MU-SDGs Case Study* | ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||||
เนื้อหา* | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. โดยประเมินผลกับผู้ป่วยจำนวน 276 คน กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 และทำการประเมินผลในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ข้อมูลสะท้อนว่ากระเป๋ากระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลามากขึ้นร้อยละ 86.2 ผู้ป่วยส่งคืนยาด้วยกระเป๋าคืนยาช่วยชาติมากถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยพอใจกระเป๋าในระดับสูง ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน มีช่องใส่ป้ายชื่อ วัสดุแข็งแรงทนทาน ชอบรูปร่างหน้าตาและสีสันของกระเป๋า ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้ วิธีการดำเนินการ 1) ผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายพร้อมชี้แจงแนวทางการใช้กระเป๋าให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 2) โครงการจัดทำบทวิทยุเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่เหมาะสมตามเป้าหมายของโครงการ ส่งต่อสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง ขอความอนุเคราะห์ให้เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋า โดยสถานีวิทยุจะเปิดทุกวัน ในทุกต้นชั่วโมงก่อนเข้ารายการปกติ รวมจำนวน 7 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี 3) ทำการประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 276 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามบัญชีรายชื่อผู้รับกระเป๋า และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีพนักงานเก็บข้อมูลลงเก็บข้อมูลตามบ้านและทำหน้าที่สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย ผลกระทบ – ยาที่นำกลับมาคืน จะถูกบริหารจัดการนำกลับไปใช้ใหม่ตามความเหมาะสม ในส่วนของยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุจะถูกส่งต่อไปทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง – ยาเหลือตกค้างในครัวเรือนลดลง ลดโอกาสที่ยาจะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม – เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลา จะทำให้อาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่เพิ่มความรุนแรงขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายของประเทศเกี่ยวกับยาได้ – ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่ได้ | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3 (3.3.1,3.3.2) , 3.7, 3.d | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/ยาเหลอใช?authuser=0 | ||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||
Partners/Stakeholders* | – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สนับสนุนทุนในการจัดทำกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | “กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ นวัตกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ตรงเวลา และนำยากลับมาคืน รพ.สต.” | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |
Category: Goal 17 : Partnerships for the goals
Goal 17 : Partnerships for the goals
ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)”
MU-SDGs Case Study* |
ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” |
||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร |
ส่วนงานหลัก* |
ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ |
||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
ศศิธร มารัตน์ |
ส่วนงานร่วม |
ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ |
||||
เนื้อหา* |
งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย ปีที่จัด 2566 ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เดือนกันยายน 2565 – สิงหาคม 2566 ระดับความร่วมมือ ระดับชุมชน ระดับตำบล รูปแบบการดำเนินกิจกรรม เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและ หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ประชาชนที่ฟังรายการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz |
||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.3, 3.4, 3.d |
||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 17 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
17.4.3 |
||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031585491328/ |
||||||
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031508824669 | |||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||
Partners/Stakeholders* |
สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM94.25 MH.z |
||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||
Key Message* |
การจัดรายวิทยุเสียงสร้างสุข (ภาพ) ทำให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแสดงความคิดถึงและความห่วงใยกันผ่านเสียงเพลง โดยการขอเพลงให้กันทั้งคนในชุมชนและต่างชุมชนกัน การได้ออกกำลังกายขณะอยู่ที่บ้านและได้รับความรู้ด้านผู้สูงอายุซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่มีความเข้าใจในความเป็นผู้สูงอายุ |
||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.2 |
เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์
MU-SDGs Case Study* | เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์ | ||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์ น.ส.ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร นายทวีศักดิ์ ปฐม | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||
เนื้อหา* | สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่19 (Covid- 19) ประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากรัฐบาลมีนโยบายให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา โดยให้ทุกชุมชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่จะต้องจัดตั้งศูนย์พักคอย งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เห็นความสำคัญและห่วงใยต่อสภาพจิตใจและการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่ศูนย์พักคอยตำบลเขาทองและเพื่อยึดมั่นต่อพันธกิจของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือชุมชนจึงจัดทำโครงการขึ้น โครงการเป็นการร่วมมือโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทองซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)รวม 21 คน การจัดกระบวนการเป็นการให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัดเน้นการออกกำลังกายและการฝึกบริหารปอดให้ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ปฏิบัติตัวทุกๆวันตลอดระยะเวลาที่กักตัว 14 วัน การให้ความรู้ด้านการพยาบาลให้สังเกตุอาการและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง นอกจากดูแลกายแล้ว การดูแลสถาพจิตใจก็มีความจำเป็น จากการพูดคุยผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยมีภาวะความเรียดทั้งเรื่องงานและรู้สึกผิดต่อผู้ที่ได้ใกล้ชิดและสัมผัส จึงออกแบบกระบวนการตามหลักของจิตตปัญญา ออกแบบกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและสะท้อนคิด จากการให้ความรู้และการปฏิบัติตัว ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยเดินออกกำลังกายทุกเช้า ฝึกบริหารปอดและเฝ้าสังเกตุอาการผิดปกติของตนเองได้ถูกต้อง ในการจัดกระบวนการผ่านการถ่ายภาพอย่างมีสติและการวาดภาพเพื่อฝึกสมาธิและการสะท้อนคิด ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ระบายความรู้สึก และเข้าใจในสถานการณ์ของการระบาดทำให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่กล่าวโทษตนเองที่เป็นต้นเหตุนอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในศูนย์พักคอยได้มีโอกาสอยู่กับตนเองและได้วางแผนการจัดการชีวิตของตนเองหลังออกจากศูนย์พักคอย | ||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3, 3.4, 3.d | ||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
| ||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทอง | ||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||
Key Message* | การจัดกระบวนการเพื่อเยียวยาจิตใจและช่วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่มาพักค้างที่ศูนย์พักคอยให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายความวิตกกังวลและให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะพักค้างที่ศูนย์พักคอย | ||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2 |
การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร | ส่วนงานหลัก* | วิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานร่วม | – | ||||||
เนื้อหา* | การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชสมุนไพรที่พบมากในป่าชุมชนบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง บ้านเขาเขียว ม. 14 ต.ระบำ อ. ลานสัก จ. อุทัยธานี ซึ่งเป็นเป็นป่าในแนวกันชนระหว่างชุมชนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ ได้นำว่านตาลเดี่ยวมารักษาสิว ฝ้า จุดด่างดำ บนใบหน้า ด้วยการนำหัวสดมาฝน แล้วนำมาทาหน้า ซึ่งจะทำให้หน้าเกิดอาการบวมแดงและลอกเป็นขุยก่อนหน้าขาวใส ซึ่งในปัจจุบันไม่มีใครใช้วิธีการนี้ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในต่างประเทศและงานวิจัยต่างๆ พบว่าว่านตาลเดี่ยวมีคุณสมบัติลดเอนไซม์ไทโรซิเนสในชั้นผิวหนังที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีเมลานินสีดำบนผิวหนัง ทำให้คงเหลือแต่ฟีโอเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดเมลานินสีขาว ซึ่งช่วยให้ผิวขาวขึ้น และได้พบอีกว่าว่านตาลเดี่ยวมีฤทธิ์ช่วยสร้างคอลลาเจนในชั้นเซลล์ผิวได้ดีกว่าวิตามินซี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอางกลุ่มชะลอวัย ช่วยต่อต้านริ้วรอย ลดริ้วรอย และทำให้ผิวเรียบเนียน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์การนำสมุนไพรว่านตาลเดี่ยวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรจากธรรมชาติออกมาจากป่าชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์ ร่วมกับการส่งเสริมการปลูกในแปลงรูปแบบของ Community Biobank เพื่อป้องกันไม่ให้ว่านตาลเดี่ยวหมดไปจากแหล่งป่าธรรมชาติได้ โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและทำฐานข้อมูลในเรื่องการระบุสายพันธุ์ชนิด รวมถึงการทำการวิจัยพื้นที่การปลูก การขยายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากว่านตาลเดี่ยวควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ว่านตาลเดี่ยว และมีทรัพยากรเพียงพอในด้านการแปรรูปออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชน | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2,12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.5.1, 12.2 | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 15.2.1, 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/GoldenStarGrass | ||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | – วิสาหกิจชุมชนเกษตรทางเลือกบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี – โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล – องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี – สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์ – สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ผสานพลังความร่วมมือ “ป่าเกื้อกูล คนอยู่ได้” เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1, 15.2.1 |
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province)
MU-SDGs Case Study* | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province) | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.ดร.ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
เนื้อหา* | แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต หลายคนเมื่อรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเองก็เลือกที่จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก จึงเกิดความต้องการดูแลประคับประคองที่บ้าน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญร่วมกับเครือข่ายสุขภาพที่อยู่ในชุมชนและคนในครอบครัว เพื่อร่วมจัดกิจกรรมช่วยให้เผชิญความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีจวบจนถึงวาระสุดท้าย และเสียชีวิตอย่างสงบ อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ดูแล 12 หมู่บ้าน ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของ รพ.สต.บ้านเขาทอง พ.ศ. 2564 พบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่จริงจำนวน 5,352 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 1,639 คน คิดเป็นร้อยละ 30.62 ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี จำนวน 326 คนคิดเป็น 19.89 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 1,614 ราย ซึ่งป่วยด้วยโรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคจิตเวช โรคไตวายเรื้อรัง และโรคมะเร็ง ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้สูงอายุระยะบั้นปลายของชีวิตจำนวน 24 คน เป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังเข้าถึงบริการได้ไม่ครอบคลุม ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภาระงานและจำนวนของบุคลกรในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีจำกัด ระบบการส่งต่อผู้ป่วยและการเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการระหว่างหน่วยงานบริการด้านสุขภาพมีความล่าช้า อีกทั้งเจ้าหน้าที่และเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชนขาดความมั่นใจในการดูแลด้านจิตใจ ผู้ดำเนินการจึงใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยนำผลการทำวิจัยและพัฒนารูปแบบแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ประยุกต์ใช้ร่วมกับการภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของชุมชนตำบลเขาทอง จัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบททางสังคมของชุมชน โดยประยุกต์กิจกรรมร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. การดำเนินกิจกรรม 1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง พยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่ชุมชน 3.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยแต่ละราย รายละเอียดการเจ็บป่วย เพื่อวางแผนการให้บริการ 4.ประสานงานชี้แจงรูปแบบกิจกรรมการดูแล แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสหวิชาชีพด้านสุขภาพ แกนนำชุมชม อสม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้บริการ และกำหนดนัดหมาย 5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแผนการดูแลสำหรับการให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย 6.ให้บริการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ตามลักษณะและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยและครอบครัว 7.กำหนดนัดหมายการดูแลต่อเนื่องตามลักษณะความต้องการของผู้ป่วย 8.สรุปผลการให้การดูแล รายงานผลการดูแลผู้ป่วยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้การดูแล เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 18 ราย จำแนกเป็น เพศชาย 10 ราย เพศหญิง 8 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 4 ราย ผู้สูงอายุระยะบั้นปลายและป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 9 ราย เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 5 ราย ผู้ที่ได้รับการดูแล มี คะแนน PPS อยู่ระหว่าง 10 – 80 คะแนน เฉลี่ยคือ 41 คะแนน อัตราการเข้าถึงบริการร้อยละ 75 ประชาชนในชุมชน ญาติ และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับซึ่งประเมินได้จากท่าทีและคำพูดที่แสดงความขอบคุณให้กับทีมผู้รับดำเนินกิจกรรม | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.7 3(c) | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/257441?fbclid=IwAR0k-4W9FFtt10lbdIzQ25ic3olEtki6MfjygMjcgZ6eEcDXSVYM5u2cN3g | ||||||||
https://www.facebook.com/257376708255620/posts/pfbid02uhMm3RAQAV9cvEWUoqQQwh33AbLdC8GyHQ4hdYV8ifh6XKjvwxLtGQB6t8ApdMDAl/ | |||||||||
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0kvfBQcWMFT1yvePcDGAQ6S53fyEGZVanHSyEuBpAP13L3dPfd5ESdxAvDyprDxH7l&id=100001448635895 | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนเขาทอง เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิพยุหะคีรี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขาทอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขาทอง | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเสมอภาค การดูแลประคับประคองที่บ้านถือเป็นบริการด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มของความต้องการมากขึ้น การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจะนำมาซึ่งการจัดบริการอย่างครอบคลุมและเกิดความยั่งยืนในชุมชน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1 3.3.2 |
การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี Development of English Communicative Innovation for Eco-Cultural Tourism Staff in the Highland People Development Area Uthai Thani Province
MU-SDGs Case Study* | การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | อาจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย โพธิ์สัย | ส่วนงานร่วม | สาขาภาษาต่างประเทศ | ||||
เนื้อหา* | 1. บทนำ ในปัจจุบันสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หน่วยงานภาครัฐนำโดยนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายการกระจายโอกาสในเชิงรายได้จากการท่องเที่ยวลงสู่เศรษฐกิจฐานรากด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวให้กับชุมชน และมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด (Less visited area) และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงภูมิวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนชาวอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ความจำเป็นในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อระหว่างบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องมีทักษะการใช้ภาษาและทักษะการสื่อสารมีประสิทธิภาพและสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้เดินทางมาเที่ยวจากทั่วโลก การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล (international language) และเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวที่ใช้ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติเป็นจุดขายหลักโดยสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทการทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสำหรับวิธีการใช้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยคนในท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของการท่องเที่ยวของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้โครงการนี้จะช่วยยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างรายได้ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี ให้มากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวนโยบายของรัฐบาลยุคปัจจุบันที่มุ่งให้คนไทยและชาวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรองเพื่อสร้างรายได้และผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์ความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี 3. วิธีการดำเนินการ 4.ผลผลิตและผลลัพธ์โดยสรุป | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.3, 4.5, 4.7 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 11,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 11.4, 11.6, 11.8 17.4.3 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://na.mahidol.ac.th/th/EnglishforEco | ||||||
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255554 | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | “ยกระดับการท่องเที่ยวที่ใช้ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นจุดขายหลักโดยการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยคนในท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของการท่องเที่ยวของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน” | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 4.3.4 |
10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด
MU-SDGs Case Study* | 10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร |
ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์ น.ส.พินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นายยุทธิชัย โฮ้ไทย |
ส่วนงานร่วม | – | ||||||
เนื้อหา* |
กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ระยะที่ 1 : ระยะการเรียนรู้ (พ.ศ.2556-2557) ช่วงแรกเป็นศึกษาและการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของบึงบอระเพ็ด และรวบรวมงานชื่อเรื่องวิจัยที่เคยทำการศึกษาในบึงบอระเพ็ดจำนวน 222 เรื่อง ขึ้นระบบออนไลน์ของหน่วยงาน เพื่อบริการให้กับผู้ที่สนใจในการสืบค้นข้อมูลไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ ต่อมาวิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืนร่วมกับคณาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ได้เรียนรู้ในการฝึกทักษะทางวิชาการและการลงพื้นที่จากผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งผลให้เข้าใจบริบทของบึงบอระเพ็ดในภาพรวมได้ ผลที่ได้ระยะที่ 1 ทำให้เวบไซด์ของวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลบึงบอระเพ็ดและฐานงานวิจัย ที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาศึกษาและค้นหาข้อมูลได้ 2) ระยะที่ 2 : ระยะสร้างเครือข่าย (พ.ศ.2558-2562) วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนเครือข่ายที่รู้จักในระยะแรก ด้วยการสอบถามสภาพปัญหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับชุมชนและภาครัฐในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการจัดประชุมวิชาการชาวบ้านเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทำให้หน่วยงานในระดับจังหวัดเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาจึงพาเจ้าหน้าที่วิทยาเขตนครสวรรค์ไปพบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออธิบายสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ต่อมาข้อสั่งการให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งการทำแผนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาบนฐานของความจริง ทำให้สภาปฏิรูปแห่งชาติรับไปพิจารณาและนำเสนอให้รัฐบาลต่อไป ผลกระทบจาการงานส่งผลให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนการ จัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดของสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ และการจัดทำแผนพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในที่สุดรัฐบาลได้อนุมัติแผนปฏิบัติการเร่งด่วนระยะ 3 ปี จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท ส่วนงานด้านการวิจัยได้มีการศึกษาในสิ่งที่เป็นช่องว่าง (Gap) ที่ต้องการหาคำตอบ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ศึกษาความลึกของบึงบอระเพ็ดและการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำ และนำงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ของแต่ละหน่วยงานต่อไป ผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกภาคส่วนพูดคุยกันมากขึ้นและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ผลที่ได้ระยะที่ 2 ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน เนื่องจากได้มีการนำเสนอข้อมูลสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย จนได้โครงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวิจัยที่ใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานของพื้นที่ได้อีกด้วย 3) ระยะที่ 3 : ระยะการจัดการเครือข่าย (พ.ศ.2563-2565) เครือข่ายบึงบอระเพ็ดมีการจัดการร่วมกันในการแบ่งปันข้อมูล การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลวิชาการ และข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การรักษาระดับน้ำบนฐานข้อมูลวิชาการ เป็นต้น ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญเป็นการจัดประชุมวิชาการบึงบอระเพ็ด (จัดโดยจังหวัดนครสวรรค์) โดยมีวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นทีมเลขานุการ เพื่อเรียนรู้และทบทวนแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ด มีแผนงานที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (BCG และ SDGs) ส่วนการวิจัยได้มีการร่วมกันกับภาครัฐและประชาชนเสนอโครงการวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและสร้างกติกาการใช้น้ำร่วมกัน ในการนี้เครือข่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นปัญญาของแผ่นดิน และเป็นที่พึ่งให้กับคนในพื้นที่ ผลที่ได้ระยะที่ 3 ได้เกิดการรวบกลุ่มของคนในชุมชนจดทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน 5 ตำบล และมีระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอีกด้วย |
||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDG 12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2, 17.1 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.youtube.com/watch?v=C2VVypCijK4 | ||||||||
https://drive.google.com/file/d/1dQgQDgLfrf2PoxGayl_RxjVq5i01iCnl/view?usp=sharing | |||||||||
– | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด, ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ), โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน), ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง),สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์,ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, องค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ด, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด |
||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
MU-SDGs Case Study* | โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ | ส่วนงานร่วม | 1.องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ | ||||||||||
เนื้อหา* | สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีความรุนแรง และเกิดสายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ร่วมกับโอกาสในการติดเชื้อจากญาติหรือผู้ดูแลที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายในร่างกาย มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง อวัยวะภายในร่างกายอาจถูกทำลาย และทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน รวมถึงสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกต้อง อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ การรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และการขาดความตระหนักในการปฏิบัติ พฤติกรรรมการปฏิบัติตัวที่บ้าน ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ การส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุและสตรีตั้งครรภ์ ได้นั้นต้องพัฒนาทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ทักษะความรู้ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ 3) ทักษะการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการสุขภาพ และสามารถนำข้อมูลไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นยอมรับและเข้าใจ 4) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพก่อนตัดสินใจเชื่อหรือปฏิบัติตาม 5) ทักษะการตัดสินใจในการเลือกข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และ 6) ทักษะการจัดการตนเองโดยสามารถนำข้อมูลสุขภาพที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติในการดูแลตนเอง ที่จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับปฏิสัมพันธ์ และ 3) ระดับวิจารณญาณ โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ชุมชน และผู้สูงอายุ การให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และอสม. และการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และอสม.ในการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูล มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ กิจกรรมการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ โดยการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กิจกรรมพัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพโดยสอนการเลือกสื่อ แหล่งความรู้จากหลายช่องทาง รวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต สอนสาธิตการใช้แอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ให้ลงมือปฏิบัติโดยมีพี่เลี้ยง การใช้เกมส์บัตรคำ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว กิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการสื่อสารโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เทคนิค 1 คำถามในการจัดการตนเอง พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสื่อจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการตัดสินใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลือกใช้สื่อ กิจกรรมพัฒนาทักษะทางปัญญาและสังคมที่สูงขึ้น การสนทนาเพื่อการสะท้อนคิด (Reflecting conversation) การสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันฯ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลที่ได้รับคือ ทั้งผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์มีความรู้ และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่ สูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินโครงการ และมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ระดับมากที่สุด จากการติดตามผลหลังการทำกิจกรรม พบว่า สามารถนำกิจกรรมที่ทำไปใช้ได้จริงถ้าอายุไม่มากกว่า 70 ปี มีการกระตุ้นความรู้และการใช้โทรศัพท์ในการค้นหาข้อมูลโดยชมรมผู้สูงอายุ และอสม. | ||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3, 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.1, 3.2, 3.3 17.4.3 | ||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.moph.go.th/ | ||||||||||||
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mor.promplus&hl=th&gl=US | |||||||||||||
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ktb.thaichana.prod&hl=th&gl=US | |||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||
Key Message* | ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และสายพันธุ์ใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี | ||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.1.7, 3.3.1 |
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย | ||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย | ||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศและการกักเก็บน้ำ ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเข้มข้นของชาวบ้านในพื้นที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันในกลุ่มอาชีพของภาคประชาชน การไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐและประชาชน การดำเนินการที่ติดขัดข้อกฎหมายที่มีหลายฉบับ และอำนาจตัดสินใจอยู่ในหลายหน่วยงาน ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2564) มีการขับเคลื่อนด้วยการศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการทบทวนเอกสาร รวบรวมข้อมูลงานวิจัย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีการคืนข้อมูลให้กับทุกภาคส่วนทีละกลุ่ม แล้วนำตัวแทนมาคืนข้อมูลร่วมกันกับทุกกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจปัญหา ยอมรับปัญหา เข้าใจสาเหตุของปัญหา และเข้าใจกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มและสร้างความร่วมมือ จนนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดร่วมกันเพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้บึงบอระเพ็ดถูกตั้งเป็นปัญหาวาระสำคัญของชาติ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาที่เป็นแผนปฏิบัติการ และการทบทวนแผนการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สุดท้ายแล้วคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2563–2572) วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,701.5 ล้านบาท ต่อมาเครือข่ายบึงบอระเพ็ดร่วมพัฒนาโครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด เพื่อสร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การจัดทำแผนที่บึงบอระเพ็ด การประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด เป็นต้น การเกิดเครือข่ายบึงบอระเพ็ดทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในบึงบอระเพ็ด ทำให้แสดงให้เห็นว่าการที่ทุกภาคส่วนมีความรู้ที่ถูกต้องและเท่ากัน จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดที่ยั่งยืนได้ |
||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในบึงบอระเพ็ด |
||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2554-2564 | ||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 10 ปี | ||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด | ||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน) ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ประชาชนในบึงบอระเพ็ด |
||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การให้คำปรึกษา การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายบึงบอระเพ็ด (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน) |
||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 50 คน | ||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.ประชาชนได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์เป็นไปตามข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยล่าสุดได้รับสัญญาเช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นว.339 (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,542 แปลง คงเหลืออีกประมาณ 5,000 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาการเช่า 2.โครงการภายใต้ข้อเสนอของ “เครือข่ายบึงบอระเพ็ด” ถูกบรรจุในส่วนหนึ่งของแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดที่ได้รับอนุมัติดำเนินการ 10 ปี (2563-2572) ซึ่งแผนปฏิบัติการเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีระยะ 3 ปี (2563-2565) จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท 3.เกิดการตรวจสอบแนวเขตและเข้าครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 6,888 แปลง ทำให้ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ดได้ 4.การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายบึงบอระเพ็ด สามาถลดความขัดแย้งของทุกภาคส่วน 5.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด |
||||||||
Web link |
https://na.mahidol.ac.th/th/2021/6650 https://na.mahidol.ac.th/bungresearch/index.php/2021-11-16-09-38-44 |
||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||
SDGs goal | Goal 6 : Clean water and sanitation Goal 16 : Peace, justice and strong institutions Goal 17 : Partnerships for the goals |
โครงการวิจัยผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
โครงการวิจัยผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน | ||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | นางสาวลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร , นางศศิธร มารัตน์ , นางสาวฉัตรสกุล นาคะสุทธิ์ | ||||||
ที่มาและความสำคัญ |
การพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี อายุยืนยาวมากยิ่งขึ้นและมีอัตราการตายลดลงส่งผลให้จํานวนประชากรผู้สูงอายุมีจํานวนเพิมขึ้นทุกปี ซึ่งจากการคาดคะเนขององค์กรสหประชาชาติรายงานว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกถึง 1,963 ล้านคน (United Nation 1992: อ้างใน สุรีย์ และคณะ, 2539) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมการติดต่อสื่อสารการคมนาคมที่รวดเร็ว ที่เรียกว่าโลกไร้พรมแดนและความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขทําให้โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากโรคติดเชื้อลดลง แต่โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสามารถป้องกันได้ด้วยการส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้มีเจตคติและพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง (บรรลุ,ศิริพานิช2551: 38) การที่มีจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีผลต่อการเพิ่มภาระที่สังคมต้องรับผิดชอบในการดูแลช่วยเหลือแก่ประชากรในกลุ่มนี้ เพราะร่างกายของผู้สูงอายุจะมีสภาพความเสื่อมถอยเกิดขึ้น การทํางานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายลดลงความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงก็ลดลง ปัญหาทางด้านสุขภาพซึ่งหมายความถึงปัญหาสุขภาพทางกายและปัญหาสุขภาพทางจิตใจผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเผชิญกับการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น (บรรลุ ศิริพานิช,2557) การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นมาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมสร้างแรงสนับสนุนทางจิตใจซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุในทิศทางที่ต้องการเช่นพฤติกรรมการป้องกันโรคส่งเสริมสุขภาพออกกำลังกาย เพื่อชะลอความเสื่อมรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การที่ได้เป็นสมาชิกชมรมต่างๆนั้นได้แสดงถึงว่าผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้มากมีโอกาสพบปะเพื่อนฝูงวัยเดียวกันและมองโลกกว้างขึ้น (บทความจากนิตยสาร ใกล้หมอ ปี ที่ 20 ฉบับที่ 11 โดย ดร.วิชิตคนึงเกษม) งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย จิตสดใส ร่างกายแข็งแรงติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ผู้สูงอายุจะออกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองเป็นประจำทุกๆวันพุธ ซึ่งกิจกรรมที่ทำในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยเรื่องของการให้ความรู้และเพิ่มทักษะต่างๆของผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ร่วมร้องรำทำเพลงและรับประทานอาหารร่วมกันก่อนกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) งานผู้สูงอายุฯจำเป็นต้องงดกิจกรรมดังกล่าวลง ในสถานการณ์เช่นนี้ งานผู้สูงอายุฯจะมีบทบาทอย่างไรในการลดความตึงเครียด คลายความเหงา และส่งเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุในชุมชน สื่อชนิดใดเป็นสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารระหว่างงานผู้สูงอายุฯกับผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกที่จะดำเนินกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เราคุ้นชินในชนบทที่อยู่คู่กับผู้สูงอายุนั่นคือ “วิทยุ” แทนที่จะใช้สื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้เพราะในสังคมชนบทนั้น ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมิเดียต่างๆได้ ด้วยข้อจำกัดที่ผู้สูงอายุไม่มีสมาร์ทโฟน แต่วิทยุ ซึ่งเป็นสื่อยุคก่อนกลับเป็นสื่อที่เข้าถึงได้จริงสำหรับผู้สูงอายุในสังคมชนบท จากสถานการณ์ข้างต้นทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน |
||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล |
||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย |
||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2564 | ||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | เดือนมิถุนายน-สิงหาคม | ||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ระดับชุมชน ระดับตำบล | ||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) | สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz | ||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้รูปแบบทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change Theory) โดยศึกษาลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง และแนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม (educative supportive nursing system) เป็นกรอบแนวคิดในการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชน โดยที่โอเร็มมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการดูแลตนเองเพื่อให้ตนเองมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ร่วมกับการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิด การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย บนแนวคิดที่ว่าผู้ฟังวิทยุชุมชนFM 94.25 MHz. สามารถเรียนรู้พัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมได้ หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ทฤษฎีด้านผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง การป้องกันโรคแทรกซ้อน การรับประทานยา และการออกกำลังกาย 2) การสนับสนุนทั้งด้านร่างกายจิตใจ เพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง 3) การชี้แนะ การให้ข้อมูลป้อนกลับในการเรียนรู้ การให้ทางเลือกในการดูแลตนเอง 3) การปฏิบัติจริง นำออกกำลังกายผ่านการออกอากาศทางวิทยุชุมชน เปิดช่วงถามตอบข้อสงสัยด้านสุขภาพเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันผ่านวิทยุชุมชน |
||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตำบลละ 5 คน |
||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 20 คน | ||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
ประชาชนที่ฟังรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ)ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz มีความความรู้ ความเข้าใจ |
||||||
Web link | – | ||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||
SDGs goal | Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 17 : Partnerships for the goals |