การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

MU-SDGs Case Study*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 ภาคีเครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้มีการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่และขับเคลื่อนตลอดมาตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกลไกที่ใช้องค์กรผู้ใช้น้ำในการขับเคลื่อนจากภาคประชาชน ซึ่งเดิมมีการจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดครบแล้วจำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพระนอน ตำบลวังมหากร ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ และตำบลเกรียงไกร ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสู่พื้นที่ต้นน้ำนอกบึงบอระเพ็ด โดยปี 2566 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลพนมรอก และปี 2567 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลวังใหญ่ ตำบลไผ่สิงห์ และตำบลสายลำโพง พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างพื้นที่ตอนบนและตอนล่าง ซึ่งไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ มีการแบ่งปันการใช้น้ำ และการขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐในการรักษาระดับน้ำ และสูบน้ำรักษาระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำภาคการมีส่วนร่วมของจังหวัดนครสวรรค์ ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับเครือข่ายบึงบอระเพ็ดกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ดตามหลักวิชาการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำของทุกภาคส่วนอีกด้วย

เมื่อเกิดระบบการบริหารจัดการน้ำแล้ว ทำให้มีการขับเคลื่อนประเด็นต่อมาเป็นการพัฒนาอาชีพที่มีการทดลองปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้ขับเคลื่อนโครงการที่มีกิจกรรมย่อยในการทำนาเปียกสลับแห้ง ที่มีการใช้น้ำน้อยเพื่อลดการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด และการนำพืชน้ำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่จะปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยายกาศได้ โดยเบื้องต้นได้มีการทดลองทำในพื้นที่ตำบลพระนอน และตำบลวังมหากร ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะขยายสู่ส่วนใหญ่ของบึงบอระเพ็ดต่อไป

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ภาคประชาชน ได้รับการจัดสรรน้ำ มีการแบ่งปันกันใช้น้ำอย่างเที่ยงธรรม 

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs13,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/videos/270841642755512

ม.มหิดล ร่วมนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในสพระองค์
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/13291

การออกสื่อสาธารณะ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/337926?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1Eg4EvBDNThdqRm-hLmX42p3aEBWEXsJzCWRw2Vub4EgK9PRyvhEwT_eo_aem_AQw-VZjwG00nG0FP4VCvKvjZybYGsCzWtnQTDRM8DiyFoO_jVCDqbCn8f2SFumNN0HbcYf8frP3uUC6yIub7kUaW

การบริการวิชาการให้กับเครือข่าย
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/12986

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
โครงการชลประทานนครสวรรค์
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

MU-SDGs Case Study*

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล

ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ

นายธนากร จันหมะกสิต

นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

ความสำคัญ

บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา นอกจากนี้การทำนาปรังส่งผลให้เกิดการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ส่วนพืชน้ำที่เจริญเติบโตหนีน้ำไม่ทันในช่วงฤดูน้ำหลาก จะทำให้เกิดหญ้าเน่าจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน ในการนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นการทำนาปรังและน้ำท่วมวัชพืชในช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีแนวคิดในการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกด้วยการปรับวิธีการทำนาจากนาปรังเป็นนาเปียกสลับแห้งที่ใช้น้ำน้อยและปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยกว่านาปรังหลายเท่า และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้การส่งเสริมให้นำวัชพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ดมาใช้ประโยชน์แปรรูปเป็นปุ๋ยที่สร้างรายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลพระนอน มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย ซึ่งรูปแบบที่จะออกมาขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานทั้งหมดสอดคล้องกับนโยบายของ COP28 และบึงบอระเพ็ด sandbox ที่ตั้งเป้าให้เกิด Net Zero ในปี 2573 ต่อไป

 

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการปรับแนวคิดของประชาชนสู่การปรับวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

2) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

3) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำและการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

โครงการอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ โดยมีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลวังมหากรและตำบลพระนอน และมีการสอบถามความต้องการในการขับเคลื่อน (Need Assessment) ในการทำนาและการจัดการวัชพืชน้ำบึงบอระเพ็ด มีการดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และการทดลองการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 100 ไร่ อีกด้วย 

ผลผลิตของโครงการ
1) การฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาเทคโนโลยีสีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SDGs BCG และการปรับตัวในการทำการเกษตรในพื้นที่ชุ่มน้ำ
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้ง และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
3) พื้นที่ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด และการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยในตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4) ผลการคำนวณอัตราผลตอบแทนเชิงสังคม (SROI) ของโครงการ
5) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานในพื้นที่
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้งและการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ และขยายผลต่อในอนาคตบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ
3) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม
4) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆที่มีบริบทคล้ายกับบึงบอระเพ็ด
5) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์สามารถกำหนดแนวทางการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสัญญาเช่าของประชาชนบึงบอระเพ็ดในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2,6,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3, 6.3, 6.4, 6.5, 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2024-5-2-1.pdf
https://www.nstda.or.th/sci2pub/3-strategies-to-revive-sustainable-rice-fields/
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
หน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ด
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอนและวังมหากร
เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำบึงบอระเพ็ด
ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การปรับวิถีการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การทำนาเปียกสลับแห้ง
การปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

13.2

การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.ทวีศักดิ์ ชูมา

สุชาติ แท่นกระโทก

นายธนากร จันหมะกสิต  

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

ส่วนงานร่วม

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้จำนวน 209.87 ไร่ โดยการวางแปลงชั่วคราวสำรวจทรัพยากรป่าไม้ขนาด 40×40 เมตร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบประเภท Line Plot System โดยวางแนวเส้นฐานในทิศทางเหนือใต้ กำหนดเส้นสำรวจห่างกันแนวละ 200 เมตร และวางแปลงบนเส้นสำรวจทุกระยะ 100 เมตร รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.10 ของพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่เป็นระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ สำรวจพบความหลากหลายของไม้ยืนต้นจำนวน 48 ชนิดใน 42 สกุล 23 วงศ์ ไผ่จำนวน 1 ชนิด และค่าดัชนีความสำคัญของไม้ยืนต้นมีค่าเกิน 10 จำนวน 7 ลำดับแรก ได้แก่ ต้นตะโกนา ต้นสะเดา ต้นยอป่า ต้นตะแบก ต้นพฤกษ์ ต้นชงโค และต้นแสมสาร ตามลำดับ ส่วนการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ พบมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเท่ากับ 2,869.05 กิโลกรัมต่อไร่ มวลชีวภาพใต้พื้นดินมีค่าเท่ากับ 803.33 กิโลกรัมต่อไร่ และการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 1,726.02 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการประเมินการกักเก็บคาร์บอนทั้งพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 362.24 ตันคาร์บอน ในการนี้ผลของการวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13 “ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น” โดยข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดการพื้นที่ป่าไม้ การเสริมศักยภาพพื้นที่ในการกักเก็บคาร์บอนให้มากขึ้น โดยการป้องกันไม่ให้พื้นที่ถูกทำลาย การปลูกป่าเสริมในพื้นที่ด้วยพรรณไม้ท้องถิ่น และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 เพื่อช่วยลดความรุนแรงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 15

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

15.1,15.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเรียนรู้จากพื้นที่มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่จะขับเคลื่อนการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว นำไปสู่การเป็น Net Zero ในปี 2573

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

15.2

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต 

นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที

           ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาครัฐ ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ การนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจ และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของศูนย์ข้อมูล
ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด

2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง

3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

 

5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

ผลกระทบทางสังคม

1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์

3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด

4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ)  

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,15,16,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 16.7 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ฐานข้อมูลบึงบอระเพ็ด

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

MU-SDGs Case Study*

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต  นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

เนื้อหา*

           “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

         การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

          ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป 

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน

2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561)

4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด

ผลกระทบทางสังคม

1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน

2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้

3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้

4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้

5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 

6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,14,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

Facebook

หนังสือ  การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การมีส่วนร่วมในการเตรียมการจัดสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การมีส่วนร่วมในการเตรียมการจัดสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ จังหวัดนครสวรรค์ มีแนวคิดในการดำเนินการจัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา (Road map) ของบึงบอระเพ็ด ทำให้มีการจัดประชุมเตรียมความพร้อม และวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดนครสวรรค์ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประชุมหารือร่วมกันถึงรูปแบบการจัดงานที่เหมาะสมต่อไป
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 3 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ จังหวัดนครสวรรค์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) หน่วยงานภาครัฐในนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการร่วมดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

นักวิชาการ หน่วยงานราชการ ประชาชนในบึงบอระเพ็ด และผู้ที่สนใจทั่วไป

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

การให้คำปรึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้นำไปสู่การกำหนดพื้นที่ศึกษาที่ครอบคลุมแหล่งกำเนิดมลพิษบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

Web link
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 13 : Climate action​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

การบริการวิชาการให้คำปรึกษาข้อมูลบึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การบริการวิชาการให้คำปรึกษาข้อมูลบึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 4 นครสวรรค์ มีแผนการดำเนินโครงการในพื้นที่บึงบอระเพ็ด ที่ต้องสำรวจข้อมูลพื้นฐานของแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ ดังนั้นการเตรียมพร้อมในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาที่ครอบคลุมแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหมด ทำให้เป็นที่มาในการปรึกษาหารือและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้การดำเนินโครงการสำเร็จไปด้วยดีต่อไป
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ลุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.การให้คำปรึกษาข้อมูลบึงบอระเพ็ด

2.เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการจัดการป่าชุมชน

3.ให้คำแนะนำปรึกษาและความช่วยเหลือต่างๆต่อคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน

4.ควบคุม ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการป่าชุมชน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ หน่วยงาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 4 นครสวรรค์
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การให้คำปรึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

บุคลากรสังกัดสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 4 นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

การให้คำปรึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้นำไปสู่การกำหนดพื้นที่ศึกษาที่ครอบคลุมแหล่งกำเนิดมลพิษบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

Web link
รูปภาพประกอบ
SDG goal Goal 13 : Climate action​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ

   “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้นจนเกิดข้อพิพาทระหว่างกลุ่มต่างอาชีพและกลุ่มอาชีพเดียวกัน ช่วงฤดูแล้งบางปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

    ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาโจทย์ของโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และได้รับการ “เห็นชอบและรับทราบ” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564-2565
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง กันยายน 2564 – กันยายน 2565
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน,จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่บึงบอระเพ็ด

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 กรมทรัพยากรน้ำ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ด ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– เกิดการจัดสรรน้ำให้กับทุกกิจกรรมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุลกันระหว่างการรักษาระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

– ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญ จนเกิดการยอมรับ และนำไปสู่การปฏิบัติได้

– การผลักดันสู่นโยบายด้วย “คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด” สามารถนำข้อสรุปของโครงการไปเป็นแนวทางการใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดในแต่ละพื้นที่ (เขตให้ ห้าม หวง)

– ระบบการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับบึงบอระเพ็ด

Web link https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=IoZEzOyuze4
รูปภาพประกอบ
     
SDG goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

Heavy metal accumulation and copper localization in Scopelophila cataractae in Thailand


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

Heavy metal accumulation and copper localization in Scopelophila cataractae in Thailand
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt

2.Dr. Narin Printarakul

Statement problems Plant biodiversity is critical for understanding the ecosystem’s and environment’s status. Thailand is located in the tropic zone, which has a diverse range of biota. Bryophyte taxa are used as a crucial bioindicator in the forest, meaning they can show the impacts of pollution in many media such as air, soil, and water. However, there is a scarcity of knowledge about bryophyte biology and diversity in Thailand’s diverse settings. This could be due to a scarcity of bryophyte taxonomists. Scopelophila cataractae, or so-called rare copper (Cu) moss, is an endangered and rare bryophyte taxon that is also a hyperaccumulator for Cu since this moss species accumulate substantial Cu concentration in gametophyte tissue. This moss species, which grows on the trunks of Mastixia euonymoides, has only been found once in the Doi-Intanon National Park, at a height of around 1700 meters. S. cataractae was recently identified in a waterfall ecosystem in Doi Suthep-Pui National Park, Thailand, marking the first investigation in this area. This moss species can assist assess the pollution situation in the stream outflow area, which is currently surrounded by anthropogenic activity. Many more bryophyte species need to be investigated since they can provide a more exact and accurate assessment of anthropogenic contamination in the study site. Chemical profiles, such as heavy metal concentrations in bryophyte tissues and substrates, must be assessed to some extent since they serve as a baseline data for bryophytes in waterfall ecosystems that are altered by anthropogenic activity.
Area of Studies/ Area of Activities Field survey in Doi Suthep-Pui National Park, as well as laboratory-based investigations to determine heavy metal concentration and localization in plant cells
Objectives

1.To identify bryophyte taxa in a waterfall ecosystem

2.To determine heavy metal concentrations in bryophyte tissues and substrates

3.To study the relationship between bryophyte community and environmental factors

Years 2020
Project/Activity Duration June 1, 2018 – June 30, 2020
Levels of Collaboration University and government agency level
Collaborative organization

Chiang Mai University

Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation of Thailand

Project approaches/

Activity approaches

1.Field surveys

2.Laboratory works

Target groups
Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1.The goal of this study is to acquire the first report on a bryophyte community in a waterfall ecosystem in Chiang Mai, Thailand’s Doi Suthep-Pui National Park

2.To obtain a bryophyte taxon that may be used as a bioindicator to assess pollution caused by anthropogenic activities in the National Park

3.To restore and safeguard the endangered and rare bryophyte taxon in the National Park

Web link https://doi.org/10.1007/s00128-021-03246-z
Pictures/Images
SDGs goals Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt2.Dr. Pornpirat Kantatasiri

Statement problems Since the world’s population is growing, people are using more energy for several purposes, including their livelihood. Furthermore, motor oil is utilized in vehicle operation, and methane is used to generate fuel and electricity. Many countries are experiencing a scarcity of energy supplies, notably electricity and fuel. Thailand imports fuel and electricity, and its energy prices have been steadily rising for almost a decade, and this trend is likely to continue. Many researchers have looked for alternative energy sources to use instead of imported energy, especially in countries where electricity and other energy sources are unavailable. Furthermore, it is likely that the earth’s fuel and other energy supplies will be exhausted soon. Thailand is a leader in agricultural exports to many nations across the world, and all of its goods are of excellent quality. Thailand can grow energy crops for alternative energy production, such as sugarcane for bioethanol production and Napier grass for electricity generation, that are both low-cost and low-impact on the environment. In Thailand, there are around 20 varieties of Napier grass, each with a large biomass and distinct potential for producing methane, heating value and electricity. The potential of the Napier grass to create methane and heating value has been studied in recent work, which is initiated information on the uses of Napier grass varieties for energy purposes. Furthermore, it might be a practical means of determining the best varieties to employ for electricity generating in the future.
Area of Studies/ Area of Activities Field surveys throughout Thailand, as well as laboratory-based investigations to determine methane production and heating value, as well as the computation of heat value for electricity generation in electricity power generation plant (1 megawatt) from different varieties of Napier grass.
Objectives

1.To study the basic information of Napier grass varieties in Thailand, including strains, botanical characteristics, agricultural practices, and cultivation costs, as well as methane production from pig manure and Napier grass, and heating values from Napier grass for use as a source for electricity generation

2.To determine of cost and financial return of Napier grass cultivation for electricity generation in a power generation plant (1 megawatt)

Years 2020
Project/Activity Duration January 9 – July 8, 2020
Levels of Collaboration University and state-owned enterprise level.
Collaborative organization Electricity Generating Authority of Thailand

Project approaches/

Activity approaches

1.Field surveys

2.Laboratory works

3.Meeting between researchers from Mahidol University and staffs from Electricity Generating Authority of Thailand

Target groups
Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1)To get a fundamental understanding of the biology and agricultural practices of various Napier grass varieties, as well as marketing information for cultivation and marketing, so that they may be used as a source of electricity generation.

2)To generate methane in a mesocosm system using a suitable ratio of fermented pig dung and Napier grass

3)To study about the technique’s optimization, economic and financial values, and investment in a biogas electricity production facility utilizing Napier grass.

Web link https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/?tab=album&album_id=2848422768552237
Pictures/Images
 
SDGs goals Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 13 : Climate action​
Goal 17 : Partnerships for the goals