MU-SDGs Case Study* |
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
ธนากร จันหมะกสิต และ ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร |
ส่วนงานหลัก* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม |
– |
ส่วนงานร่วม |
– |
เนื้อหา* |
ตามที่รัฐบาล มีแผนงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green Economy : BCG Economy) เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCGEconomy เนื่องจาก อว. มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” นี้ จะเป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจBCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ ตามที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ดำเนิน“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)” จากการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่โครงการ ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2565 โดยมีวงเงินทั้งสิ้น 505,000.-บาท (ห้าแสนห้าพันบาทถ้วน) ตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 25,999 ไร่ ปี 2556 มีประชากร 3,907 คน 1,273 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ และประมง นอกนั้นมีอาชีพรับจ้างค้าขาย จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าจากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีมากกว่าสองล้านตันในแต่ปีถูกนำไปใช้ในการผลิตข้าวมากกว่าพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่าสาเหตุหลักของการใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรจำนวนมากยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่เป็นไปตามความต้องการของข้าว นอกจากต้นทุนการใช้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็นจะเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูงแล้ว ยังพบว่าต้นทุนที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของค่าเมล็ดพันธุ์ โดนส่วนใหญ่พบว่าเกษตรกรไม่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือ การเก็บเมล็ดพันธุ์เองนั้นไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวลดลง ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิตข้าวจึงเป็นเป้าหมายสำคัญยิ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากการทำนา โดยการปรับปรุงและแก้ปัญหาหลัก 2 ประการ คือ เมล็ดพันธุ์ ทั้งคุณภาพและอัตราการใช้ และปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งใช้เกินความจำเป็นและไม่ตรงกับความต้องการของพืช เป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าเมล็ดพันธุ์และค่าปุ๋ยเคมีแล้ว ยังช่วยลดการระบาดของโรคแมลง และเพิ่มผลผลิตต่อไร่อีกด้วย ซึ่งในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานผลจากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในพื้นที่ปลูกข้าว 159,186 ไร่ ทำให้ค่าปุ๋ยลดลงจากไร่ละ 732 บาท เหลือ 534 บาท หรือลดลง 27% และผลผลิตเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 643 กก. เป็น 703 กก. หรือเพิ่มขึ้น 9% จะเห็นได้ว่าการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพโดยการพิจารณาปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับค่าการวิเคราะห์ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะของดิน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตข้าวมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในต้นทุนที่ลดลงต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่จะขับเคลื่อนการลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินผ่านกลไกการจัดตั้งศูนย์การจัดการดินปุ๋ยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดยเกษตรกร ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่เป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนสำหรับแก้ไขจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้เอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิต เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศูนย์การจัดการดินปุ๋ยของชุมชนโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม และพร้อมในการให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการดินปุ๋ยแก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการในการทำงานที่บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 1,2,8,12 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
SDGs 1,2,8,12 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
|||
MU-SDGs Strategy* |
|||
Partners/Stakeholders* |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ วิสาหกิจชุมชนสามัคคีพันธุ์ข้าว และเกษตรกรใน ต.ยางขาว สำนักงานส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|||
Key Message* |
|||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
Tag: ปี 2565
ปี 2565
โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)
MU-SDGs Case Study* | โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร) | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง อ.ดร.สมสุข พวงดี อ.ดร.ศศิมา วรหาญ อ.ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อ.ดร.เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย นายอภินันท์ ปลอดแก้ว นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | 1.นายยศพัฒน์ ธนอัครสวัสดิ์ | ส่วนงานร่วม | 1.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ |
เนื้อหา* | การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ…. 1. เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) 2. พัฒนาและจัดทำหลักสูตรให้กับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อผู้เรียนสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจ 3. ผู้รียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนในระดับอุดมศึกษา 4. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ การดำเนินงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง คือ โรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม จัดประชุมร่วมกันเพื่อออกแบบหลักสูตร และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 70 คน จากโรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม โดยกำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง และมีการทบทวนหลังทำกิจกรรม (After Action Review-AAR) ระหว่างโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และคุณครูโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งสองแห่งทุกครั้งที่จัดกิจกรรม เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย 1. การเรียนรู้การเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก (Free ranch chicken) และการแปรรูปโดยใช้ไข่เป็นวัตถุดิบหลักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 2. การเชื่อมโยงธุรกิจไข่สู่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ 3. การสร้างการรับรู้ การสร้างแบรนด์ และการขาย 4. การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์” จากผลิตสู่ขาย การจัดการเรียนการสอน กำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 4, 11, 18 กรกฏาคม และ 1 สิงหาคม 2565 โดยทางโรงเรียนใช้ชั่วโมงการเรียนรู้จากรายวิชาในชั้นมัทธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ วิชาชุมนุม และวิชาการงานอาชีพพื้นฐาน โดยคุณครูผู้รับผิดชอบทั้งสองแห่งนำนักเรียนมาเรียนรู้ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล การจัดการเรียนการสอนเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing) และผ่านประสบการณ์จริง (Experiential Learning) โดยการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) จากการลงมือปฏิบัติ ผลงาน การนำเสนอ การถอดบทเรียนที่ให้ผู้เรียนได้พูด เขียน หรือแสดงออก รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ
ผลลัพธ์ และประโยชน์ต่อสังคม 1. เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) ที่สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ 2. มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับใบประกาศนียบัตรจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ที่ผ่านหลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร) ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (ตั้งแต่ผลิตสู่ขาย) ติดตัวไป 3. ผู้บริหารและคุณครูจากทั้งสองโรงเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนนักเรียนให้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน และได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงทางโรงเรียนสนใจที่จะนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากหลักสูตรนี้ไปปรับใช้ที่โรงเรียน
มหิดลนครสวรรค์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” (นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี) ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภาค 18 และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกัน โดยในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้รับมอบเกียรติบัตรในฐานะที่เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ ส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ประจำปีงบประมาณ 2565 | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 4,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.1, 4.3, 4.5 17.14 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | การประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมเวทีประชาคม เพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2565 https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7578 | ||
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางการศึกษาในโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา วันที่ 23 มิถุนายน 2565 https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7965 https://www.facebook.com/nswpeo | |||
การจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ครั้ง https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/ | |||
มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การจัดทำหลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ต่อเนื่องสู่ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเองและเชื่อมโยงกันได้อย่างแท้จริง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 4.1, 4.3, 4.5 |
“รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
MU-SDGs Case Study* | “รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | พินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อติพร อุ่นเป็นนิจย์ | ส่วนงานร่วม | ทีมงานเจ้าหน้าที่โครงการ U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับกลุ่มคนผู้ปลูกผักในครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยผ่านการเชิญชวน แนะนำจากผู้นำชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้านของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และทางองคืการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เข้าไปสำรวจค้นหาต้นทุนเดิมของทางชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบนฐานทรัพยากร BCG และสร้างทีมพัฒนา หาความร่วมมือ จัดกระบวนการและวางแนวทางการพัฒนา บนฐานของการสร้างการมีส่วนร่วม และการยอมรับเกิดความร่วมมือของชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การระดมสมองของทีมงานพัฒนาที่มาจากชุมชนและบัณฑิต สังเกต เข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน ถอดบทเรียนการค้นหาปัญหาและข้อมูล เสนอแนะวางแนวทางการแก้ปัญหาพัฒนา ตลอดจนการวางกระบวนการมีส่วนร่วมร่วมคิด ร่วมทำ และสาธิต ถ่ายทอดให้ความรู้การผลิต การตลาด และพาทำ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒน และมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กันร่วมด้วย โดยผ่านช่องทางไลน์กลุ่ม เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิต ยกระดับการผลิตที่สร้างมูลค่า และสร้างคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภค ภายในชุมชน ตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการที่ผ่านมา ในกระบวนการวางแนวทางการพัฒนา คือการเข้าไปสำรวจข้อมูลของทีมงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บ สอบถาม สังเกต มาช่วยกัน Brainstorm วางแผนการพัฒนา โดยเริ่มจากการเสนอโจทย์ให้กับพื้นที่เป้าหมาย ผ่านผู้นำ หาความร่วมมือ และให้ผู้นำเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มชาวบ้านที่ปลูกผักไว้รับประทานเอง เมื่อผักรับประทานในครอบครัวแล้วมักจะนำมาขายบริเวณหน้าบ้านตนเอง หลังจากนั้นได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการชักชวนเสนอแนะจากผู้นำชุมชน และทีมงาน มาพูดคุยถอดบทเรียนกัน เพื่อค้นหาปัญหา และความต้องการที่แท้จริง และวางแผน จัดกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าที่การมีส่วนร่วม และเกิดความยั่งยืน ทำให้ได้ขั้นตอนการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้านที่ปลูกผักดังกล่าว ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยการให้ความรู้การผลิตผักแบบปลอดสารพิษ ที่ลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทน เช่น บิวเวอเรีย เมตาไรเชียม ไตรโคเดอร์มา มีการอบรมการฝึกขยายเชื้อ แนะนำการนำไปใช้ในแปลงผลิต เพื่อป้องกันกำจัด โรค แมลง ทดแทนการใช้สารเคมีต่าง ๆ หรือในการบำรุง เพิ่มผลผลิต เช่น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำจุลินทรีย์จาวปลวก และการทำปุ๋ยหมักต่างๆ อย่างง่ายเพื่อไว้ใช้เอง มีกระบวนการติดตามตรวจเยี่ยมแปลงของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการให้คำแนะนำปรึกษาผ่าน กลุ่มไลน์ นอกจากการให้ความรู้ในการผลิตที่ดีแล้วเพื่อการยกระดับการผลิตและการสร้างคุณค่า ทางโครงการยังมีการหนุนเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ใบตองมาทำเป็นกระทงใส่พืชผัก จำหน่าย การสนับสนุนการใช้ถุงผ้า การใช้ตอกแทนยางวงในการมัด เป็นต้น ทั้งนี้ทางโครงการได้ร่วมกับทางองการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ได้สร้างช่องทางการจำหน่ายภายในชุมชน โดยมีจุดจำหน่ายประจำบริเวณหน้าที่ทำการองการบริหารส่วนตำบล ทุกวันอาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตที่เข้าร่วมพัฒนากับทางโครงการ มีพื้นที่จำหน่ายประจำ สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับคนในชุมชน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2 ,12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/profile.php?id=100057393372665&paipv=0&eav=Afaj79JHuN-V13oiuO4yFQOJIm1LrcAvhDrHux_Vv0foGRsCDBSwGmFC_C9I5XPuhl4 | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | 1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2565 4.ผู้นำชุมชนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 6.กลุ่มชาวบ้านผู้ปลูกผัก 18 ครัวเรือน ของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ 7.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการใช้โอกาสจากโครงการ U2T เชื่อมโยงต้นทุนเดิมของชุมชนในการผลิตผักในครัวเรือน พัฒนาประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการ สู่การผลิตผักที่มีความปลอดภัย สร้างมูลค่าและคุณค่า กับชุมชน โดยการมีส่วนร่วม พึ่งพาตนเอง เสริมสร่างความเข้มแข็งแบบเครือข่าย และการจัดการที่มุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1 , 2.5.2 ,2.5.3, 2.5.4 |
การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย
MU-SDGs Case Study* |
การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย |
|
ผู้ดำเนินการหลัก นายธนากร จันหมะกสิต |
ส่วนงานหลัก* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม ดร.ณพล อนุตตรังกูร |
ส่วนงานร่วม |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* |
รูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในเชิงอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยคือรูปแบบการเลี้ยงแบบขังกรงตับตลอดช่วงอายุการให้ไข่ของไก่ เนื่องจากการเลี้ยงรูปแบบนี้ง่ายต่อการจัดการตัวไก่ ทั้งในเรื่องของการให้อาหาร การเก็บผลผลิต การดูแลสุขภาพ และมีต้นทุนการเลี้ยงที่ต่ำจากการใช้พื้นที่ต่อตัวในการเลี้ยงที่น้อย ทำให้สามารถเลี้ยงไก่ไข่ในครั้งหนึ่งๆได้เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงยังคงมีข้อจำกัดบางประการ Duncan (1992) การเลี้ยงไก่ไว้ในกรงตับส่งผลกระทบต่อหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) มากที่สุด มีผลให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติลดลง เกิดความผิดปกติของกระดูกเท้า และเท้าไก่ยังมีสุขลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคที่เท้าของไก่ตามมา (Tuason et al., 1999) ซึ่ง Englmaierova et al. (2014) รายงานว่า ระบบการเลี้ยงแบบขังกรงได้ถูกยกเลิกในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2012 แต่ยังอนุญาตให้เลี้ยงไก่ในกรงที่มีการเสริมอุปกรณ์และเพิ่มการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกที่ถูกพัฒนาให้มีการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต การเลี้ยงไก่ไข่แบบทางเลือกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป และในด้านวิชาการก็ยังคงมีการศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ทางเลือกเหล่านี้เรื่อยมา Anderson (2011) รายงานว่าการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยพื้นส่งผลให้ไข่ไก่มีปริมาณ เบต้าแคโรทีน (β-carotene) และไขมันรวมที่สูงกว่า และมีดัชนีรูปร่างไข่ที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในกรงตับเช่นเดียวกับสีไข่แดงที่มีความเข้มกว่าไข่แดงที่ได้จากไก่ที่เลี้ยงในกรงตับ (Vandenbrand et al., 2004) จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมางานวิจัยที่ศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบทางเลือกส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในต่างประเทศซึ่งบริบทในด้านต่างๆ ก็แตกต่างจากในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่วนในประเทศไทยยังมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่น้อย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงต้องการเปรียบเทียบระบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และปล่อยพื้นแบบมีพื้นที่ปล่อยออกสู่ภายนอกโรงเรือน (ปล่อยอิสระ) เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบทางเลือกในท้องตลาดยังมีราคาที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในรูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าให้กับไข่ไก่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อีกทางหนึ่ง |
|
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
2.1, 2.2, 2.3,2.4,2.a |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
12.8,12.a |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://youtu.be/kx9z-K-CX1U |
|
https://youtu.be/CsJurfC9xoY | ||
https://youtu.be/TQvKDV-350g | ||
https://youtu.be/njuF3mKLitU | ||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
|
Partners/Stakeholders* |
ประชาชนที่สนใจ |
|
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
||
Key Message* |
การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม และยึดหลักจริยธรรม |
|
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
2.5.1 |
ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN
MU-SDGs Case Study* | ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||||
เนื้อหา* | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. โดยประเมินผลกับผู้ป่วยจำนวน 276 คน กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 และทำการประเมินผลในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ข้อมูลสะท้อนว่ากระเป๋ากระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลามากขึ้นร้อยละ 86.2 ผู้ป่วยส่งคืนยาด้วยกระเป๋าคืนยาช่วยชาติมากถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยพอใจกระเป๋าในระดับสูง ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน มีช่องใส่ป้ายชื่อ วัสดุแข็งแรงทนทาน ชอบรูปร่างหน้าตาและสีสันของกระเป๋า ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้ วิธีการดำเนินการ 1) ผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายพร้อมชี้แจงแนวทางการใช้กระเป๋าให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 2) โครงการจัดทำบทวิทยุเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่เหมาะสมตามเป้าหมายของโครงการ ส่งต่อสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง ขอความอนุเคราะห์ให้เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋า โดยสถานีวิทยุจะเปิดทุกวัน ในทุกต้นชั่วโมงก่อนเข้ารายการปกติ รวมจำนวน 7 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี 3) ทำการประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 276 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามบัญชีรายชื่อผู้รับกระเป๋า และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีพนักงานเก็บข้อมูลลงเก็บข้อมูลตามบ้านและทำหน้าที่สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย ผลกระทบ – ยาที่นำกลับมาคืน จะถูกบริหารจัดการนำกลับไปใช้ใหม่ตามความเหมาะสม ในส่วนของยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุจะถูกส่งต่อไปทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง – ยาเหลือตกค้างในครัวเรือนลดลง ลดโอกาสที่ยาจะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม – เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลา จะทำให้อาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่เพิ่มความรุนแรงขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายของประเทศเกี่ยวกับยาได้ – ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่ได้ | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3 (3.3.1,3.3.2) , 3.7, 3.d | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/ยาเหลอใช?authuser=0 | ||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||
Partners/Stakeholders* | – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สนับสนุนทุนในการจัดทำกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | “กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ นวัตกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ตรงเวลา และนำยากลับมาคืน รพ.สต.” | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)”
MU-SDGs Case Study* |
ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” |
||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร |
ส่วนงานหลัก* |
ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ |
||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
ศศิธร มารัตน์ |
ส่วนงานร่วม |
ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ |
||||
เนื้อหา* |
งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย ปีที่จัด 2566 ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เดือนกันยายน 2565 – สิงหาคม 2566 ระดับความร่วมมือ ระดับชุมชน ระดับตำบล รูปแบบการดำเนินกิจกรรม เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและ หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ประชาชนที่ฟังรายการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz |
||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.3, 3.4, 3.d |
||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 17 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
17.4.3 |
||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031585491328/ |
||||||
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031508824669 | |||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||
Partners/Stakeholders* |
สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM94.25 MH.z |
||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||
Key Message* |
การจัดรายวิทยุเสียงสร้างสุข (ภาพ) ทำให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแสดงความคิดถึงและความห่วงใยกันผ่านเสียงเพลง โดยการขอเพลงให้กันทั้งคนในชุมชนและต่างชุมชนกัน การได้ออกกำลังกายขณะอยู่ที่บ้านและได้รับความรู้ด้านผู้สูงอายุซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่มีความเข้าใจในความเป็นผู้สูงอายุ |
||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.2 |
เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์
MU-SDGs Case Study* | เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์ | ||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์ น.ส.ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร นายทวีศักดิ์ ปฐม | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||
เนื้อหา* | สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่19 (Covid- 19) ประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากรัฐบาลมีนโยบายให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา โดยให้ทุกชุมชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่จะต้องจัดตั้งศูนย์พักคอย งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เห็นความสำคัญและห่วงใยต่อสภาพจิตใจและการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่ศูนย์พักคอยตำบลเขาทองและเพื่อยึดมั่นต่อพันธกิจของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือชุมชนจึงจัดทำโครงการขึ้น โครงการเป็นการร่วมมือโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทองซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)รวม 21 คน การจัดกระบวนการเป็นการให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัดเน้นการออกกำลังกายและการฝึกบริหารปอดให้ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ปฏิบัติตัวทุกๆวันตลอดระยะเวลาที่กักตัว 14 วัน การให้ความรู้ด้านการพยาบาลให้สังเกตุอาการและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง นอกจากดูแลกายแล้ว การดูแลสถาพจิตใจก็มีความจำเป็น จากการพูดคุยผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยมีภาวะความเรียดทั้งเรื่องงานและรู้สึกผิดต่อผู้ที่ได้ใกล้ชิดและสัมผัส จึงออกแบบกระบวนการตามหลักของจิตตปัญญา ออกแบบกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและสะท้อนคิด จากการให้ความรู้และการปฏิบัติตัว ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยเดินออกกำลังกายทุกเช้า ฝึกบริหารปอดและเฝ้าสังเกตุอาการผิดปกติของตนเองได้ถูกต้อง ในการจัดกระบวนการผ่านการถ่ายภาพอย่างมีสติและการวาดภาพเพื่อฝึกสมาธิและการสะท้อนคิด ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ระบายความรู้สึก และเข้าใจในสถานการณ์ของการระบาดทำให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่กล่าวโทษตนเองที่เป็นต้นเหตุนอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในศูนย์พักคอยได้มีโอกาสอยู่กับตนเองและได้วางแผนการจัดการชีวิตของตนเองหลังออกจากศูนย์พักคอย | ||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3, 3.4, 3.d | ||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
| ||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทอง | ||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||
Key Message* | การจัดกระบวนการเพื่อเยียวยาจิตใจและช่วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่มาพักค้างที่ศูนย์พักคอยให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายความวิตกกังวลและให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะพักค้างที่ศูนย์พักคอย | ||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2 |
การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร | ส่วนงานหลัก* | วิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานร่วม | – | ||||||
เนื้อหา* | การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชสมุนไพรที่พบมากในป่าชุมชนบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง บ้านเขาเขียว ม. 14 ต.ระบำ อ. ลานสัก จ. อุทัยธานี ซึ่งเป็นเป็นป่าในแนวกันชนระหว่างชุมชนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ ได้นำว่านตาลเดี่ยวมารักษาสิว ฝ้า จุดด่างดำ บนใบหน้า ด้วยการนำหัวสดมาฝน แล้วนำมาทาหน้า ซึ่งจะทำให้หน้าเกิดอาการบวมแดงและลอกเป็นขุยก่อนหน้าขาวใส ซึ่งในปัจจุบันไม่มีใครใช้วิธีการนี้ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในต่างประเทศและงานวิจัยต่างๆ พบว่าว่านตาลเดี่ยวมีคุณสมบัติลดเอนไซม์ไทโรซิเนสในชั้นผิวหนังที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีเมลานินสีดำบนผิวหนัง ทำให้คงเหลือแต่ฟีโอเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดเมลานินสีขาว ซึ่งช่วยให้ผิวขาวขึ้น และได้พบอีกว่าว่านตาลเดี่ยวมีฤทธิ์ช่วยสร้างคอลลาเจนในชั้นเซลล์ผิวได้ดีกว่าวิตามินซี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอางกลุ่มชะลอวัย ช่วยต่อต้านริ้วรอย ลดริ้วรอย และทำให้ผิวเรียบเนียน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์การนำสมุนไพรว่านตาลเดี่ยวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรจากธรรมชาติออกมาจากป่าชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์ ร่วมกับการส่งเสริมการปลูกในแปลงรูปแบบของ Community Biobank เพื่อป้องกันไม่ให้ว่านตาลเดี่ยวหมดไปจากแหล่งป่าธรรมชาติได้ โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและทำฐานข้อมูลในเรื่องการระบุสายพันธุ์ชนิด รวมถึงการทำการวิจัยพื้นที่การปลูก การขยายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากว่านตาลเดี่ยวควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ว่านตาลเดี่ยว และมีทรัพยากรเพียงพอในด้านการแปรรูปออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชน | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2,12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.5.1, 12.2 | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 15.2.1, 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/GoldenStarGrass | ||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | – วิสาหกิจชุมชนเกษตรทางเลือกบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี – โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล – องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี – สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์ – สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ผสานพลังความร่วมมือ “ป่าเกื้อกูล คนอยู่ได้” เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1, 15.2.1 |
ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง
MU-SDGs Case Study* | ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | พินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | แอปพลิเคชันตำบลเขาทอง เป็นการนำทุนสังคมเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อน ส่งต่อ และนำไปใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับชุมชน คณะกรรมการ ผู้นำชุมชน อสม. ภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2564 ในพื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ การสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับของชุมชน ตั้งแต่การเข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลในชุมชนจากครัวเรือน การค้นหาปัญหา การบอกเล่าปัญหาของชุมชน ตลอดจนการร่วมคิด ร่วมทำ และการให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา จากการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้มีการสร้างกลุ่มห้องแชท ผ่าน Line OpenChat และ LINE Official Account เพื่อการติดต่อสื่อสาร จนนำไปสู่การทำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง คือใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน บนพื้นฐานการปรับวิถีใหม่ของชุมชนบนสถานการณ์ new normal เพื่อเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม เท่าทัน ของคนในชุมชนทุกระดับ ตัวอย่างจากการนำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง มาใช้ประโยชน์ในการจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อแก้ปัญหาในการเข้าถึงการบริการที่ล่าช้า และมีผู้เข้าใช้บริการในระบบสาธารณสุขจำนวนมาก ส่งผลให้สามารถลดระยะเวลาการรอคอยรับบริการ และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมารอคอยรับบริการ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทองได้ ซึ่งโดยเฉพาะในส่วนของด้านทันตกรรม ที่ต้องมีการให้บริการเคลือบฟันฟลูออไรด์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ในชุมชนตำบลเขาทอง และตำบลใกล้เคียง มักพบปัญหาการนัดหมายการเข้าใช้บริการที่ไม่แน่นอน ยากต่อการคาดเดา เมื่อมีการนำแอปพลิเคชันไปใช้ในการจองคิวและนัดหมาย ผู้ให้บริการสามารถทำงานง่ายขึ้น และได้ตามเป้าหมายงานที่วางแผนงานไว้ ในส่วนของผู้ปกครองที่ใช้บริการก็สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในบางรายยังพบว่า ในกรณีที่ผู้ปกครองเด็กซึ่งทำงานอยู่นอกพื้นที่ ในต่างจังหวัด ยิ่งได้รับความสะดวกสบายในการนัดหมายจองคิวให้บุตรตนเอง และอาศัยให้ ปู่ย่า ตายาย ที่เลี้ยงดูเด็ก พามารับบริการตามนัดหมายได้เลย | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3, 3.4, 3.7, 3.8, 3.d | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 4.7 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=722922012048655&id=358573098483550 | ||||||
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fliff.line.me%2F1645278921-kWRPP32q%2F%3FaccountId%3Dkhaotong%26fbclid%3DIwAR3WAXBJS4pIeBoLpA-NDC79AAvAZxpyTGyka4M9qiC_-RVgwCtOcq2fBUI&h=AT0eKEMviOyUOcC6tgKMgtSJDrolyYcmamtM-Y4F7a1SpoA9z2nqToGB5rfgjU4tqgCtU4M57-pYG-eQ-6IhxZ9cUovEckkcbHNgk_v9aJGJY6w3HnPx4NGfkIS5ZQeQ5_v6&__tn__=R]-R&c[0]=AT3SzJDGID2x35QSMidgr1IGJoYl9-WThXZVlnqCyTAdEC6c8PFoSifIUwLuEjouZla4Iq1H0qJyvOCy89kZWYqnSBiCcLA5OVP6xhDyrq8K0lSGufM1S7oi9UgUE_XjJ5PKtwf3v-walwry-nxYmN8UEQoB-5EZoRFb1TyDDdbB16puXl3kpUuxpuo726Fy1Y3rQyB5U37WISltlSLZZBs0rxwKOjBi7A | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||
Partners/Stakeholders* | 1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2564 3.พระครูนิภาธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดเขาทอง เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 4.ผู้นำชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 6.นายอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 7.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 8.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | ทันตกรรมทันใจด้วยแอปพลิเคชันเขาทอง เป็นการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในตำบลเขาทอง เพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันสู่การจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1 |
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province)
MU-SDGs Case Study* | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province) | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
เนื้อหา* | แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต หลายคนเมื่อรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเองก็เลือกที่จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก จึงเกิดความต้องการดูแลประคับประคองที่บ้าน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญร่วมกับเครือข่ายสุขภาพที่อยู่ในชุมชนและคนในครอบครัว เพื่อร่วมจัดกิจกรรมช่วยให้เผชิญความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีจวบจนถึงวาระสุดท้าย และเสียชีวิตอย่างสงบ อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ดูแล 12 หมู่บ้าน ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของ รพ.สต.บ้านเขาทอง พ.ศ. 2564 พบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่จริงจำนวน 5,352 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 1,639 คน คิดเป็นร้อยละ 30.62 ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี จำนวน 326 คนคิดเป็น 19.89 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 1,614 ราย ซึ่งป่วยด้วยโรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคจิตเวช โรคไตวายเรื้อรัง และโรคมะเร็ง ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้สูงอายุระยะบั้นปลายของชีวิตจำนวน 24 คน เป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังเข้าถึงบริการได้ไม่ครอบคลุม ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภาระงานและจำนวนของบุคลกรในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีจำกัด ระบบการส่งต่อผู้ป่วยและการเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการระหว่างหน่วยงานบริการด้านสุขภาพมีความล่าช้า อีกทั้งเจ้าหน้าที่และเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชนขาดความมั่นใจในการดูแลด้านจิตใจ ผู้ดำเนินการจึงใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยนำผลการทำวิจัยและพัฒนารูปแบบแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ประยุกต์ใช้ร่วมกับการภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของชุมชนตำบลเขาทอง จัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบททางสังคมของชุมชน โดยประยุกต์กิจกรรมร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. การดำเนินกิจกรรม 1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง พยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่ชุมชน 3.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยแต่ละราย รายละเอียดการเจ็บป่วย เพื่อวางแผนการให้บริการ 4.ประสานงานชี้แจงรูปแบบกิจกรรมการดูแล แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสหวิชาชีพด้านสุขภาพ แกนนำชุมชม อสม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้บริการ และกำหนดนัดหมาย 5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแผนการดูแลสำหรับการให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย 6.ให้บริการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ตามลักษณะและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยและครอบครัว 7.กำหนดนัดหมายการดูแลต่อเนื่องตามลักษณะความต้องการของผู้ป่วย 8.สรุปผลการให้การดูแล รายงานผลการดูแลผู้ป่วยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้การดูแล เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 18 ราย จำแนกเป็น เพศชาย 10 ราย เพศหญิง 8 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 4 ราย ผู้สูงอายุระยะบั้นปลายและป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 9 ราย เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 5 ราย ผู้ที่ได้รับการดูแล มี คะแนน PPS อยู่ระหว่าง 10 – 80 คะแนน เฉลี่ยคือ 41 คะแนน อัตราการเข้าถึงบริการร้อยละ 75 ประชาชนในชุมชน ญาติ และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับซึ่งประเมินได้จากท่าทีและคำพูดที่แสดงความขอบคุณให้กับทีมผู้รับดำเนินกิจกรรม | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.7 3(c) | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/257441?fbclid=IwAR0k-4W9FFtt10lbdIzQ25ic3olEtki6MfjygMjcgZ6eEcDXSVYM5u2cN3g | ||||||||
https://www.facebook.com/257376708255620/posts/pfbid02uhMm3RAQAV9cvEWUoqQQwh33AbLdC8GyHQ4hdYV8ifh6XKjvwxLtGQB6t8ApdMDAl/ | |||||||||
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0kvfBQcWMFT1yvePcDGAQ6S53fyEGZVanHSyEuBpAP13L3dPfd5ESdxAvDyprDxH7l&id=100001448635895 | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนเขาทอง เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิพยุหะคีรี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขาทอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขาทอง | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเสมอภาค การดูแลประคับประคองที่บ้านถือเป็นบริการด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มของความต้องการมากขึ้น การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจะนำมาซึ่งการจัดบริการอย่างครอบคลุมและเกิดความยั่งยืนในชุมชน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1 3.3.2 |