พลังงานทดแทน : รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22801)

MU-SDGs Case Study*

พลังงานทดแทน : รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22801)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
นายสรรเสริญ แต้ประยูร

ส่วนงานร่วม

หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

ในภาคการเกษตรต้นทุนด้านพลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีราคาสูง อีกทั้งประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานดังกล่าวจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงาน และการขาดทุน ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทดแทน ที่จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนด้านพลังงานให้แก่เกษตรกร ซึ่งในปัจจุบันโซล่าเซลล์ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นทำในช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดด ได้แก่ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบผลิตกระแสไฟ้ฟ้าจากแสงอาทิตย์จะประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก คือ 1) ส่วนของระบบผลิตไฟฟ้าสูบน้ำ และ 2) ส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ โดยส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์มี 2 แบบ คือ แบบติดตั้งถาวร และแบบเคลื่อนย้ายได้ แบบที่ติดตั้งถาวรจะเหมาะกับพื้นที่แปลงเกษตรขนาดใหญ่ และต้องมีการดูแลใกล้ชิด เพราะอาจสูญหายได้หากสร้างไว้ในที่ห่างไกลคนดูแล ดังนั้นจึงมีการพัฒนาชุดรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้และได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาด ถ้ามีขนาดที่ใหญ่เกินไปก็ทำให้เคลื่อนย้ายยาก หรือ ถ้าเล็กเกินไปก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของ “รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ” ที่สามารถเข็นและลากจูงได้ มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป มีความคล่องตัว จึงสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งในแปลงเกษตรหรือพื้นที่ที่มีขนาดเล็กเส้นทางคับแคบ ใช้สูบน้ำและกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในยามค่ำคืน หรือในสถานที่ๆไฟฟ้าเข้าไม่ถึง อีกทั้งยังมีชุดรองรับแผ่นโซล่าเซลล์เพิ่มความแข็งแรงให้กับแผ่นโซล่าเซลล์และสามารถพับเก็บ ทำให้สะดวกและปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย มีขาสำหรับค้ำยันทั้ง 4 มุมของตัวรถ เพื่อเพิ่มความมั่นคงขณะใช้งาน ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากรถสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วไป

รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ มีศักยภาพที่จะผลิตในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ความหลากหลายในการใช้งานสูง มีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ และมีความปลอดภัยขณะใช้งาน มีการบำรุงรักษาที่ง่าย และมีความแข็งแรงทนทาน รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นรูปแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาใช้ในงาน ในสถานที่ต่างๆ ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงหรือในแหล่งที่ห่างไกลจากเส้นทางการขนส่ง การเคลื่อนย้ายรถลากจูงฯ ไปในที่ต่างๆทำได้ง่ายคล่องตัว สามารถใช้ คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ หรือรถใช้งานทางด้านการเกษตรชนิดต่าง ๆ เป็นตัวลากจูง สามารถใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ใน งานไร่ นา สวน หรือ เพื่อสูบน้ำใช้ในพื้นที่ๆ ต้องการ ไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนหรืองานอื่นๆที่ต้องการ โครงสร้างมีความคงทน มั่นคง และแข็งแรง ใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ทั่วไป ทำให้ใช้ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำหากผลิตในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งระบบในการควบคุมการใช้งานก็ง่ายไม่ซับซ้อน การบำรุงรักษาน้อยค่าใช้จ่ายไม่สูง และอายุการใช้งานยาวนานหากใช้ถูกต้องตามวิธีการ

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs7

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

7.1,7.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIycSUyMiUzQSUyMjIyODAxJTIyJTJDJTIyaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2
VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlMkMlMjJkaXNwbGF5JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW5kZXhfY3
JlYXRlJTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW4lMjIlM0ExJTJDJTIyb3JkZXIlMjIlM0ElMjJfc2Nvcm
UlMkNkZXNjJTIyJTJDJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMnNlYXJjaF9hbGwlMjIlMkMlMjJ0eXBlX25hbWUlMjIlM0ElMjIlRTAlQjg
lQUQlRTAlQjglOTklRTAlQjglQjglRTAlQjglQUElRTAlQjglQjQlRTAlQjglOTclRTAlQjglOTglRTAlQjglQjQlRTAlQjglOUElRTAlQ
jglQjElRTAlQjglOTUlRTAlQjglQTMlMjIlMkMlMjJ0YWJfaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlN0Q%3D
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=815063667297671&set=a.477621531041888&type=3&locale=th_
TH&paipv=0&eav=AfbzSzKGjWDPNvGE-RaeI5zMi5xLkfakMxlQ4Vrygagd4KLT7I31Sh5K498FjktI0qc&_rdr
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

พื้นที่การเกษตรในประเทศไทยหลายพื้นที่ ระบบสายส่งไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงทำให้เกษตรกรมีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการสูบน้ำเข้าแปลงนา ใช้รถน้ำต้นไม้ การให้แสงสว่าง และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้า และสูบน้ำ โครงสร้างตัวรถซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก เมื่อเกษตรกรต้องการนำรถดังกล่าวไปสูบน้ำในแปลงนา หรือในพื้นที่สวน ที่มีคันนา หรือทางเดินที่คับแคบ ก็สามารถที่จะนำรถลากจูงดังกล่าวเข้าไปในจุดที่ต้องการได้สะดวก สามารถใช้คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถไถ รถไถนาแบบเดินตาม ในการลากจูงรถเข้าไปในพื้นที่ได้ เพียงแต่ต้องมีการติดตั้งชุดลากจูงเข้ากับตัวโครงสร้างตัวรถ ส่วนการใช้แรงงานคนก็สามารถดันรถลากจูงฯให้เคลื่อนที่ได้ง่ายจากการที่ ตัวรถลากจูงฯ ติดตั้งมือจับไว้ในส่วนท้ายตัวรถ เมื่อนำรถลากจูงฯไปถึงจุดที่ต้องการสูบน้ำ หรือจุดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ตัวรถลากจูงฯนี้ยังมีจุดเด่น คือ ยังมีขาค้ำยันทั้ง 4 มุม ยึดติดกับโครงสร้าง เพื่อใช้ในการป้องกันการผลิกคว่ำขณะชุดแผงรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ถูกกางออกเติมที่ และถึงแม้กระทั้งมีลมแรงพัดมาปะทะกับแผงโซล่าเซลล์โดยตรง ตัวค้ำยันยังป้องกันการพลิกคว่ำหรือการเคลื่อนที่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

7.2.4, 7.4.1

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt2.Dr. Pornpirat Kantatasiri

Statement problems Since the world’s population is growing, people are using more energy for several purposes, including their livelihood. Furthermore, motor oil is utilized in vehicle operation, and methane is used to generate fuel and electricity. Many countries are experiencing a scarcity of energy supplies, notably electricity and fuel. Thailand imports fuel and electricity, and its energy prices have been steadily rising for almost a decade, and this trend is likely to continue. Many researchers have looked for alternative energy sources to use instead of imported energy, especially in countries where electricity and other energy sources are unavailable. Furthermore, it is likely that the earth’s fuel and other energy supplies will be exhausted soon. Thailand is a leader in agricultural exports to many nations across the world, and all of its goods are of excellent quality. Thailand can grow energy crops for alternative energy production, such as sugarcane for bioethanol production and Napier grass for electricity generation, that are both low-cost and low-impact on the environment. In Thailand, there are around 20 varieties of Napier grass, each with a large biomass and distinct potential for producing methane, heating value and electricity. The potential of the Napier grass to create methane and heating value has been studied in recent work, which is initiated information on the uses of Napier grass varieties for energy purposes. Furthermore, it might be a practical means of determining the best varieties to employ for electricity generating in the future.
Area of Studies/ Area of Activities Field surveys throughout Thailand, as well as laboratory-based investigations to determine methane production and heating value, as well as the computation of heat value for electricity generation in electricity power generation plant (1 megawatt) from different varieties of Napier grass.
Objectives

1.To study the basic information of Napier grass varieties in Thailand, including strains, botanical characteristics, agricultural practices, and cultivation costs, as well as methane production from pig manure and Napier grass, and heating values from Napier grass for use as a source for electricity generation

2.To determine of cost and financial return of Napier grass cultivation for electricity generation in a power generation plant (1 megawatt)

Years 2020
Project/Activity Duration January 9 – July 8, 2020
Levels of Collaboration University and state-owned enterprise level.
Collaborative organization Electricity Generating Authority of Thailand

Project approaches/

Activity approaches

1.Field surveys

2.Laboratory works

3.Meeting between researchers from Mahidol University and staffs from Electricity Generating Authority of Thailand

Target groups
Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1)To get a fundamental understanding of the biology and agricultural practices of various Napier grass varieties, as well as marketing information for cultivation and marketing, so that they may be used as a source of electricity generation.

2)To generate methane in a mesocosm system using a suitable ratio of fermented pig dung and Napier grass

3)To study about the technique’s optimization, economic and financial values, and investment in a biogas electricity production facility utilizing Napier grass.

Web link https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/?tab=album&album_id=2848422768552237
Pictures/Images
 
SDGs goals Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 13 : Climate action​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.จุฑารัตน์  แสงกุล
ที่มาและความสำคัญ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา หมู่บ้าน 1-12 ต.เขาทอง  อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ในการปฏิบัติตน และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

2.เพื่อเป็นการให้กำลังใจชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด และเศรษฐกิจ

3.เพื่อให้บุคลากรทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย ได้ใช้วิชาชีพให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนนอกเวลาปฏิบัติงาน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2563- ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เมษายน 2563 – ปัจจุบัน
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับภาค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

รพสต.เขาทอง   อบต.เขาทอง

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน   วัดเขาทอง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน

2.รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

3.จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว

3.2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19

3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน

4.จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ชาวบ้านทั่วไป ต.เขาทอง   ผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid -19  ผู้ติดเชื้อ  ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า 500 คน  (รวมทุกกิจกรรม)
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส covid-19 ทั้งการป้องกันตนเอง การกักตัว และการรับวัคซีน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.ชาวบ้านมีการเข้าถึงระบบการให้บริการสุขภาพได้ ทุกกลุ่มวัย

3.ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งเศรษฐกิจ และการติดเชื้อโรคได้รับการช่วยเหลือ

4.บุคลากร นักศึกษา ได้ร่วมกันทำประโยชน์ให้ชุมชน

Web link  
รูปภาพประกอบ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์


จัดตั้งศูนย์พักคอย MUCI

SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 3 : Good health and well being
Goal 7 : Affordable and clean energy

 

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์
ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน

       นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560)

นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง

การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก

นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก

แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป

 

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง
วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น

2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้

5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3)

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม พ.ศ. 2562
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ

-การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง

-การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน

-การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท.

-การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท.

-การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

-การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา

-การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 228 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท

-อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ

-อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

-การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

Web link

Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab

Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/

SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/

Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ

รูปภาพประกอบ
  
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 5 : Gender equality
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

การปลูกป่าในพื้นที่บึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

การปลูกป่าในพื้นที่บึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบโครงการ  ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ  บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีกิจกรรมการขุดลอกตะกอนดินเป็นประจำทุกปี ทำให้เกิดกองดินตะกอน ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร ทอดแนวยาวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ซึ่งเป็นภาพที่ไม่สวยงามต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นจุดชมวิว และมีการปลูกป่าเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในบึงบอระเพ็ด ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนงานด้านวิชาการให้กับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เพื่อให้กิจกรรมสามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ
การตรวจสอบคุณภาพตะกอนดิน
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกป่า
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2563-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เป็นกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ที่มีการปลูกต้นไม้ทั่วประเทศในทุกจังหวัด โดยภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 40%
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่ายบึงบอระเพ็ด เป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันมากกว่า 5 ปี โดยเป็นการทำงานแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การตรวจสอบคุณภาพตะกอนดิน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกป่า
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม สถาบันการศึกษา, ชุมชน, จังหวัด, หน่วยงานราชการในพื้นที่
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่า 100 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าตะกอนดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติของดินบางประการโดยเติมวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่มีความจำเป็นเพื่อให้เพียงพอต่อการต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 และดำเนินการปลูกต้นไม้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 หลังจากนั้นทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดจะดำเนินการดูแลรักษาต่อไป และคาดหวังว่าจะเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ในบริเวณพื้นที่บึงบอระเพ็ด
Web link
รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal

Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 13 : Climate action​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals