การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
ดร.ณพล อนุตตรังกูร
นายจิระเดช บุญมาก
ดร.วชิระ กว้างขวาง
รศ.ดร. วีระเดช มีอินเกิด

ส่วนงานร่วม

1. หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำและดิน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
4. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดินตะกอนบึงบอระเพ็ดที่มีสภาพไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ให้สามารถเพาะปลูกพืชได้โดยการผสมกับปุ๋ยหมักที่ทำจากวัชพืชน้ำของบึงบอระเพ็ดในอัตราส่วนต่างๆ
2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกในดินที่ปรับปรุงคุณภาพแล้ว
3. เพื่อศึกษาลักษณะทางประสาทสัมผัสของพืชที่ปลูกในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ

สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด การขับเคลื่อน Bio hub ด้านอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้าว โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 132,737 ไร่ ครอบคลุมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก ซึ่งจากการประชุมสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดยสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ที่ประชุมสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดประเด็นเร่งด่วนได้ 10 ประเด็น ได้แก่ 1. การสร้างระบบการบริหารจัดการในลุ่มน้ำย่อยเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยการขุดบึง และขุดลอกตะกอนดิน 2. การส่งเสริมการทำเกษตรวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การปลูกไม้ริมน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน 4. การปลูกพืชกรองน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เข้าสู่บึงบอระเพ็ด 5. การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดเพื่อใช้ประโยชน์ 6. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรของบอระเพ็ด 7. การจัดทำปุ๋ยจากตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 8. การแปรรูปพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ด 9. การแปรรูปเศษเหลือของปลาบึงบอระเพ็ด และ 10. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
โดยงานวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาในประเด็นที่ 7 เกี่ยวกับตะกอนดินบึงบอระเพ็ดและวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2564 ลุ่มน้ำภาคกลางและภาคตะวันออกจำนวน 19 จังหวัด มีการจัดเก็บวัชพืชน้ำประมาณ 4,513,836.75 ตัน (มติชนออนไลน์, 2564) โดยพบว่าการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำในแหล่งน้ำที่มีเป็นจำนวนมากและการทับถมของตะกอนดินส่งผลให้แหล่งน้ำตื้นเขิน โดยวัชพืชน้ำส่งผลกระทบในหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง และภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการบริหารจัดการปีละหลายร้อยล้านบาท สำหรับบึงบอระเพ็ดพบว่าวัชพืชน้ำที่ส่วนใหญ่ 95% เป็นผักตบชวาที่มีการเจริญเติบโตและการทับถมอยู่เป็นจำนวนมากภายในบึงบอระเพ็ดและคลองสาขาของบึงบอระเพ็ด โดยมีหน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ดภายใต้กำกับดูแลของกรมประมงเข้ามาทำการขุดลอกวัชพืชน้ำ และนำไปกองไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงบอระเพ็ดหรือบริเวณขอบของตลิ่งบึงบอระเพ็ดในเขตพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์บึงบอระเพ็ดและชาวบ้านโดยรอบ อีกทั้งยังไม่ได้มีการนำวัชพืชน้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้บึงบอระเพ็ดยังมีปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขินเนื่องจากตะกอนดินไหลมาพร้อมกับน้ำเข้ามายังบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคในหน้าแล้งลดลง จากการศึกษาของ ณพล อนุตตรังกูร และคณะ (2561) รายงานว่าอัตราการชะล้างพังทลายของดินที่ลงมาสู่บึงบอระเพ็ดมีจำนวนปีละ 2,890,000 ลูกบาศก์เมตร โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้อนุมัติให้มีการดำเนินการขุดลอกตะกอนดินภายในบึงบอระเพ็ดเพื่อแก้ไขปัญหาการตื้นเขิน ซึ่งมีปริมาณตะกอนดินที่ขุดลอกถึงปีละไม่น้อยกว่า 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร อีกทั้งยังมีหน่วยงานภายในจังหวัดขุดลอกอยู่เป็นประจำตามรอบ (มติชนออนไลน์, 2559)
ในปัจจุบันปัญหาของปริมาณวัชพืชน้ำที่มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลต่อการตื้นเขินและประสิทธิภาพของบึงบอระเพ็ด โดยวัชพืชน้ำนั้นยากต่อการกำจัดและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแหล่งน้ำในด้านต่างๆ เพราะทำให้สูญเสียเวลา แรงงาน และงบประมาณในการจัดการ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2546) ดังนั้น จึงมีความพยายามหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำ เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณและเพิ่มมูลค่า ซึ่งเป็นการบูรณาการและการจัดการในเชิงพื้นที่ โดยพบว่ามีการนำวัชพืชน้ำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิเช่น วัสดุรองพื้นในการเลี้ยงไส้เดือน (พีรยุทธ สิริฐนกร และคณะ, 2557) การทำปุ๋ยจากผักตบชวาเพื่อการปลูกพืช (เฉลิมชัย แพะคำ และคณะ, 2557; จักรกฤช ศรีลออ และคณะ, 2363; ประไพพรรณ จันทร์ทิพย์, 2559)
จากการศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินบึงบอระเพ็ด พบว่ามีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชโดยมีค่าความเป็นกรดด่างของดินเท่ากับ 5.3 และปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ อีกทั้งตะกอนดินที่ถูกพัดพามาทับถมทุกปีและวัชพืชน้ำที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อปริมาณการกักเก็บน้ำและคุณภาพของน้ำในบึงบอระเพ็ด เป็นสาเหตุให้กักเก็บน้ำได้ลดลงและน้ำที่มีความขุ่นจึงมีผลต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำและต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการขุดลอกทุกปี ดังนั้นจากสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ดของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) จึงมีข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำตะกอนดินที่มีการขุดลอกจากการดำเนินการของสำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์มาปรับปรุงสภาพดินให้มีคุณสมบัติที่สามารถปลูกพืชและนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ด้วยการผสมกับปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ได้จากการขุดลอกจากบึงบอระเพ็ดซึ่งนำมากองไว้ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดยการศึกษานี้ได้ผสมปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำและตะกอนดินในอัตราส่วนต่างๆทั้งหมด 8 สิ่งทดลอง หลังจากนั้นตรวจสอบสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ พร้อมทั้งทดลองปลูกคะน้าในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ และทดสอบทางประสาทสัมผัสของคะน้า เมื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการปรับปรุงคุณภาพก็พบว่าทุกสิ่งทดลองตะกอนดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ, ปริมาณฟอสฟอรัสที่แลกเปลี่ยนได้, ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ รวมทั้งค่าการนำไฟฟ้า และค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และที่อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน เมื่อพิจารณาจากน้ำหนักสดของคะน้าพบว่าสิ่งทดลองที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ สิ่งทดลอง T2, T7 และ T8 ซึ่งประกอบด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 100%, ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ : ตะกอนดิน ในอัตราส่วน 50% : 50% และ 60% : 40% ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักสดของคะน้ามีค่าสูงกว่าสิ่งทดลองอื่นๆ และเมื่อทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยให้ผู้ทดสอบจำนวน 40 คน ทำการชิมผักคะน้าพบว่าคะน้าในสิ่งทดลอง T2 มีค่าเฉลี่ยความชอบโดยรวม, สี, รสชาติ และเนื้อสัมผัสสูงที่สุด รองลงมาคือ T7 และ T8 ตามลำดับ ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่นำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างตะกอนดินและวัชพืชน้ำไปสู่การใช้ประโยชน์ และยังสามารถลดปัญหาของบึงบอระเพ็ดได้อีกด้วย 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.2,6.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
2. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*


