การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

MU-SDGs Case Study*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 ภาคีเครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้มีการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่และขับเคลื่อนตลอดมาตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกลไกที่ใช้องค์กรผู้ใช้น้ำในการขับเคลื่อนจากภาคประชาชน ซึ่งเดิมมีการจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดครบแล้วจำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพระนอน ตำบลวังมหากร ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ และตำบลเกรียงไกร ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสู่พื้นที่ต้นน้ำนอกบึงบอระเพ็ด โดยปี 2566 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลพนมรอก และปี 2567 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลวังใหญ่ ตำบลไผ่สิงห์ และตำบลสายลำโพง พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างพื้นที่ตอนบนและตอนล่าง ซึ่งไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ มีการแบ่งปันการใช้น้ำ และการขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐในการรักษาระดับน้ำ และสูบน้ำรักษาระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำภาคการมีส่วนร่วมของจังหวัดนครสวรรค์ ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับเครือข่ายบึงบอระเพ็ดกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ดตามหลักวิชาการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำของทุกภาคส่วนอีกด้วย

เมื่อเกิดระบบการบริหารจัดการน้ำแล้ว ทำให้มีการขับเคลื่อนประเด็นต่อมาเป็นการพัฒนาอาชีพที่มีการทดลองปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้ขับเคลื่อนโครงการที่มีกิจกรรมย่อยในการทำนาเปียกสลับแห้ง ที่มีการใช้น้ำน้อยเพื่อลดการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด และการนำพืชน้ำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่จะปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยายกาศได้ โดยเบื้องต้นได้มีการทดลองทำในพื้นที่ตำบลพระนอน และตำบลวังมหากร ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะขยายสู่ส่วนใหญ่ของบึงบอระเพ็ดต่อไป

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ภาคประชาชน ได้รับการจัดสรรน้ำ มีการแบ่งปันกันใช้น้ำอย่างเที่ยงธรรม 

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs13,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/videos/270841642755512

ม.มหิดล ร่วมนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในสพระองค์
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/13291

การออกสื่อสาธารณะ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/337926?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1Eg4EvBDNThdqRm-hLmX42p3aEBWEXsJzCWRw2Vub4EgK9PRyvhEwT_eo_aem_AQw-VZjwG00nG0FP4VCvKvjZybYGsCzWtnQTDRM8DiyFoO_jVCDqbCn8f2SFumNN0HbcYf8frP3uUC6yIub7kUaW

การบริการวิชาการให้กับเครือข่าย
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/12986

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
โครงการชลประทานนครสวรรค์
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

MU-SDGs Case Study*

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล

ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ

นายธนากร จันหมะกสิต

นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

ความสำคัญ

บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา นอกจากนี้การทำนาปรังส่งผลให้เกิดการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ส่วนพืชน้ำที่เจริญเติบโตหนีน้ำไม่ทันในช่วงฤดูน้ำหลาก จะทำให้เกิดหญ้าเน่าจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน ในการนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นการทำนาปรังและน้ำท่วมวัชพืชในช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีแนวคิดในการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกด้วยการปรับวิธีการทำนาจากนาปรังเป็นนาเปียกสลับแห้งที่ใช้น้ำน้อยและปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยกว่านาปรังหลายเท่า และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้การส่งเสริมให้นำวัชพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ดมาใช้ประโยชน์แปรรูปเป็นปุ๋ยที่สร้างรายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลพระนอน มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย ซึ่งรูปแบบที่จะออกมาขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานทั้งหมดสอดคล้องกับนโยบายของ COP28 และบึงบอระเพ็ด sandbox ที่ตั้งเป้าให้เกิด Net Zero ในปี 2573 ต่อไป

 

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการปรับแนวคิดของประชาชนสู่การปรับวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

2) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

3) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำและการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

โครงการอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ โดยมีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลวังมหากรและตำบลพระนอน และมีการสอบถามความต้องการในการขับเคลื่อน (Need Assessment) ในการทำนาและการจัดการวัชพืชน้ำบึงบอระเพ็ด มีการดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และการทดลองการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 100 ไร่ อีกด้วย 

ผลผลิตของโครงการ
1) การฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาเทคโนโลยีสีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SDGs BCG และการปรับตัวในการทำการเกษตรในพื้นที่ชุ่มน้ำ
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้ง และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
3) พื้นที่ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด และการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยในตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4) ผลการคำนวณอัตราผลตอบแทนเชิงสังคม (SROI) ของโครงการ
5) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานในพื้นที่
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้งและการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ และขยายผลต่อในอนาคตบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ
3) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม
4) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆที่มีบริบทคล้ายกับบึงบอระเพ็ด
5) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์สามารถกำหนดแนวทางการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสัญญาเช่าของประชาชนบึงบอระเพ็ดในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2,6,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3, 6.3, 6.4, 6.5, 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2024-5-2-1.pdf
https://www.nstda.or.th/sci2pub/3-strategies-to-revive-sustainable-rice-fields/
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
หน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ด
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอนและวังมหากร
เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำบึงบอระเพ็ด
ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การปรับวิถีการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การทำนาเปียกสลับแห้ง
การปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

13.2

สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม

MU-SDGs Case Study*

สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม

ผู้ดำเนินการหลัก*

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นางศศิธร  มารัตน์
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

การบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน เป็นสาเหตุหนึ่งของการทหให้เกิดโรคไม่ติดต่ออเรื้อรัง (Non-Communicable Desease : NCDs) ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568 ว่าด้วยประเด็นยุทธศาสตร์- SALTS ดังนี้ 1). ยุทธศาสตร์ S (Stakeholder network) การสร้าง พัฒนาและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 2). ยุทธศาสตร์ A (Awareness) การเพิ่มความรู้ความตระหนัก และเสริมทักษะให้ประชาชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและผู้กำ หนดนโยบาย 3). ยุทธศาสตร์ L (Legislation and environmental reform) การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิด การผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมตํ่า รวมทั้งเพิ่มทางเลือกและช่องทางการเข้าถึงอาหาร ที่ปริมาณโซเดียมตํ่า 4). ยุทธศาสตร์ T (Technology and innovation) การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้และการนำสู่ ปฏิบัติ 5). ยุทธศาสตร์ S (Surveillance, monitoring and evaluation) การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผล เน้นตลอดกระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม (Healthy University : (Low Sodium Policy) เพื่อเป็นต้นแบบลดการบริโภคโซเดียมและส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ

เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เกิดความตระหนักในการบริโภคอาหาร ผลของการดำเนินโครงการ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้สูงอายุมีความเข้าใจถึงกลไกของโซเดียมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกายทำให้ผู้สูงอายุเห็นภาพมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อรับประทานโซเดียมมากเกินไป มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดจากโซเดียม ทำให้เกิดความระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะนำความรู้กลับไปถ่ายทอดให้คนในครอบครัวได้ทราบถึงผลกระทบของโซเดียมและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมอีกด้วย

เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และส่งเสริมความตระหนักในการขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม จึงขยายผลการให้ความรู้ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกาย แก่กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาท ผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ เข้าใจกลไกการทำงานของโซเดียมในร่างกายผ่านนวัตกรรม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.14

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

  

Key Message*

 ลดเค็ม ลดโรค

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

MU-SDGs Case Study*

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer)

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง
3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

การทำธุรกิจเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะวิกฤตการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และกระแสคนรักสุขภาพ ความรู้และทักษะการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎียิ่งจำเป็นมากขึ้นต่อการขับเคลื่อนการเกษตรได้ท่ามกลางฤดูกาลผิดปกติ และส่งมอบสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยสู่ผู้บริโภค การจะสร้างความรู้และทักษะดังกล่าวได้ ผู้เรียนต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) การทำธุรกิจเกษตรพร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร

หากแต่ในโลกแห่งความเป็นจริงผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักจะพบเจอปัญหาระหว่างการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตั้งแต่กระบวนการการผลิตจนถึงการตลาดและการขาย อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนด้านการเกษตรในประเทศไทยมีความแตกต่างหลากหลายซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการผลิตที่แตกต่างกัน หากแต่หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ นั้นเป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตให้พร้อมเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพแบบ SMART ที่ตั้งอยู่บนฐานการทำการเกษตรหลากหลายอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวคิด “ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดังนั้นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) จึงถูกออกแบบเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมุษย์ให้มีทักษะการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยยีรวมถึงองค์ความรู้ในการทำธุรกิจเกษตรจนได้สินค้าเกษตรที่มีคุณค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ตัวเองและต่อสังคม และท้ายที่สุดหลักสูตรนี้สามารถขับเคลื่อนกำลังคนให้ก้าวข้ามอุปสรรคของภาคการเกษตรของประเทศไทย อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย ความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG1,2,3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.4, 2.5,
3.3.2
4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 10,12,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.2.2

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก”
2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ
3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์
5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์
6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม
7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก
8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
นายกสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้มหาวิทยาลัยมหิดลเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้การประกอบการด้านการเกษตรภายในวิทยาเขตนครสวรรค์


ท่านองคมนตรี ผอ.สำนักงานศึกษาธิการศึกษา หอการค้า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้


ถ่ายทำรายการ Deschooling| ThaiPBS และรายการท่องเที่ยว จังหวัดนครสวรรค์


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทั้งนักเรียนไทยและและชาวต่างชาติ และคอร์สเรียนรู้ “ผู้ประกอบการวัยเยาว์”

Key Message*

1.The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world.

2. By educating people in the community, Nakhonsawan campus has contributed to knowledge and skill development.

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.4, 2.5,
3.3.2
4.3
17.2.2

การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG

MU-SDGs Case Study*

การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
อ.ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ
นายธนากร จันหมะกสิต
นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

 

ส่วนงานร่วม

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก
องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินขี้เหล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว
องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

เนื้อหา*

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนการเสริมศักยภาพชุมชนจำนวน 9 ตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลเขาทอง ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ตำบลเขากะลา ตำบลเนินมะกอก ตำบลสระแก้ว ตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลยางขาว ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และตำบลเก้าเลี้ยว โดยมีการจ้างงานของคนในพื้นที่ประเภทบัณฑิต 46 คน และประชาชน 46 คน รวมทั้งหมด 86 คน เพื่อช่วยขับเคลื่อนในการเสริมศักยภาพชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1) ตำบลเขาทอง เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงวัว จึงประสบปัญหามีปริมาณขยะในชุมชนและมีมูลวัวจำนวนมาก จึงเล็งเห็นแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับมูลวัว และการจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน โครงการจึงเข้ามาอบรมประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ปราชญ์ดินดี อินทรีย์โบกาฉิ” และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของประชาชนในหมู่ 9 ตำบลเขาทอง ให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งมีการทำเป็นโครงการธนาคารขยะ เพื่อรับซื้อขยะภายในกลุ่มสมาชิกและบุคคลภายนอก (ตามข้อตกลงกลุ่ม) มีการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และชุมชนใกล้เคียงอื่น เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ขยะเขาทอง ขายออมเป็นเงิน” โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์ปราชญ์ดินดีอินทรีย์โบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,500 บาทต่อเดือน
– การจัดการขยะในชุมชน ด้วยการลดขยะ รับซื้อขยะในชุมชนสามารถเก็บเป็นเงินออม และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ มีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 30 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งหมด 2,740 บาทต่อเดือน และลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 992.25 บาทต่อเดือน
2) ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เป็นตำบลที่มีเกษตรกรที่เลี้ยงแพะและเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมูลแพะและมูลวัวที่ปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จึงเห็นโอกาสการสร้างมูลค่าให้กับมูลแพะและมูลวัว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปแนะนำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมกระบวนการหมักปุ๋ยแบบแห้งและใช้ระยะเวลาสั้น ที่เรียกว่าปุ๋ย “โบกาฉิ” เพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลแพะ ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคม G.E. เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,250 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคมโบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,550 บาทต่อเดือน
3) ตำบลเขากะลา เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวด้วยการปลูกอ้อย โดยในพื้นที่มีไร่ประพันธ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านในตำบลเขากะลามีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดจากการปลูกอ้อยขายสู่การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัยและไวน์อ้อย ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– Rebranding น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัย เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน
– ผลิตไวน์อ้อย (Sugarcane Wine) เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,426 บาทต่อเดือน
4) ตำบลเนินมะกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอนซึ่งมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ประชาชนประสบปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง ทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาให้ความรู้กับชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ อบรมความรู้เชิงปฏิบัติการการผลิตปุ๋ยตามความต้องการของชนิดพืช การทำธุรกิจด้วย แผนธุรกิจแคนวาส การตั้งราคาสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ โดยชุมชนมีการเปิดเพจทั้งบนแพล็ตฟอร์ม Facebook และ TIKTOK เพื่อให้กุล่มลูกค้าเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย
จากการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการข้างต้น เกิดผลผลิต 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำตราประดู่ทอง และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดตราประดู่ทอง เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ชุมชนตำบลเนินมะกอกมีการเปิดบัญชี เพื่อนำเงินรายได้สะสมเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการและบริหารจัดการโดยคนในชุมชนที่ผ่านการอบรมในโครงการ U2T ต่อไป
5) ตำบลสระแก้ว มีความโดดเด่นในด้านการแปรรูปสมุนไพร ซึ่งวัดสระแก้วและชุมชนได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้กับญาติโยมในการไปใช้ประโยชน์ต่อ ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG C&T OIL สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,800 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ชีวภัณฑ์สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ม้าฮ้อสระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 บาทต่อเดือน
6) ตำบลเนินขี้เหล็ก เป็นชุมชนชนบทที่มีการทำการเกษตรกรรมหลากหลายชนิด เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตที่สูงจนมีรายได้ที่ลดลง ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปสนับสนุนในด้านการลดต้นทุนการผลิตและสร้างอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ได้แก่ ปุ๋ยน้ำ CAN Grow Up และน้ำผึ้งสมุนไพร ได้สร้างเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 3,500 บาทต่อเดือน
7) ตำบลยางขาว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านยางขาว มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ และพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท และคลินิกดิน ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำออลดี-พลัส (AllDee-Plus) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำที่รวมธาตุอาหารเสริมที่ดีสำหรับพืชไว้ทั้งหมด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดออลดี-โกรว์ (AllDee-Grow) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดที่ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตงอกงามขึ้น จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
– คลินิคดิน เป็นการให้บริการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับดินรายแปลง รวดเร็วทันใจรู้ผลใน 30 นาที จำนวน 1 การบริการ
ผลิตภัณฑ์น้ำและปุ๋ยเกร็ดที่จำหน่ายได้ในระหว่างโครงการ คิดเป็นยอดเงิน 38,670 บาท หารายได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินในระหว่างโครงการ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท มีเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการประมาณ 150 คน สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดินปุ๋ยให้กับเกษตรกร ทั้งสิ้น 50 คน มีหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุน 5 หน่วยงาน 1 วิสาหกิจชุมชน
8) ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นชุมชนชนบทที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย ทั้งนาข้าวและพืชไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามีหนุนเสริมสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาการปรับเปลี่ยนเป็นปลูกผักปลอดภัยและการจัดการขยะในชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– กิจกรรม “รักษ์ผักปลอดสาร” มีผู้เข้าร่วม 18 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,152 บาทต่อเดือน
– กิจกรรม “ขยะ 3 ดี สู่ชุมชน” ได้หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนต้นแบบ และได้อาสาสมัคร
จำนวน 40 ครอบครัว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,059 บาทต่อเดือน
9) ตำบลเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำปิง ทำให้เป็นแหล่งปลูกพืชสวนและไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะฝรั่งที่มีเกษตรกรปลูกในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการส่งขายสู่ตลาดในรูปแบบของการขายปลีกและขายส่ง ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการส่งเสริมในการลดต้นทุนด้วยการใช้ปุ๋ยหมักและยกระดับสินค้า โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– กิจกรรม “ฝรั่งเก้าเลี้ยว ก้าวไกล” โดยใช้แบรนด์ “ฝรั่งเก้าคุ้ง ตำบลเก้าเลี้ยว” เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำหมักเลี้ยว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG1

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

1.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2,8,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3,8.2,12.2,12.3,12.4,17.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://op.mahidol.ac.th/ga/author-96/
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 9 ตำบล
กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้ง 9 ตำบล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ตำบล
ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 9 ตำบล
ไร่ประพันธ์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 ตำบลเขาทอง
 
 ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว

ตำบลเขากะลา

ตำบลเนินมะกอก
  
ตำบลสระแก้ว

ตำบลเนินขี้เหล็ก

ตำบลยางขาว

ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

Key Message*

การจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน, การยกระดับให้เกิดผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์, การออกตลาด

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.4.1, 1.4.4

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต 

นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที

           ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาครัฐ ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ การนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจ และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของศูนย์ข้อมูล
ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด

2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง

3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

 

5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

ผลกระทบทางสังคม

1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์

3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด

4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ)  

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,15,16,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 16.7 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ฐานข้อมูลบึงบอระเพ็ด

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

MU-SDGs Case Study*

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต  นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

เนื้อหา*

           “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

         การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

          ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป 

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน

2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561)

4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด

ผลกระทบทางสังคม

1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน

2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้

3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้

4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้

5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 

6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,14,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

Facebook

หนังสือ  การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี

MU-SDGs Case Study* การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ดำเนินการหลัก* ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา   ส่วนงานหลัก* โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วม ผศ. ดร. กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์
อ. ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล
อ. ดร. จิระพล จิระไกรศิริ
อ. ดร. เอกลักษณ์ คันศร
Mr. Magnus Findlater
ส่วนงานร่วม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา*

จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีหลากหลายเช่น อาหาร ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ภูมิปัญญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เครื่องจักสาน ผ้าทอ วัฒนธรรม ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สนับสนุนการสร้างสรรค์ บุกเบิก การประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของวัฒนธรรม ตลอดจนการนำวัฒนธรรมไทยเผยแพร่สู่สังคมโลก

ด้วยเหตุนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดอุทัยธานีกำลังเป็นที่สนใจการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ภูมิปัญญาและนิเวศวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และเป็นระบบ ข้อมูล เบื้องต้นนี้ได้จากการสัมภาษณ์คุณสมบัติ ชูมา ผู้ศึกษาและวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกระเหรี่ยงโปว์ จังหวัดอุทัยธานี จากสถาบันธรรมชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ทาให้เราทราบว่า ทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของชาวกระเหรียงโปว์ในพื้นที่จังหวัดอุทัยเป็นที่สนใจของนักท่องเทียวชาต่างชาติจานวนมากในช่วงระยะเวลาก่อนโควิด 19 ระบาดมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจานวนมากสนใจและใช้ระบบการนาทางด้วยดาวเทียม GPS ขับรถมาเที่ยวในพื้นที่เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ทราบว่าบุคลากรการท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นยังไม่เคยได้รับการอบรมภาษาอังกฤษและไม่มีคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ จึงอาจทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมให้ชาวต่างชาติ

ดังนั้น เพื่อเตรียมการให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวมีความพร้อมรองรับการท่องเทียวเชิงสรางสรรค์หลังการระบาดของโรคโควิด 19 ผู้วิจัย จึงมีความสนใจการพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวก ความเข้าใจ และเกิดความประทับใจ แล้วกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีก

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* SDGs 4 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* 4.3.4
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง  SDGs 1,11,17 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ  11.4, 11.6, 11.8, 17.4.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม *  
 

Facebook

Youtube

 
MU-SDGs Strategy*  ยุทธศาสตร์ที่ 4
Partners/Stakeholders*

1) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

2) ศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

3) สถาบันธรรมชาติพัฒนา จังหวัดอุทัยธานี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*  
Key Message* สังเคราะห์ความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ให้สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง  4.3.4

โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)

MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา
ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง
อ.ดร.สมสุข พวงดี
อ.ดร.ศศิมา วรหาญ
อ.ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล
อ.ดร.เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย
นายอภินันท์ ปลอดแก้ว
นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

1.นายยศพัฒน์ ธนอัครสวัสดิ์
2.คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนพยุหะพิทยาคม
3.คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนเขาทองพิทยาคม

ส่วนงานร่วม

1.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
3.โรงเรียนพยุหะพิทยาคม
4.โรงเรียนเขาทองพิทยาคม

เนื้อหา*

         การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ….

1. เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) 

2. พัฒนาและจัดทำหลักสูตรให้กับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อผู้เรียนสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจ 

3. ผู้รียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนในระดับอุดมศึกษา

4. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 

การดำเนินงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง คือ โรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม จัดประชุมร่วมกันเพื่อออกแบบหลักสูตร และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 70 คน จากโรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม โดยกำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง และมีการทบทวนหลังทำกิจกรรม (After Action Review-AAR) ระหว่างโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และคุณครูโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งสองแห่งทุกครั้งที่จัดกิจกรรม

เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย

1. การเรียนรู้การเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก (Free ranch chicken) และการแปรรูปโดยใช้ไข่เป็นวัตถุดิบหลักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

2. การเชื่อมโยงธุรกิจไข่สู่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

3. การสร้างการรับรู้ การสร้างแบรนด์ และการขาย

4. การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์” จากผลิตสู่ขาย

การจัดการเรียนการสอน กำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 4, 11, 18 กรกฏาคม และ 1 สิงหาคม 2565 โดยทางโรงเรียนใช้ชั่วโมงการเรียนรู้จากรายวิชาในชั้นมัทธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ วิชาชุมนุม และวิชาการงานอาชีพพื้นฐาน โดยคุณครูผู้รับผิดชอบทั้งสองแห่งนำนักเรียนมาเรียนรู้ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

การจัดการเรียนการสอนเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing) และผ่านประสบการณ์จริง (Experiential Learning) โดยการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) จากการลงมือปฏิบัติ ผลงาน การนำเสนอ การถอดบทเรียนที่ให้ผู้เรียนได้พูด เขียน หรือแสดงออก รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ 

 

ผลลัพธ์ และประโยชน์ต่อสังคม

1. เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) ที่สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่

2. มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับใบประกาศนียบัตรจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ที่ผ่านหลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร) ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (ตั้งแต่ผลิตสู่ขาย) ติดตัวไป

3. ผู้บริหารและคุณครูจากทั้งสองโรงเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนนักเรียนให้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน และได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงทางโรงเรียนสนใจที่จะนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากหลักสูตรนี้ไปปรับใช้ที่โรงเรียน

 

มหิดลนครสวรรค์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” (นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี) ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภาค 18 และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกัน  โดยในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้รับมอบเกียรติบัตรในฐานะที่เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ ส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ประจำปีงบประมาณ 2565

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 4,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.1, 4.3, 4.5

17.14

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

การประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมเวทีประชาคม เพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2565

https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7578 

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางการศึกษาในโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา วันที่ 23 มิถุนายน 2565
https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7965
https://www.facebook.com/nswpeo
การจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ครั้ง
https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/
มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
2.โรงเรียนพยุหะพิทยาคม
3.โรงเรียนเขาทองพิทยาคม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การจัดทำหลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ต่อเนื่องสู่ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเองและเชื่อมโยงกันได้อย่างแท้จริง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

4.1, 4.3, 4.5

ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN

MU-SDGs Case Study*

ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์
นางศศิธร มารัตรน์
นางสาวลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

เนื้อหา*

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. โดยประเมินผลกับผู้ป่วยจำนวน 276 คน กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 และทำการประเมินผลในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ข้อมูลสะท้อนว่ากระเป๋ากระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลามากขึ้นร้อยละ 86.2 ผู้ป่วยส่งคืนยาด้วยกระเป๋าคืนยาช่วยชาติมากถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยพอใจกระเป๋าในระดับสูง ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน มีช่องใส่ป้ายชื่อ วัสดุแข็งแรงทนทาน ชอบรูปร่างหน้าตาและสีสันของกระเป๋า ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้

วิธีการดำเนินการ

1) ผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายพร้อมชี้แจงแนวทางการใช้กระเป๋าให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563

2) โครงการจัดทำบทวิทยุเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่เหมาะสมตามเป้าหมายของโครงการ ส่งต่อสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง ขอความอนุเคราะห์ให้เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋า  โดยสถานีวิทยุจะเปิดทุกวัน ในทุกต้นชั่วโมงก่อนเข้ารายการปกติ รวมจำนวน 7 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี

3) ทำการประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 276 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามบัญชีรายชื่อผู้รับกระเป๋า และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีพนักงานเก็บข้อมูลลงเก็บข้อมูลตามบ้านและทำหน้าที่สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย

ผลกระทบ
– ยาที่นำกลับมาคืน จะถูกบริหารจัดการนำกลับไปใช้ใหม่ตามความเหมาะสม ในส่วนของยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุจะถูกส่งต่อไปทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
– ยาเหลือตกค้างในครัวเรือนลดลง ลดโอกาสที่ยาจะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม
– เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลา จะทำให้อาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่เพิ่มความรุนแรงขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายของประเทศเกี่ยวกับยาได้
– ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่ได้

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3 (3.3.1,3.3.2) , 3.7, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/ยาเหลอใช?authuser=0

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

– สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สนับสนุนทุนในการจัดทำกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ รพ.สต. เป็นกลุ่มเป้าหมายในการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนนักวิชาการในการทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
  

Key Message*

“กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ นวัตกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ตรงเวลา และนำยากลับมาคืน รพ.สต.”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2