MU-SDGs Case Study* | โครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ | ส่วนงานร่วม | 1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ 3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ 4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน |
เนื้อหา* | ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต กลายเป็นอีกปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น (WHO, 2020) สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1.5 ล้านคน และสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคจิตอื่น ๆ ตามลำดับ (กรมสุขภาพจิต, 2564) นอกจากนี้ข้อมูลสำนักงานสถิตแห่งชาติ ปี 2563 ที่ทำการสำรวจสุขภาพจิตคนในประเทศไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มเยาวชน (15-24 ปี) มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตต่ำสุด ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี เพศหญิงมีระดับสมรรถภาพของจิตใจน้อยกว่าเพศชาย ร้อยละ 62.2 จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชส่งผลถึงความบกพร่องในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคคล การตัดสินใจ ศักยภาพการ ดูแลตนเองลดลง การประกอบอาชีพ และปัญหาเรื่องความเสื่อมลงของร่างกายและจิตใจ ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง แยกตัวจากสังคมมากขึ้น รวมทั้งอาจส่งผลต่อการปรับตัวในชีวิตประจำวันร่วมด้วย (Sadock & Sadock, 2017) จากรายงานสถิติฆ่าตัวตายของกระทรวงมหาดไทยปี 2560 พบว่า ในจังหวัดนครสวรรค์ มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.67 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่แหล่งชุมชนเมือง และชุมชนกึ่งเมือง ซึ่งชุมชนวัดไทรย์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น และเป็นชุมชนกึ่งเมือง จาก สถานการณ์ปัญหาทางด้านสุขภาพในชุมชน พบว่า ประชาชนมีปัญหาด้านความเครียด ความวิตกกังวลแลซึมเศร้า ในทุกกลุ่มวัย จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย จากการสัมภาษณ์ตัวแทนสาธารณสุขประจำตำบล พบว่า ในช่วง ปี พ.ศ. 2564 ถึง 2565 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 3 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหรือปัจจัย เช่น ปัญหาทางด้านครอบครัว สุขภาพ เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ทำให้ส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมตามมา ดังนั้นหากมีการส่งเสริมสุขภาพจิตในทุกกลุ่มวัยจะช่วยลดปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแผนที่จะจัดโครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ โรงเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์ ทั้งนี้การที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.1, 3.2, 3.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2 ,12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.1.1, 3.3.2 |
Category: Goal 3 : Good health and well being
Goal 3 : Good health and well being
ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
4
MU-SDGs Case Study* | ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – |
เนื้อหา* | ที่มาและความสำคัญ โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้างรวมถึงเพื่อเป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคตด้วย ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการบ่มเพาะประสบการณ์มาก่อนมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ในการผลิตอาหารปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่มีคุณภาพที่หลากหลายสามารถลดต้นทุนได้ มีการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านการคิดค้นสูตรที่ให้ผลดีกับการเจริญเติบโตของพืช การทำดินผสมปลูกที่ตอบโจทย์ในการใช้งานเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาดที่ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการทำการตลาดออนไลน์อย่างง่ายมาใช้ในการทำตลาด และยังได้รับการหนุนเสริมที่ดีจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง การยอมรับและการให้ความร่วมมือที่ดีจากชุมชนต่าง ๆ จึงควรเข้าไปมี่ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี ขอบเขตพื้นที่การศึกษา โครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาเครือข่าย 2. เพื่อบริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ 3. เพื่อสร้างความรู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชน หน่วยงาน ปีที่จัดกิจกรรม 2566 ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 ปี ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่ายเกษตรกร, ชุมชน, หน่วยงานภายในจังหวัด รูปแบบดำเนินกิจกรรม 1.ให้คำแนะนำ ปรึกษา การบริหารจัดการโครงการ การวางแผนงาน 2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์ 3.ติดตาม ประเมินผล และวางแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตำรวจพันธุ์ดี จำนวน 10 นาย เครือข่ายเกษตรกร จำนวน 2 เครือข่าย และผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน 30 คน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.เป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ 3.เป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคต | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 1,2,3,4,8,12,15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | SDGs 1,2,3,4,8,12,15 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | ||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | |||
Partners/Stakeholders* | มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี เครือข่ายเกษตรกร อำเภอหนองฉาง | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเองให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มและสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN
MU-SDGs Case Study* | ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||||
เนื้อหา* | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. โดยประเมินผลกับผู้ป่วยจำนวน 276 คน กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 และทำการประเมินผลในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ข้อมูลสะท้อนว่ากระเป๋ากระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลามากขึ้นร้อยละ 86.2 ผู้ป่วยส่งคืนยาด้วยกระเป๋าคืนยาช่วยชาติมากถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยพอใจกระเป๋าในระดับสูง ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน มีช่องใส่ป้ายชื่อ วัสดุแข็งแรงทนทาน ชอบรูปร่างหน้าตาและสีสันของกระเป๋า ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้ วิธีการดำเนินการ 1) ผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายพร้อมชี้แจงแนวทางการใช้กระเป๋าให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 2) โครงการจัดทำบทวิทยุเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่เหมาะสมตามเป้าหมายของโครงการ ส่งต่อสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง ขอความอนุเคราะห์ให้เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋า โดยสถานีวิทยุจะเปิดทุกวัน ในทุกต้นชั่วโมงก่อนเข้ารายการปกติ รวมจำนวน 7 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี 3) ทำการประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 276 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามบัญชีรายชื่อผู้รับกระเป๋า และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีพนักงานเก็บข้อมูลลงเก็บข้อมูลตามบ้านและทำหน้าที่สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย ผลกระทบ – ยาที่นำกลับมาคืน จะถูกบริหารจัดการนำกลับไปใช้ใหม่ตามความเหมาะสม ในส่วนของยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุจะถูกส่งต่อไปทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง – ยาเหลือตกค้างในครัวเรือนลดลง ลดโอกาสที่ยาจะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม – เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลา จะทำให้อาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่เพิ่มความรุนแรงขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายของประเทศเกี่ยวกับยาได้ – ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่ได้ | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3 (3.3.1,3.3.2) , 3.7, 3.d | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/ยาเหลอใช?authuser=0 | ||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||
Partners/Stakeholders* | – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สนับสนุนทุนในการจัดทำกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | “กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ นวัตกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ตรงเวลา และนำยากลับมาคืน รพ.สต.” | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)”
MU-SDGs Case Study* |
ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” |
||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร |
ส่วนงานหลัก* |
ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ |
||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
ศศิธร มารัตน์ |
ส่วนงานร่วม |
ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ |
||||
เนื้อหา* |
งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย ปีที่จัด 2566 ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เดือนกันยายน 2565 – สิงหาคม 2566 ระดับความร่วมมือ ระดับชุมชน ระดับตำบล รูปแบบการดำเนินกิจกรรม เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและ หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ประชาชนที่ฟังรายการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz |
||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.3, 3.4, 3.d |
||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 17 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
17.4.3 |
||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031585491328/ |
||||||
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031508824669 | |||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||
Partners/Stakeholders* |
สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM94.25 MH.z |
||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||
Key Message* |
การจัดรายวิทยุเสียงสร้างสุข (ภาพ) ทำให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแสดงความคิดถึงและความห่วงใยกันผ่านเสียงเพลง โดยการขอเพลงให้กันทั้งคนในชุมชนและต่างชุมชนกัน การได้ออกกำลังกายขณะอยู่ที่บ้านและได้รับความรู้ด้านผู้สูงอายุซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่มีความเข้าใจในความเป็นผู้สูงอายุ |
||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.2 |
เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์
MU-SDGs Case Study* | เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์ | ||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์ น.ส.ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร นายทวีศักดิ์ ปฐม | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||
เนื้อหา* | สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่19 (Covid- 19) ประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากรัฐบาลมีนโยบายให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา โดยให้ทุกชุมชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่จะต้องจัดตั้งศูนย์พักคอย งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เห็นความสำคัญและห่วงใยต่อสภาพจิตใจและการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่ศูนย์พักคอยตำบลเขาทองและเพื่อยึดมั่นต่อพันธกิจของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือชุมชนจึงจัดทำโครงการขึ้น โครงการเป็นการร่วมมือโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทองซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)รวม 21 คน การจัดกระบวนการเป็นการให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัดเน้นการออกกำลังกายและการฝึกบริหารปอดให้ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ปฏิบัติตัวทุกๆวันตลอดระยะเวลาที่กักตัว 14 วัน การให้ความรู้ด้านการพยาบาลให้สังเกตุอาการและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง นอกจากดูแลกายแล้ว การดูแลสถาพจิตใจก็มีความจำเป็น จากการพูดคุยผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยมีภาวะความเรียดทั้งเรื่องงานและรู้สึกผิดต่อผู้ที่ได้ใกล้ชิดและสัมผัส จึงออกแบบกระบวนการตามหลักของจิตตปัญญา ออกแบบกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและสะท้อนคิด จากการให้ความรู้และการปฏิบัติตัว ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยเดินออกกำลังกายทุกเช้า ฝึกบริหารปอดและเฝ้าสังเกตุอาการผิดปกติของตนเองได้ถูกต้อง ในการจัดกระบวนการผ่านการถ่ายภาพอย่างมีสติและการวาดภาพเพื่อฝึกสมาธิและการสะท้อนคิด ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ระบายความรู้สึก และเข้าใจในสถานการณ์ของการระบาดทำให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่กล่าวโทษตนเองที่เป็นต้นเหตุนอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในศูนย์พักคอยได้มีโอกาสอยู่กับตนเองและได้วางแผนการจัดการชีวิตของตนเองหลังออกจากศูนย์พักคอย | ||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3, 3.4, 3.d | ||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
| ||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทอง | ||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||
Key Message* | การจัดกระบวนการเพื่อเยียวยาจิตใจและช่วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่มาพักค้างที่ศูนย์พักคอยให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายความวิตกกังวลและให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะพักค้างที่ศูนย์พักคอย | ||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2 |
ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง
MU-SDGs Case Study* | ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | พินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | แอปพลิเคชันตำบลเขาทอง เป็นการนำทุนสังคมเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อน ส่งต่อ และนำไปใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับชุมชน คณะกรรมการ ผู้นำชุมชน อสม. ภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2564 ในพื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ การสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับของชุมชน ตั้งแต่การเข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลในชุมชนจากครัวเรือน การค้นหาปัญหา การบอกเล่าปัญหาของชุมชน ตลอดจนการร่วมคิด ร่วมทำ และการให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา จากการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้มีการสร้างกลุ่มห้องแชท ผ่าน Line OpenChat และ LINE Official Account เพื่อการติดต่อสื่อสาร จนนำไปสู่การทำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง คือใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน บนพื้นฐานการปรับวิถีใหม่ของชุมชนบนสถานการณ์ new normal เพื่อเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม เท่าทัน ของคนในชุมชนทุกระดับ ตัวอย่างจากการนำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง มาใช้ประโยชน์ในการจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อแก้ปัญหาในการเข้าถึงการบริการที่ล่าช้า และมีผู้เข้าใช้บริการในระบบสาธารณสุขจำนวนมาก ส่งผลให้สามารถลดระยะเวลาการรอคอยรับบริการ และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมารอคอยรับบริการ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทองได้ ซึ่งโดยเฉพาะในส่วนของด้านทันตกรรม ที่ต้องมีการให้บริการเคลือบฟันฟลูออไรด์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ในชุมชนตำบลเขาทอง และตำบลใกล้เคียง มักพบปัญหาการนัดหมายการเข้าใช้บริการที่ไม่แน่นอน ยากต่อการคาดเดา เมื่อมีการนำแอปพลิเคชันไปใช้ในการจองคิวและนัดหมาย ผู้ให้บริการสามารถทำงานง่ายขึ้น และได้ตามเป้าหมายงานที่วางแผนงานไว้ ในส่วนของผู้ปกครองที่ใช้บริการก็สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในบางรายยังพบว่า ในกรณีที่ผู้ปกครองเด็กซึ่งทำงานอยู่นอกพื้นที่ ในต่างจังหวัด ยิ่งได้รับความสะดวกสบายในการนัดหมายจองคิวให้บุตรตนเอง และอาศัยให้ ปู่ย่า ตายาย ที่เลี้ยงดูเด็ก พามารับบริการตามนัดหมายได้เลย | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3, 3.4, 3.7, 3.8, 3.d | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 4.7 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=722922012048655&id=358573098483550 | ||||||
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fliff.line.me%2F1645278921-kWRPP32q%2F%3FaccountId%3Dkhaotong%26fbclid%3DIwAR3WAXBJS4pIeBoLpA-NDC79AAvAZxpyTGyka4M9qiC_-RVgwCtOcq2fBUI&h=AT0eKEMviOyUOcC6tgKMgtSJDrolyYcmamtM-Y4F7a1SpoA9z2nqToGB5rfgjU4tqgCtU4M57-pYG-eQ-6IhxZ9cUovEckkcbHNgk_v9aJGJY6w3HnPx4NGfkIS5ZQeQ5_v6&__tn__=R]-R&c[0]=AT3SzJDGID2x35QSMidgr1IGJoYl9-WThXZVlnqCyTAdEC6c8PFoSifIUwLuEjouZla4Iq1H0qJyvOCy89kZWYqnSBiCcLA5OVP6xhDyrq8K0lSGufM1S7oi9UgUE_XjJ5PKtwf3v-walwry-nxYmN8UEQoB-5EZoRFb1TyDDdbB16puXl3kpUuxpuo726Fy1Y3rQyB5U37WISltlSLZZBs0rxwKOjBi7A | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||
Partners/Stakeholders* | 1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2564 3.พระครูนิภาธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดเขาทอง เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 4.ผู้นำชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 6.นายอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 7.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 8.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | ทันตกรรมทันใจด้วยแอปพลิเคชันเขาทอง เป็นการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในตำบลเขาทอง เพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันสู่การจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1 |
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province)
MU-SDGs Case Study* | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province) | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
เนื้อหา* | แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต หลายคนเมื่อรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเองก็เลือกที่จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก จึงเกิดความต้องการดูแลประคับประคองที่บ้าน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญร่วมกับเครือข่ายสุขภาพที่อยู่ในชุมชนและคนในครอบครัว เพื่อร่วมจัดกิจกรรมช่วยให้เผชิญความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีจวบจนถึงวาระสุดท้าย และเสียชีวิตอย่างสงบ อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ดูแล 12 หมู่บ้าน ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของ รพ.สต.บ้านเขาทอง พ.ศ. 2564 พบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่จริงจำนวน 5,352 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 1,639 คน คิดเป็นร้อยละ 30.62 ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี จำนวน 326 คนคิดเป็น 19.89 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 1,614 ราย ซึ่งป่วยด้วยโรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคจิตเวช โรคไตวายเรื้อรัง และโรคมะเร็ง ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้สูงอายุระยะบั้นปลายของชีวิตจำนวน 24 คน เป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังเข้าถึงบริการได้ไม่ครอบคลุม ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภาระงานและจำนวนของบุคลกรในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีจำกัด ระบบการส่งต่อผู้ป่วยและการเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการระหว่างหน่วยงานบริการด้านสุขภาพมีความล่าช้า อีกทั้งเจ้าหน้าที่และเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชนขาดความมั่นใจในการดูแลด้านจิตใจ ผู้ดำเนินการจึงใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยนำผลการทำวิจัยและพัฒนารูปแบบแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ประยุกต์ใช้ร่วมกับการภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของชุมชนตำบลเขาทอง จัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบททางสังคมของชุมชน โดยประยุกต์กิจกรรมร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. การดำเนินกิจกรรม 1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง พยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่ชุมชน 3.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยแต่ละราย รายละเอียดการเจ็บป่วย เพื่อวางแผนการให้บริการ 4.ประสานงานชี้แจงรูปแบบกิจกรรมการดูแล แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสหวิชาชีพด้านสุขภาพ แกนนำชุมชม อสม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้บริการ และกำหนดนัดหมาย 5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแผนการดูแลสำหรับการให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย 6.ให้บริการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ตามลักษณะและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยและครอบครัว 7.กำหนดนัดหมายการดูแลต่อเนื่องตามลักษณะความต้องการของผู้ป่วย 8.สรุปผลการให้การดูแล รายงานผลการดูแลผู้ป่วยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้การดูแล เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 18 ราย จำแนกเป็น เพศชาย 10 ราย เพศหญิง 8 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 4 ราย ผู้สูงอายุระยะบั้นปลายและป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 9 ราย เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 5 ราย ผู้ที่ได้รับการดูแล มี คะแนน PPS อยู่ระหว่าง 10 – 80 คะแนน เฉลี่ยคือ 41 คะแนน อัตราการเข้าถึงบริการร้อยละ 75 ประชาชนในชุมชน ญาติ และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับซึ่งประเมินได้จากท่าทีและคำพูดที่แสดงความขอบคุณให้กับทีมผู้รับดำเนินกิจกรรม | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.7 3(c) | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/257441?fbclid=IwAR0k-4W9FFtt10lbdIzQ25ic3olEtki6MfjygMjcgZ6eEcDXSVYM5u2cN3g | ||||||||
https://www.facebook.com/257376708255620/posts/pfbid02uhMm3RAQAV9cvEWUoqQQwh33AbLdC8GyHQ4hdYV8ifh6XKjvwxLtGQB6t8ApdMDAl/ | |||||||||
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0kvfBQcWMFT1yvePcDGAQ6S53fyEGZVanHSyEuBpAP13L3dPfd5ESdxAvDyprDxH7l&id=100001448635895 | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนเขาทอง เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิพยุหะคีรี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขาทอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขาทอง | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเสมอภาค การดูแลประคับประคองที่บ้านถือเป็นบริการด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มของความต้องการมากขึ้น การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจะนำมาซึ่งการจัดบริการอย่างครอบคลุมและเกิดความยั่งยืนในชุมชน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1 3.3.2 |
โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)
MU-SDGs Case Study* | โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ขยายการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) เพิ่มเติม เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น (https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1344113766077148/?d=n) ทางผู้บริหารสถานศึกษานั้นมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศเพิ่มเติมไปยังอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ บริเวณชั้น 1 จำนวน 2 ห้อง และ บริเวณชั้น 2 จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 ห้อง ซึ่งห้องน้ำทั้ง 4 ห้องนี้ ถือเป็นห้องนำเสนอภาคที่ไม่กีดกัน และเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรือ มีความบกพร่องทางร่างกายหรือไม่ ก็สามารถใช้ห้องน้ำแห่งนี้ได้อย่างเสมอภาค ทั้งนี้ ทางโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตต่อไปในอนาคต | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0HYVSR3Uoh8ej68oLTu5bjmxQaYFPyFQ9sK1K8L3LMM7L5obDsT6sgnBAovw6YLfel/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6, 10.6.7, 10.6.9 |
โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
MU-SDGs Case Study* | โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร.ศศิมา วรหาญ | ส่วนงานหลัก* | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง | ||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||
เนื้อหา* | 1. บทนำ 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารด้านสารเคมีและจุลินทรีย์บ่งชี้ความสกปรกของอาหารและน้ำปนเปื้อน ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ใน ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3. เพื่อฝึกนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ให้มีทักษะการตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร และการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ให้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีและจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร และรู้หลักการจัดการด้านอาหารปลอดภัย 3. วิธีการดำเนินการ 1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อจัดทำโครงการ ร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่อเนื่องทุกปี โดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย ทราบกิจกรรมของโครงการ 3. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร น้ำและน้ำแข็ง ด้านเคมี ได้แก่ สารบอแรกซ์, กรดซาลิไซลิก, โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ฟอร์มาลิน สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และสารกำจัดแมลงตกค้าง และตรวจจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร ได้แก่ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยใช้ชุดตรวจอย่างง่าย 4. จัดทำรายงานผลตรวจสิ่งปนเปื้อนด้านเคมีและจุลินทรีย์ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง และคืนข้อมูลแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย โดยนักศึกษาจะจัดทำโปสเตอร์ให้ความรู้ผลกระทบด้านสุขภาพและแนะนำวิธีการจัดการอาหารเพื่อลดอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย 5. รับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการระหว่างลงพื้นที่ และสรุปผลการดำเนินงาน 4. ผลผลิตและผลลัพธ์ 1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชนได้เฝ้าระวังและทราบ สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนต่อเนื่องกันทุกปี 2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอยในชุมชนเขาทองทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตน จำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และได้รับความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุดิบอาหาร 3. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ได้ฝึกทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนและทักษะการเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนทางเคมีและด้านจุลินทรีย์ (โคลิฟอร์ม) รวมถึงการแจ้งผลตรวจและให้ความรู้ผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งที่ตรวจพบ และให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น 5. ผลกระทบ การร่วมมือระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชน ในการลงพื้นที่ตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหารและน้ำตามร้านอาหารและแผงลอย ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี 5 เดือน ทำให้ทราบสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนเขาทองเพื่อการเฝ้าระวังให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนได้ทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตนจำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปลูกจิตสำนึกด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ เมื่อผู้ประกอบการรับรู้ถึงประโยชน์ของโครงการ ในปีถัดไปจึงยินดีให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอาหาร อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้บริโภคทั้งที่อาศัยในชุมชนและผู้มาเยือนมีความมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัยในการใช้บริการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนเขาทองมากขึ้น ลดโอกาสการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากอาหารและน้ำได้ ทำให้ระบบความปลอดภัยด้านอาหารเกิดขึ้นในชุมชน เป็นการสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง | ||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.1, 3.3.1, 3.3.2 | ||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดินให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี 2573 | ||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | ผู้จัดการออนไลน์ 20-5-65 https://mgronline.com/science/detail/9650000048094 | ||||||||||||
LINE TODAY 19-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/KwWZ63r?utm_source=copyshare | |||||||||||||
LINE TODAY 20-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/YaEl8pa?utm_source=copyshare | |||||||||||||
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 17-5-65 | |||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง 4. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||
Key Message* | “ความเข้มแข็งด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่ยั่งยืน เกิดจากพื้นฐานความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน ที่เกิดจากความร่วมมือของผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยในพื้นที่” | ||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.1, 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
MU-SDGs Case Study* | โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ | ส่วนงานร่วม | 1.องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ | ||||||||||
เนื้อหา* | สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีความรุนแรง และเกิดสายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ร่วมกับโอกาสในการติดเชื้อจากญาติหรือผู้ดูแลที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายในร่างกาย มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง อวัยวะภายในร่างกายอาจถูกทำลาย และทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน รวมถึงสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกต้อง อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ การรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และการขาดความตระหนักในการปฏิบัติ พฤติกรรรมการปฏิบัติตัวที่บ้าน ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ การส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุและสตรีตั้งครรภ์ ได้นั้นต้องพัฒนาทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ทักษะความรู้ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ 3) ทักษะการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการสุขภาพ และสามารถนำข้อมูลไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นยอมรับและเข้าใจ 4) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพก่อนตัดสินใจเชื่อหรือปฏิบัติตาม 5) ทักษะการตัดสินใจในการเลือกข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และ 6) ทักษะการจัดการตนเองโดยสามารถนำข้อมูลสุขภาพที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติในการดูแลตนเอง ที่จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับปฏิสัมพันธ์ และ 3) ระดับวิจารณญาณ โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ชุมชน และผู้สูงอายุ การให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และอสม. และการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และอสม.ในการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูล มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ กิจกรรมการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ โดยการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กิจกรรมพัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพโดยสอนการเลือกสื่อ แหล่งความรู้จากหลายช่องทาง รวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต สอนสาธิตการใช้แอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ให้ลงมือปฏิบัติโดยมีพี่เลี้ยง การใช้เกมส์บัตรคำ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว กิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการสื่อสารโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เทคนิค 1 คำถามในการจัดการตนเอง พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสื่อจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการตัดสินใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลือกใช้สื่อ กิจกรรมพัฒนาทักษะทางปัญญาและสังคมที่สูงขึ้น การสนทนาเพื่อการสะท้อนคิด (Reflecting conversation) การสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันฯ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลที่ได้รับคือ ทั้งผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์มีความรู้ และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่ สูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินโครงการ และมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ระดับมากที่สุด จากการติดตามผลหลังการทำกิจกรรม พบว่า สามารถนำกิจกรรมที่ทำไปใช้ได้จริงถ้าอายุไม่มากกว่า 70 ปี มีการกระตุ้นความรู้และการใช้โทรศัพท์ในการค้นหาข้อมูลโดยชมรมผู้สูงอายุ และอสม. | ||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3, 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.1, 3.2, 3.3 17.4.3 | ||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.moph.go.th/ | ||||||||||||
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mor.promplus&hl=th&gl=US | |||||||||||||
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ktb.thaichana.prod&hl=th&gl=US | |||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||
Key Message* | ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และสายพันธุ์ใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี | ||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.1.7, 3.3.1 |