รูปภาพที่ 1 แสดงลักษณะของเนื้อดินตะกอนแต่ละสิ่งทดลองหลังจากหมักในที่ร่ม 1 เดือน และลักษณะการเจริญเติบโตของคะน้าหลังจากปลูก 45 วัน (T1 = ดินผสมทางการค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด T2 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ขุดลอกจากบึงบอระเพ็ด T3 = ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงสภาพ T4 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 20% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 80% T5 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ30% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 70% T6 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 40% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 60% T7 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 50% และ T8 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 40%)

Key Message*

ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ปรับปรุงคุณภาพโดยมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ สามารถเพิ่มศักยภาพจากที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะปลูกพืช ให้สามารถมีความเหมาะสมต่อการนำไปปลูกพืชได้ โดยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% : ตะกอนดิน 50% และ ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% : ตะกอนดิน 40% ซึ่งทั้ง 2 สูตรนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน และธาตุอาหารให้แก่ตะกอนดิน ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด สามารถนำเอาหลักการและสูตรการปรับปรุงภาพตะกอนดินจากปุ๋ยหมักวัชพืชน้ำในงานวิจัยครั้งนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของตนเองก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนใช้ประโยชน์ หรือ พัฒนาเป็นผลิตดินผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อีกทั้งวิธีการนี้ยังเป็นการช่วยให้ตะกอนดินจากที่เป็นปัญหามลภาวะทางน้ำมีคุณภาพและเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.1, 12.4.1

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต 

นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที

           ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาครัฐ ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ การนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจ และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของศูนย์ข้อมูล
ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด

2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง

3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

 

5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

ผลกระทบทางสังคม

1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์

3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด

4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ)  

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,15,16,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 16.7 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ฐานข้อมูลบึงบอระเพ็ด

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

MU-SDGs Case Study*

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต  นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

เนื้อหา*

           “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

         การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

          ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป 

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน

2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561)

4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด

ผลกระทบทางสังคม

1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน

2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้

3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้

4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้

5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 

6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,14,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

Facebook

หนังสือ  การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด

MU-SDGs Case Study* 10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
ผู้ดำเนินการหลัก* ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ส่วนงานหลัก* โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วม  ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์
น.ส.พินณารักษ์ พันธุมาศ
นายธนากร จันหมะกสิต
นายยุทธิชัย โฮ้ไทย
ส่วนงานร่วม
เนื้อหา*

กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1) ระยะที่ 1 : ระยะการเรียนรู้ (พ.ศ.2556-2557)

    ช่วงแรกเป็นศึกษาและการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของบึงบอระเพ็ด และรวบรวมงานชื่อเรื่องวิจัยที่เคยทำการศึกษาในบึงบอระเพ็ดจำนวน 222 เรื่อง ขึ้นระบบออนไลน์ของหน่วยงาน เพื่อบริการให้กับผู้ที่สนใจในการสืบค้นข้อมูลไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ ต่อมาวิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืนร่วมกับคณาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ได้เรียนรู้ในการฝึกทักษะทางวิชาการและการลงพื้นที่จากผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งผลให้เข้าใจบริบทของบึงบอระเพ็ดในภาพรวมได้ ผลที่ได้ระยะที่ 1 ทำให้เวบไซด์ของวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลบึงบอระเพ็ดและฐานงานวิจัย ที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาศึกษาและค้นหาข้อมูลได้

2) ระยะที่ 2 : ระยะสร้างเครือข่าย (พ.ศ.2558-2562)

    วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนเครือข่ายที่รู้จักในระยะแรก ด้วยการสอบถามสภาพปัญหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับชุมชนและภาครัฐในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการจัดประชุมวิชาการชาวบ้านเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทำให้หน่วยงานในระดับจังหวัดเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาจึงพาเจ้าหน้าที่วิทยาเขตนครสวรรค์ไปพบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออธิบายสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ต่อมาข้อสั่งการให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งการทำแผนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาบนฐานของความจริง ทำให้สภาปฏิรูปแห่งชาติรับไปพิจารณาและนำเสนอให้รัฐบาลต่อไป ผลกระทบจาการงานส่งผลให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนการ จัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดของสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ และการจัดทำแผนพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในที่สุดรัฐบาลได้อนุมัติแผนปฏิบัติการเร่งด่วนระยะ 3 ปี จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท  ส่วนงานด้านการวิจัยได้มีการศึกษาในสิ่งที่เป็นช่องว่าง (Gap) ที่ต้องการหาคำตอบ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ศึกษาความลึกของบึงบอระเพ็ดและการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำ และนำงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ของแต่ละหน่วยงานต่อไป ผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกภาคส่วนพูดคุยกันมากขึ้นและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ผลที่ได้ระยะที่ 2 ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน เนื่องจากได้มีการนำเสนอข้อมูลสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย จนได้โครงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวิจัยที่ใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานของพื้นที่ได้อีกด้วย

3) ระยะที่ 3 : ระยะการจัดการเครือข่าย (พ.ศ.2563-2565)

    เครือข่ายบึงบอระเพ็ดมีการจัดการร่วมกันในการแบ่งปันข้อมูล การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลวิชาการ และข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การรักษาระดับน้ำบนฐานข้อมูลวิชาการ เป็นต้น ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญเป็นการจัดประชุมวิชาการบึงบอระเพ็ด (จัดโดยจังหวัดนครสวรรค์) โดยมีวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นทีมเลขานุการ เพื่อเรียนรู้และทบทวนแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ด มีแผนงานที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (BCG และ SDGs) ส่วนการวิจัยได้มีการร่วมกันกับภาครัฐและประชาชนเสนอโครงการวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและสร้างกติกาการใช้น้ำร่วมกัน ในการนี้เครือข่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นปัญญาของแผ่นดิน และเป็นที่พึ่งให้กับคนในพื้นที่ ผลที่ได้ระยะที่ 3 ได้เกิดการรวบกลุ่มของคนในชุมชนจดทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน 5 ตำบล และมีระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอีกด้วย 

 
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* SDG6 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* 6.4, 6.6, 6.b
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง SDG 12,17 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ 12.2, 17.1
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * https://www.youtube.com/watch?v=C2VVypCijK4
 https://drive.google.com/file/d/1dQgQDgLfrf2PoxGayl_RxjVq5i01iCnl/view?usp=sharing
MU-SDGs Strategy* ยุทธศาสตร์ที่ 3
Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด, ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ), โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน), ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง),สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์,ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, องค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ด, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด


ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message* การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง 6.5.5

เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ

รายละเอียด

โครงการ

ชื่องานวิจัย

เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์

ผู้รับผิดชอบ

นางศศิธร มารัตน์

ที่มาและความสำคัญ

สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 19 (Covid- 19) ที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีนเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีการระบาดอีกหลายประเทศทั่วโลกติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน และในช่วงเดือนเมษายน  2564 ที่ผ่านมาประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก รัฐบาลมีนโยบายให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ได้รับเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา โดยให้ทุกชุมชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ได้รับเชื้อโควิด 19 ที่ไม่แสดงอาการกลับมาพักคอยในชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่จะต้องจัดตั้งศูนย์พักคอยและขยายศูนย์มาใช้พื้นที่ของวโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ด้วยเห็นความสำคัญและห่วงใยต่อสภาพจิตใจและการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ได้รับเชื่อโควิด 19 ที่ศูนย์พักคอยตำบลเขาทองและศูนยพักคอยกันภัยมหิดล และเพื่อยึดมั่นต่อพันธกิจของ วิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือชุมชน

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

1. ศูนย์พักคอย ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่เขาทอง

2. ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดล

วัตถุประสงค์

1 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทอง

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองได้ผ่อนคลายลดภาวะความเครียด

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองได้มีความรู้ปฏิบัติตัวและดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

4เพื่อสนับสนุนพันธกิจของวิทยาเขตด้านงานบริการวิชาการต่อสังคม

ปีที่จัด

2564

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

สิงหาคม  2564 – กันยายน 2564

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ

ระดับชุมชน ระดับตำบล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม)

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล

2.องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทอง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1. ประสานงานกับผู้ดูแลศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และรูปแบบการดำเนินกิจกรรม  

2. วางรูปแบบการจัดโครงการ

3. ดำเนินกิจกรรม

     – เป็นการจัดกิจกรรมระหว่างวัน  วันล่ะ ครั้ง 5 ครั้ง/สัปดาห์ 

     – จัดกิจกรรมผ่านกระบวนการจิตตปัญญา

     – ให้สุขศึกษาด้านการปฏิบัติตัวและดูแลตนเองตามหลักวิชาการ

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

จำนวนผู้ได้รับเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)  รวม 21 คน

 

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1. จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)  รวม 21 คน

2. ผู้ติดเชื้อที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้ระบายความทุกข์/ความโคกเศร้าผ่านการวาดภาพ

3. ส่วนใหญ่จะมีความเครียดและวิตกกังวลสูงในช่วงสัปดาห์แรกเมื่อทราบผลการติดเชื้อ

4. สาเหตุของความเครียดส่วนใหญ่กลัวทำให้ผู้ที่ใกล้ชิดติดเชื้อด้วย ลองลงมาคือเสียงรอบข้างกล่าวโทษทำให้ชุมชนเดือดร้อน

5.สัปดาห์ที่ 2 ผู้ติดเชื้อทุกคนผ่อนคลายและชุมชนให้การยอมรับการกลับสู่ชุมชน

6. ผู้ติดเชื้อปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง และออกกำลังกายทุกวันตามที่ได้รับคำแนะนำ

7. หน่วยงานองค์กรภายในชุมชนร่วมมือเอื้อเฟื้อให้ความช่วยเหลือ

8.เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วนในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนในชุมชน

Web link

รูปภาพประกอบ

 

 

 

 

 

SDGs goal

Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​

 

การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ที่มาและความสำคัญ

     บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศและการกักเก็บน้ำ ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเข้มข้นของชาวบ้านในพื้นที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันในกลุ่มอาชีพของภาคประชาชน การไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐและประชาชน การดำเนินการที่ติดขัดข้อกฎหมายที่มีหลายฉบับ และอำนาจตัดสินใจอยู่ในหลายหน่วยงาน ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2564) มีการขับเคลื่อนด้วยการศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการทบทวนเอกสาร รวบรวมข้อมูลงานวิจัย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีการคืนข้อมูลให้กับทุกภาคส่วนทีละกลุ่ม แล้วนำตัวแทนมาคืนข้อมูลร่วมกันกับทุกกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจปัญหา ยอมรับปัญหา เข้าใจสาเหตุของปัญหา และเข้าใจกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มและสร้างความร่วมมือ จนนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดร่วมกันเพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้บึงบอระเพ็ดถูกตั้งเป็นปัญหาวาระสำคัญของชาติ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาที่เป็นแผนปฏิบัติการ และการทบทวนแผนการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สุดท้ายแล้วคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2563–2572) วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,701.5 ล้านบาท ต่อมาเครือข่ายบึงบอระเพ็ดร่วมพัฒนาโครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด เพื่อสร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การจัดทำแผนที่บึงบอระเพ็ด การประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด เป็นต้น

     การเกิดเครือข่ายบึงบอระเพ็ดทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในบึงบอระเพ็ด ทำให้แสดงให้เห็นว่าการที่ทุกภาคส่วนมีความรู้ที่ถูกต้องและเท่ากัน จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดที่ยั่งยืนได้

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในบึงบอระเพ็ด

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2554-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วน​บริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน)

ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

ประชาชนในบึงบอระเพ็ด

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การให้คำปรึกษา การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายบึงบอระเพ็ด (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน)

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ประชาชนได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์เป็นไปตามข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยล่าสุดได้รับสัญญาเช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นว.339 (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,542 แปลง คงเหลืออีกประมาณ 5,000 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาการเช่า

2.โครงการภายใต้ข้อเสนอของ “เครือข่ายบึงบอระเพ็ด” ถูกบรรจุในส่วนหนึ่งของแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดที่ได้รับอนุมัติดำเนินการ 10 ปี (2563-2572) ซึ่งแผนปฏิบัติการเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีระยะ 3 ปี (2563-2565) จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท

3.เกิดการตรวจสอบแนวเขตและเข้าครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 6,888 แปลง ทำให้ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ดได้

4.การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายบึงบอระเพ็ด สามาถลดความขัดแย้งของทุกภาคส่วน

5.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด

Web link

https://na.mahidol.ac.th/th/2021/6650

https://na.mahidol.ac.th/bungresearch/index.php/2021-11-16-09-38-44

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ

   “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้นจนเกิดข้อพิพาทระหว่างกลุ่มต่างอาชีพและกลุ่มอาชีพเดียวกัน ช่วงฤดูแล้งบางปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

    ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาโจทย์ของโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และได้รับการ “เห็นชอบและรับทราบ” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564-2565
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง กันยายน 2564 – กันยายน 2565
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน,จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่บึงบอระเพ็ด

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 กรมทรัพยากรน้ำ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ด ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– เกิดการจัดสรรน้ำให้กับทุกกิจกรรมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุลกันระหว่างการรักษาระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

– ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญ จนเกิดการยอมรับ และนำไปสู่การปฏิบัติได้

– การผลักดันสู่นโยบายด้วย “คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด” สามารถนำข้อสรุปของโครงการไปเป็นแนวทางการใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดในแต่ละพื้นที่ (เขตให้ ห้าม หวง)

– ระบบการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับบึงบอระเพ็ด

Web link https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=IoZEzOyuze4
รูปภาพประกอบ
     
SDG goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นางสาว กนกอร รังศรี รหัสนักศึกษา 6126003
2. นางสาว ศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด รหัสนักศึกษา 6126010
3. นางสาว ซอฟียะห์ เจ๊ะหะ รหัสนักศึกษา 6126014
4. นางสาว สาธิดา ต๊ะคีรี รหัสนักศึกษา 6126020
5. นาย พิชิตชัย วงษา รหัสนักศึกษา 6126026
6. นางสาว มณีรัตน์ ไตรรัตน์ รหัสนักศึกษา 6127040นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ             ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) และกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ” ขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1) เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ)

2) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ พ.ศ. 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล และระดับมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ ทางโปรแกรม Zoom Application มีการดำเนินกิจกรรมกับเจ้าของความรู้ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิษณุกรณ์ กวยลี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3) คุณอภิญญา แก้วเทพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 88 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– องค์ความรู้เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”

– แนวทางในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ข้อที่ 6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล อย่างยั่งยืน

Web link

https://youtu.be/NHDmca0ceqg

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147181502437043/?d=n

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation

 

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์
ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน

       นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560)

นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง

การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก

นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก

แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป

 

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง
วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น

2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้

5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3)

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม พ.ศ. 2562
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ

-การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง

-การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน

-การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท.

-การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท.

-การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

-การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา

-การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 228 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท

-อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ

-อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

-การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

Web link

Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab

Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/

SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/

Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ

รูปภาพประกอบ
  
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 5 : Gender equality
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals