การเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนและหลังรับการรักษา | |
|
|
การเตรียมตัวก่อนการรักษา นอนหลับให้เต็มที่ในคืนก่อนมารับการฝังเข็ม ควรรับประทานอาหารก่อนมารับการรักษา ไม่ควรให้ท้องว่าง แต่อย่าให้อิ่มเกินไป สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ สบาย ๆ เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม ระหว่างการปักเข็มผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกได้ ดังนี้ รู้สึกหนัก ๆ หน่วง ๆ ตื้อ ๆ ในจุดฝังเข็มระหว่างที่เข็มปักคาอยู่ มีความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าแล่นแปลบไปตามเส้นลมปราณแพทย์จะปักเข็มไว้ข้าง ๆเส้นประสาทบางเส้น เพื่อผลการรักษาที่ดี แพทย์จะปักคาเข็มไว้ประมาณ 20-30 นาที โดยอาจกระตุ้นด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า จากนั้นจะถอนเข็มออก ในระหว่างการคาเข็ม ผู้ป่วยต้องพยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็ม เพราะเข็มจะบิดในกล้ามเนื้อ แม้ไม่เกิดอันตรายแต่อาจทำให้เจ็บและมีเลือดออกตอนถอนเข็ม ผู้ป่วยสามารถขยับตัวได้บ้าง พยายามผ่อนคลาย กล้ามเนื้อให้สบายที่สุด แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกหวิว ๆ หน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก ให้แจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบทันที การดูแลตนเองหลังจากการฝังเข็ม ควรดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้องหลังการฝังเข็ม ไม่ควรดื่มน้ำเย็น สำรวจร่างกายตนเองบริเวณที่ฝังเข็ม ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออก มีรอยบวม รู้สึกเจ็บปวด ต้องแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบทันที เพื่อแก้ไขให้เป็นปกติก่อนกลับบ้าน งดการอาบน้ำเป็นเวลา 1 ชั่วโมงหลังการฝังเข็ม พักผ่อนให้เต็มที่อีก 1 วัน ถ้ามีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ตามปกติ อาการจะหายไปเองภายใน 24-48 ชั่วโมงโดยไม่มีอันตรายใด ๆ ข้อควรระวังในการฝังเข็ม ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรฝังเข็ม ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือกำลังรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน) ผู้ป่วยโรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด |