MU-SDGs Case Study* | การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวอติพร โพธิ์แก้ว | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.สมสุข พวงดี | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ 1. สร้างแหล่งอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยให้แก่ครอบครัวและชุมชน 2. เพิ่มรายได้จากธุรกิจไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพารา 3. เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา 4. จัดการหมุนเวียนเศษเหลือทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ สืบเนื่องจากโครงการนี้เป็น senior project ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) นางสาวอติพร โพธิ์แก้วได้นำความรู้และทักษะจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยมาพัฒนาระบบการเกษตรที่บ้านเกิดให้ยั่งยืนและเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนระบบการเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว (Monoculture) เน้นการปลูกสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน รายได้หลักจึงมาจากผลผลิตจากยางพารา และปาล์มน้ำมัน พืชทั้งสองชนิดนี้ใช้เวลาเก็บเกี่ยวในครั้งแรกนานถึง 5-6 และ 4-7 ปี ตามลำดับ และถูกควบคุมราคาจากพ่อค้าคนกลาง จากข้อจำกัดทั้งสอง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายรับไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีรายได้น้อย ในแง่ของระบบนิเวศ การทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในชุมชนนาวงลดลง ผลที่ตามคือการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช และพึ่งพาแหล่งอาหารจากภายนอกมากขึ้น พื้นที่ตัวอย่างในการทำปริญญานิพนธ์ เป็นพื้นที่ที่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวเช่นกัน การปลูกผลไม้แซมริมขอบสวนยางพาราจึงถูกริเริ่มเพื่อหาแนวทางลดข้อจำกัดดังกล่าว เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง ลองกอง และกล้วย เป็นต้น ผลที่ตามมาคือครอบครัวมีรายได้จากการจำหน่ายผลไม้ทั้งสดและแปรรูปในช่วงผลไม้ให้ผลผลิต รวมถึงสร้างการแบ่งปันให้คนในชุมชนเป็นบางครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและเกิดการหมุนเวียนมูลเป็นปุ๋ยให้พืชได้ขึ้นเอง เนื่องจากนกและไก่ป่าเข้ามาอยู่อาศัยในสวนยางพาราผสมผลไม้ และขับถ่ายมูลลงมาตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีการปลูกผลไม้ร่วมกับยางพารา แม้จะมีข้อดีดังกล่าว แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นตามฤดูกาลเท่านั้น ระหว่างการเรียนรู้การทำธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก ภายใต้แบรนด์ “the teak chicken” ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ากลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพมีอยู่จริง และพร้อมยอมจ่ายให้กับไข่ที่มีคุณภาพ สด ปลอดภัย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวจึงมองเห็นโอกาสการสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้รายวันในสวนยางพาราของตัวเองได้ และการหมุนเวียนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่ส่งกลิ่นเหม็นในชุมชนมาใช้เป็นอาหารไก่เพื่อลดต้นทุน ผลลัพธ์ของ senior project พบว่าการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถ •สร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่สด ปลอดภัย มีคุณภาพ และจำหน่ายในราคาที่ชุมชนเข้าถึงได้ •สร้างรายได้รายวันจากการจำหน่ายไข่ไก่และรายเดือนจากการจำหน่ายปุ๋ยมูลไก่ให้แก่ครอบครัว •เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา •จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นเหม็นจากกากมะพร้าวคั้นกะทิในชุมชน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs2,12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.1, 2.3, 2.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 15.1, 15.4, 15.9 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/profile.php?id=100024874219328&mibextid=LQQJ4d | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถดำเนินเป็นธุรกิจในชุมชนได้ ไม่เพียงสร้างรายได้รายวันเท่านั้น แต่ยังสร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพ สด และปลอดภัยให้แก่ชุมชนได้เข้าถึงในราคาไม่แพง (SDGs2, 12) นอกจากนี้การเลี้ยงไก่ไข่ยังช่วยเพิ่มสิ่งมีชีวิตในสวนยางพาราให้มีความหลากหลายได้อีกด้วย (SDGs15) ในแง่สิ่งแวดล้อมการเลี้ยงไก่ไข่ในสวนยางพาราช่วยเปลี่ยนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่เหลือทิ้งเป็นไข่ที่มีคุณภาพ และหมุนเวียนมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืชได้อย่างครบวงจร (SDGs12) ดังนั้นผลประกอบการครั้งนี้จึงเป็นโมเดลธุรกิจให้ผู้ปลูกยางพาราเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความยั่งยืนทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสวนยางพารา ในท้ายสุดสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.4.1, 2.5.1, 2.5.3, 2.5.4 |
Category: Goal 12 : Responsible consumption and production
Goal 12 : Responsible consumption and production
Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
MU-SDGs Case Study* |
Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นายธนากร จันหมะกสิต |
ส่วนงานหลัก* |
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม |
ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร |
ส่วนงานร่วม |
หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* |
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning) 2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน 3. เพื่อสร้างการมีจิตอาสาผ่านกิจกรมสาธารณะ
บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
วันที่ 12 พ.ค. 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ 2 หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลยางขาว จัดให้บริการตรวจดินแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลดินของตำบล และการต่อยอดสู่การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการปุ๋ยเพื่อชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนายธนากร จันหะมกสิต (นักวิชาการเกษตร) สังกัดศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตร SMART Farmer ชั้นปีที่ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการฝึกตรวจดินภาคสนามและให้บริการกับชุมชนในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมส่งตรวจอย่างดินเพื่อวิเคราะห์จำนวน 50 ราย นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกทักษะ (Upskill) ให้กับน้องๆเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้วิธีการเก็บตัวอย่างดิน, การวิเคราะห์ดิน และการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอีกด้วย |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs2 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
2.4,2.5 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs4,12,17 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
4.7,12.a,17.7 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 |
||
Partners/Stakeholders* |
1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|||
Key Message* |
กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573 | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
17.4.3, 2.4.1, 2.5.2 |
การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์
MU-SDGs Case Study* | การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร ดร.ณพล อนุตตรังกูร นายจิระเดช บุญมาก ดร.วชิระ กว้างขวาง รศ.ดร. วีระเดช มีอินเกิด | ส่วนงานร่วม | 1. หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำและดิน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด การขับเคลื่อน Bio hub ด้านอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้าว โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 132,737 ไร่ ครอบคลุมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก ซึ่งจากการประชุมสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดยสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ที่ประชุมสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดประเด็นเร่งด่วนได้ 10 ประเด็น ได้แก่ 1. การสร้างระบบการบริหารจัดการในลุ่มน้ำย่อยเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยการขุดบึง และขุดลอกตะกอนดิน 2. การส่งเสริมการทำเกษตรวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การปลูกไม้ริมน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน 4. การปลูกพืชกรองน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เข้าสู่บึงบอระเพ็ด 5. การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดเพื่อใช้ประโยชน์ 6. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรของบอระเพ็ด 7. การจัดทำปุ๋ยจากตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 8. การแปรรูปพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ด 9. การแปรรูปเศษเหลือของปลาบึงบอระเพ็ด และ 10. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs12, SDGs6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.2,6.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 2. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | รูปภาพที่ 1 แสดงลักษณะของเนื้อดินตะกอนแต่ละสิ่งทดลองหลังจากหมักในที่ร่ม 1 เดือน และลักษณะการเจริญเติบโตของคะน้าหลังจากปลูก 45 วัน (T1 = ดินผสมทางการค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด T2 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ขุดลอกจากบึงบอระเพ็ด T3 = ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงสภาพ T4 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 20% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 80% T5 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ30% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 70% T6 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 40% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 60% T7 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 50% และ T8 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 40%) | ||
Key Message* | ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ปรับปรุงคุณภาพโดยมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ สามารถเพิ่มศักยภาพจากที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะปลูกพืช ให้สามารถมีความเหมาะสมต่อการนำไปปลูกพืชได้ โดยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% : ตะกอนดิน 50% และ ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% : ตะกอนดิน 40% ซึ่งทั้ง 2 สูตรนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน และธาตุอาหารให้แก่ตะกอนดิน ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด สามารถนำเอาหลักการและสูตรการปรับปรุงภาพตะกอนดินจากปุ๋ยหมักวัชพืชน้ำในงานวิจัยครั้งนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของตนเองก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนใช้ประโยชน์ หรือ พัฒนาเป็นผลิตดินผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อีกทั้งวิธีการนี้ยังเป็นการช่วยให้ตะกอนดินจากที่เป็นปัญหามลภาวะทางน้ำมีคุณภาพและเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.1, 12.4.1 |
การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
MU-SDGs Case Study* | การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร นางสาวศิริญา มีประดิษฐ | ส่วนงานร่วม | 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย ประกอบกับพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย อีกทั้งนางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer มีความสนใจทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พื้นที่นาของครอบครัวเป็นพื้นที่ศึกษา (lesson learn) ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดำเนินการโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการจะเป็นแปลงต้นแบบตัวอย่างของการทำนาที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการดังกล่าวฯ ยังสอดคล้องกับรายวิชาหมอดิน และรายวิชาวิทยาศาสตร์การผลิตพืช ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ในหัวข้อธาตุอาหารในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน ไปสู่การร่วมเก็บข้อมูลจริงในแปลงทดลองของรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วย (real world situation) และยังก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องอีกด้วย โดยโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ส่วน ดังนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการปลูกข้าว พบว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าปุ๋ยได้ 6% จากเดิม 24% เหลือ 18% และน้ำหนักข้าวเปลือกต่อไร่ที่ความชื่น 14% จากการคำนวณน้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกในการปลูกข้าวแบบนาหว่านพื้นที่ 1 ไร่ พบว่านาที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1400 กก./ไร่ ในขณะที่นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 860 กก./ไร่ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมรวม 26 กก./ไร่ เหลือ 22 กก./ไร่ แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าวและพื้นที่ และเป็นการลดใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถลดการสะสมของปุ๋เคมีในดินและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs12, SDGs4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.a , 4.7 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://r01.ldd.go.th/spb/Document%2059/puisangtat.pdf | ||
https://youtu.be/reiJhsyXxd4?si=n199pLYeCNgol6tX | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย (SDGs12) และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.4.1, 2.5.2, 2.5.3 |
โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”
MU-SDGs Case Study* | โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken” | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | 1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ 2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง 3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ | ส่วนงานร่วม | |
เนื้อหา* | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG2,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3, 2.4, 2.5 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs1,3, 10,12,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | 1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก” 2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ 3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์ 5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ 6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม 7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก 8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | | ||
Key Message* | 1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world. | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 2.3,2.4, 2.5, 3.3.2 4.3 17.2.2 |
การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG
MU-SDGs Case Study* | การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | ส่วนงานร่วม | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเนินขี้เหล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว | |
เนื้อหา* | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนการเสริมศักยภาพชุมชนจำนวน 9 ตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลเขาทอง ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ตำบลเขากะลา ตำบลเนินมะกอก ตำบลสระแก้ว ตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลยางขาว ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และตำบลเก้าเลี้ยว โดยมีการจ้างงานของคนในพื้นที่ประเภทบัณฑิต 46 คน และประชาชน 46 คน รวมทั้งหมด 86 คน เพื่อช่วยขับเคลื่อนในการเสริมศักยภาพชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1) ตำบลเขาทอง เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงวัว จึงประสบปัญหามีปริมาณขยะในชุมชนและมีมูลวัวจำนวนมาก จึงเล็งเห็นแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับมูลวัว และการจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน โครงการจึงเข้ามาอบรมประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ปราชญ์ดินดี อินทรีย์โบกาฉิ” และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของประชาชนในหมู่ 9 ตำบลเขาทอง ให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งมีการทำเป็นโครงการธนาคารขยะ เพื่อรับซื้อขยะภายในกลุ่มสมาชิกและบุคคลภายนอก (ตามข้อตกลงกลุ่ม) มีการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และชุมชนใกล้เคียงอื่น เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ขยะเขาทอง ขายออมเป็นเงิน” โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์ปราชญ์ดินดีอินทรีย์โบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,500 บาทต่อเดือน – การจัดการขยะในชุมชน ด้วยการลดขยะ รับซื้อขยะในชุมชนสามารถเก็บเป็นเงินออม และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ มีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 30 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งหมด 2,740 บาทต่อเดือน และลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 992.25 บาทต่อเดือน 2) ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เป็นตำบลที่มีเกษตรกรที่เลี้ยงแพะและเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมูลแพะและมูลวัวที่ปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จึงเห็นโอกาสการสร้างมูลค่าให้กับมูลแพะและมูลวัว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปแนะนำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมกระบวนการหมักปุ๋ยแบบแห้งและใช้ระยะเวลาสั้น ที่เรียกว่าปุ๋ย “โบกาฉิ” เพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลแพะ ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคม G.E. เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,250 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคมโบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,550 บาทต่อเดือน 3) ตำบลเขากะลา เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวด้วยการปลูกอ้อย โดยในพื้นที่มีไร่ประพันธ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านในตำบลเขากะลามีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดจากการปลูกอ้อยขายสู่การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัยและไวน์อ้อย ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – Rebranding น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัย เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน – ผลิตไวน์อ้อย (Sugarcane Wine) เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,426 บาทต่อเดือน 4) ตำบลเนินมะกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอนซึ่งมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ประชาชนประสบปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง ทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาให้ความรู้กับชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ อบรมความรู้เชิงปฏิบัติการการผลิตปุ๋ยตามความต้องการของชนิดพืช การทำธุรกิจด้วย แผนธุรกิจแคนวาส การตั้งราคาสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ โดยชุมชนมีการเปิดเพจทั้งบนแพล็ตฟอร์ม Facebook และ TIKTOK เพื่อให้กุล่มลูกค้าเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย จากการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการข้างต้น เกิดผลผลิต 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำตราประดู่ทอง และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดตราประดู่ทอง เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ชุมชนตำบลเนินมะกอกมีการเปิดบัญชี เพื่อนำเงินรายได้สะสมเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการและบริหารจัดการโดยคนในชุมชนที่ผ่านการอบรมในโครงการ U2T ต่อไป 5) ตำบลสระแก้ว มีความโดดเด่นในด้านการแปรรูปสมุนไพร ซึ่งวัดสระแก้วและชุมชนได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้กับญาติโยมในการไปใช้ประโยชน์ต่อ ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG C&T OIL สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,800 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ชีวภัณฑ์สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ม้าฮ้อสระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 บาทต่อเดือน 6) ตำบลเนินขี้เหล็ก เป็นชุมชนชนบทที่มีการทำการเกษตรกรรมหลากหลายชนิด เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตที่สูงจนมีรายได้ที่ลดลง ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปสนับสนุนในด้านการลดต้นทุนการผลิตและสร้างอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ได้แก่ ปุ๋ยน้ำ CAN Grow Up และน้ำผึ้งสมุนไพร ได้สร้างเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 3,500 บาทต่อเดือน 7) ตำบลยางขาว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านยางขาว มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ และพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท และคลินิกดิน ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำออลดี-พลัส (AllDee-Plus) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำที่รวมธาตุอาหารเสริมที่ดีสำหรับพืชไว้ทั้งหมด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดออลดี-โกรว์ (AllDee-Grow) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดที่ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตงอกงามขึ้น จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ – คลินิคดิน เป็นการให้บริการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับดินรายแปลง รวดเร็วทันใจรู้ผลใน 30 นาที จำนวน 1 การบริการ ผลิตภัณฑ์น้ำและปุ๋ยเกร็ดที่จำหน่ายได้ในระหว่างโครงการ คิดเป็นยอดเงิน 38,670 บาท หารายได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินในระหว่างโครงการ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท มีเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการประมาณ 150 คน สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดินปุ๋ยให้กับเกษตรกร ทั้งสิ้น 50 คน มีหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุน 5 หน่วยงาน 1 วิสาหกิจชุมชน 8) ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นชุมชนชนบทที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย ทั้งนาข้าวและพืชไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามีหนุนเสริมสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาการปรับเปลี่ยนเป็นปลูกผักปลอดภัยและการจัดการขยะในชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – กิจกรรม “รักษ์ผักปลอดสาร” มีผู้เข้าร่วม 18 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,152 บาทต่อเดือน – กิจกรรม “ขยะ 3 ดี สู่ชุมชน” ได้หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนต้นแบบ และได้อาสาสมัคร จำนวน 40 ครอบครัว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,059 บาทต่อเดือน 9) ตำบลเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำปิง ทำให้เป็นแหล่งปลูกพืชสวนและไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะฝรั่งที่มีเกษตรกรปลูกในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการส่งขายสู่ตลาดในรูปแบบของการขายปลีกและขายส่ง ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการส่งเสริมในการลดต้นทุนด้วยการใช้ปุ๋ยหมักและยกระดับสินค้า โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – กิจกรรม “ฝรั่งเก้าเลี้ยว ก้าวไกล” โดยใช้แบรนด์ “ฝรั่งเก้าคุ้ง ตำบลเก้าเลี้ยว” เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำหมักเลี้ยว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG1 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 1.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2,8,12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.3,8.2,12.2,12.3,12.4,17.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://op.mahidol.ac.th/ga/author-96/ | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 9 ตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้ง 9 ตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ตำบล ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 9 ตำบล ไร่ประพันธ์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | ตำบลเขาทอง
| ||
Key Message* | การจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน, การยกระดับให้เกิดผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์, การออกตลาด | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 1.4.1, 1.4.4 |
ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
4
MU-SDGs Case Study* | ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – |
เนื้อหา* | ที่มาและความสำคัญ โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้างรวมถึงเพื่อเป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคตด้วย ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการบ่มเพาะประสบการณ์มาก่อนมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ในการผลิตอาหารปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่มีคุณภาพที่หลากหลายสามารถลดต้นทุนได้ มีการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านการคิดค้นสูตรที่ให้ผลดีกับการเจริญเติบโตของพืช การทำดินผสมปลูกที่ตอบโจทย์ในการใช้งานเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาดที่ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการทำการตลาดออนไลน์อย่างง่ายมาใช้ในการทำตลาด และยังได้รับการหนุนเสริมที่ดีจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง การยอมรับและการให้ความร่วมมือที่ดีจากชุมชนต่าง ๆ จึงควรเข้าไปมี่ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี ขอบเขตพื้นที่การศึกษา โครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาเครือข่าย 2. เพื่อบริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ 3. เพื่อสร้างความรู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชน หน่วยงาน ปีที่จัดกิจกรรม 2566 ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 ปี ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่ายเกษตรกร, ชุมชน, หน่วยงานภายในจังหวัด รูปแบบดำเนินกิจกรรม 1.ให้คำแนะนำ ปรึกษา การบริหารจัดการโครงการ การวางแผนงาน 2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์ 3.ติดตาม ประเมินผล และวางแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตำรวจพันธุ์ดี จำนวน 10 นาย เครือข่ายเกษตรกร จำนวน 2 เครือข่าย และผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน 30 คน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.เป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ 3.เป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคต | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 1,2,3,4,8,12,15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | SDGs 1,2,3,4,8,12,15 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | ||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | |||
Partners/Stakeholders* | มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี เครือข่ายเกษตรกร อำเภอหนองฉาง | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเองให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มและสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว
MU-SDGs Case Study* |
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
ธนากร จันหมะกสิต และ ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร |
ส่วนงานหลัก* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม |
– |
ส่วนงานร่วม |
– |
เนื้อหา* |
ตามที่รัฐบาล มีแผนงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green Economy : BCG Economy) เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCGEconomy เนื่องจาก อว. มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” นี้ จะเป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจBCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ ตามที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ดำเนิน“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)” จากการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่โครงการ ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2565 โดยมีวงเงินทั้งสิ้น 505,000.-บาท (ห้าแสนห้าพันบาทถ้วน) ตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 25,999 ไร่ ปี 2556 มีประชากร 3,907 คน 1,273 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ และประมง นอกนั้นมีอาชีพรับจ้างค้าขาย จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าจากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีมากกว่าสองล้านตันในแต่ปีถูกนำไปใช้ในการผลิตข้าวมากกว่าพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่าสาเหตุหลักของการใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรจำนวนมากยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่เป็นไปตามความต้องการของข้าว นอกจากต้นทุนการใช้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็นจะเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูงแล้ว ยังพบว่าต้นทุนที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของค่าเมล็ดพันธุ์ โดนส่วนใหญ่พบว่าเกษตรกรไม่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือ การเก็บเมล็ดพันธุ์เองนั้นไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวลดลง ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิตข้าวจึงเป็นเป้าหมายสำคัญยิ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากการทำนา โดยการปรับปรุงและแก้ปัญหาหลัก 2 ประการ คือ เมล็ดพันธุ์ ทั้งคุณภาพและอัตราการใช้ และปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งใช้เกินความจำเป็นและไม่ตรงกับความต้องการของพืช เป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าเมล็ดพันธุ์และค่าปุ๋ยเคมีแล้ว ยังช่วยลดการระบาดของโรคแมลง และเพิ่มผลผลิตต่อไร่อีกด้วย ซึ่งในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานผลจากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในพื้นที่ปลูกข้าว 159,186 ไร่ ทำให้ค่าปุ๋ยลดลงจากไร่ละ 732 บาท เหลือ 534 บาท หรือลดลง 27% และผลผลิตเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 643 กก. เป็น 703 กก. หรือเพิ่มขึ้น 9% จะเห็นได้ว่าการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพโดยการพิจารณาปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับค่าการวิเคราะห์ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะของดิน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตข้าวมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในต้นทุนที่ลดลงต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่จะขับเคลื่อนการลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินผ่านกลไกการจัดตั้งศูนย์การจัดการดินปุ๋ยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดยเกษตรกร ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่เป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนสำหรับแก้ไขจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้เอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิต เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศูนย์การจัดการดินปุ๋ยของชุมชนโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม และพร้อมในการให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการดินปุ๋ยแก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการในการทำงานที่บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 1,2,8,12 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
SDGs 1,2,8,12 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
|||
MU-SDGs Strategy* |
|||
Partners/Stakeholders* |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ วิสาหกิจชุมชนสามัคคีพันธุ์ข้าว และเกษตรกรใน ต.ยางขาว สำนักงานส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|||
Key Message* |
|||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
“รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
MU-SDGs Case Study* | “รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | พินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อติพร อุ่นเป็นนิจย์ | ส่วนงานร่วม | ทีมงานเจ้าหน้าที่โครงการ U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับกลุ่มคนผู้ปลูกผักในครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยผ่านการเชิญชวน แนะนำจากผู้นำชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้านของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และทางองคืการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เข้าไปสำรวจค้นหาต้นทุนเดิมของทางชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบนฐานทรัพยากร BCG และสร้างทีมพัฒนา หาความร่วมมือ จัดกระบวนการและวางแนวทางการพัฒนา บนฐานของการสร้างการมีส่วนร่วม และการยอมรับเกิดความร่วมมือของชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การระดมสมองของทีมงานพัฒนาที่มาจากชุมชนและบัณฑิต สังเกต เข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน ถอดบทเรียนการค้นหาปัญหาและข้อมูล เสนอแนะวางแนวทางการแก้ปัญหาพัฒนา ตลอดจนการวางกระบวนการมีส่วนร่วมร่วมคิด ร่วมทำ และสาธิต ถ่ายทอดให้ความรู้การผลิต การตลาด และพาทำ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒน และมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กันร่วมด้วย โดยผ่านช่องทางไลน์กลุ่ม เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิต ยกระดับการผลิตที่สร้างมูลค่า และสร้างคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภค ภายในชุมชน ตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการที่ผ่านมา ในกระบวนการวางแนวทางการพัฒนา คือการเข้าไปสำรวจข้อมูลของทีมงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บ สอบถาม สังเกต มาช่วยกัน Brainstorm วางแผนการพัฒนา โดยเริ่มจากการเสนอโจทย์ให้กับพื้นที่เป้าหมาย ผ่านผู้นำ หาความร่วมมือ และให้ผู้นำเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มชาวบ้านที่ปลูกผักไว้รับประทานเอง เมื่อผักรับประทานในครอบครัวแล้วมักจะนำมาขายบริเวณหน้าบ้านตนเอง หลังจากนั้นได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการชักชวนเสนอแนะจากผู้นำชุมชน และทีมงาน มาพูดคุยถอดบทเรียนกัน เพื่อค้นหาปัญหา และความต้องการที่แท้จริง และวางแผน จัดกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าที่การมีส่วนร่วม และเกิดความยั่งยืน ทำให้ได้ขั้นตอนการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้านที่ปลูกผักดังกล่าว ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยการให้ความรู้การผลิตผักแบบปลอดสารพิษ ที่ลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทน เช่น บิวเวอเรีย เมตาไรเชียม ไตรโคเดอร์มา มีการอบรมการฝึกขยายเชื้อ แนะนำการนำไปใช้ในแปลงผลิต เพื่อป้องกันกำจัด โรค แมลง ทดแทนการใช้สารเคมีต่าง ๆ หรือในการบำรุง เพิ่มผลผลิต เช่น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำจุลินทรีย์จาวปลวก และการทำปุ๋ยหมักต่างๆ อย่างง่ายเพื่อไว้ใช้เอง มีกระบวนการติดตามตรวจเยี่ยมแปลงของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการให้คำแนะนำปรึกษาผ่าน กลุ่มไลน์ นอกจากการให้ความรู้ในการผลิตที่ดีแล้วเพื่อการยกระดับการผลิตและการสร้างคุณค่า ทางโครงการยังมีการหนุนเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ใบตองมาทำเป็นกระทงใส่พืชผัก จำหน่าย การสนับสนุนการใช้ถุงผ้า การใช้ตอกแทนยางวงในการมัด เป็นต้น ทั้งนี้ทางโครงการได้ร่วมกับทางองการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ได้สร้างช่องทางการจำหน่ายภายในชุมชน โดยมีจุดจำหน่ายประจำบริเวณหน้าที่ทำการองการบริหารส่วนตำบล ทุกวันอาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตที่เข้าร่วมพัฒนากับทางโครงการ มีพื้นที่จำหน่ายประจำ สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับคนในชุมชน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2 ,12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/profile.php?id=100057393372665&paipv=0&eav=Afaj79JHuN-V13oiuO4yFQOJIm1LrcAvhDrHux_Vv0foGRsCDBSwGmFC_C9I5XPuhl4 | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | 1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2565 4.ผู้นำชุมชนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 6.กลุ่มชาวบ้านผู้ปลูกผัก 18 ครัวเรือน ของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ 7.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการใช้โอกาสจากโครงการ U2T เชื่อมโยงต้นทุนเดิมของชุมชนในการผลิตผักในครัวเรือน พัฒนาประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการ สู่การผลิตผักที่มีความปลอดภัย สร้างมูลค่าและคุณค่า กับชุมชน โดยการมีส่วนร่วม พึ่งพาตนเอง เสริมสร่างความเข้มแข็งแบบเครือข่าย และการจัดการที่มุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1 , 2.5.2 ,2.5.3, 2.5.4 |
การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย
MU-SDGs Case Study* |
การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย |
|
ผู้ดำเนินการหลัก นายธนากร จันหมะกสิต |
ส่วนงานหลัก* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม ดร.ณพล อนุตตรังกูร |
ส่วนงานร่วม |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* |
รูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในเชิงอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยคือรูปแบบการเลี้ยงแบบขังกรงตับตลอดช่วงอายุการให้ไข่ของไก่ เนื่องจากการเลี้ยงรูปแบบนี้ง่ายต่อการจัดการตัวไก่ ทั้งในเรื่องของการให้อาหาร การเก็บผลผลิต การดูแลสุขภาพ และมีต้นทุนการเลี้ยงที่ต่ำจากการใช้พื้นที่ต่อตัวในการเลี้ยงที่น้อย ทำให้สามารถเลี้ยงไก่ไข่ในครั้งหนึ่งๆได้เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงยังคงมีข้อจำกัดบางประการ Duncan (1992) การเลี้ยงไก่ไว้ในกรงตับส่งผลกระทบต่อหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) มากที่สุด มีผลให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติลดลง เกิดความผิดปกติของกระดูกเท้า และเท้าไก่ยังมีสุขลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคที่เท้าของไก่ตามมา (Tuason et al., 1999) ซึ่ง Englmaierova et al. (2014) รายงานว่า ระบบการเลี้ยงแบบขังกรงได้ถูกยกเลิกในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2012 แต่ยังอนุญาตให้เลี้ยงไก่ในกรงที่มีการเสริมอุปกรณ์และเพิ่มการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกที่ถูกพัฒนาให้มีการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต การเลี้ยงไก่ไข่แบบทางเลือกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป และในด้านวิชาการก็ยังคงมีการศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ทางเลือกเหล่านี้เรื่อยมา Anderson (2011) รายงานว่าการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยพื้นส่งผลให้ไข่ไก่มีปริมาณ เบต้าแคโรทีน (β-carotene) และไขมันรวมที่สูงกว่า และมีดัชนีรูปร่างไข่ที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในกรงตับเช่นเดียวกับสีไข่แดงที่มีความเข้มกว่าไข่แดงที่ได้จากไก่ที่เลี้ยงในกรงตับ (Vandenbrand et al., 2004) จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมางานวิจัยที่ศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบทางเลือกส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในต่างประเทศซึ่งบริบทในด้านต่างๆ ก็แตกต่างจากในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่วนในประเทศไทยยังมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่น้อย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงต้องการเปรียบเทียบระบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และปล่อยพื้นแบบมีพื้นที่ปล่อยออกสู่ภายนอกโรงเรือน (ปล่อยอิสระ) เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบทางเลือกในท้องตลาดยังมีราคาที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในรูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าให้กับไข่ไก่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อีกทางหนึ่ง |
|
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
2.1, 2.2, 2.3,2.4,2.a |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
12.8,12.a |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://youtu.be/kx9z-K-CX1U |
|
https://youtu.be/CsJurfC9xoY | ||
https://youtu.be/TQvKDV-350g | ||
https://youtu.be/njuF3mKLitU | ||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
|
Partners/Stakeholders* |
ประชาชนที่สนใจ |
|
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
||
Key Message* |
การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม และยึดหลักจริยธรรม |
|
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
2.5.1 |