1. ชื่อหลักสูตร | (ภาษาไทย) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Nursing Science Program |
2. ชื่อปริญญา | (ภาษาไทย) ชื่อเต็ม : พยาบาลศาสตรบัณฑิต ชื่อย่อ : พย.บ. (ภาษาอังกฤษ) ชื่อเต็ม : Bachelor of Nursing Science ชื่อย่อ : B.N.S. |
3. ภาพรวมของหลักสูตร | |
ประเภทของหลักสูตร | หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี |
จำนวนหน่วยกิต | 125 หน่วยกิต |
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร | 4 ปี |
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน | หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566 เปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 |
การให้ปริญญา | ให้ปริญญาเพียงสาขาเดียว |
สถาบันผู้ประสาทปริญญา (ความร่วมมือกับสถาบันอื่น) | มหาวิทยาลัยมหิดล |
4. โครงสร้างหลักสูตร | 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต 1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต 2. กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต 3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 15 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต 1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 18 หน่วยกิต 2. กลุ่มวิชาชีพ 74 หน่วยกิต 2.1 กลุ่มวิชาทฤษฎี 35 หน่วยกิต 2.2 กลุ่มวิชาปฏิบัติ 39 หน่วยกิต 3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต |
5. ข้อมูลเฉพาะหลักสูตร | |
เป้าหมาย / วัตถุประสงค์ของหลักสูตร Purpose / Goals / Objectives | เป้าหมายของหลักสูตร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีเป้าหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล และมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต รับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ และตอบสนองต่อระบบบริการสุขภาพของชุมชน วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ดังนี้ 1) มีความรอบรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลสุขภาพบุคคลทุกช่วงวัย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 2) มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาการเรียนรู้ และดูแลสุขภาวะของบุคคล และสามารถออกแบบบริการสุขภาพ เพื่อสร้างธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการ หรือแก้ปัญหาในการประกอบวิชาชีพทางด้านสุขภาพ 3) มีทัศนคติที่ดีต่อสถาบัน วิชาชีพ และสังคม ตัดสินใจเชิงจริยธรรมและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมและดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมอันดีงาม และมีจิตสาธารณะ 4) มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาตนเองในวิชาชีพที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง คิดอย่างมีวิจารณญาณ และ คิดเป็นระบบ ในการแก้ปัญหา และพัฒนางานในความรับผิดชอบ 5) มีภาวะผู้นำ ทักษะทางสังคม สามารถทำงานเป็นทีมโดยคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม 6) สื่อสารกับผู้ร่วมงาน สหสาขาวิชาชีพและผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม 7) ปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์อย่างเป็นองค์รวม ตามมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ 8) ผลิตงานวิจัยเชิงสถิติหรือเชิงคุณภาพ เพื่อการพัฒนางานในการดูแลสุขภาพประชาชน |
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร Distinctive Features | ผลิตพยาบาลวิชาชีพที่มีความสามารถในการเข้าถึง และเข้าใจบริบทของความเป็นภูมิภาคได้จริง มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ และแนวคิดในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน ตอบสนองต่อความต้องการของส่วนภูมิภาค ในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน และเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนในภูมิภาคได้เข้าถึงการศึกษาทางการพยาบาลในระบบมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และมีคุณภาพ |
ระบบการศึกษา | แบบหน่วยกิตทวิภาค |
6. เส้นทางความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษา | |
อาชีพสามารถประกอบได้ | 1) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ ทั้งของภาครัฐและเอกชน 2) ผู้ประกอบการอิสระทั้งด้านการพยาบาล การผดุงครรภ์ และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) นักวิชาการด้านสุขภาพ 4) ผู้ช่วยนักวิจัย หรือนักนวัตกรรมทางสุขภาพ |
การศึกษาต่อ | ระดับปริญญาโท สาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ฯลฯ |
7. ปรัชญาการศึกษาในการบริหารหลักสูตร | |
ปรัชญาการศึกษา | หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ของผู้เรียน (Outcome Based Education) โดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง (Learning Centered Approach) สามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง (Constructivism) เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ทักษะการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทั้งในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง และสถานการณ์จริง |
8. สมรรถนะที่เสริมสร้างให้นักศึกษาของหลักสูตร | |
Generic Competences | 1) มีคุณธรรม จริยธรรม 2) มีจิตสาธารณะ 3) มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล 4) มีภาวะผู้นำ 5) มีทักษะทางสังคม 6) มีทักษะการทำงานเป็นทีม 7) มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเป็นระบบ และคิดสร้างสรรค์ 8) มีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาการเรียนรู้ 9) ใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและเป็นสากล 10) มีทักษะการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ค้นคว้าความรู้สิ่งใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง |
Subject-specific Competences | 1) บูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพบุคคลทุกช่วงวัย 2) ให้การพยาบาล การผดุงครรภ์แบบองค์รวม ตามความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ใช้กระบวนการวิจัย พัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ และออกแบบแผนธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ หรือแก้ปัญหาในการประกอบวิชาชีพ 4) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล เพื่อการดูแลสุขภาพ 5) ใช้ภาษาในการสื่อสาร กับสหสาขาวิชาชีพและผู้รับบริการด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 6) ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
9. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต PLOs | |
PLOs | Sub PLOs |
PLO1 วางแผนการดูแลสุขภาพบุคคลทุกช่วงวัย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยประยุกต์ความรู้และประเมินทางการ พยาบาล การผดุงครรภ์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม | 1.1 อธิบายพื้นฐานความเป็นมนุษย์ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพ และการบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบท โดยใช้ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และกฎหมายได้อย่างถูกต้อง |
1.2 ประเมิน วินิจฉัยปัญหา วางแผน ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลกับบุคคลทุกช่วงวัยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเหมาะสมกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ | |
1.3 ออกแบบแผนการดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ได้อย่างเหมาะสม | |
PLO2 ปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ กับบุคคลทุกช่วงวัยอย่างเป็นองค์รวม โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ตามมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ | 2.1 ใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการหรือสถานที่จำลองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ถูกต้องและเหมาะสม |
2.2 ทำหัตถการทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งในห้องปฏิบัติการจำลองและสถานการณ์จริง โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ | |
2.3 จัดเก็บข้อมูลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ | |
PLO3 สร้างงานวิจัยเชิงสถิติหรือเชิงคุณภาพใน การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาค ตามมาตรฐานสากลจริยธรรมงานวิจัย เพื่อพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต | 3.1 กำหนดคำถาม และระบุปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามหลักกระบวนการวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์อย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ |
3.2 จัดทำโครงร่างวิจัยการดูแลสุขภาพ และดำเนินการศึกษาตามมาตรฐานสากล และจริยธรรมงานวิจัย | |
3.3 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ | |
3.4 ผลิตงานวิจัยในการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภูมิภาคตามมาตรฐานวิชาการ มีระบบการอ้างอิงที่ถูกต้อง ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น | |
3.5 ประเมินผลงานที่ผ่านการวิพากย์ในชุมชนนักวิชาการได้อย่างถูกต้อง | |
PLO4 จัดการธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อการ ประกอบการ การบริการทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทที่เกี่ยวข้อง | 4.1 วิเคราะห์ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อการประกอบการ การบริการทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
4.2 ออกแบบธุรกิจการบริการทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สอดคล้องความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย | |
4.3 จัดการด้านการบริการทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยใช้ความรู้ด้านการประกอบการ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย | |
PLO5 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และให้บริการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ตามหลักจริยธรรมคอมพิวเตอร์ | 5.1 สืบค้นข้อมูล หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมคอมพิวเตอร์ |
5.2 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการพยาบาลบุคคลทุกช่วงวัย ได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของบริบท | |
5.3 ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการส่งเสริมข้อมูลเผยแพร่ ได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ | |
PLO6 ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ร่วมงานและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง มีจิตสาธารณะ โดย คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม | 6.1 ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ร่วมงานและทีมสุขภาพ แสดงบทบาทภาวะผู้นำและผู้ตามได้เหมาะสม แสดงออกถึงความเคารพ ให้เกียรติ และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ร่วมมือในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในงานยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ |
6.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัยตามกฎระเบียบของกลุ่ม ตรงต่อเวลา เห็นความสำคัญและคุณค่าในวิชาชีพ แสดงออกถึงการมีจิตอาสาด้วยความเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลตอบแทน | |
PLO7 สื่อสารข้อมูลด้านการพยาบาลกับผู้ร่วมงาน สหสาขาวิชาชีพ และ ผู้รับบริการ ด้วยความถูกต้องและชัดเจน เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย | 7.1 สื่อสารข้อมูลด้านการพยาบาลด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีความชัดเจนและเข้าใจความหมายตรงกันกับผู้ร่วมงานและสหสาขาวิชาชีพ |
7.2 ใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาในการสื่อสารข้อมูลด้านการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม ชัดเจน และเกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ | |
7.3 นำเสนอผลงาน/ข้อมูลด้านการพยาบาลในระหว่างการเรียนรู้ ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำเสนอข้อมูลสู่ชุมชนได้อย่างถูกต้องและชัดเจน | |
10. ช่องทางติดต่อ | 1) งานการศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 086-445-6406 2) Facebook Page พยาบาลศาสตร์ มหิดลนครสวรรค์ |