โครงการวิจัยบทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการวิจัยบทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
ที่มาและความสำคัญ

ข้อมูลองค์การสหประชาชาติที่คาดประมาณจำนวนการเกิดในแต่ละปีว่าจะมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือน้อยกว่า 500,000 รายต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2588-2593 (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ, 2559: ออนไลน์) และจากการสำรวจพัฒนาการของเด็กไทยในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะเด็กอายุ 3-5 ปี ที่ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กยังมีพัฒนาการล่าช้าทางด้านภาษา ซึ่งมีผลทำให้เด็กเมื่อเข้าเรียนแล้วอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ได้ รวมไปถึงคิดไม่เป็น (กระทรวงสาธารณสุข, 2559) นอกจากนี้ข้อมูลของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (2559: ออนไลน์) ยังพบว่าในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในประเทศไทยมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) ขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า โดยเฉพาะการไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและเกลือแร่ที่มีผลต่อสมอง 2) ปัจจัยการเลี้ยงดูหรือคนเลี้ยงมีปัญหา และ 3) การใช้สื่อโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และครอบครัวในสังคมไทยเองต่างมีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่ในครอบครองกันมากขึ้น โดยครัวเรือนไทยที่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในครอบครัวมากถึงร้อยละ 68.2 และมีแท็บเล็ตคิดเป็นร้อยละ 24.6 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2559) ทำให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันกับเด็กจนกลายเป็นเรื่องปกติ เด็กในยุคนี้จึงเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างสะดวกจากการเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของพ่อแม่หรือของตนเองที่พ่อแม่ซื้อให้

ผลจากการวิจัยของสหรัฐอเมริกาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กชี้ว่า พ่อแม่ยังไม่ควรให้เด็กปฐมวัยเล่นสมาร์ทโฟนและหรือแท็บเล็ต เพราะในช่วงเด็กทารกถึงวัย 2 ขวบ สมองของเด็กมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว และสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาของสมอง หากเด็กใกล้ชิดกับเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตหรือโทรทัศน์ อุปกรณ์ดังกล่าวจะชะลอการเติบโตของสมองรวมถึงทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น เอาแต่ใจตัวเองมากขึ้น เพราะควบคุมตัวเองได้น้อยลง (Cris Rowan, 2015) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2559: ออนไลน์) ที่สะท้อนแนวคิดไว้ว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ยังไม่มีงานวิจัยใดรองรับว่าการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะมีประโยชน์ในเด็กกลุ่มนี้ ดังนั้นการใช้สื่อเหล่านี้สำหรับเด็กปฐมวัยจึงควรอยู่ในการกำกับดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรควบคุมระยะเวลาที่เด็กใช้ และมีการพูดคุยหรือเล่นกับเด็กขณะที่กำลังเล่นอุปกรณ์ดังกล่าว

จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยยังไม่พบงานวิจัยที่ทำการศึกษาการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัยโดยตรง ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงสนใจว่า จะมีแนวทางใดบ้างที่จะส่งเสริมให้ครอบครัวเด็กปฐมวัยรู้เท่าทันสมาร์ทดีไวซ์และใช้สมาร์ทดีไวซ์เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาในเขตพื้นสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร และทำการศึกษากับเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา เขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร
วัตถุประสงค์

มีวัตถุประสงค์หลักข้อที่ 2 ของงานวิจัยคือ ค้นหาแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาเป็นคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2562-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 จัดทำการวิจัยเชิงคุณภาพ

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 จัดทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

– ศูนย์อนามัยที่ 3 จ.นครสวรรค์

– โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

– สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

– คลินิกกิจกรรมบำบัดนครสวรรค์ บ้านครูมด คลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

– มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

– คลินิกเด็ก หมอธนาธรณ์

– โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต

– Rose Marie Academy School

– โรงเรียนระดับอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 30 แห่ง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 คณะวิจัยทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม กับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34 คน ซึ่งผลการศึกษาทำให้ได้ข้อสรุปของ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม” โดยผู้วิจัยนำเสนอไว้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลสรุปสาระสำคัญ และสรุปประเด็นสำคัญด้วยอินโฟกราฟิก และคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟน

 

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 เป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเป็นการต่อยอดจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ได้แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมมาแล้ว ในระยะนี้จะทำการทดสอบว่าแนวทางที่ออกแบบไว้สามารถปฏิบัติได้จริงและสัมฤทธิ์ผลได้หรือไม่ อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว กลุ่มทดลองนำแนวทางและเครื่องมือที่โครงการออกแบบไว้ไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยระหว่าง 3 เดือนนี้จะมีนักวิจัยที่เป็นพยาบาลคอยให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แล้ววัดผลการเปลี่ยนแปลงว่าเด็กลดการใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บลงอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 30 นาทีต่อวัน สำหรับกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆ อย่างไรก็ดีโครงการวิจัยเก็บข้อมูลของกลุ่มควบคุมไว้เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง

 

แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ในกลุ่มทดลองระหว่าง 3 เดือน

เมื่อทำการทดลองแล้วเสร็จ ผลของค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการใช้สมาร์ทดีไวซ์เฉลี่ยต่อวัน ของเด็กที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองเชิงปฏิบัติการ (n=29) มีดังนี้

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการออกแบบ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม”

– จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน

– ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34

2) อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม – ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

รายการสื่อของโครงการที่เผยแพร่ผลงานวิจัยที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ ใช้เวลาสั้น กระชับ

VDO1:
แนะนำโครงการ “บทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย”
VDO2:
ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO3:

แนะนำวิธีแก้ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO4:

เล่าประสบการณ์ลดเวลาเล่นมือถือลูกสาววัย 3 ขวบ

VDO5:

แชร์ประสบการณ์แก้ปัญหาลูกวัย 4 ขวบติดแท็บเล็ต

VDO6:

ลดเวลาเล่นมือถือของหลานชายจากเล่นทั้งวัน เหลือ 1-2 ชม.

Poster:

ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้ได้อย่างเหมาะสม

Infographic:

สถานการณ์การใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กไทยอายุ 2-5 ปี

Infographic:

วิธีการแก้ปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

คู่มือ:

จัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นการช่วยยืนยันแนวทางในการปฏิบัติที่ได้จากการค้นหาคำตอบในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครอบครัวเด็กปฐมวัย ที่จะมีแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทดีไวซ์ที่ครอบครัวสามารถปฏิบัติได้จริง

Web link https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/การใชสมารทดไวซในเดก?authuser=0
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ

   “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้นจนเกิดข้อพิพาทระหว่างกลุ่มต่างอาชีพและกลุ่มอาชีพเดียวกัน ช่วงฤดูแล้งบางปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

    ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาโจทย์ของโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และได้รับการ “เห็นชอบและรับทราบ” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564-2565
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง กันยายน 2564 – กันยายน 2565
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน,จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่บึงบอระเพ็ด

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 กรมทรัพยากรน้ำ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ด ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– เกิดการจัดสรรน้ำให้กับทุกกิจกรรมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุลกันระหว่างการรักษาระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

– ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญ จนเกิดการยอมรับ และนำไปสู่การปฏิบัติได้

– การผลักดันสู่นโยบายด้วย “คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด” สามารถนำข้อสรุปของโครงการไปเป็นแนวทางการใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดในแต่ละพื้นที่ (เขตให้ ห้าม หวง)

– ระบบการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับบึงบอระเพ็ด

Web link https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=IoZEzOyuze4
รูปภาพประกอบ
     
SDG goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

Heavy metal accumulation and copper localization in Scopelophila cataractae in Thailand


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

Heavy metal accumulation and copper localization in Scopelophila cataractae in Thailand
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt

2.Dr. Narin Printarakul

Statement problems Plant biodiversity is critical for understanding the ecosystem’s and environment’s status. Thailand is located in the tropic zone, which has a diverse range of biota. Bryophyte taxa are used as a crucial bioindicator in the forest, meaning they can show the impacts of pollution in many media such as air, soil, and water. However, there is a scarcity of knowledge about bryophyte biology and diversity in Thailand’s diverse settings. This could be due to a scarcity of bryophyte taxonomists. Scopelophila cataractae, or so-called rare copper (Cu) moss, is an endangered and rare bryophyte taxon that is also a hyperaccumulator for Cu since this moss species accumulate substantial Cu concentration in gametophyte tissue. This moss species, which grows on the trunks of Mastixia euonymoides, has only been found once in the Doi-Intanon National Park, at a height of around 1700 meters. S. cataractae was recently identified in a waterfall ecosystem in Doi Suthep-Pui National Park, Thailand, marking the first investigation in this area. This moss species can assist assess the pollution situation in the stream outflow area, which is currently surrounded by anthropogenic activity. Many more bryophyte species need to be investigated since they can provide a more exact and accurate assessment of anthropogenic contamination in the study site. Chemical profiles, such as heavy metal concentrations in bryophyte tissues and substrates, must be assessed to some extent since they serve as a baseline data for bryophytes in waterfall ecosystems that are altered by anthropogenic activity.
Area of Studies/ Area of Activities Field survey in Doi Suthep-Pui National Park, as well as laboratory-based investigations to determine heavy metal concentration and localization in plant cells
Objectives

1.To identify bryophyte taxa in a waterfall ecosystem

2.To determine heavy metal concentrations in bryophyte tissues and substrates

3.To study the relationship between bryophyte community and environmental factors

Years 2020
Project/Activity Duration June 1, 2018 – June 30, 2020
Levels of Collaboration University and government agency level
Collaborative organization

Chiang Mai University

Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation of Thailand

Project approaches/

Activity approaches

1.Field surveys

2.Laboratory works

Target groups
Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1.The goal of this study is to acquire the first report on a bryophyte community in a waterfall ecosystem in Chiang Mai, Thailand’s Doi Suthep-Pui National Park

2.To obtain a bryophyte taxon that may be used as a bioindicator to assess pollution caused by anthropogenic activities in the National Park

3.To restore and safeguard the endangered and rare bryophyte taxon in the National Park

Web link https://doi.org/10.1007/s00128-021-03246-z
Pictures/Images
SDGs goals Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

A Study of Napier Grass’s Potential and its Economic Value in Biogas Power Plant Development in Thailand
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt2.Dr. Pornpirat Kantatasiri

Statement problems Since the world’s population is growing, people are using more energy for several purposes, including their livelihood. Furthermore, motor oil is utilized in vehicle operation, and methane is used to generate fuel and electricity. Many countries are experiencing a scarcity of energy supplies, notably electricity and fuel. Thailand imports fuel and electricity, and its energy prices have been steadily rising for almost a decade, and this trend is likely to continue. Many researchers have looked for alternative energy sources to use instead of imported energy, especially in countries where electricity and other energy sources are unavailable. Furthermore, it is likely that the earth’s fuel and other energy supplies will be exhausted soon. Thailand is a leader in agricultural exports to many nations across the world, and all of its goods are of excellent quality. Thailand can grow energy crops for alternative energy production, such as sugarcane for bioethanol production and Napier grass for electricity generation, that are both low-cost and low-impact on the environment. In Thailand, there are around 20 varieties of Napier grass, each with a large biomass and distinct potential for producing methane, heating value and electricity. The potential of the Napier grass to create methane and heating value has been studied in recent work, which is initiated information on the uses of Napier grass varieties for energy purposes. Furthermore, it might be a practical means of determining the best varieties to employ for electricity generating in the future.
Area of Studies/ Area of Activities Field surveys throughout Thailand, as well as laboratory-based investigations to determine methane production and heating value, as well as the computation of heat value for electricity generation in electricity power generation plant (1 megawatt) from different varieties of Napier grass.
Objectives

1.To study the basic information of Napier grass varieties in Thailand, including strains, botanical characteristics, agricultural practices, and cultivation costs, as well as methane production from pig manure and Napier grass, and heating values from Napier grass for use as a source for electricity generation

2.To determine of cost and financial return of Napier grass cultivation for electricity generation in a power generation plant (1 megawatt)

Years 2020
Project/Activity Duration January 9 – July 8, 2020
Levels of Collaboration University and state-owned enterprise level.
Collaborative organization Electricity Generating Authority of Thailand

Project approaches/

Activity approaches

1.Field surveys

2.Laboratory works

3.Meeting between researchers from Mahidol University and staffs from Electricity Generating Authority of Thailand

Target groups
Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1)To get a fundamental understanding of the biology and agricultural practices of various Napier grass varieties, as well as marketing information for cultivation and marketing, so that they may be used as a source of electricity generation.

2)To generate methane in a mesocosm system using a suitable ratio of fermented pig dung and Napier grass

3)To study about the technique’s optimization, economic and financial values, and investment in a biogas electricity production facility utilizing Napier grass.

Web link https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/?tab=album&album_id=2848422768552237
Pictures/Images
 
SDGs goals Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 13 : Climate action​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

การประชุมกรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การประชุมกรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ

ดร.ณพล อนุตตรังกูร ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี ทำให้มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จังหวัดอุทัยธานี
วัตถุประสงค์

1.เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการขอจัดตั้งป่าชุมชน การขยายเขต หรือเพิกถอนป่าชุมชน
2.เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการจัดการป่าชุมชน
3.ให้คำแนะนำปรึกษาและความช่วยเหลือต่างๆต่อคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน
4.ควบคุม ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการป่าชุมชน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ครั้งที่ 1 : 29 กันยายน 2564
ครั้งที่ 2 : 5 ตุลาคม 2564

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน,จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) กรมป่าไม้,เครือข่ายป่าชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การให้คำปรึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายป่าชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

กรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี มีหน้าที่ในการพิจารณา อนุญาต แนะนำ ควบคุม ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี โดยผลลัพธ์ที่ได้ ป่าชุมชนในพื้นที่จะมีการดำเนินงานตามแผนและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562 ที่ส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกับรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Web link
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 13 : Climate action​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล การคัดแยกองค์ประกอบขยะมูลฝอย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล การคัดแยกองค์ประกอบขยะมูลฝอย
จ.พิจิตร  จ.อุทัยธานี  จ.กำแพงเพชร  จ.นครสวรรค์
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.จุฑารัตน์  แสงกุล
ที่มาและความสำคัญ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จ.นครสวรรค์ จ.กำแพงเพชร  จ.พิจิตร  จ.อุทัยธานี
วัตถุประสงค์ การสำรวจ และศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชนของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ภายใต้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 4 ประกอบไปด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครสวรรค์ จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยรวมทั้งสิ้น 54 แห่ง เป็นสถานที่กำจัดขยะที่เป็นหัวหน้ากลุ่มCluster จำนวน 9 แห่ง และรูปแบบเทกอง  45  แห่ง ในการศึกษาครั้งนี้ ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 ได้คัดเลือกพื้นที่ ในการศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบขยะ จำนวน 15  แห่ง ได้แก่สถานที่กำจัดขยะที่เป็นหัวหน้ากลุ่มCluster จำนวน 9 แห่ง  และสถานที่กำจัดขยะแบบเทกองจำนวน 6 แห่ง  ซึ่งการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงข้อมูลลักษณะ และชนิดขององค์ประกอบขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อที่จะให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการกำหนดนโยบาย วางมาตรการ และแนวทางในการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพต่อไป
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เมษายน-สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับภาค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

อปท. 15 แห่ง  ในพื้นที่ 4 จังหวัด

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภคที่ 4

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จ.นครสวรรค์  อุทัยธานี  พิจิตร  กำแพงเพชร

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน

2. รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

3. จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว

3.2 กิจกรรม ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19

3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน

4. จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน

 

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม สถานที่กำจัดขยะ จากจังหวัด นครสวรรค์  กำแพงเพชร พิจิต และอุทัยธานี  ซึ่งมีสถานที่กำจัดขยะทั้งหมด จำนวน 51 แห่ง (นครสวรรค์ 19 แห่ง กำแพง 13 แห่ง  พิจิตร 14 แห่ง  อุทัย 5 แห่ง) ทำการคัดเลือกโดยแบ่งสถานที่กำจัดขยะในการสำรวจออกเป็น 2 กลุ่ม  คือ สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม Cluster ในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด และมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และมีองค์กรต่าง ๆ ภายนอกที่นำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย มีการให้บริการสาธารณะในการเก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอย รวมทั้งมีการดำเนินงานสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้คัดเลือก สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม Cluster ในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดจำนวน 9 แห่ง  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยฯจำนวน 6 แห่ง
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1.       ผลการการวิเคราะห์ จะสามารถประเมินความสำเสร็จของ กิจกรรมการรณรงค์ในเขตชุมชนที่ได้
2.       สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการบริหารจัดการขยะต้นทางได้
3.       สามารถ นำมาคำนวณชนิด และสัดส่วนของ องค์ประกอบขยะ ในบ่อกำจัดขยะ เพื่อวางผนการจัดการขยะตกค้างได้
Web link  
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 12 : Responsible consumption and production​

 

จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.จุฑารัตน์  แสงกุล
ที่มาและความสำคัญ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา หมู่บ้าน 1-12 ต.เขาทอง  อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ในการปฏิบัติตน และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

2.เพื่อเป็นการให้กำลังใจชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด และเศรษฐกิจ

3.เพื่อให้บุคลากรทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย ได้ใช้วิชาชีพให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนนอกเวลาปฏิบัติงาน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2563- ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เมษายน 2563 – ปัจจุบัน
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับภาค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

รพสต.เขาทอง   อบต.เขาทอง

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน   วัดเขาทอง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน

2.รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

3.จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว

3.2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19

3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน

4.จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ชาวบ้านทั่วไป ต.เขาทอง   ผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid -19  ผู้ติดเชื้อ  ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า 500 คน  (รวมทุกกิจกรรม)
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส covid-19 ทั้งการป้องกันตนเอง การกักตัว และการรับวัคซีน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.ชาวบ้านมีการเข้าถึงระบบการให้บริการสุขภาพได้ ทุกกลุ่มวัย

3.ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งเศรษฐกิจ และการติดเชื้อโรคได้รับการช่วยเหลือ

4.บุคลากร นักศึกษา ได้ร่วมกันทำประโยชน์ให้ชุมชน

Web link  
รูปภาพประกอบ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์


จัดตั้งศูนย์พักคอย MUCI

SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 3 : Good health and well being
Goal 7 : Affordable and clean energy

 

สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ฤทธิรงค์ พันธ์ดี
ที่มาและความสำคัญ  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มุ่งเน้นถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัยและภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรและนักศึกษา จึงมีนโยบายให้ส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเพื่อของการรับรองมาตรฐานศึกษาปลอดภัยภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินงานเพื่อตามนโยบายมหาวิทยาลัย ตามข้อกำหนดในการขอสถานศึกษาปลอดภัย โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ทุกโครงสร้างภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.   เพื่อให้พนักงานและนักศึกษาภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งภายในเวลาการทำงานและนอกเวลาการทำงาน

2.   เพื่อสร้างเจตคติและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีให้กับพนักงานองค์กร

3.   เพื่อส่งประกวดการรับรองมาตรฐานสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

– อบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ

– การตรวจวัดและประเมิน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม บุคลากรภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.    พนักงานและนักศึกษาภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งภายในเวลาการทำงานและนอกเวลาการทำงาน

2.   บุคลากรโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีเจตคติและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

Web link
รูปภาพประกอบ

การแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

 

กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยโดยผู้บริหาร

 

กำหนดแผนงานงบประมาณ

 

โครงการอบรมขับขี่ปลอดภัยวินัยจราจร 2564

 

โครงการอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมแผนอพยพ

 

โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

อบรมการทำงานในที่อับอากาศ (Confine Space)

 

อบรมเชิงปฏิบัติการ พิชิต Office Syndrome and Ergonomics

 

โครงการการอบรมการทำงานบนที่สูง (Working at height)

 

การตรวจประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

การตรวจบริภัณฑ์ไฟฟ้า

 

การตรวจความปลอดภัย

SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์ 6126001
2. นายชตฤณ ลาดแดง 6126005
3. นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ 6126007
4. นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ 6126009
5. นายดรัล รักธัญญะการ 6126012
6. นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา 6126022นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันกระแสการเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศมีเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งในมหาวิทยาลัยก็มีการเรียกร้องให้สร้างห้องน้ำสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องของประเด็นความปลอดภัยและความจำเป็นสำหรับการจัดสร้างห้องน้ำดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของมุมมองของคนทั่วไป ความเข้าใจรวมถึงเจตคติที่มีต่อการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศขึ้นมา ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะสามารถขับเคลื่อนการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศจึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ“สุขาของฉัน(All genders restroom)อยู่หนใด?”ขึ้นในครั้งนี้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันจันทร์ ที่ 9 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Webex โดยเป็นรูปแบบของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นหัวข้อวิธีการขับเคลื่อนในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All genders restroom) อยู่หนใด”กับเจ้าของความรู้ทั้งหมด 3 ท่านได้แก่

1. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รักษาการแทนในตำแหน่งรองคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 149 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะอย่างเสมอภาค
Web link

https://youtu.be/u6YfOvQ-nl8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1146466679175192/?d=n

รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 5 : Gender equality
Goal 10 : Reduced inequalities

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นางสาว กนกอร รังศรี รหัสนักศึกษา 6126003
2. นางสาว ศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด รหัสนักศึกษา 6126010
3. นางสาว ซอฟียะห์ เจ๊ะหะ รหัสนักศึกษา 6126014
4. นางสาว สาธิดา ต๊ะคีรี รหัสนักศึกษา 6126020
5. นาย พิชิตชัย วงษา รหัสนักศึกษา 6126026
6. นางสาว มณีรัตน์ ไตรรัตน์ รหัสนักศึกษา 6127040นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ             ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) และกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ” ขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1) เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ)

2) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ พ.ศ. 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล และระดับมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ ทางโปรแกรม Zoom Application มีการดำเนินกิจกรรมกับเจ้าของความรู้ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิษณุกรณ์ กวยลี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3) คุณอภิญญา แก้วเทพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 88 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– องค์ความรู้เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”

– แนวทางในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ข้อที่ 6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล อย่างยั่งยืน

Web link

https://youtu.be/NHDmca0ceqg

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147181502437043/?d=n

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation