MU-SDGs Case Study* |
โครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 เชิงรุก |
||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นายธาดา คณาภรณ์ทิพย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
||||||
เนื้อหา* |
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนนั้นยังไม่มีความมั่นใจในการมาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เนื่องจากยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน และอาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีน รวมไปถึงการมีเจตคติทางด้านลบต่อการฉีดวัคซีนดังกล่าว ซึ่งการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้นย่อมส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจตามมา
ดังนั้น นายธาดา คณาภรณ์ทิพย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลโพสะ ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ส่งเสริมการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 เชิงรุก” ณ ชุมชนบ้านวัดนก ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการสร้างเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนและอาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีนให้แก่คนในชุมชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านการบรรยาย อีกทั้งยังสร้างเสริมให้คนในชุมชนมีเจตคติที่ดีต่อการฉีดวัคซีนดังกล่าวผ่านการพูดคุยกับคนในชุมชนอย่างเป็นกันเองจนทำให้คนในชุมชนมีแนวโน้มในการรับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต |
||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.8 |
||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
– |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
– |
||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1291887111299814/?d=n |
||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||||
Partners/Stakeholders* |
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลโพสะ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง 2. ผู้นำชุมชนบ้านวัดนก ตําบลโพสะ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านวัดนก ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง |
||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||
Key Message* |
การเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับวัคซีนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี |
||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.1, 3.3.2 |
Tag: ปี 2565
ปี 2565
โครงการสร้างภูมิ เสริมพลัง ต้านภัยโควิด
MU-SDGs Case Study* | โครงการสร้างภูมิ เสริมพลัง ต้านภัยโควิด | |||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวสาธิดา ต๊ะคีรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | |||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปัญหาการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นปัญหาอันดับที่ 1 โดยสาเหตุของปัญหามาจากการไม่ได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุขอย่างเพียงพอ รวมไปถึงการไม่รับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงของการไม่ฉีดวัคซีน การไม่รับรู้ประโยชน์ของการฉีดวัคซีน อีกทั้งยังมีอุปสรรคต่อการเดินทางไปฉีดวัคซีนที่สถานพยาบาล มีความกังวล กลัวผลข้างเคียงจากวัคซีน ซึ่งการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้นย่อมส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจตามมา
ดังนั้น นางสาวสาธิดา ต๊ะคีรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลบางปลาม้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “สร้างภูมิ เสริมพลัง ต้านภัยโควิด” ณ ชุมชนบ้านโคกครามสามัคคี ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลผ่านคู่มือที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และทำให้คนในชุมชนที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 30 คน ได้รับรู้โอกาสเสี่ยงของการไม่ฉีดวัคซีน การรับรู้ประโยชน์ของการฉีดวัคซีน รวมไปถึงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ คลายความกังวลเรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน และช่วยอำนวยความสะดวกพาคนในชุมชนไปฉีดวัคซีนที่สถานพยาบาล จนทำให้อัตราการได้รับวัคซีนของคนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | |||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.8 | |||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | |||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1283976538757538/?d=n | |||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | |||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลบางปลาม้า อ.บางปลามม้า จ.สุพรรณบุรี 2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ 7 บ้านปากคลองกุ่ม ต.โคกคราม อ.บางปลามม้า จ.สุพรรณบุรี | |||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | ||||||||||||||
Key Message* | การเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในให้แรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | |||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการการเดินทางสู่หมู่บ้านคลายความเครียด
MU-SDGs Case Study* | โครงการการเดินทางสู่หมู่บ้านคลายความเครียด | |||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวพรรณวดี ระกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | |||||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า สถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้คนในชุมชนเกิดความเครียด และมีบางรายฆ่าตัวตายสำเร็จ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขาดการจัดการความเครียด การขาดการได้รับคำปรึกษาจากคนรอบข้าง ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก
นางสาวพรรณวดี ระกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลบางปลาม้า และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “การเดินทางสู่หมู่บ้านคลายความเครียด” ณ ชุมชนบ้านปากคลองกุ่ม ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลผ่านแผ่นพับที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ผ่านการทำตุ๊กตาบีบคลายเครียด และการส่งข้อความให้กำลังใจ อีกทั้งผู้ที่มีภาวะเครียดในชุมชนสามารถประเมินความเครียดของตนได้เอง และมีช่องทางต่าง ๆ ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งทำให้กลุ่มคนดังกล่าวมีความเครียดลดลง และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | |||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | |||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | |||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1283329225488936/?d=n | |||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | |||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลบางปลาม้า อ.บางปลามม้า จ.สุพรรณบุรี 2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ 7 บ้านปากคลองกุ่ม ต.โคกคราม อ.บางปลามม้า จ.สุพรรณบุรี | |||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | ||||||||||||||||||
Key Message* | การลดระดับความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในให้แรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | |||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการคู่มือเพื่อนซี้ คู่หูคลายเครียด self-talk meditation
MU-SDGs Case Study* | โครงการคู่มือเพื่อนซี้ คู่หูคลายเครียด self-talk meditation | ||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายดรัล รักธัญญะการ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงถือว่าเป็นกำลังสำคัญหลักในครอบครัวนั้นมีแนวโน้มประสบกับปัญหาทางด้านอารมณ์และความเครียดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งกลุ่มผู้ดูแลดังกล่าวนั้นยังถูกถูกละเลยการประเมินสภาพจิตใจตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเหมาะสมทำให้คุณภาพการดูแลสุขภาพจิตของผู้ดูแลลดลงและขาดวิธีการที่ถูกต้องในการลดความเครียด ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาได้ในอนาคต
ดังนั้น นายดรัล รักธัญญะการ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “คู่มือเพื่อนซี้ คู่หูคลายเครียด self-talk meditation” ณ ชุมชนบ้านทุ่งหมื่นน้อย ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการให้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลวิธีการคลายเครียดผ่านทางคู่มือที่มีความน่าสนใจและเข้าใจง่าย ประกอบกับการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ผ่านการให้กำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้กลุ่มผู้ดูแลดังกล่าวมีระดับความเครียดที่ลดลง
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1283324588822733/?d=n | ||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลสันทราย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 3. ผู้นำชุมชน หมู่ 9 บ้านทุ่งหมื่นน้อย ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ 9 บ้านทุ่งหมื่นน้อย ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ | ||||||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||||||||||
Key Message* | การลดระดับความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในให้แรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการชาวสวนปลอดภัย ห่างไกล MSDs
MU-SDGs Case Study* | โครงการชาวสวนปลอดภัย ห่างไกล MSDs | |||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวอาวาติฟ ยานยา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | |||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ มีแนวโน้มของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal disorders: MSDs) เพิ่มมากขึ้น และเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงานมีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งขาดอุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าหลังจากการทำงาน ซึ่งปัญหาสุขภาพดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาะจิตของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น นางสาวอาวาติฟ ยานยา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ชาวสวนปลอดภัย ห่างไกล MSDs” ณ ชุมชนบ้านเหนือ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค MSDs เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บจากการทำงานให้แก่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราจำนวนทั้งสิ้น 15 คน พร้อมทั้งยังร่วมมือกับหน่วยงานข้างต้น และเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวในการนำสมุนไพรพื้นถิ่นมาผลิตนวัตกรรมแผ่นประคบร้อนสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นอีกด้วย
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | |||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | |||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | |||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1283319492156576/?d=n | |||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | |||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 2. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 3. คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 1 ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 5. ผู้นำชุมชนหมู่ที่ 1 ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ | |||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | ||||||||||||
Key Message* | การแก้ปัญหาความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และนำสมุนไพรพื้นถิ่นมาผลิตนวัตกรรมแผ่นประคบร้อนสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | |||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการป่าสักรวมใจ เด็กไทยฟันดี
MU-SDGs Case Study* | โครงการป่าสักรวมใจ เด็กไทยฟันดี | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวมณีรัตน์ ไตรรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า สถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้เด็กนักเรียนไม่สามารถเข้ารับบริการเกี่ยวกับทันตสุขภาพได้ และจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนที่บริโภคที่ไม่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพในช่องปากที่ไม่ถูกวิธี จึงทำให้เด็กนักเรียนมีปัญหาฟันผุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน และอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้อีกในอนาคต ดังนั้น นางสาวมณีรัตน์ ไตรรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ จึงร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และโรงเรียนวัดป่าสัก ในการดำเนินโครงการ “ป่าสักรวมใจ…เด็กไทยฟันดี” ณ ชุมชนบ้านป่าสัก ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ อสม. และอาจารย์ในโรงเรียน ในการสร้างเสริมความรู้ในเรื่องสุขภาพในช่องปาก และการแปรงฟันที่ถูกต้อง สร้างเสริมเจตคติและพฤติกรรมในเรื่องสุขภาพในช่องปาก และการแปรงฟันที่ถูกต้อง และเพิ่มพูนทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้แก่เด็กวัยเรียนในชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1283314278823764/?d=n | ||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี 2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ 4 บ้านป่าสัก ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี 3. โรงเรียนวัดป่าสัก หมู่ 4 บ้านป่าสัก ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | การแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการสร้างเสริมความรู้ เจตคติ และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กวัยเรียนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการบริการวิชาการเพื่อการศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้และเสริมทักษะด้านการเกษตรแก่นักเรียนโรงเรียนวัดหัวดงเหนือ
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ |
รายละเอียด |
||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
โครงการบริการวิชาการเพื่อการศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้และเสริมทักษะด้านการเกษตรแก่นักเรียนโรงเรียนวัดหัวดงเหนือ |
||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
เพื่อเป็นการสร้างความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องการเกษตรอย่างถูกต้องและยั่งยืน |
||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
โรงเรียนวัดหัวดงเหนือ อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ |
||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.เพิ่มพูนความรู้ทางด้านการเกษตร 2.ปลูกฝังการทำการเกษตรที่มีความยั่งยืน |
||||||||
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม |
2565 |
||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง |
7-8 มีนาคม 2565 |
||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ |
มหาวิทยาลัย, หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย |
||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
อบรมวิชาการเบื้องต้น และฝึกปฏิบัติจริง |
||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
นักเรียนโรงเรียนวัดหัวดงเหนือ และคณะครู |
||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
50 ท่าน |
||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1 นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในการปลูกพืชที่มีความปลอดภัยในโรงเรียนและที่บ้าน 2 มีความรักในการประกอบอาชีพทางการเกษตรบนพื้นฐานทรัพยากรของชุมชน |
||||||||
Web link |
|
||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||
SDG goal |
1 2 3 |
||||||||
SDGs goal | Goal 1 : No poverty Goal 2 : Zero hunger Goal 3 : Good health and well being |
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล | ||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์ | ||||||||||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
เกิดจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต ทางศูนย์ฯจึงได้เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณมาเพื่อดำเนินงานแก้ปัญหา และในปีงบประมาณ 2559 และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พิจิตร ,กำแพงเพชร,นครสวรรค์ และอุทัยธานี) โดยในโครงการได้มีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ และเครือข่ายหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มาระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหา จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน โดยในกระบวนการสร้างมาตรฐานได้อิงจากมาตรฐานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เกิดเป็น “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล”จากการร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างมาตรฐานการปลูกข้าวอินทรีย์ และส่งผลให้เกิด “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล” เกษตรกรได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ ลดข้อสงสัย และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง |
||||||||||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี |
||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ให้เกิดกลุ่มที่เข้มแข็งและมีมาตรฐาน 2.สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ เพื่อนำมาพัฒนาการทำนาแบบอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย 4.สร้างองค์ความรู้เรื่องใช้สารชีวินทรีย์และสมุนไพรที่ใช้ในการทำนาอินทรีย์ที่ได้ผลดี และรวบรวมเก็บเป็นข้อมูลเพื่อนำไปถ่ายทอด 5.เพื่อให้เกษตรกรที่ทำข้าวอินทรีย์สามารถเข้าถึงมาตรฐานที่สามารถทำได้ และเกษตรกรสามารถเชื่อมโยงผลผลิตข้าวไปต่อยอดทางการตลาดร่วมกันได้ โดยเกษตรกรจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้ |
||||||||||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2559-ปัจจุบัน | ||||||||||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 5 ปี | ||||||||||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด | ||||||||||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เครือข่ายเกษตรกรจังหวัด พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี สภาเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ |
||||||||||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การวางแผนปลูก การขึ้นทะเบียนสมาชิกก่อนเริ่มฤดูกาลปลูกจะต้องมีการแจ้งปลูก และมีการแบ่งทีมตรวจแปลงกันภายในกลุ่ม การตรวจข้ามกลุ่ม รวมทั้งการเรียนรู้แนวทางวิธีการการป้องกัน กำจัด โรค แมลงศัตรู โดยชีววิธีร่วมด้วย โดยตลอดกระบวนการเพาะปลูกข้าวจะต้องทำตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันตามมาตรฐานเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกลุ่มจะไม่รับรองให้ผ่านกระบวนการปลูก แต่ถ้าท่านใดปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้ได้ทุกเรื่องจะได้ผ่านการรับรองกระบวนการปลูกจากทางกลุ่ม ผู้ผ่านกระบวนการปลูกสามารถส่งผลผลิตเข้าตรวจสารกำจัดแมลงที่ห้องแลปของวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการทดสอบสารฆ่าแมลงในเมล็ดข้าว กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC) ไพเรทรอยด์(PT) ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM) โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2 | ||||||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี |
||||||||||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
มีผู้สนใจเข้าร่วม เครือข่าย ทั้งหมด344 ราย มาจากรายเดี่ยว(ไม่มีกลุ่ม) 15 ราย และมาจาก 34 กลุ่ม ซึ่งสามารถแยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้คือ มาจากจังหวัดพิจิตร 12 กลุ่ม จำนวน 157 ราย จากจังหวัดกำแพงเพชร 22 กลุ่ม 81 ราย สจากจังหวัดนครสวรรค์ 14 กลุ่ม 59 ราย และจากจังหวัดอุทัยธานี 10 กลุ่ม 47 ราย |
||||||||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.เกิดเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ต้นแบบ ที่เข้มแข็ง โดยการขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 1 เครือข่าย จำนวนสมาชิก 344 ราย มีพื้นที่การทำนาอินทรีย์รวมประมาณ 3,500 ไร่ 2.เกิดการบูรณาการและพัฒนาการบริการวิชาการ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และสามารถยกระดับสู่การขอรับรองอนุสิทธิบัตร ( ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 378760 รับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562) 3.สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ยรายละไม่น้อยกว่า 35,000 บาท ต่อปี 4.เกษตรกรที่เข้าร่วมสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รอบละ ไม่น้อยกว่า 1,500 – 2,000 บาทต่อไร่ หรือ ประมาณ 3,000 – 4,000 บาท ต่อปี (คิดจากการทำนาปีละ 2 รอบ) |
||||||||||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||||||||||
SDGs goal | Goal 1 : No poverty Goal 2 : Zero hunger Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 8 : Decent work and economic growth Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 15 : Life on land |
มาตรฐาน MU Organic
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
มาตรฐาน MU Organic | ||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์, ดร.ณพล อนุตตตรังกูร ,นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ,นายธนากร จันหมะกสิต,นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์,นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ และนายยุทธิชัย โฮ้ไทย |
||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
สืบเนื่องจากผลของการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ในช่วงปี 2559 และทำให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ ลดข้อสงสัย และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง จากแนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งตามมา และเครือข่ายได้มีการวางแนวทางการพัฒนาเครือข่าย มีการจัดประชุมเพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาของเครือข่าย ในปี 2562 โดยเครือข่ายได้เสนอแนะแนวทางการยกระดับมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เป็น มาตรฐาน MU Organic เพื่อให้เกิดการรับรองการผลิตที่ครอบคลุม และหลากหลายชนิดพืช เพิ่มขึ้น เพราะเนื่องจากสมาชิกเครือข่าย ไม่ได้ผลิตข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการปลูกผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นมาและจำหน่ายทำตลาดควบคู่กับข้าวอินทรีย์ และได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดผู้บริโภค |
||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน |
||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.สร้างและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ครอบคลุมหลากหลาย มีมาตรฐานและผู้ผลิตสามารถเข้าถึงได้ง่าย 2.สร้างกระบวนการ วิธีการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการรับสมัคร และการตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง แบบออนไลน์ 3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย |
||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2562-ปัจจุบัน | ||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 4 ปี | ||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | เครือข่าย, ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด, กลุ่มจังหวัด | ||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน สภาเกษตรกร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง เครือข่ายผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) |
||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
1.รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรฐาน ผ่านระบบออนไลน์ โดยการกรอกข้อมูลผ่าน Google Form 2.คัดกรอง ประเมิน ผู้สมัคร และคัดเลือก 3.ทำความเข้าใจ ให้คำแนะนำ อธิบาย แนวทางข้อปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมมาตรฐาน 4.จัดทำ QR Code ประจำแปลงผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก 5.จัดผังการตรวจประเมินในระดับเครือข่าย และอบรมให้ความรู้วิธีการตรวจประเมิน 6.เครือข่ายตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง ตามผังที่วางไว้ 7.ทีมประเมินกลางสุ่มตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง 8.ผู้ตรวจประเมินในระดับเครือข่ายจัดเก็บผลผลิต ของสมาชิกที่ผ่านการปฏิบัติในระดับแปลง เพื่อนำผลผลิตส่งตรวจในห้องแลป ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตรวจหาสารฆ่าแมลงในผลผลิต กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC) ไพเรทรอยด์(PT) ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM) โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2 และตรวจหาสารกำจัดวัชพืช กลุ่มพาราควอท ด้วยวิธีการ Spectrophotometry ผู้ที่ผ่านกระบวนการปฏิบัติในระดับแปลง และผลผลิตที่ส่งตรวจในแลป ไม่พบสารตกค้าง จะได้รับมาตรฐาน “MU Organic” 9.สุ่มตรวจแปลง พื้นที่ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน หลังจากที่ได้รับมาตรฐานแล้ว เพื่อ React Credit |
||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน |
||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | ผู้สมัคร 81 ราย จาก 8 จังหวัด | ||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.เป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการตรวจรับรองมาตรฐาน 2.เป็นต้นแบบการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการบูรณาการข้ามศาสตร์ ในการให้บริการและพัฒนาชุมชน 3.เกิดเครือข่ายและการรวมกลุ่มยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ประเภท ข้าว ผัก และผลไม้ ในภูมิภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ที่มีมาตรฐาน 81 ราย และมีพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ประมาณ 717 ไร่ 4.เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน สามารถยกระดับการผลิตของตนเอง และสามรถนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดระดับที่สูงขึ้น และมีตลาดที่รับซื้ออย่างต่อเนื่อง 5.สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ผ่านมาตรฐานมีมูลค่าที่สูงขึ้น |
||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||
SDGs goal | Goal 1 : No poverty Goal 2 : Zero hunger Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 8 : Decent work and economic growth Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 15 : Life on land |
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด | ||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ||||||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
“บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้นจนเกิดข้อพิพาทระหว่างกลุ่มต่างอาชีพและกลุ่มอาชีพเดียวกัน ช่วงฤดูแล้งบางปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้ ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาโจทย์ของโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และได้รับการ “เห็นชอบและรับทราบ” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป |
||||||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด | ||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน |
||||||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2564-2565 | ||||||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | กันยายน 2564 – กันยายน 2565 | ||||||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ชุมชน,จังหวัด | ||||||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่บึงบอระเพ็ด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ โครงการชลประทานนครสวรรค์ ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 กรมทรัพยากรน้ำ |
||||||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ด ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา |
||||||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 200 คน | ||||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
– เกิดการจัดสรรน้ำให้กับทุกกิจกรรมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุลกันระหว่างการรักษาระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ – ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญ จนเกิดการยอมรับ และนำไปสู่การปฏิบัติได้ – การผลักดันสู่นโยบายด้วย “คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด” สามารถนำข้อสรุปของโครงการไปเป็นแนวทางการใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดในแต่ละพื้นที่ (เขตให้ ห้าม หวง) – ระบบการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับบึงบอระเพ็ด |
||||||||||||||||
Web link | https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=IoZEzOyuze4 | ||||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||||||
SDG goal | Goal 6 : Clean water and sanitation Goal 13 : Climate action Goal 14 : Life below water Goal 15 : Life on land Goal 17 : Partnerships for the goals |