การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary
  

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานหลัก*

วิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายธนากร จันหมะกสิต
ดร.ณพล อนุตตรังกูร
อ.ดร. ปิยะเทพ อาวะกุล
อ.ดร. พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
นางสาวรสรินทร์ บัวทอง

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

        การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน  เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน  รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น
         ว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชสมุนไพรที่พบมากในป่าชุมชนบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง บ้านเขาเขียว ม. 14 ต.ระบำ อ. ลานสัก จ. อุทัยธานี ซึ่งเป็นเป็นป่าในแนวกันชนระหว่างชุมชนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ ได้นำว่านตาลเดี่ยวมารักษาสิว ฝ้า จุดด่างดำ บนใบหน้า ด้วยการนำหัวสดมาฝน แล้วนำมาทาหน้า ซึ่งจะทำให้หน้าเกิดอาการบวมแดงและลอกเป็นขุยก่อนหน้าขาวใส ซึ่งในปัจจุบันไม่มีใครใช้วิธีการนี้ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในต่างประเทศและงานวิจัยต่างๆ พบว่าว่านตาลเดี่ยวมีคุณสมบัติลดเอนไซม์ไทโรซิเนสในชั้นผิวหนังที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีเมลานินสีดำบนผิวหนัง ทำให้คงเหลือแต่ฟีโอเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดเมลานินสีขาว ซึ่งช่วยให้ผิวขาวขึ้น และได้พบอีกว่าว่านตาลเดี่ยวมีฤทธิ์ช่วยสร้างคอลลาเจนในชั้นเซลล์ผิวได้ดีกว่าวิตามินซี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอางกลุ่มชะลอวัย ช่วยต่อต้านริ้วรอย ลดริ้วรอย และทำให้ผิวเรียบเนียน
ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์การนำสมุนไพรว่านตาลเดี่ยวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรจากธรรมชาติออกมาจากป่าชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์ ร่วมกับการส่งเสริมการปลูกในแปลงรูปแบบของ Community Biobank เพื่อป้องกันไม่ให้ว่านตาลเดี่ยวหมดไปจากแหล่งป่าธรรมชาติได้ โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและทำฐานข้อมูลในเรื่องการระบุสายพันธุ์ชนิด รวมถึงการทำการวิจัยพื้นที่การปลูก การขยายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากว่านตาลเดี่ยวควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ว่านตาลเดี่ยว และมีทรัพยากรเพียงพอในด้านการแปรรูปออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชน 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 2,12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.5.1, 12.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

15.2.1, 17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/GoldenStarGrass

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

– วิสาหกิจชุมชนเกษตรทางเลือกบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี

– โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

– องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี

– สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์

– สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

ผสานพลังความร่วมมือ “ป่าเกื้อกูล คนอยู่ได้”  เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.5.1, 15.2.1

โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.ศศิมา วรหาญ
อ.วรารัตน์ หนูวัฒนา

ส่วนงานหลัก*

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

เนื้อหา*

1. บทนำ
ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร ความเป็นอยู่และอาหารการกินของประชาชนในชุมชน ยังเป็นลักษณะคล้ายกับชุมชนที่ห่างไกลความเจริญจากตัวเมืองทั่วไป โดยวิถีการบริโภคอาหารในพื้นที่มีลักษณะเป็นร้านอาหารของคนในชุมชน ตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ซึ่งยังคงต้องพัฒนาด้านการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีสาเหตุทั้งจากเชื้อก่อโรคและสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องสร้างระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ดังนั้น หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน จึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อสร้างระบบอาหารปลอดภัยในชุมชนเขาทองขึ้น  โดยเก็บตัวอย่างอาหารจากร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย ตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนในอาหารทั้งด้านเคมีและจุลินทรีย์ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารในชุมชนเขาทอง เป็นการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจากสิ่งปนเปื้อนในอาหารแก่ผู้ประกอบการและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในชุมชนและผู้มาเยือน ซึ่งในระยะยาวจะเกิดเป็นระบบอาหารปลอดภัยในชุมชน จนเกิดความยั่งยืนด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้ 

2. วัตถุประสงค์

       1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารด้านสารเคมีและจุลินทรีย์บ่งชี้ความสกปรกของอาหารและน้ำปนเปื้อน ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์  

       2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ใน ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์  

       3. เพื่อฝึกนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ให้มีทักษะการตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร และการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ให้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีและจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร และรู้หลักการจัดการด้านอาหารปลอดภัย

3. วิธีการดำเนินการ

1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อจัดทำโครงการ ร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่อเนื่องทุกปี โดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย ทราบกิจกรรมของโครงการ

3. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร น้ำและน้ำแข็ง ด้านเคมี ได้แก่ สารบอแรกซ์, กรดซาลิไซลิก, โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ฟอร์มาลิน สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และสารกำจัดแมลงตกค้าง และตรวจจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร ได้แก่ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยใช้ชุดตรวจอย่างง่าย

4. จัดทำรายงานผลตรวจสิ่งปนเปื้อนด้านเคมีและจุลินทรีย์ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง และคืนข้อมูลแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย โดยนักศึกษาจะจัดทำโปสเตอร์ให้ความรู้ผลกระทบด้านสุขภาพและแนะนำวิธีการจัดการอาหารเพื่อลดอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย 

5. รับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการระหว่างลงพื้นที่ และสรุปผลการดำเนินงาน

4. ผลผลิตและผลลัพธ์
    1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชนได้เฝ้าระวังและทราบ
สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนต่อเนื่องกันทุกปี
    2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอยในชุมชนเขาทองทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตน
จำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และได้รับความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุดิบอาหาร 

    3. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ได้ฝึกทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนและทักษะการเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนทางเคมีและด้านจุลินทรีย์ (โคลิฟอร์ม) รวมถึงการแจ้งผลตรวจและให้ความรู้ผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งที่ตรวจพบ และให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น

5. ผลกระทบ
การร่วมมือระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชน ในการลงพื้นที่ตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหารและน้ำตามร้านอาหารและแผงลอย ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี 5 เดือน ทำให้ทราบสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนเขาทองเพื่อการเฝ้าระวังให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนได้ทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตนจำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปลูกจิตสำนึกด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ เมื่อผู้ประกอบการรับรู้ถึงประโยชน์ของโครงการ ในปีถัดไปจึงยินดีให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอาหาร อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้บริโภคทั้งที่อาศัยในชุมชนและผู้มาเยือนมีความมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัยในการใช้บริการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนเขาทองมากขึ้น ลดโอกาสการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากอาหารและน้ำได้ ทำให้ระบบความปลอดภัยด้านอาหารเกิดขึ้นในชุมชน เป็นการสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.1, 3.3.1, 3.3.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดินให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี 2573

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ผู้จัดการออนไลน์ 20-5-65 https://mgronline.com/science/detail/9650000048094

LINE TODAY 19-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/KwWZ63r?utm_source=copyshare

LINE TODAY 20-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/YaEl8pa?utm_source=copyshare

 

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 17-5-65

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

4. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
 
 
 
 

Key Message*

“ความเข้มแข็งด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่ยั่งยืน เกิดจากพื้นฐานความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน ที่เกิดจากความร่วมมือของผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยในพื้นที่”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.1, 3.3.1, 3.3.2

โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน

MU-SDGs Case Study*

โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากชุมชนนั้นยังไม่ได้รับการบริการการจัดเก็บขยะจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งคนในชุมชนยังขาดความรู้ในการกำจัดขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยส่วนใหญ่คนในชุมชนมักจะนำขยะทุกชนิดไปทิ้งบริเวณสวน ไร่ นา โดยไม่ได้คัดแยก และมีการเผา ทำลายขยะ ทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีแมลงนำโรคและสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา

 

ดังนั้น นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ องค์การบริการส่งตำบลตะคุ สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน” ณ ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร อีกทั้งยังร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.3, 12.4, 12.5

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2, 11

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4, 11.6

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287997358355456/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

2. องค์การบริการส่งตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

3. สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

4. ผู้นำชุมชน ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร จัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.3.2

 

โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์

MU-SDGs Case Study*

โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนไม่นิยมคัดแยกประเภทหรือชนิดของขยะในครัวเรือน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะเพิ่มมากขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นขาดความรู้ และทักษะในการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการขาดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในประเด็นเรื่องการจัดการขยะ ทั้งนี้ ผลจากการที่คนในชุมชนไม่คัดแยกขยะนั้น ก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น เสียทัศนียภาพ มีสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา

 

ดังนั้น นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร เทศบาลตำบลแม่โจ้ ปราชญ์ชาวบ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์” ณ ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้ อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้ อสม. มีทักษะที่ดีในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ อสม. ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านในการคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำปุ๋ยหมักดังกล่าวกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน ส่งผลให้ขยะในครัวเรือนต้นแบบมีจำนวนลดลงจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2, 11

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4, 11.6

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287992851689240/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

2. ศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

3. เทศบาลตำบลแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

4. ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.2.4, 12.3.2

 

โครงการบริการวิชาการเพื่อการศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้และเสริมทักษะด้านการเกษตรแก่นักเรียนโรงเรียนวัดหัวดงเหนือ


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการบริการวิชาการเพื่อการศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้และเสริมทักษะด้านการเกษตรแก่นักเรียนโรงเรียนวัดหัวดงเหนือ

ที่มาและความสำคัญ

เพื่อเป็นการสร้างความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องการเกษตรอย่างถูกต้องและยั่งยืน

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

โรงเรียนวัดหัวดงเหนือ อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์

วัตถุประสงค์

1.เพิ่มพูนความรู้ทางด้านการเกษตร

2.ปลูกฝังการทำการเกษตรที่มีความยั่งยืน

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม

2565

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

7-8 มีนาคม 2565

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ

มหาวิทยาลัย, หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

อบรมวิชาการเบื้องต้น และฝึกปฏิบัติจริง

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

นักเรียนโรงเรียนวัดหัวดงเหนือ และคณะครู

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

50 ท่าน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1 นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในการปลูกพืชที่มีความปลอดภัยในโรงเรียนและที่บ้าน

2 มีความรักในการประกอบอาชีพทางการเกษตรบนพื้นฐานทรัพยากรของชุมชน

Web link

 

รูปภาพประกอบ

SDG goal

1 2 3

SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being

 

กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.นิวัต  อุณฑพันธุ์
ที่มาและความสำคัญ

      เกิดจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์  และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต  ทางศูนย์ฯจึงได้เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณมาเพื่อดำเนินงานแก้ปัญหา  และในปีงบประมาณ 2559 และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พิจิตร ,กำแพงเพชร,นครสวรรค์ และอุทัยธานี) โดยในโครงการได้มีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ และเครือข่ายหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ได้มาระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหา  จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน  โดยในกระบวนการสร้างมาตรฐานได้อิงจากมาตรฐานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน  เกิดเป็น “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล”จากการร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างมาตรฐานการปลูกข้าวอินทรีย์ และส่งผลให้เกิด  “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล” เกษตรกรได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ  ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน  และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ  ลดข้อสงสัย  และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  และส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว  และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว  เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

วัตถุประสงค์

1.สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ให้เกิดกลุ่มที่เข้มแข็งและมีมาตรฐาน

2.สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ เพื่อนำมาพัฒนาการทำนาแบบอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย

4.สร้างองค์ความรู้เรื่องใช้สารชีวินทรีย์และสมุนไพรที่ใช้ในการทำนาอินทรีย์ที่ได้ผลดี และรวบรวมเก็บเป็นข้อมูลเพื่อนำไปถ่ายทอด

5.เพื่อให้เกษตรกรที่ทำข้าวอินทรีย์สามารถเข้าถึงมาตรฐานที่สามารถทำได้ และเกษตรกรสามารถเชื่อมโยงผลผลิตข้าวไปต่อยอดทางการตลาดร่วมกันได้ โดยเกษตรกรจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2559-ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 5 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

เครือข่ายเกษตรกรจังหวัด พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

สภาเกษตร

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง

เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การวางแผนปลูก  การขึ้นทะเบียนสมาชิกก่อนเริ่มฤดูกาลปลูกจะต้องมีการแจ้งปลูก  และมีการแบ่งทีมตรวจแปลงกันภายในกลุ่ม  การตรวจข้ามกลุ่ม  รวมทั้งการเรียนรู้แนวทางวิธีการการป้องกัน กำจัด โรค แมลงศัตรู  โดยชีววิธีร่วมด้วย  โดยตลอดกระบวนการเพาะปลูกข้าวจะต้องทำตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันตามมาตรฐานเท่านั้น  หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกลุ่มจะไม่รับรองให้ผ่านกระบวนการปลูก  แต่ถ้าท่านใดปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้ได้ทุกเรื่องจะได้ผ่านการรับรองกระบวนการปลูกจากทางกลุ่ม  ผู้ผ่านกระบวนการปลูกสามารถส่งผลผลิตเข้าตรวจสารกำจัดแมลงที่ห้องแลปของวิทยาเขตนครสวรรค์  มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการทดสอบสารฆ่าแมลงในเมล็ดข้าว กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC)  ไพเรทรอยด์(PT)  ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM)  โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography   ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

มีผู้สนใจเข้าร่วม เครือข่าย ทั้งหมด344 ราย มาจากรายเดี่ยว(ไม่มีกลุ่ม) 15 ราย และมาจาก 34 กลุ่ม ซึ่งสามารถแยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้คือ มาจากจังหวัดพิจิตร 12 กลุ่ม จำนวน 157 ราย  จากจังหวัดกำแพงเพชร 22 กลุ่ม  81 ราย  สจากจังหวัดนครสวรรค์ 14 กลุ่ม 59 ราย  และจากจังหวัดอุทัยธานี  10 กลุ่ม  47 ราย

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.เกิดเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ต้นแบบ ที่เข้มแข็ง โดยการขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2  จำนวน 1 เครือข่าย จำนวนสมาชิก  344 ราย มีพื้นที่การทำนาอินทรีย์รวมประมาณ 3,500  ไร่

2.เกิดการบูรณาการและพัฒนาการบริการวิชาการ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และสามารถยกระดับสู่การขอรับรองอนุสิทธิบัตร (   ข้อมูลลิขสิทธิ์  เลขที่ 378760 รับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562)

3.สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ยรายละไม่น้อยกว่า  35,000 บาท ต่อปี

4.เกษตรกรที่เข้าร่วมสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รอบละ ไม่น้อยกว่า 1,500 – 2,000 บาทต่อไร่ หรือ ประมาณ 3,000 – 4,000 บาท ต่อปี (คิดจากการทำนาปีละ 2 รอบ)

Web link
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 15 : Life on land

 

มาตรฐาน MU Organic


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
มาตรฐาน MU Organic
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.นิวัต  อุณฑพันธุ์,
ดร.ณพล อนุตตตรังกูร ,นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ,นายธนากร
จันหมะกสิต,นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์,นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ และนายยุทธิชัย
โฮ้ไทย
ที่มาและความสำคัญ

       สืบเนื่องจากผลของการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ในช่วงปี 2559 และทำให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน  และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ  ลดข้อสงสัย  และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว  และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว  เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง จากแนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งตามมา  และเครือข่ายได้มีการวางแนวทางการพัฒนาเครือข่าย มีการจัดประชุมเพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาของเครือข่าย ในปี 2562 โดยเครือข่ายได้เสนอแนะแนวทางการยกระดับมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เป็น มาตรฐาน MU Organic เพื่อให้เกิดการรับรองการผลิตที่ครอบคลุม และหลากหลายชนิดพืช เพิ่มขึ้น เพราะเนื่องจากสมาชิกเครือข่าย ไม่ได้ผลิตข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการปลูกผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นมาและจำหน่ายทำตลาดควบคู่กับข้าวอินทรีย์  และได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดผู้บริโภค

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

วัตถุประสงค์

1.สร้างและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ครอบคลุมหลากหลาย มีมาตรฐานและผู้ผลิตสามารถเข้าถึงได้ง่าย

2.สร้างกระบวนการ วิธีการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการรับสมัคร และการตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง แบบออนไลน์

3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2562-ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 4 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่าย, ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด, กลุ่มจังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

มหาวิทยาลัยมหิดล

เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน

สภาเกษตรกร

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์

ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง

เครือข่ายผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.)

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรฐาน ผ่านระบบออนไลน์ โดยการกรอกข้อมูลผ่าน Google Form

2.คัดกรอง ประเมิน ผู้สมัคร และคัดเลือก

3.ทำความเข้าใจ ให้คำแนะนำ อธิบาย แนวทางข้อปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมมาตรฐาน

4.จัดทำ QR Code ประจำแปลงผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก

5.จัดผังการตรวจประเมินในระดับเครือข่าย และอบรมให้ความรู้วิธีการตรวจประเมิน

6.เครือข่ายตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง ตามผังที่วางไว้

7.ทีมประเมินกลางสุ่มตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง

8.ผู้ตรวจประเมินในระดับเครือข่ายจัดเก็บผลผลิต ของสมาชิกที่ผ่านการปฏิบัติในระดับแปลง เพื่อนำผลผลิตส่งตรวจในห้องแลป     ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์  มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตรวจหาสารฆ่าแมลงในผลผลิต กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC)  ไพเรทรอยด์(PT)  ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM)  โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography   ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2  และตรวจหาสารกำจัดวัชพืช กลุ่มพาราควอท   ด้วยวิธีการ Spectrophotometry  ผู้ที่ผ่านกระบวนการปฏิบัติในระดับแปลง และผลผลิตที่ส่งตรวจในแลป ไม่พบสารตกค้าง จะได้รับมาตรฐาน “MU Organic”

9.สุ่มตรวจแปลง พื้นที่ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน หลังจากที่ได้รับมาตรฐานแล้ว เพื่อ React Credit

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สมัคร 81 ราย จาก 8 จังหวัด  
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.เป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการตรวจรับรองมาตรฐาน

2.เป็นต้นแบบการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการบูรณาการข้ามศาสตร์ ในการให้บริการและพัฒนาชุมชน

3.เกิดเครือข่ายและการรวมกลุ่มยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ประเภท ข้าว ผัก และผลไม้ ในภูมิภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ที่มีมาตรฐาน 81 ราย และมีพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ประมาณ 717 ไร่

4.เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน สามารถยกระดับการผลิตของตนเอง และสามรถนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดระดับที่สูงขึ้น และมีตลาดที่รับซื้ออย่างต่อเนื่อง

5.สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ผ่านมาตรฐานมีมูลค่าที่สูงขึ้น

Web link
รูปภาพประกอบ
   
SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 15 : Life on land

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์
ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน

       นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560)

นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง

การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก

นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก

แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป

 

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง
วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น

2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้

5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3)

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม พ.ศ. 2562
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ

-การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง

-การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน

-การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท.

-การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท.

-การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

-การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา

-การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 228 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท

-อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ

-อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

-การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

Web link

Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab

Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/

SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/

Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ

รูปภาพประกอบ
  
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 5 : Gender equality
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการดินปุ๋ยกลุ่มเกษตรกรตำบลสวนแตง


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการดินปุ๋ยกลุ่มเกษตรกรตำบลสวนแตง
ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
2.นาย ธนากร จันหมะกสิต

ที่มาและความสำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกรในการปรับปรุงคุณภาพดินและการจัดการในการใช้สารบำรุงดินที่ถูกต้องและเพื่อให้เกิดความยังยืนต่อตัวเกษตรกร และชุมชน
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง

2.เพื่อให้เกษตรกรเกิดความการรับรู้เป้าหมายร่วมกันในการก่อตั้งกลุ่ม

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง จัดในช่วงวันที่ 12กรกฎาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ วิทยาเขต,ชุมชน,จังหวัด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี, สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี, สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้คำปรึกษา ในสถานที่ที่กำหนด
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม เกษตรกร
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพื้นที่ และลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรในการผลิตพืชชนิดต่างๆ เกษตรกรที่ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกอื่นๆได้
Web link
รูปภาพประกอบ
SDG goal

Goal 2 : Zero hunger
Goal 12 : Responsible consumption and production​

 

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจิตอาสาเพื่อพัฒนาความเป็นครู


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจิตอาสาเพื่อพัฒนาความเป็นครู
ที่มาและความสำคัญ เนื่องจากนักศึกษาคณะครุศาตร์ส่วนใหญ่จะต้องเข้าทำงานในโรงเรียนต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความรู้พื้นฐานในเรื่องการเกษตรอย่างถูกต้องจึงได้เข้ามาอบรมและฝึกปฏิบัติทักษะทางด้านการเกษตร
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา  
วัตถุประสงค์ 1.เพิ่มพูนความรู้ทางด้านการเกษตร
2.ฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างประสบการณ์ทางด้านการเกษตร
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง  
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ มหาวิทยาลัย, หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม อบรมวิชาการ และฝึกปฏิบัติจริง
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 ท่าน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1 นักศึกษานำความรู้ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน
2 นำความรู้และประสบการณ์ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียนต้นสังกัดของนักศึกษาแต่ละคน
Web link  
รูปภาพประกอบ
 
SDG goal Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 12 : Responsible consumption and production​