Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด | ||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ||||||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
“บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้นจนเกิดข้อพิพาทระหว่างกลุ่มต่างอาชีพและกลุ่มอาชีพเดียวกัน ช่วงฤดูแล้งบางปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้ ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาโจทย์ของโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และได้รับการ “เห็นชอบและรับทราบ” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป |
||||||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด | ||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน |
||||||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2564-2565 | ||||||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | กันยายน 2564 – กันยายน 2565 | ||||||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ชุมชน,จังหวัด | ||||||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่บึงบอระเพ็ด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ โครงการชลประทานนครสวรรค์ ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 กรมทรัพยากรน้ำ |
||||||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ด ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา |
||||||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 200 คน | ||||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
– เกิดการจัดสรรน้ำให้กับทุกกิจกรรมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุลกันระหว่างการรักษาระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ – ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญ จนเกิดการยอมรับ และนำไปสู่การปฏิบัติได้ – การผลักดันสู่นโยบายด้วย “คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด” สามารถนำข้อสรุปของโครงการไปเป็นแนวทางการใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดในแต่ละพื้นที่ (เขตให้ ห้าม หวง) – ระบบการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับบึงบอระเพ็ด |
||||||||||||||||
Web link | https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=IoZEzOyuze4 | ||||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||||||
SDG goal | Goal 6 : Clean water and sanitation Goal 13 : Climate action Goal 14 : Life below water Goal 15 : Life on land Goal 17 : Partnerships for the goals |