โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

MU-SDGs Case Study*

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer)

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง
3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

การทำธุรกิจเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะวิกฤตการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และกระแสคนรักสุขภาพ ความรู้และทักษะการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎียิ่งจำเป็นมากขึ้นต่อการขับเคลื่อนการเกษตรได้ท่ามกลางฤดูกาลผิดปกติ และส่งมอบสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยสู่ผู้บริโภค การจะสร้างความรู้และทักษะดังกล่าวได้ ผู้เรียนต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) การทำธุรกิจเกษตรพร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร

หากแต่ในโลกแห่งความเป็นจริงผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักจะพบเจอปัญหาระหว่างการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตั้งแต่กระบวนการการผลิตจนถึงการตลาดและการขาย อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนด้านการเกษตรในประเทศไทยมีความแตกต่างหลากหลายซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการผลิตที่แตกต่างกัน หากแต่หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ นั้นเป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตให้พร้อมเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพแบบ SMART ที่ตั้งอยู่บนฐานการทำการเกษตรหลากหลายอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวคิด “ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดังนั้นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) จึงถูกออกแบบเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมุษย์ให้มีทักษะการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยยีรวมถึงองค์ความรู้ในการทำธุรกิจเกษตรจนได้สินค้าเกษตรที่มีคุณค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ตัวเองและต่อสังคม และท้ายที่สุดหลักสูตรนี้สามารถขับเคลื่อนกำลังคนให้ก้าวข้ามอุปสรรคของภาคการเกษตรของประเทศไทย อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย ความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG1,2,3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.4, 2.5,
3.3.2
4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 10,12,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.2.2

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก”
2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ
3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์
5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์
6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม
7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก
8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
นายกสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้มหาวิทยาลัยมหิดลเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้การประกอบการด้านการเกษตรภายในวิทยาเขตนครสวรรค์


ท่านองคมนตรี ผอ.สำนักงานศึกษาธิการศึกษา หอการค้า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้


ถ่ายทำรายการ Deschooling| ThaiPBS และรายการท่องเที่ยว จังหวัดนครสวรรค์


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทั้งนักเรียนไทยและและชาวต่างชาติ และคอร์สเรียนรู้ “ผู้ประกอบการวัยเยาว์”

Key Message*

1.The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world.

2. By educating people in the community, Nakhonsawan campus has contributed to knowledge and skill development.

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.4, 2.5,
3.3.2
4.3
17.2.2

การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG

MU-SDGs Case Study*

การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
อ.ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ
นายธนากร จันหมะกสิต
นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

 

ส่วนงานร่วม

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก
องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินขี้เหล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว
องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

เนื้อหา*

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนการเสริมศักยภาพชุมชนจำนวน 9 ตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลเขาทอง ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ตำบลเขากะลา ตำบลเนินมะกอก ตำบลสระแก้ว ตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลยางขาว ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และตำบลเก้าเลี้ยว โดยมีการจ้างงานของคนในพื้นที่ประเภทบัณฑิต 46 คน และประชาชน 46 คน รวมทั้งหมด 86 คน เพื่อช่วยขับเคลื่อนในการเสริมศักยภาพชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1) ตำบลเขาทอง เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงวัว จึงประสบปัญหามีปริมาณขยะในชุมชนและมีมูลวัวจำนวนมาก จึงเล็งเห็นแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับมูลวัว และการจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน โครงการจึงเข้ามาอบรมประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ปราชญ์ดินดี อินทรีย์โบกาฉิ” และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของประชาชนในหมู่ 9 ตำบลเขาทอง ให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งมีการทำเป็นโครงการธนาคารขยะ เพื่อรับซื้อขยะภายในกลุ่มสมาชิกและบุคคลภายนอก (ตามข้อตกลงกลุ่ม) มีการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และชุมชนใกล้เคียงอื่น เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ขยะเขาทอง ขายออมเป็นเงิน” โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์ปราชญ์ดินดีอินทรีย์โบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,500 บาทต่อเดือน
– การจัดการขยะในชุมชน ด้วยการลดขยะ รับซื้อขยะในชุมชนสามารถเก็บเป็นเงินออม และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ มีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 30 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งหมด 2,740 บาทต่อเดือน และลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 992.25 บาทต่อเดือน
2) ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เป็นตำบลที่มีเกษตรกรที่เลี้ยงแพะและเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมูลแพะและมูลวัวที่ปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จึงเห็นโอกาสการสร้างมูลค่าให้กับมูลแพะและมูลวัว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปแนะนำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมกระบวนการหมักปุ๋ยแบบแห้งและใช้ระยะเวลาสั้น ที่เรียกว่าปุ๋ย “โบกาฉิ” เพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลแพะ ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคม G.E. เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,250 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคมโบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,550 บาทต่อเดือน
3) ตำบลเขากะลา เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวด้วยการปลูกอ้อย โดยในพื้นที่มีไร่ประพันธ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านในตำบลเขากะลามีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดจากการปลูกอ้อยขายสู่การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัยและไวน์อ้อย ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– Rebranding น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัย เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน
– ผลิตไวน์อ้อย (Sugarcane Wine) เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,426 บาทต่อเดือน
4) ตำบลเนินมะกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอนซึ่งมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ประชาชนประสบปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง ทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาให้ความรู้กับชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ อบรมความรู้เชิงปฏิบัติการการผลิตปุ๋ยตามความต้องการของชนิดพืช การทำธุรกิจด้วย แผนธุรกิจแคนวาส การตั้งราคาสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ โดยชุมชนมีการเปิดเพจทั้งบนแพล็ตฟอร์ม Facebook และ TIKTOK เพื่อให้กุล่มลูกค้าเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย
จากการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการข้างต้น เกิดผลผลิต 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำตราประดู่ทอง และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดตราประดู่ทอง เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ชุมชนตำบลเนินมะกอกมีการเปิดบัญชี เพื่อนำเงินรายได้สะสมเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการและบริหารจัดการโดยคนในชุมชนที่ผ่านการอบรมในโครงการ U2T ต่อไป
5) ตำบลสระแก้ว มีความโดดเด่นในด้านการแปรรูปสมุนไพร ซึ่งวัดสระแก้วและชุมชนได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้กับญาติโยมในการไปใช้ประโยชน์ต่อ ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG C&T OIL สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,800 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ชีวภัณฑ์สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ม้าฮ้อสระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 บาทต่อเดือน
6) ตำบลเนินขี้เหล็ก เป็นชุมชนชนบทที่มีการทำการเกษตรกรรมหลากหลายชนิด เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตที่สูงจนมีรายได้ที่ลดลง ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปสนับสนุนในด้านการลดต้นทุนการผลิตและสร้างอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ได้แก่ ปุ๋ยน้ำ CAN Grow Up และน้ำผึ้งสมุนไพร ได้สร้างเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 3,500 บาทต่อเดือน
7) ตำบลยางขาว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านยางขาว มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ และพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท และคลินิกดิน ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำออลดี-พลัส (AllDee-Plus) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำที่รวมธาตุอาหารเสริมที่ดีสำหรับพืชไว้ทั้งหมด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดออลดี-โกรว์ (AllDee-Grow) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดที่ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตงอกงามขึ้น จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
– คลินิคดิน เป็นการให้บริการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับดินรายแปลง รวดเร็วทันใจรู้ผลใน 30 นาที จำนวน 1 การบริการ
ผลิตภัณฑ์น้ำและปุ๋ยเกร็ดที่จำหน่ายได้ในระหว่างโครงการ คิดเป็นยอดเงิน 38,670 บาท หารายได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินในระหว่างโครงการ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท มีเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการประมาณ 150 คน สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดินปุ๋ยให้กับเกษตรกร ทั้งสิ้น 50 คน มีหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุน 5 หน่วยงาน 1 วิสาหกิจชุมชน
8) ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นชุมชนชนบทที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย ทั้งนาข้าวและพืชไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามีหนุนเสริมสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาการปรับเปลี่ยนเป็นปลูกผักปลอดภัยและการจัดการขยะในชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– กิจกรรม “รักษ์ผักปลอดสาร” มีผู้เข้าร่วม 18 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,152 บาทต่อเดือน
– กิจกรรม “ขยะ 3 ดี สู่ชุมชน” ได้หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนต้นแบบ และได้อาสาสมัคร
จำนวน 40 ครอบครัว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,059 บาทต่อเดือน
9) ตำบลเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำปิง ทำให้เป็นแหล่งปลูกพืชสวนและไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะฝรั่งที่มีเกษตรกรปลูกในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการส่งขายสู่ตลาดในรูปแบบของการขายปลีกและขายส่ง ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการส่งเสริมในการลดต้นทุนด้วยการใช้ปุ๋ยหมักและยกระดับสินค้า โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– กิจกรรม “ฝรั่งเก้าเลี้ยว ก้าวไกล” โดยใช้แบรนด์ “ฝรั่งเก้าคุ้ง ตำบลเก้าเลี้ยว” เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำหมักเลี้ยว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG1

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

1.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2,8,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3,8.2,12.2,12.3,12.4,17.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://op.mahidol.ac.th/ga/author-96/
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 9 ตำบล
กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้ง 9 ตำบล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ตำบล
ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 9 ตำบล
ไร่ประพันธ์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 ตำบลเขาทอง
 
 ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว

ตำบลเขากะลา

ตำบลเนินมะกอก
  
ตำบลสระแก้ว

ตำบลเนินขี้เหล็ก

ตำบลยางขาว

ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

Key Message*

การจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน, การยกระดับให้เกิดผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์, การออกตลาด

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.4.1, 1.4.4

โครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

โครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.ทัตติยา ทองสุขดี
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์
3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน

เนื้อหา*

ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต กลายเป็นอีกปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น (WHO, 2020) สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1.5 ล้านคน และสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคจิตอื่น ๆ ตามลำดับ (กรมสุขภาพจิต, 2564) นอกจากนี้ข้อมูลสำนักงานสถิตแห่งชาติ ปี 2563 ที่ทำการสำรวจสุขภาพจิตคนในประเทศไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มเยาวชน (15-24 ปี) มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตต่ำสุด ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี เพศหญิงมีระดับสมรรถภาพของจิตใจน้อยกว่าเพศชาย ร้อยละ 62.2 จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชส่งผลถึงความบกพร่องในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคคล การตัดสินใจ ศักยภาพการ ดูแลตนเองลดลง การประกอบอาชีพ และปัญหาเรื่องความเสื่อมลงของร่างกายและจิตใจ ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง แยกตัวจากสังคมมากขึ้น รวมทั้งอาจส่งผลต่อการปรับตัวในชีวิตประจำวันร่วมด้วย (Sadock & Sadock, 2017)

จากรายงานสถิติฆ่าตัวตายของกระทรวงมหาดไทยปี 2560 พบว่า ในจังหวัดนครสวรรค์ มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.67 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่แหล่งชุมชนเมือง และชุมชนกึ่งเมือง ซึ่งชุมชนวัดไทรย์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น และเป็นชุมชนกึ่งเมือง จาก

สถานการณ์ปัญหาทางด้านสุขภาพในชุมชน พบว่า ประชาชนมีปัญหาด้านความเครียด ความวิตกกังวลแลซึมเศร้า ในทุกกลุ่มวัย จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย จากการสัมภาษณ์ตัวแทนสาธารณสุขประจำตำบล พบว่า ในช่วง ปี พ.ศ. 2564 ถึง 2565 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 3 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหรือปัจจัย เช่น ปัญหาทางด้านครอบครัว สุขภาพ เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ทำให้ส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมตามมา

ดังนั้นหากมีการส่งเสริมสุขภาพจิตในทุกกลุ่มวัยจะช่วยลดปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแผนที่จะจัดโครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ โรงเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์ ทั้งนี้การที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.2 ,12.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.moph.go.th/

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
3. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4. ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
5. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

     

Key Message*

การส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.1, 3.3.2

การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.ทวีศักดิ์ ชูมา

สุชาติ แท่นกระโทก

นายธนากร จันหมะกสิต  

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

ส่วนงานร่วม

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้จำนวน 209.87 ไร่ โดยการวางแปลงชั่วคราวสำรวจทรัพยากรป่าไม้ขนาด 40×40 เมตร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบประเภท Line Plot System โดยวางแนวเส้นฐานในทิศทางเหนือใต้ กำหนดเส้นสำรวจห่างกันแนวละ 200 เมตร และวางแปลงบนเส้นสำรวจทุกระยะ 100 เมตร รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.10 ของพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่เป็นระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ สำรวจพบความหลากหลายของไม้ยืนต้นจำนวน 48 ชนิดใน 42 สกุล 23 วงศ์ ไผ่จำนวน 1 ชนิด และค่าดัชนีความสำคัญของไม้ยืนต้นมีค่าเกิน 10 จำนวน 7 ลำดับแรก ได้แก่ ต้นตะโกนา ต้นสะเดา ต้นยอป่า ต้นตะแบก ต้นพฤกษ์ ต้นชงโค และต้นแสมสาร ตามลำดับ ส่วนการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ พบมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเท่ากับ 2,869.05 กิโลกรัมต่อไร่ มวลชีวภาพใต้พื้นดินมีค่าเท่ากับ 803.33 กิโลกรัมต่อไร่ และการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 1,726.02 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการประเมินการกักเก็บคาร์บอนทั้งพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 362.24 ตันคาร์บอน ในการนี้ผลของการวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13 “ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น” โดยข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดการพื้นที่ป่าไม้ การเสริมศักยภาพพื้นที่ในการกักเก็บคาร์บอนให้มากขึ้น โดยการป้องกันไม่ให้พื้นที่ถูกทำลาย การปลูกป่าเสริมในพื้นที่ด้วยพรรณไม้ท้องถิ่น และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 เพื่อช่วยลดความรุนแรงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 15

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

15.1,15.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเรียนรู้จากพื้นที่มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่จะขับเคลื่อนการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว นำไปสู่การเป็น Net Zero ในปี 2573

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

15.2

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต 

นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที

           ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาครัฐ ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ การนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจ และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของศูนย์ข้อมูล
ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด

2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง

3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

 

5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

ผลกระทบทางสังคม

1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์

3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด

4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ)  

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,15,16,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 16.7 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ฐานข้อมูลบึงบอระเพ็ด

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

MU-SDGs Case Study*

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต  นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

เนื้อหา*

           “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

         การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

          ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป 

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน

2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561)

4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด

ผลกระทบทางสังคม

1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน

2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้

3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้

4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้

5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 

6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,14,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

Facebook

หนังสือ  การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี

MU-SDGs Case Study* การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ดำเนินการหลัก* ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา   ส่วนงานหลัก* โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วม ผศ. ดร. กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์
อ. ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล
อ. ดร. จิระพล จิระไกรศิริ
อ. ดร. เอกลักษณ์ คันศร
Mr. Magnus Findlater
ส่วนงานร่วม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา*

จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีหลากหลายเช่น อาหาร ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ภูมิปัญญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เครื่องจักสาน ผ้าทอ วัฒนธรรม ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สนับสนุนการสร้างสรรค์ บุกเบิก การประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของวัฒนธรรม ตลอดจนการนำวัฒนธรรมไทยเผยแพร่สู่สังคมโลก

ด้วยเหตุนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดอุทัยธานีกำลังเป็นที่สนใจการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ภูมิปัญญาและนิเวศวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และเป็นระบบ ข้อมูล เบื้องต้นนี้ได้จากการสัมภาษณ์คุณสมบัติ ชูมา ผู้ศึกษาและวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกระเหรี่ยงโปว์ จังหวัดอุทัยธานี จากสถาบันธรรมชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ทาให้เราทราบว่า ทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของชาวกระเหรียงโปว์ในพื้นที่จังหวัดอุทัยเป็นที่สนใจของนักท่องเทียวชาต่างชาติจานวนมากในช่วงระยะเวลาก่อนโควิด 19 ระบาดมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจานวนมากสนใจและใช้ระบบการนาทางด้วยดาวเทียม GPS ขับรถมาเที่ยวในพื้นที่เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ทราบว่าบุคลากรการท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นยังไม่เคยได้รับการอบรมภาษาอังกฤษและไม่มีคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ จึงอาจทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมให้ชาวต่างชาติ

ดังนั้น เพื่อเตรียมการให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวมีความพร้อมรองรับการท่องเทียวเชิงสรางสรรค์หลังการระบาดของโรคโควิด 19 ผู้วิจัย จึงมีความสนใจการพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวก ความเข้าใจ และเกิดความประทับใจ แล้วกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีก

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* SDGs 4 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* 4.3.4
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง  SDGs 1,11,17 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ  11.4, 11.6, 11.8, 17.4.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม *  
 

Facebook

Youtube

 
MU-SDGs Strategy*  ยุทธศาสตร์ที่ 4
Partners/Stakeholders*

1) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

2) ศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

3) สถาบันธรรมชาติพัฒนา จังหวัดอุทัยธานี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*  
Key Message* สังเคราะห์ความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ให้สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง  4.3.4

ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

4

MU-SDGs Case Study*ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ดำเนินการหลัก* นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ส่วนงานหลัก*โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วมส่วนงานร่วม
เนื้อหา*ที่มาและความสำคัญ   โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
ที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร
มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
รวมถึงเพื่อเป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคตด้วย  ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการบ่มเพาะประสบการณ์มาก่อนมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ในการผลิตอาหารปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่มีคุณภาพที่หลากหลายสามารถลดต้นทุนได้ มีการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านการคิดค้นสูตรที่ให้ผลดีกับการเจริญเติบโตของพืช การทำดินผสมปลูกที่ตอบโจทย์ในการใช้งานเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาดที่ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการทำการตลาดออนไลน์อย่างง่ายมาใช้ในการทำตลาด และยังได้รับการหนุนเสริมที่ดีจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง การยอมรับและการให้ความร่วมมือที่ดีจากชุมชนต่าง ๆ จึงควรเข้าไปมี่ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี

ขอบเขตพื้นที่การศึกษา   โครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

วัตถุประสงค์  

1. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาเครือข่าย

2. เพื่อบริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้

3. เพื่อสร้างความรู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชน หน่วยงาน

ปีที่จัดกิจกรรม  2566

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง  1 ปี

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ  เครือข่ายเกษตรกร, ชุมชน, หน่วยงานภายในจังหวัด

รูปแบบดำเนินกิจกรรม  

1.ให้คำแนะนำ ปรึกษา การบริหารจัดการโครงการ การวางแผนงาน

2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์

3.ติดตาม ประเมินผล และวางแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี จำนวน 10 นาย เครือข่ายเกษตรกร จำนวน  2  เครือข่าย และผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ  

1.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.เป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม
และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง

3.เป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคต

 
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*SDGs 1,2,3,4,8,12,15เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*SDGs 1,2,3,4,8,12,15
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
 
 Facebook
 
MU-SDGs Strategy* 
Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี

สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี

เครือข่ายเกษตรกร อำเภอหนองฉาง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* 
Key Message*โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเองให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มและสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง