศรฐกิจในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ในช่วงปี 2560 – 2563 เป็นจำนวนเงิน 402,331,850 บาท 137,760,460 บาท 186,308,000 บาท ตามลำดับมูลค่ารวม 726,400,310บาท

Web link
รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 8 : Decent work and economic growth

 

การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ที่มาและความสำคัญ

     บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศและการกักเก็บน้ำ ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเข้มข้นของชาวบ้านในพื้นที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันในกลุ่มอาชีพของภาคประชาชน การไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐและประชาชน การดำเนินการที่ติดขัดข้อกฎหมายที่มีหลายฉบับ และอำนาจตัดสินใจอยู่ในหลายหน่วยงาน ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2564) มีการขับเคลื่อนด้วยการศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการทบทวนเอกสาร รวบรวมข้อมูลงานวิจัย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีการคืนข้อมูลให้กับทุกภาคส่วนทีละกลุ่ม แล้วนำตัวแทนมาคืนข้อมูลร่วมกันกับทุกกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจปัญหา ยอมรับปัญหา เข้าใจสาเหตุของปัญหา และเข้าใจกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มและสร้างความร่วมมือ จนนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดร่วมกันเพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้บึงบอระเพ็ดถูกตั้งเป็นปัญหาวาระสำคัญของชาติ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาที่เป็นแผนปฏิบัติการ และการทบทวนแผนการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สุดท้ายแล้วคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2563–2572) วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,701.5 ล้านบาท ต่อมาเครือข่ายบึงบอระเพ็ดร่วมพัฒนาโครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด เพื่อสร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การจัดทำแผนที่บึงบอระเพ็ด การประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด เป็นต้น

     การเกิดเครือข่ายบึงบอระเพ็ดทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในบึงบอระเพ็ด ทำให้แสดงให้เห็นว่าการที่ทุกภาคส่วนมีความรู้ที่ถูกต้องและเท่ากัน จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดที่ยั่งยืนได้

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในบึงบอระเพ็ด

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2554-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วน​บริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน)

ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

ประชาชนในบึงบอระเพ็ด

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การให้คำปรึกษา การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายบึงบอระเพ็ด (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน)

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ประชาชนได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์เป็นไปตามข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยล่าสุดได้รับสัญญาเช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นว.339 (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,542 แปลง คงเหลืออีกประมาณ 5,000 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาการเช่า

2.โครงการภายใต้ข้อเสนอของ “เครือข่ายบึงบอระเพ็ด” ถูกบรรจุในส่วนหนึ่งของแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดที่ได้รับอนุมัติดำเนินการ 10 ปี (2563-2572) ซึ่งแผนปฏิบัติการเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีระยะ 3 ปี (2563-2565) จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท

3.เกิดการตรวจสอบแนวเขตและเข้าครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 6,888 แปลง ทำให้ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ดได้

4.การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายบึงบอระเพ็ด สามาถลดความขัดแย้งของทุกภาคส่วน

5.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด

Web link

https://na.mahidol.ac.th/th/2021/6650

https://na.mahidol.ac.th/bungresearch/index.php/2021-11-16-09-38-44

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

Effects of soil amendments on leaf anatomical characteristics of marigolds cultivated in cadmium-spiked soils


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

Effects of soil amendments on leaf anatomical characteristics of marigolds cultivated in cadmium-spiked soils
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt

2.Ms. Alapha Thongchai

3.Dr. Puntaree Taeprayoon

4.Assistant Professor Dr. Isma-ae Chelong

Statement problems

The zinc (Zn) mining industry and its operations in cadmium (Cd) and Zn co-contaminated agricultural areas have long been recognized as a major source of Cd and Zn pollution in the Mae Tao River basin, Mae Sot district of Tak Province, Thailand. For more than 30 years, people in those areas have been affected by Cd pollution released from polluted agricultural soils, causing renal and bone disorders, and eventually cancer. Local villagers or farmers continue to cultivate rice and other crop plants in such polluted areas in order to earn money for their livelihood and other beneficial lives. As a result, the Thai government and local authorities advised local people and farmers to stop growing crop plants on polluted soils. Phytomanagement is a subset of “phytoremediation,” which involves using green plants to remove heavy metals from polluted soils and streams; nonetheless, the ultimate objective is to employ plants for purposes other than biota consumption. Plants are used in phytomanagement technology for a variety of purposes, including energy, furniture, and architectural adornment etc. Marigold cultivars have been cultivated in Mae Tao River Basin areas, which are also known as agriculturally polluted areas, since they have been reported to serve as flowering ornamental plants that are cut for sale to assist communities generate income. High levels of Cd and Zn, on the other hand, may have an impact on marigold growth and flowering. Soil amendments will be used to improve soil properties, plant growth, and productivity, according to the research hypothesis. Many organic amendments, in particular, can diminish heavy metal mobility in soil and water, which may assist lower heavy metal bioavailability. The success of phytomanagement technology, on the other hand, should begin with plant selection, which should include consideration of water and soil management.

Area of Studies/ Area of Activities Greenhouse experiments and laboratory-based investigations to determine heavy metal concentration in marigold plant tissues
Objectives

1.To determine the effects of soil amendments on plant growth performances, cadmium and zinc uptake and accumulation, and anatomical modifications in leaves of four marigold cultivars (Tagetes erecta L. e.g., Honey, American and Sunshine and T. patula L. e.g., French) grown in greenhouse

2.To determine phytoremediation potential of the four marigold cultivars (Tagetes erecta L. e.g., Honey, American and Sunshine and T. patula L. e.g., French)

Years 2020
Project/Activity Duration June 1, 2020 – March 30, 2021
Levels of Collaboration University level
Collaborative organization Yala Rajabhat University

Project approaches/

Activity approaches

1.Greenhouse study

2.Laboratory works

Target groups

Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1.To develop a high potential plant for phytoremediation that can be used to remove cadmium and zinc from contaminated soil

2.Instead of edible crop plants, the flower cut from marigolds will be used as a commercial product to generate income for communities in the Mae Tao River Basin, Tak Province.

3.To develop a fertilizer or soil amendment that can be used in agricultural areas as a novel product

Web link https://doi.org/10.1038/s41598-021-95467-9
Pictures/Images
 
SDGs goals Goal 3 : Good health and well being
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการวิจัยบทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการวิจัยบทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
ที่มาและความสำคัญ

ข้อมูลองค์การสหประชาชาติที่คาดประมาณจำนวนการเกิดในแต่ละปีว่าจะมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือน้อยกว่า 500,000 รายต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2588-2593 (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ, 2559: ออนไลน์) และจากการสำรวจพัฒนาการของเด็กไทยในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะเด็กอายุ 3-5 ปี ที่ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กยังมีพัฒนาการล่าช้าทางด้านภาษา ซึ่งมีผลทำให้เด็กเมื่อเข้าเรียนแล้วอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ได้ รวมไปถึงคิดไม่เป็น (กระทรวงสาธารณสุข, 2559) นอกจากนี้ข้อมูลของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (2559: ออนไลน์) ยังพบว่าในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในประเทศไทยมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) ขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า โดยเฉพาะการไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและเกลือแร่ที่มีผลต่อสมอง 2) ปัจจัยการเลี้ยงดูหรือคนเลี้ยงมีปัญหา และ 3) การใช้สื่อโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และครอบครัวในสังคมไทยเองต่างมีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่ในครอบครองกันมากขึ้น โดยครัวเรือนไทยที่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในครอบครัวมากถึงร้อยละ 68.2 และมีแท็บเล็ตคิดเป็นร้อยละ 24.6 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2559) ทำให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันกับเด็กจนกลายเป็นเรื่องปกติ เด็กในยุคนี้จึงเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างสะดวกจากการเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของพ่อแม่หรือของตนเองที่พ่อแม่ซื้อให้

ผลจากการวิจัยของสหรัฐอเมริกาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กชี้ว่า พ่อแม่ยังไม่ควรให้เด็กปฐมวัยเล่นสมาร์ทโฟนและหรือแท็บเล็ต เพราะในช่วงเด็กทารกถึงวัย 2 ขวบ สมองของเด็กมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว และสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาของสมอง หากเด็กใกล้ชิดกับเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตหรือโทรทัศน์ อุปกรณ์ดังกล่าวจะชะลอการเติบโตของสมองรวมถึงทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น เอาแต่ใจตัวเองมากขึ้น เพราะควบคุมตัวเองได้น้อยลง (Cris Rowan, 2015) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2559: ออนไลน์) ที่สะท้อนแนวคิดไว้ว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ยังไม่มีงานวิจัยใดรองรับว่าการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะมีประโยชน์ในเด็กกลุ่มนี้ ดังนั้นการใช้สื่อเหล่านี้สำหรับเด็กปฐมวัยจึงควรอยู่ในการกำกับดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรควบคุมระยะเวลาที่เด็กใช้ และมีการพูดคุยหรือเล่นกับเด็กขณะที่กำลังเล่นอุปกรณ์ดังกล่าว

จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยยังไม่พบงานวิจัยที่ทำการศึกษาการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัยโดยตรง ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงสนใจว่า จะมีแนวทางใดบ้างที่จะส่งเสริมให้ครอบครัวเด็กปฐมวัยรู้เท่าทันสมาร์ทดีไวซ์และใช้สมาร์ทดีไวซ์เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาในเขตพื้นสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร และทำการศึกษากับเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา เขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร
วัตถุประสงค์

มีวัตถุประสงค์หลักข้อที่ 2 ของงานวิจัยคือ ค้นหาแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาเป็นคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2562-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 จัดทำการวิจัยเชิงคุณภาพ

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 จัดทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

– ศูนย์อนามัยที่ 3 จ.นครสวรรค์

– โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

– สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

– คลินิกกิจกรรมบำบัดนครสวรรค์ บ้านครูมด คลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

– มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

– คลินิกเด็ก หมอธนาธรณ์

– โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต

– Rose Marie Academy School

– โรงเรียนระดับอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 30 แห่ง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 คณะวิจัยทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม กับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34 คน ซึ่งผลการศึกษาทำให้ได้ข้อสรุปของ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม” โดยผู้วิจัยนำเสนอไว้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลสรุปสาระสำคัญ และสรุปประเด็นสำคัญด้วยอินโฟกราฟิก และคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟน

 

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 เป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเป็นการต่อยอดจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ได้แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมมาแล้ว ในระยะนี้จะทำการทดสอบว่าแนวทางที่ออกแบบไว้สามารถปฏิบัติได้จริงและสัมฤทธิ์ผลได้หรือไม่ อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว กลุ่มทดลองนำแนวทางและเครื่องมือที่โครงการออกแบบไว้ไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยระหว่าง 3 เดือนนี้จะมีนักวิจัยที่เป็นพยาบาลคอยให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แล้ววัดผลการเปลี่ยนแปลงว่าเด็กลดการใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บลงอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 30 นาทีต่อวัน สำหรับกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆ อย่างไรก็ดีโครงการวิจัยเก็บข้อมูลของกลุ่มควบคุมไว้เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง

 

แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ในกลุ่มทดลองระหว่าง 3 เดือน

เมื่อทำการทดลองแล้วเสร็จ ผลของค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการใช้สมาร์ทดีไวซ์เฉลี่ยต่อวัน ของเด็กที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองเชิงปฏิบัติการ (n=29) มีดังนี้

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการออกแบบ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม”

– จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน

– ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34

2) อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม – ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

รายการสื่อของโครงการที่เผยแพร่ผลงานวิจัยที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ ใช้เวลาสั้น กระชับ

VDO1:
แนะนำโครงการ “บทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย”
VDO2:
ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO3:

แนะนำวิธีแก้ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO4:

เล่าประสบการณ์ลดเวลาเล่นมือถือลูกสาววัย 3 ขวบ

VDO5:

แชร์ประสบการณ์แก้ปัญหาลูกวัย 4 ขวบติดแท็บเล็ต

VDO6:

ลดเวลาเล่นมือถือของหลานชายจากเล่นทั้งวัน เหลือ 1-2 ชม.

Poster:

ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้ได้อย่างเหมาะสม

Infographic:

สถานการณ์การใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กไทยอายุ 2-5 ปี

Infographic:

วิธีการแก้ปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

คู่มือ:

จัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นการช่วยยืนยันแนวทางในการปฏิบัติที่ได้จากการค้นหาคำตอบในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครอบครัวเด็กปฐมวัย ที่จะมีแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทดีไวซ์ที่ครอบครัวสามารถปฏิบัติได้จริง

Web link https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/การใชสมารทดไวซในเดก?authuser=0
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

Heavy metal accumulation and copper localization in Scopelophila cataractae in Thailand


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

Heavy metal accumulation and copper localization in Scopelophila cataractae in Thailand
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt

2.Dr. Narin Printarakul

Statement problems Plant biodiversity is critical for understanding the ecosystem’s and environment’s status. Thailand is located in the tropic zone, which has a diverse range of biota. Bryophyte taxa are used as a crucial bioindicator in the forest, meaning they can show the impacts of pollution in many media such as air, soil, and water. However, there is a scarcity of knowledge about bryophyte biology and diversity in Thailand’s diverse settings. This could be due to a scarcity of bryophyte taxonomists. Scopelophila cataractae, or so-called rare copper (Cu) moss, is an endangered and rare bryophyte taxon that is also a hyperaccumulator for Cu since this moss species accumulate substantial Cu concentration in gametophyte tissue. This moss species, which grows on the trunks of Mastixia euonymoides, has only been found once in the Doi-Intanon National Park, at a height of around 1700 meters. S. cataractae was recently identified in a waterfall ecosystem in Doi Suthep-Pui National Park, Thailand, marking the first investigation in this area. This moss species can assist assess the pollution situation in the stream outflow area, which is currently surrounded by anthropogenic activity. Many more bryophyte species need to be investigated since they can provide a more exact and accurate assessment of anthropogenic contamination in the study site. Chemical profiles, such as heavy metal concentrations in bryophyte tissues and substrates, must be assessed to some extent since they serve as a baseline data for bryophytes in waterfall ecosystems that are altered by anthropogenic activity.
Area of Studies/ Area of Activities Field survey in Doi Suthep-Pui National Park, as well as laboratory-based investigations to determine heavy metal concentration and localization in plant cells
Objectives

1.To identify bryophyte taxa in a waterfall ecosystem

2.To determine heavy metal concentrations in bryophyte tissues and substrates

3.To study the relationship between bryophyte community and environmental factors

Years 2020
Project/Activity Duration June 1, 2018 – June 30, 2020
Levels of Collaboration University and government agency level
Collaborative organization

Chiang Mai University

Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation of Thailand

Project approaches/

Activity approaches

1.Field surveys

2.Laboratory works

Target groups
Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1.The goal of this study is to acquire the first report on a bryophyte community in a waterfall ecosystem in Chiang Mai, Thailand’s Doi Suthep-Pui National Park

2.To obtain a bryophyte taxon that may be used as a bioindicator to assess pollution caused by anthropogenic activities in the National Park

3.To restore and safeguard the endangered and rare bryophyte taxon in the National Park

Web link https://doi.org/10.1007/s00128-021-03246-z
Pictures/Images
SDGs goals Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt2.Dr. Pornpirat Kantatasiri

