MU-SDGs Case Study* |
โครงการปรับเปลี่ยน เสริมพลัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน |
||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
||||||||||||
เนื้อหา* |
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพอื่น ๆ ตามมา
ดังนั้น นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง งานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลปักธงชัย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ปรับเปลี่ยน เสริมพลัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน” ณ ชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และ อสม. ในการสร้างเสริมความรู้ให้แก่คนในชุมชนในเรื่องของความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวานและแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยเน้นเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย รวมไปถึงการฝึกทักษะการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการบริหารท่าทางที่ทำง่ายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดน้ำตาลในกระแสเลือดและลดการเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจและสมอง รวมถึงการลดน้ำตาลในกระแสเลือดอีกด้วย
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต |
||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.4 |
||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
– |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
– |
||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1291890291299496/?d=n |
||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||||||||||
Partners/Stakeholders* |
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 2. งานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา |
||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||||||||
Key Message* |
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้ และสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี |
||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.1, 3.3.2 |
Tag: ปี 2565
ปี 2565
โครงการเทรนนิ่ง อสม. UP Skill DM
MU-SDGs Case Study* | โครงการเทรนนิ่ง อสม. UP Skill DM | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ แม้ว่า อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะคอยดูแลผู้ป่วยในหมู่บ้านโดยเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านอย่างเป็นประจำ 4 ครั้ง/เดือน แต่กลับพบว่า อสม. ยังขาดข้อมูลที่จำเป็นบางส่วนในการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย รวมไปถึงการขาดทักษะในการออกกำลังกาย จึงไม่สามารถสอนผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา
ดังนั้น นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “เทรนนิ่ง อสม. UP Skill DM” ณ ชุมชนบ้านโตนด ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่ง ทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการสร้างเสริมให้ อสม. มีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้ อสม. มีทักษะที่ดีในการเลือกอาหารและท่ากายบริหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ อีกทั้งยังสร้างเสริมให้ อสม. มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ทำให้ อสม. มีความมั่นใจในการให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1289940764827782/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี 2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านโตนด ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้ และสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่ อสม. เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการ อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง
MU-SDGs Case Study* | โครงการ อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้อันเนื่องมาจากการขาดกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ทราบถึงวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมไปถึงการไม่มีเพื่อนในการออกกำลังกาย ทั้งนี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีกิจกรรมทางกายที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อที่จะควบคุมความดันโลหิตให้ได้ แต่พวกเขาเกิดความกังวลใจ ขาดการรับรู้ความสามารถของตนเองจนไม่มีความเชื่อมั่นที่จะไปสอนผู้อื่นให้ออกกำลังกาย หรือไปเป็นแบบอย่างในการออกกำลังกายให้แก่คนในชุมชนได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา
ดังนั้น นางสาวศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลบางปลาม้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง” ณ ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และผู้นำชุมชนในการสร้างเสริมให้ อสม. รับรู้ความสามารถของตนเอง ผ่านการพูดเสริมแรง และให้กำลังใจ อสม. รวมไปถึงการให้ อสม. ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วยท่าออกกำลังกายที่ง่าย และไม่ซับซ้อน พร้อมทั้งฝึกให้ อสม. ผลัดกันฝึกสอนการออกกำลังกายในกลุ่ม อสม. ด้วยกันเอง จน อสม. เกิดทักษะในการสอนออกกำลังกาย และที่สำคัญคือ อสม. เกิดความมั่นใจในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย อีกทั้ง อสม. เองก็สามารถเป็นต้นแบบในการออกกำลังกาย และเป็นเพื่อนในการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนได้ ส่งผลให้พวกเขาสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1289936531494872/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลบางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 2. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการสร้างเสริมรับรู้ความสามารถของตนเองให้แก่ อสม. เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์
MU-SDGs Case Study* |
โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ |
||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
||||||||||||||||
เนื้อหา* |
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนศรีสังวาลย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนและคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ทั้งนี้พบปัญหาว่า เด็กนักเรียนที่นั่งวีลแชร์ (Wheelchair) ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาแผลกดทับ เนื่องจากต้องนั่งเป็นเวลานานและถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อีกทั้งเด็กนักเรียนยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดแผลกดทับ ขาดข้อมูลในการดูแลตนเอง และด้วยการที่จำนวนบุคลากรที่ดูแลนักเรียนมีค่อนข้างจำกัดเลยทำให้ไม่สามารถดูแลเด็กนักเรียนทุกคนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน
ดังนั้น นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย โรงเรียนศรีสังวาลย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์” ณ ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลอาการแผลกดทับให้แก่ครูผู้ดูแลและเด็กนักเรียน รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คนในชุมชน และครูผู้ดูแลไปยังเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงน้ำยาล้างไตที่ใช้แล้วมาทำเป็นเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไตให้เด็กนักเรียนที่ใช้วีลแชร์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดแผลกดทับลง ลดการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต |
||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.4 |
||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 4, 10, 12 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
4.5, 10.2, 12.5 |
||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288656244956234/?d=n |
||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* |
1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. โรงเรียนศรีสังวาลย์ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 6. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 7. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ |
||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||||||||||||
Key Message* |
การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี |
||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.1, 3.3.2, 4.3.4, 4.3.5, 10.6.8, 10.6.9, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2 |
โครงการ 3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money)
MU-SDGs Case Study* | โครงการ 3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money) | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนในชุมชนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ ไม่รับรู้ถึงประโยชน์ของการแยกขยะ ขาดทักษะในการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการที่ร้านค้าในชุมชนยังมีการใช้ถุงพลาสติกในการใส่สินค้าให้ลูกค้า โดยปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นแหล่งรังโรคของยุงและแมลง และมีสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) โรงพยาบาลคลองท่อม องค์การบริการส่งตำบลคลองท่อมใต้ ร้านวงษ์พานิชย์ สาขาคลองท่อม ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “3Res สู่วิถีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน (TEM: Trash Exchange Money)” ณ ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการคัดแยกขยะและสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนนำขยะรีไซเคิลไปขายที่ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลที่เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งยังร่วมกับร้านค้าต้นแบบในชุมชนในการลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติกในการใส่สินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3, 12.4, 12.5 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288650214956837/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 2. องค์การบริการส่งตำบลคลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 3. ร้านวงษ์พานิชย์ สาขาคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 4. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านใต้ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะรีไซเคิล เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2 |
โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน
MU-SDGs Case Study* | โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากชุมชนนั้นยังไม่ได้รับการบริการการจัดเก็บขยะจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งคนในชุมชนยังขาดความรู้ในการกำจัดขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยส่วนใหญ่คนในชุมชนมักจะนำขยะทุกชนิดไปทิ้งบริเวณสวน ไร่ นา โดยไม่ได้คัดแยก และมีการเผา ทำลายขยะ ทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีแมลงนำโรคและสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ องค์การบริการส่งตำบลตะคุ สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน” ณ ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร อีกทั้งยังร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3, 12.4, 12.5 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2, 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4, 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287997358355456/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 2. องค์การบริการส่งตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 3. สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 4. ผู้นำชุมชน ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร จัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.3.2 |
โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์
MU-SDGs Case Study* | โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์ | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนไม่นิยมคัดแยกประเภทหรือชนิดของขยะในครัวเรือน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะเพิ่มมากขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นขาดความรู้ และทักษะในการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการขาดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในประเด็นเรื่องการจัดการขยะ ทั้งนี้ ผลจากการที่คนในชุมชนไม่คัดแยกขยะนั้น ก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น เสียทัศนียภาพ มีสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร เทศบาลตำบลแม่โจ้ ปราชญ์ชาวบ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์” ณ ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้ อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้ อสม. มีทักษะที่ดีในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ อสม. ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านในการคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำปุ๋ยหมักดังกล่าวกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน ส่งผลให้ขยะในครัวเรือนต้นแบบมีจำนวนลดลงจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2, 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4, 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287992851689240/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. ศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. เทศบาลตำบลแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.2.4, 12.3.2 |
โครงการสาวมุสลิมปลอดภัย ปาเต๊ะคล้องใจ ห่างไกลโควิด-19
MU-SDGs Case Study* | โครงการสาวมุสลิมปลอดภัย ปาเต๊ะคล้องใจ ห่างไกลโควิด-19 | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวซอฟียะห์ เจ๊ะหะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ชุมชนดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่พบปัญหาของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากสุด เป็นอันดับ1 ในตำบลคลองท่อมใต้ อีกทั้งคนในชุมชนมีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หน้ากากอนามัย ทั้งนี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้านั้นส่วนใหญ่จะไม่สวมหน้ากากอนามัยเพราะรู้สึกอึดอัด เจ็บที่บริเวณหู และยุ่งยากสำหรับผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้าคิดว่าการใส่ผ้าปิดหน้าโดยไม่ใส่หน้ากากอนามัยนั้นสามารถป้องกันการติดต่อเชื้อโควิด-19 ได้เทียบเท่าการใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมา
นางสาวซอฟียะห์ เจ๊ะหะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) โรงพยาบาลคลองท่อม ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “สาวมุสลิมปลอดภัย ปาเต๊ะคล้องใจ ห่างไกลโควิด-19” ณ ชุมชนบ้านคลองขนาน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับป้องกันตนเองในช่วงสถานการณ์โควิด-19 รวมไปถึงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ด้วยการให้กำลังใจ คลายความกังวลเรื่องการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส และร่วมกันผลิตสายคล้องหน้ากากอนามัยจากผ้าปาเต๊ะซึ่งเป็นผ้าที่ใช้ใส่ในท้องถิ่น โดยสายคล้องหน้ากากอนามัยดังกล่าวนั้นสามารถปรับขนาดได้ ทำให้ผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้าไม่รู้สึกอึดอัดและเจ็บที่หูเวลาสวมใส่หน้ากากอนามัย ส่งผลให้พวกเขายอมที่จะสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อีกทั้งคนในชุมชนยังสามารถผลิตสายคล้องหน้ากากอนามัยใช้ได้เองและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.8 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1285298128625379/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 2. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และร่วมกันผลิตเจลสายคล้องหน้ากากอนามัยที่ทำให้ผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้าไม่รู้สึกอึดอัดและเจ็บที่หูเวลาสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการเจลแอลกอฮอล์สมุนไพรใบขลู่ต้านโควิดด้วยมือเรา
MU-SDGs Case Study* |
โครงการเจลแอลกอฮอล์สมุนไพรใบขลู่ต้านโควิดด้วยมือเรา |
|||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นายศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
|||||||
เนื้อหา* |
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในพื้นที่ชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และคนในชุมชนมีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจลแอลกอฮอล์ (Hand Sanitizer) ซึ่งถือได้ว่าการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์นั้นเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ดี แต่พบว่าเจลแอลกอฮอล์นั้นเป็นสินค้าขาดตลาดทำให้หาซื้อในชุมชนได้ค่อนข้างยากและมีราคาที่ค่อนข้างสูง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมา
ดังนั้น นายศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม ร้านคลองท่อมเภสัช ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “เจลแอลกอฮอล์สมุนไพรใบขลู่ต้านโควิดด้วยมือเรา” ณ ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลผ่านการให้ความรู้ รวมไปถึงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ด้วยการให้กำลังใจ คลายความกังวลเรื่องการป้องกันตนเองในสถานการณ์การแพร่ระบาด และร่วมกันผลิตเจลแอลกอฮอล์ที่ผสมสารสกัดจากใบขลู่ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของชุมชน โดยเจลแอลกอฮอล์ดังกล่าวนั้นจะลดการระคายเคืองและช่วยถนอมผิวของผู้ใช้ อีกทั้งคนในชุมชนยังสามารถผลิตเจลแอลกอฮอล์ใช้ได้เองและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต |
|||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.8 |
|||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
– |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
– |
|||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1285293418625850/?d=n |
|||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
|||||||||
Partners/Stakeholders* |
1. โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 2. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 3. คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 4. ร้านคลองท่อมเภสัช อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 5. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 6. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ |
|||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
|||||||||
Key Message* |
การลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และร่วมกันผลิตเจลแอลกอฮอล์ที่ผสมสารสกัดจากใบขลู่ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี |
|||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.1, 3.3.2 |
โครงการกระเป๋าตอบคำถามยอดฮิต with covid vaccine
MU-SDGs Case Study* | โครงการกระเป๋าตอบคำถามยอดฮิต with covid vaccine | |||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | |||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนนั้นยังไม่มีความมั่นใจในการมาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เนื่องจากยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน และอาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีน รวมไปถึงการมีเจตคติทางด้านลบต่อการฉีดวัคซีนดังกล่าว ซึ่งการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้นย่อมส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจตามมา
ดังนั้น นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับเทศบาลตำบลทัพทัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหญ้าปล้อง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “กระเป๋าตอบคำถามยอดฮิต with covid vaccine” ณ ชุมชนหมู่บ้านหนองหญ้าปล้อง ต.ทัพทัน อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และ อสม. ในการสร้างเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนและอาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีนผ่านการใช้กระเป๋าที่บรรจุคำถามที่ถูกถามบ่อย ๆ (Frequently Answered Questions: FAQ) รวมไปถึงการสร้างเจตคติที่ดีต่อการฉีดวัคซีนผ่านการพูดคุยกับคนในชุมชนอย่างเป็นกันเองจนทำให้อัตราการได้รับวัคซีนของคนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | |||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.8 | |||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | |||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1283982558756936/?d=n | |||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | |||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. เทศบาลตำบลทัพทัน อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหญ้าปล้อง ต.ทัพทัน อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนหนองหญ้าปล้อง ต.ทัพทัน อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี | |||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | ||||||||||||
Key Message* | การเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับวัคซีนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | |||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |