1.  หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔) ในยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ซึ่งมี ๔ มาตรการและแนวทางคือ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกำลังคนของประเทศ การพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนากำลังคน การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการผลิตกำลังคน และการจัดการกำลังคน  นอกจากนี้เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศ ในช่วง ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ต้องมีแผนแม่บทการพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกอย่างมีประสิทธิภาพ และเพียงพอกับความต้องการ ภายใน ๕ ปี

ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ โครงสร้างอัตรากำลังบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย กำหนดให้ต้องมีผู้ช่วยแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (๓๓๐ ชั่วโมง) เพื่อให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยมีคุณภาพได้มาตรฐานตามเกณฑ์วิชาชีพ ในปัจจุบันพบว่าสถานบริการด้านการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข ยังมีผู้ไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทยอีกมาก มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ จึงได้จัดการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ( ๓๓๐ ชั่วโมง) ขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ ได้ จัดอบรม “หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย” เพื่อให้บุคลากรผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ความสามารถ มีทักษะวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรม จรรยาบรรณในการปฏิบัติงานและมีเจตคติที่ดีต่อการแพทย์แผนไทยสามารถให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพแก่ประชาชนต่อไป

2.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

โครงการจัดตั้งวิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหิดล  นครสวรรค์

3.  วัตถุประสงค์

ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เจตคติละทักษะดังนี้

3.1 เพื่อผลิตบุคลาการผู้ให้บริการแพทย์แผนไทยหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (๓๓๐ ชั่วโมง)

3.2 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ     และประชาชนที่สนใจจะเพิ่มพูนความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย

3.3 มีความรู้ความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นโดยการประคบ อบสมุนไพร และการใช้ยาในบัญชียาจากสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติยาสามัญประจำบ้านและยาที่ใช้ในการสาธารณสุขมูลฐาน

3.4 มีความสามารถและเจตคติที่ดีในการประสานความร่วมมือกับบุคลากรสาธารณสุขด้านอื่นๆ

3.5 มีคุณธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ

4.  กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนไทยของสถานบริการสาธารณสุขและประชาชนที่สนใจ จำนวน 30 – 40 คน

 4.1 ขั้นเตรียมการ

          –    จัดทำแผนงาน/โครงการอบรม ขออนุมัติโครงการ

          –    จัดทำคู่มือการอบรม แผนการสอน ประสานวิทยากร ประสานแหล่งฝึกปฏิบัติงาน

          –    ปฐมนิเทศอาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์ผู้สอน

          –    เตรียมเอกสารการสอน ตำรา สถานที่อบรม ที่พักสำหรับวิทยากร และผู้เข้าอบรม

          –    จัดเตรียมพิธีการ ประสานงานเชิญประธานในพิธีเปิด คำกล่าวรายงาน

           4.2 ขั้นดำเนินการ

          – ดำเนินการอบรมตามกำหนดการทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลองและภาคฝึกปฏิบัติหรือภาคสนาม

          – ควบคุม กำกับให้เป็นไปตามแผนการอบรม

           4.3 ขั้นประเมินผล

           – ประเมินผลระหว่างการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลอง

           – ติดตามประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในแหล่งฝึกปฏิบัติงาน

          – รายงานผลการดำเนินการอบรม

5.  ระยะเวลาและสถานที่จัดอบรม

ช่วงเดือน กรกฎาคม ของทุกปี ณ มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ ต. เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

6.  รูปแบบการเรียนการสอน

6.1 ภาคความรู้ทฤษฎี     91     ชั่วโมง

6.2 ภาคฝึกปฏิบัติจริง     139    ชั่วโมง

6.3 ฝึกงาน                    100    ชั่วโมง

7.  วิทยากรหรือคณาจารย์ผู้ทำการสอน

7.1 วิทยากรภายใน หรืออาจารย์ประจำ จากมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์  จังหวัดนครสวรรค์

7.2 วิทยากรภายนอกหรืออาจารย์พิเศษจากสถานบริการอื่นๆที่มีความรู้ความสามารถด้านแพทย์แผนไทย

รายชื่อคณาจารย์ผู้สอนหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย มีดังนี้

วิทยากรประจำ

1.นางรวีวรรณ  ตันสุวัฒน์              พยาบาลวิชาชีพ

2.นางศศิธร มารัตน์                     พยาบาลวิชาชีพ

3.นางศศิธร พลอยเอี่ยม               พยาบาลวิชาชีพ

4.นางพิมพ์ชนก ศรศิริวัฒน์            แพทย์แผนไทยประยุกต์

5.นางสาวเกสร  ราศรีชัย               แพทย์แผนไทยประยุกต์

6.นางประทุม  รังผึ้ง                     ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย

7.นางสาวพัทธนันท์  กวางไทร       ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย

8.นายเสริมพงษ์  คุณาวงศ์            นักวิชาการศึกษา

วิทยากรรับเชิญ

1.นางสางดุษฎี  จันทรบุษย์           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

2.นางสาวบานเย็น  แซ่เรือง           แพทย์แผนไทย

3.นายนิคม  จำเนียรผล                 แพทย์แผนไทย

8.  ตำราและหนังสือที่ใช้ในการเรียนการสอน

หนังสือตำราเรียนที่ใช้ประกอบการเรียน การสอนและการค้นคว้า มีดังนี้

8.1   ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

 8.2   ตำราหมอนวดวัดโพธิ์ จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

8.3   ตำรานวดไทยเล่ม ๑ มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ ๓ กันยายน ๕๐ และแก้ไขเพิ่มเติม

8.4   คู่มือ ตำราสมุนไพรเช่น บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.๒๕๔๙  สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

8.5   ตำราเภสัชกรรมแผนไทย

8.6   ตำราเวชกรรมไทย

8.7   ตำราเวชกรรมแผนปัจจุบัน

8.8   ตำรายาไทย

8.9   คู่มือครูหมอนวดไทย

8.10 เอกสารกลุ่มวิชาหมวดวิทยาศาสตร์สุขภาพ  ร่างกายของเรา การปฐมพยาบาล สุขภาพจิต

9.  การวัดผลและสำเร็จการอบรม

9.1 ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาให้ครบถ้วนตามเกณฑ์หลักสูตรที่กำหนดอย่างน้อย ร้อยละ ๘๐

9.2 ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องผ่านการฝึกงานภาคสนามโดยทำรายงานผลการรักษาผู้ป่วยตามแบบบันทึกผลการนวดไทยไม่น้อยกว่า ๓๕ รายและได้คะแนนไม่น้อยกว่า ๖๐

10.  อุปกรณ์และสื่อการสอน

10.1  คอมพิวเตอร์

10.2 วิดิทัศน์

10.3 หุ่นการศึกษา

10.4 แผ่นซีดี/วีซีดี

10.5 ที่นอนสำหรับฝึกภาคปฏิบัติการนวด

10.6 ห้องอบสมุนไพร ห้องนวด ห้องดูแลหลังคลอด

11.  คุณสมบัติของผู้เรียน

11.1  มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์

11.2 ไม่มีความประพฤติเสียหายอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

11.3 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ

11.4 ไม่เป็นโรคที่คณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าไม่สมควรให้ประกอบโรคศิลปะ

ติดต่อสอบถาม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    เราใช้ google analytics เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของเว็บไซต์โดยไม่ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

Save
*/ //]]>