พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

MU-SDGs Case Study*

พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย    ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

           โรงพยาบาลมโนรมย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีเครื่อข่ายปฐมภูมิ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร) แต่ละพื้นที่มีจัดบริการกองทุน Long Term Care ซึ่งเป็นการดูแล ส่งต่อ ตั้งแต่โรงพยาบาลสู่บ้านมีการส่งข้อมูลสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลแบบประคับประคองร่วมกันทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านแต่ด้วยจำนวนพยาบาลที่จำนวนจำกัดในการดูแลที่ซึ่งต้องทำ family meeting และAdvance care plan ที่บ้านจึงทำให้เกิดการดูแลไม่ทั่วถึง เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการตายดีและการดูแลแบบประคับประคองให้เป็นระบบ การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการการดูแล จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองของทีมสุขภาพ ในเขตพื้นที่เครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรให้แก่บุคลากรทีมสุขภาพในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ ประกอบด้วยการอบรมทักษะกระบวนกรเบื้องต้น ได้แก่ ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death ได้แก่ เกมส์ไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน การ์ดแชร์กัน แคร์คลับและสมุดเบาใจ ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ (Health Communication Assessment Tool : HCAT) ก่อนและหลังการอบรม 

            ผลการประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ พบว่า จากผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 37 คน เป็นชาย 3 คน  หญิง 34 คน อายุเฉลี่ย 55 ปี มีคะแนนทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์หลังอบรมมีค่าเฉลี่ย 98.38 (SD= 13.68) สูงกว่าก่อนอบรมมีค่าเฉลี่ย 83.83 (SD= 8.28) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p<.001)  การเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ ผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง เห็นได้จากผู้เข้าร่วมอบรมสะท้อนว่า“ได้ไปจัดเก็บข้าวของ..(สมบัติ)ให้เป็นหมวดหมู่…เป็นระเบียบ…และหาง่าย” “ได้บอกกับแม่ว่า..ถ้าตายให้สวดหนึ่งคืน…เผาเลย” และสามารถพูดคุยสื่อสารเรื่องความตายกับคนในครอบครัวและสื่อสารพูดคุยกับป่วยและญาติได้ 

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.c

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.4
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://discord.com/channels/1204631979358822400/1220262637083037747

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

เครื่อข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร)

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“ทักษะการสื่อสารของทีมสุขภาพเป็นหัวใจการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ การอบรมนี้จึงป็นการเตรียมบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยตามแนวนโยบายชีวาภิบาล”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.c, 4.4

Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

MU-SDGs Case Study*

Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานร่วม

หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ  โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning) 

2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

3. เพื่อสร้างการมีจิตอาสาผ่านกิจกรมสาธารณะ

 

บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน

เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

วันที่ 12 พ.ค. 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

 

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ 2 หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลยางขาว จัดให้บริการตรวจดินแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลดินของตำบล และการต่อยอดสู่การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการปุ๋ยเพื่อชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนายธนากร จันหะมกสิต (นักวิชาการเกษตร) สังกัดศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตร SMART Farmer ชั้นปีที่ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการฝึกตรวจดินภาคสนามและให้บริการกับชุมชนในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมส่งตรวจอย่างดินเพื่อวิเคราะห์จำนวน 50 ราย 

นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกทักษะ (Upskill) ให้กับน้องๆเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้วิธีการเก็บตัวอย่างดิน, การวิเคราะห์ดิน และการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอีกด้วย 

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.4,2.5

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs4,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.7,12.a,17.7
Links ข้อมูลเพิ่มเติม *  

https://www.facebook.com/share/p/17k8tJnd9H/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
4. หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

17.4.3, 2.4.1, 2.5.2

SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.ศศิมา วรหาญ

ผศ.ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

อ.ดร.สมสุข พวงดี

อ.ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล

อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง

นายอภินันท์ ปลอดแก้ว

นายฌานเทพฤทธิ์ วงศ์วิลาส

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT)

ส่วนงานร่วม

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT)

เนื้อหา*

    โครงการ SMART Farmer Fair เป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นโดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (ชื่อใหม่: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนทำการเกษตรเพื่อสุขภาพและการประกอบการ ในยุคที่เกษตรกรรมของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้จึงมีเป้าหมายในการเตรียมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้พร้อมกับความท้าทายเหล่านี้ หลักสูตร SMART Farmer จึงมุ่งเน้นการสร้างนักศึกษาให้เป็นมากกว่าเกษตรกรทั่วไป แต่ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจ นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรจะมีทักษะที่สามารถนำไปพัฒนาธุรกิจเกษตรของตนเองได้ รวมถึงสามารถเป็นผู้นำในชุมชนในการนำเอานวัตกรรมมาปรับใช้กับภาคการเกษตรในรูปแบบที่ยั่งยืน
    โครงการ SMART Farmer Fair มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรจากไอเดียสร้างสรรค์ของนักศึกษา นำเสนอโครงการต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เกษตรเพื่อการสร้างรายได้ เทคโนโลยีด้านการเกษตร ตลอดจนการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการสร้างบัณฑิตของหลักสูตรทางการศึกษาของวิทยาเขตนครสวรรค์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ด้านการประกอบการ เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนไปประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานด้านการเกษตรในพื้นที่
     งาน SMART Farmer Fair จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2023 ณ ห้างสรรพสินค้าวี-สแควร์ พลาซ่า จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ในปี 2024 จัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาคการเกษตรทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนท้องถิ่น ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากภาคการเกษตร และการนำเสนอผลงานของนักศึกษา ทั้งนี้ งาน SMART Farmer Fair 2024 ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น การแข่งขันจัดสวนถาด การแข่งขันส้มตำลีลา การสาธิตการประยุกต์ใช้ IoT กับการเลี้ยงไก่ในป่าสัก รวมไปถึงบูธจัดแสดงผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเกษตรและอาหารของนักศึกษาและหน่วยงานด้านการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชน

     การดำเนินงานของโครงการ SMART Farmer Fair เป็นตัวอย่างของการนำแนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาใช้ในภาคการเกษตร โดยสรุปได้ดังนี้ 

SDG 2: ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger)

โครงการมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบผสมผสานที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ และลดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหารในระยะยาว

SDG 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being)

การส่งเสริมการเกษตรที่ปลอดภัยและการผลิตอาหารที่มีคุณภาพช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีอาหารที่ปลอดภัย ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education)

โครงการ SMART Farmer Fair เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ให้นักศึกษาและเกษตรกรได้ฝึกปฏิบัติจริงในสาขาเกษตร ส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

SDG 8: การเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำงานที่มีคุณค่า (Decent Work and Economic Growth)

โครงการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด สร้างงานและรายได้ในชุมชนท้องถิ่น

SDG 12: การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)

การเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การแปรรูปผลิตผลเพื่อเพิ่มมูลค่า และการคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืนและลดของเสียในกระบวนการผลิต 
      การเชื่อมโยงกับ SDGs เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความครอบคลุมของโครงการในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตรและสังคมโดยรวม

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2,3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4
3.9
4.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs8,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

8.2, 8.3
12.3, 12.4
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

มหิดลนครสวรรค์ จัดมหกรรม SMART Farmer Fair 2023
https://na.mahidol.ac.th/th/en/2023/12305

SMART FARMER FAIR 2024 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์
https://int.mahidol.ac.th/2024/05/27/dd-at-smart-farmer-fair-2024/

Facebook Page: smartfarmer.muna
https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/about/
ข้อมูลเกี่ยวกับงาน #SMART Farmer Fair

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. คูโบต้า ฮั้วเฮงหลี ที่นำโดรน และนวัตกรรมเกษตรมาโชว์ในงาน
2. บ.เบทาโกรอุตสหกรรมเกษตร นครสวรรค์
3. ฟาร์มฝันปันสุข ออแกนิคฟาร์ม
4. รร.สตรีนครสวรรค์ และน้องๆวง Soft Sweet
5. รร.เซนโยเซฟ นครสวรรค์
6. ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์
7. สถาบันพยาบาลศาสตร์ มหิดลนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.3, 2.4
3.9
4.4

การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายธนากร จันหมะกสิต
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นางสาวศิริญา มีประดิษฐ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning)
2. เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนการวางแผนจัดงานตรวจดินและการแบ่งหน้าที่
3. เพื่อฝึกทักษะการสื่อสารผ่านกระบวนการแปลผลวิเคราะห์ดินให้แก่เกษตร
4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าหมายที่ 4 ในการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อเป็นการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าวรายวิชาหมอดิน ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ โดยให้นักศึกษาเก็บตัวอย่างดินภายในวิทยาเขตนครสวรรค์ มาเพื่อทำการทดสอบทางเคมีในห้องปฏิบัติการ แต่ในช่วงที่ผ่านมาต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ภายในห้องเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนไป โดยรายวิชาได้จัดทำการเรียนออนไลน์ โดยใช้ระบบ Mux ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามพบว่าการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคิดและทักษะในการลงมือปฏิบัติ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆของผู้เรียนได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อื่นๆเช่น ทักษะทางการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ จึงได้นำข้อเสนอแนะของผู้เรียนมาใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ในการตรวจดิน รวมไปถึงทักษะในการปฏิบัติการภาคสนาม ที่จะเกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลที่ได้จากชุมชน ประกอบกับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการรวบรวมความต้องการของชุมชนที่จะวิเคราะห์และตรวจสอบดิน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาการเรียนการสอนจากภาคปฏิบัติการในห้องเรียนสู่ชุมชน โดยในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน
นักศึกษาจากที่เคยทดลองให้ห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสารเคมีสำหรับชุดทดสอบตัวอย่างละ 100 บาท โดยในแต่ละภาคการศึกษาจะต้องใช้ชุดทดสอบอย่างน้อย 50 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นสารที่ใช้แล้วหมดไป เพื่อให้เกิดการใช้สารเคมีอย่างคุ้มค่ามากที่สุดนอกเหนือจากการใช้เรียน จึงเปลี่ยนจากการใช้ดินตัวอย่างที่จัดเตรียมในห้องปฏิบัติการเป็นการไปเก็บตัวอย่างดินในภาคสนามซึ่งเป็นแปลงของเกษตรกรจริง ซึ่งอยู่ในชุมชนโดยรอบวิทยาเขตนครสวรรค์เพื่อมาทำการทดสอบ ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้มีความต้องการในการทราบธาตุอาหารในดินของตนเองก่อนเริ่มทำการเพราะปลูกพืช โดยในเทอมต้น/2566 ได้ไปฝึกปฏิบัติการในพื้นที่ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีเกษตรกรในชุมชน

โดยมีรายละเอียดกระบวนการเรียนรู้ 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ: การชี้แจงโครงการ Open Field Day รับตรวจวิเคราะห์ดิน ในวันที่มีการประชุมหมูบ้าน เพื่ออธิบายถึงประโยชน์ของการตรวจดิน การวิเคราะห์ดิน และสาธิตวิธีการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้อง
2. ระหว่างทำโครงการ: จัดสถานที่รับตรวจดิน เป็นศาลายาประชาคม หมู่ที่ 5, จัดเตรียมตัวอย่างดิน, ตรวจดิน, แปลผล สรุปและนำเสนอผลแก่เกษตรกร
3. หลังทำโครงการ: ถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค ความประทับใจ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินการในอนาคต

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2, SDGs12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4,12.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/share/p/BgqHkRvfwKUSLDQK/?mibextid=Nif5oz
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ได้ต่อไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

17.4.3, 2.4.1, 2.5.2

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์
อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
นางสาวศิริญา มีประดิษฐ

ส่วนงานร่วม

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขา SMART Farmer
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาต้นแบบการทำนาปีที่ลดการใช้ปุ๋ยเคมีของชุมชนรอบวิทยาเขต
2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย ประกอบกับพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย อีกทั้งนางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer มีความสนใจทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พื้นที่นาของครอบครัวเป็นพื้นที่ศึกษา (lesson learn) ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดำเนินการโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการจะเป็นแปลงต้นแบบตัวอย่างของการทำนาที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด

นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการดังกล่าวฯ ยังสอดคล้องกับรายวิชาหมอดิน และรายวิชาวิทยาศาสตร์การผลิตพืช ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ในหัวข้อธาตุอาหารในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน ไปสู่การร่วมเก็บข้อมูลจริงในแปลงทดลองของรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วย (real world situation) และยังก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องอีกด้วย

โดยโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ: การตรวจดิน การวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในดิน และคำนวณปริมาณธาตุอาหารในดินตามหลักการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสั่งตัด
2. ระหว่างทำโครงการ: เตรียมแปลงปลูกข้าวโดยแบ่งออกเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นเริ่มทำการปลูกข้าว โดยแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะใช้วิธีการปลูกและการใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรทำปกติ สำหรับแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัด, เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของข้าวที่อายุ 60, 90 และ 120 วัน, เก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต และผลิตของข้าว
3. หลังทำโครงการ: วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบทางสถิติระหว่างแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและครอบเกษตรกรเจ้าของแปลง รวมทั้งรวบรวมข้อมูลปัญหาอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินการและขยายผลในอนาคต

จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการปลูกข้าว พบว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าปุ๋ยได้ 6% จากเดิม 24% เหลือ 18% และน้ำหนักข้าวเปลือกต่อไร่ที่ความชื่น 14% จากการคำนวณน้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกในการปลูกข้าวแบบนาหว่านพื้นที่ 1 ไร่ พบว่านาที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1400 กก./ไร่ ในขณะที่นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 860 กก./ไร่ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมรวม 26 กก./ไร่ เหลือ 22 กก./ไร่ แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าวและพื้นที่ และเป็นการลดใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถลดการสะสมของปุ๋เคมีในดินและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.a , 4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://r01.ldd.go.th/spb/Document%2059/puisangtat.pdf
https://youtu.be/reiJhsyXxd4?si=n199pLYeCNgol6tX
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย (SDGs12) และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.4.1, 2.5.2, 2.5.3

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

MU-SDGs Case Study*

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer)

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง
3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์

ส่วนงานร่วม

 

เนื้อหา*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้

เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย

นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย

หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG2,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4, 2.5
4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs1,3, 10,12,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

1.2.1, 1.3, 1.4.1
3.3.2
17.2.2

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก”
2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ
3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์
5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์
6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม
7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก
8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
นายกสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้มหาวิทยาลัยมหิดลเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้การประกอบการด้านการเกษตรภายในวิทยาเขตนครสวรรค์


ท่านองคมนตรี ผอ.สำนักงานศึกษาธิการศึกษา หอการค้า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้


ถ่ายทำรายการ Deschooling| ThaiPBS และรายการท่องเที่ยว จังหวัดนครสวรรค์


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทั้งนักเรียนไทยและและชาวต่างชาติ และคอร์สเรียนรู้ “ผู้ประกอบการวัยเยาว์”

Key Message*

1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world.
2. By educating people in the community, Nakhonsawan campus has contributed to knowledge and skill development.

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.3,2.4, 2.5,
3.3.2
4.3
17.2.2

การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี

MU-SDGs Case Study* การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ดำเนินการหลัก* ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา   ส่วนงานหลัก* โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วม ผศ. ดร. กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์
อ. ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล
อ. ดร. จิระพล จิระไกรศิริ
อ. ดร. เอกลักษณ์ คันศร
Mr. Magnus Findlater
ส่วนงานร่วม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา*

จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีหลากหลายเช่น อาหาร ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ภูมิปัญญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เครื่องจักสาน ผ้าทอ วัฒนธรรม ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สนับสนุนการสร้างสรรค์ บุกเบิก การประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของวัฒนธรรม ตลอดจนการนำวัฒนธรรมไทยเผยแพร่สู่สังคมโลก

ด้วยเหตุนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดอุทัยธานีกำลังเป็นที่สนใจการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ภูมิปัญญาและนิเวศวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และเป็นระบบ ข้อมูล เบื้องต้นนี้ได้จากการสัมภาษณ์คุณสมบัติ ชูมา ผู้ศึกษาและวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกระเหรี่ยงโปว์ จังหวัดอุทัยธานี จากสถาบันธรรมชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ทาให้เราทราบว่า ทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของชาวกระเหรียงโปว์ในพื้นที่จังหวัดอุทัยเป็นที่สนใจของนักท่องเทียวชาต่างชาติจานวนมากในช่วงระยะเวลาก่อนโควิด 19 ระบาดมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจานวนมากสนใจและใช้ระบบการนาทางด้วยดาวเทียม GPS ขับรถมาเที่ยวในพื้นที่เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ทราบว่าบุคลากรการท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นยังไม่เคยได้รับการอบรมภาษาอังกฤษและไม่มีคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ จึงอาจทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมให้ชาวต่างชาติ

ดังนั้น เพื่อเตรียมการให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวมีความพร้อมรองรับการท่องเทียวเชิงสรางสรรค์หลังการระบาดของโรคโควิด 19 ผู้วิจัย จึงมีความสนใจการพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวก ความเข้าใจ และเกิดความประทับใจ แล้วกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีก

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* SDGs 4 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* 4.3.4
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง  SDGs 1,11,17 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ  11.4, 11.6, 11.8, 17.4.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม *  
 

Facebook

Youtube

 
MU-SDGs Strategy*  ยุทธศาสตร์ที่ 4
Partners/Stakeholders*

1) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

2) ศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

3) สถาบันธรรมชาติพัฒนา จังหวัดอุทัยธานี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*  
Key Message* สังเคราะห์ความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ให้สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง  4.3.4

ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

4

MU-SDGs Case Study*ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ดำเนินการหลัก* นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ส่วนงานหลัก*โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วมส่วนงานร่วม
เนื้อหา*ที่มาและความสำคัญ   โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
ที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร
มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
รวมถึงเพื่อเป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคตด้วย  ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการบ่มเพาะประสบการณ์มาก่อนมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ในการผลิตอาหารปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่มีคุณภาพที่หลากหลายสามารถลดต้นทุนได้ มีการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านการคิดค้นสูตรที่ให้ผลดีกับการเจริญเติบโตของพืช การทำดินผสมปลูกที่ตอบโจทย์ในการใช้งานเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาดที่ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการทำการตลาดออนไลน์อย่างง่ายมาใช้ในการทำตลาด และยังได้รับการหนุนเสริมที่ดีจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง การยอมรับและการให้ความร่วมมือที่ดีจากชุมชนต่าง ๆ จึงควรเข้าไปมี่ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี

ขอบเขตพื้นที่การศึกษา   โครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

วัตถุประสงค์  

1. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาเครือข่าย

2. เพื่อบริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้

3. เพื่อสร้างความรู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชน หน่วยงาน

ปีที่จัดกิจกรรม  2566

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง  1 ปี

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ  เครือข่ายเกษตรกร, ชุมชน, หน่วยงานภายในจังหวัด

รูปแบบดำเนินกิจกรรม  

1.ให้คำแนะนำ ปรึกษา การบริหารจัดการโครงการ การวางแผนงาน

2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์

3.ติดตาม ประเมินผล และวางแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี จำนวน 10 นาย เครือข่ายเกษตรกร จำนวน  2  เครือข่าย และผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ  

1.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.เป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม
และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง

3.เป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคต

 
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*SDGs 1,2,3,4,8,12,15เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*SDGs 1,2,3,4,8,12,15
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
 
 Facebook
 
MU-SDGs Strategy* 
Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี

สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี

เครือข่ายเกษตรกร อำเภอหนองฉาง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* 
Key Message*โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเองให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มและสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง 

โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)

MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา
ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง
อ.ดร.สมสุข พวงดี
อ.ดร.ศศิมา วรหาญ
อ.ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล
อ.ดร.เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย
นายอภินันท์ ปลอดแก้ว
นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

1.นายยศพัฒน์ ธนอัครสวัสดิ์
2.คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนพยุหะพิทยาคม
3.คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนเขาทองพิทยาคม

ส่วนงานร่วม

1.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
3.โรงเรียนพยุหะพิทยาคม
4.โรงเรียนเขาทองพิทยาคม

เนื้อหา*

         การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ….

1. เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) 

2. พัฒนาและจัดทำหลักสูตรให้กับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อผู้เรียนสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจ 

3. ผู้รียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนในระดับอุดมศึกษา

4. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 

การดำเนินงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง คือ โรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม จัดประชุมร่วมกันเพื่อออกแบบหลักสูตร และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 70 คน จากโรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม โดยกำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง และมีการทบทวนหลังทำกิจกรรม (After Action Review-AAR) ระหว่างโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และคุณครูโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งสองแห่งทุกครั้งที่จัดกิจกรรม

เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย

1. การเรียนรู้การเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก (Free ranch chicken) และการแปรรูปโดยใช้ไข่เป็นวัตถุดิบหลักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

2. การเชื่อมโยงธุรกิจไข่สู่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

3. การสร้างการรับรู้ การสร้างแบรนด์ และการขาย

4. การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์” จากผลิตสู่ขาย

การจัดการเรียนการสอน กำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 4, 11, 18 กรกฏาคม และ 1 สิงหาคม 2565 โดยทางโรงเรียนใช้ชั่วโมงการเรียนรู้จากรายวิชาในชั้นมัทธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ วิชาชุมนุม และวิชาการงานอาชีพพื้นฐาน โดยคุณครูผู้รับผิดชอบทั้งสองแห่งนำนักเรียนมาเรียนรู้ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

การจัดการเรียนการสอนเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing) และผ่านประสบการณ์จริง (Experiential Learning) โดยการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) จากการลงมือปฏิบัติ ผลงาน การนำเสนอ การถอดบทเรียนที่ให้ผู้เรียนได้พูด เขียน หรือแสดงออก รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ 

 

ผลลัพธ์ และประโยชน์ต่อสังคม

1. เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) ที่สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่

2. มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับใบประกาศนียบัตรจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ที่ผ่านหลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร) ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (ตั้งแต่ผลิตสู่ขาย) ติดตัวไป

3. ผู้บริหารและคุณครูจากทั้งสองโรงเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนนักเรียนให้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน และได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงทางโรงเรียนสนใจที่จะนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากหลักสูตรนี้ไปปรับใช้ที่โรงเรียน

 

มหิดลนครสวรรค์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” (นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี) ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภาค 18 และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกัน  โดยในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้รับมอบเกียรติบัตรในฐานะที่เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ ส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ประจำปีงบประมาณ 2565

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 4,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.1, 4.3, 4.5

17.14

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

การประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมเวทีประชาคม เพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2565

https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7578 

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางการศึกษาในโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา วันที่ 23 มิถุนายน 2565
https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7965
https://www.facebook.com/nswpeo
การจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ครั้ง
https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/
มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
2.โรงเรียนพยุหะพิทยาคม
3.โรงเรียนเขาทองพิทยาคม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การจัดทำหลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ต่อเนื่องสู่ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเองและเชื่อมโยงกันได้อย่างแท้จริง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

4.1, 4.3, 4.5

ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง

MU-SDGs Case Study*

ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง

ผู้ดำเนินการหลัก*

พินณารักษ์ พันธุมาศ

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์
นางสาวฐิติกานต์ บุตรพึ่ง
นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

แอปพลิเคชันตำบลเขาทอง เป็นการนำทุนสังคมเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน  และสร้างกลไกลการขับเคลื่อน ส่งต่อ และนำไปใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน

โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับชุมชน คณะกรรมการ ผู้นำชุมชน อสม. ภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2564 ในพื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ การสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับของชุมชน ตั้งแต่การเข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลในชุมชนจากครัวเรือน การค้นหาปัญหา การบอกเล่าปัญหาของชุมชน  ตลอดจนการร่วมคิด ร่วมทำ และการให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา จากการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้มีการสร้างกลุ่มห้องแชท ผ่าน Line OpenChat และ LINE Official Account เพื่อการติดต่อสื่อสาร จนนำไปสู่การทำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง  คือใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน บนพื้นฐานการปรับวิถีใหม่ของชุมชนบนสถานการณ์ new normal เพื่อเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม เท่าทัน ของคนในชุมชนทุกระดับ

ตัวอย่างจากการนำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง มาใช้ประโยชน์ในการจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง  เพื่อแก้ปัญหาในการเข้าถึงการบริการที่ล่าช้า และมีผู้เข้าใช้บริการในระบบสาธารณสุขจำนวนมาก ส่งผลให้สามารถลดระยะเวลาการรอคอยรับบริการ และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมารอคอยรับบริการ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทองได้ ซึ่งโดยเฉพาะในส่วนของด้านทันตกรรม ที่ต้องมีการให้บริการเคลือบฟันฟลูออไรด์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ในชุมชนตำบลเขาทอง และตำบลใกล้เคียง มักพบปัญหาการนัดหมายการเข้าใช้บริการที่ไม่แน่นอน ยากต่อการคาดเดา เมื่อมีการนำแอปพลิเคชันไปใช้ในการจองคิวและนัดหมาย ผู้ให้บริการสามารถทำงานง่ายขึ้น และได้ตามเป้าหมายงานที่วางแผนงานไว้  ในส่วนของผู้ปกครองที่ใช้บริการก็สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในบางรายยังพบว่า ในกรณีที่ผู้ปกครองเด็กซึ่งทำงานอยู่นอกพื้นที่ ในต่างจังหวัด ยิ่งได้รับความสะดวกสบายในการนัดหมายจองคิวให้บุตรตนเอง และอาศัยให้ ปู่ย่า ตายาย ที่เลี้ยงดูเด็ก พามารับบริการตามนัดหมายได้เลย

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3, 3.4, 3.7, 3.8, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

4.7

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=722922012048655&id=358573098483550

https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fliff.line.me%2F1645278921-kWRPP32q%2F%3FaccountId%3Dkhaotong%26fbclid%3DIwAR3WAXBJS4pIeBoLpA-NDC79AAvAZxpyTGyka4M9qiC_-RVgwCtOcq2fBUI&h=AT0eKEMviOyUOcC6tgKMgtSJDrolyYcmamtM-Y4F7a1SpoA9z2nqToGB5rfgjU4tqgCtU4M57-pYG-eQ-6IhxZ9cUovEckkcbHNgk_v9aJGJY6w3HnPx4NGfkIS5ZQeQ5_v6&__tn__=R]-R&c[0]=AT3SzJDGID2x35QSMidgr1IGJoYl9-WThXZVlnqCyTAdEC6c8PFoSifIUwLuEjouZla4Iq1H0qJyvOCy89kZWYqnSBiCcLA5OVP6xhDyrq8K0lSGufM1S7oi9UgUE_XjJ5PKtwf3v-walwry-nxYmN8UEQoB-5EZoRFb1TyDDdbB16puXl3kpUuxpuo726Fy1Y3rQyB5U37WISltlSLZZBs0rxwKOjBi7A

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2564

3.พระครูนิภาธรรมวงศ์  เจ้าอาวาสวัดเขาทอง เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

4.ผู้นำชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

6.นายอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

7.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

8.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

ทันตกรรมทันใจด้วยแอปพลิเคชันเขาทอง เป็นการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในตำบลเขาทอง เพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันสู่การจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1