Statement problems Since the world’s population is growing, people are using more energy for several purposes, including their livelihood. Furthermore, motor oil is utilized in vehicle operation, and methane is used to generate fuel and electricity. Many countries are experiencing a scarcity of energy supplies, notably electricity and fuel. Thailand imports fuel and electricity, and its energy prices have been steadily rising for almost a decade, and this trend is likely to continue. Many researchers have looked for alternative energy sources to use instead of imported energy, especially in countries where electricity and other energy sources are unavailable. Furthermore, it is likely that the earth’s fuel and other energy supplies will be exhausted soon. Thailand is a leader in agricultural exports to many nations across the world, and all of its goods are of excellent quality. Thailand can grow energy crops for alternative energy production, such as sugarcane for bioethanol production and Napier grass for electricity generation, that are both low-cost and low-impact on the environment. In Thailand, there are around 20 varieties of Napier grass, each with a large biomass and distinct potential for producing methane, heating value and electricity. The potential of the Napier grass to create methane and heating value has been studied in recent work, which is initiated information on the uses of Napier grass varieties for energy purposes. Furthermore, it might be a practical means of determining the best varieties to employ for electricity generating in the future.
Area of Studies/ Area of Activities Field surveys throughout Thailand, as well as laboratory-based investigations to determine methane production and heating value, as well as the computation of heat value for electricity generation in electricity power generation plant (1 megawatt) from different varieties of Napier grass.
Objectives

1.To study the basic information of Napier grass varieties in Thailand, including strains, botanical characteristics, agricultural practices, and cultivation costs, as well as methane production from pig manure and Napier grass, and heating values from Napier grass for use as a source for electricity generation

2.To determine of cost and financial return of Napier grass cultivation for electricity generation in a power generation plant (1 megawatt)

Years 2020
Project/Activity Duration January 9 – July 8, 2020
Levels of Collaboration University and state-owned enterprise level.
Collaborative organization Electricity Generating Authority of Thailand

Project approaches/

Activity approaches

1.Field surveys

2.Laboratory works

3.Meeting between researchers from Mahidol University and staffs from Electricity Generating Authority of Thailand

Target groups
Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1)To get a fundamental understanding of the biology and agricultural practices of various Napier grass varieties, as well as marketing information for cultivation and marketing, so that they may be used as a source of electricity generation.

2)To generate methane in a mesocosm system using a suitable ratio of fermented pig dung and Napier grass

3)To study about the technique’s optimization, economic and financial values, and investment in a biogas electricity production facility utilizing Napier grass.

Web link https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/?tab=album&album_id=2848422768552237
Pictures/Images
 
SDGs goals Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 13 : Climate action​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.จุฑารัตน์  แสงกุล
ที่มาและความสำคัญ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา หมู่บ้าน 1-12 ต.เขาทอง  อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ในการปฏิบัติตน และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

2.เพื่อเป็นการให้กำลังใจชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด และเศรษฐกิจ

3.เพื่อให้บุคลากรทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย ได้ใช้วิชาชีพให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนนอกเวลาปฏิบัติงาน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2563- ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เมษายน 2563 – ปัจจุบัน
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับภาค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

รพสต.เขาทอง   อบต.เขาทอง

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน   วัดเขาทอง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน

2.รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

3.จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว

3.2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19

3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน

4.จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ชาวบ้านทั่วไป ต.เขาทอง   ผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid -19  ผู้ติดเชื้อ  ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า 500 คน  (รวมทุกกิจกรรม)
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส covid-19 ทั้งการป้องกันตนเอง การกักตัว และการรับวัคซีน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.ชาวบ้านมีการเข้าถึงระบบการให้บริการสุขภาพได้ ทุกกลุ่มวัย

3.ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งเศรษฐกิจ และการติดเชื้อโรคได้รับการช่วยเหลือ

4.บุคลากร นักศึกษา ได้ร่วมกันทำประโยชน์ให้ชุมชน

Web link  
รูปภาพประกอบ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์


จัดตั้งศูนย์พักคอย MUCI

SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 3 : Good health and well being
Goal 7 : Affordable and clean energy

 

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์
ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน

       นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560)

นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง

การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก

นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก

แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป

 

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง
วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น

2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้

5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3)

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม พ.ศ. 2562
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ

-การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง

-การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน

-การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท.

-การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท.

-การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

-การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา

-การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 228 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท

-อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ

-อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

-การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

Web link

Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab

Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/

SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/

Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ

รูปภาพประกอบ
  
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 5 : Gender equality
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals