1. หลักการและเหตุผล

มารดาหลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในทุกระบบ ภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมภายหลังคลอด ต้องได้รับการฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาสู่ภาวะปกติ จำเป็นต้องได้รับการดูแลและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง   ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้ามาก   แต่ การดูแลสุขภาพของคนในสังคมไทยยังอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น มำให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนนำการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยมาปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย แต่การใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยนั้นต้องมีความรู้ ความสามารถที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ทั้งนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดอบรมขึ้นเพื่อให้ บุคลากรหน่วยงานของรัฐและประชาชนที่สนใจ มีความรู้ความสามารถ มีทักษะวิชาชีพในศาสตร์การแพทย์แผนไทย และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติดูแลหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  •  “แพทย์แผนไทย”  ศูนย์การแพทย์มหิดลนครสวรรค์
  •  โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล


3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อเพิ่มความรู้ทางด้านการดูแลหญิงหลังคลอดให้แก่บุคลากรที่ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย และประชาชนที่สนใจเข้ารับการอบรม

3.2 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ     และประชาชนที่สนใจจะเพิ่มพูนความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย

3.3 เพื่อเป็นทางเลือกในการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทย


4. กลุ่มเป้าหมาย

 บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและประชาชนที่สนใจ   จำนวน   30  คน

5.  วิธีการดำเนินงาน

5.1 เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ

5.2 เชิญวิทยาการและผู้เข้าอบรม

5.3 จัดทำเอกสารประกอบการอบรม

5.4 ประเมินผลการอบรม

6. ระยะเวลาในการอบรม

ช่วงเดือน มิถุนายน ของทุกปี


7. สถานที่จัดอบรม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล  402/1  หมู่ 5  ต.เขาทอง  อ.พยุหะคีรี  จ.นครสวรรค์  60130


8. รูปแบบการเรียนการสอน

8.1 ภาคความรู้ทฤษฎี

8.2 ภาคฝึกปฏิบัติจริง

9.  การวัดผลและการสำเร็จการฝึกอบรม

9.1  เข้าฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของชั่วโมงการฝึกอบรม

9.2  สอบผ่านทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1  ผู้เข้ารับการอบรม มี คุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ

10.2  ประชาชนที่สนใจมีความรู้และทักษะในการดูแลหญิงหลังคลอดด้านแพทย์แผนไทย

11.  ค่าลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียนอบรม ท่านละ 3,000 บาท ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเบิกค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2552


12.  คุณสมบัติของผู้เรียน

12.1  มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์

12.2  ไม่มีความประพฤติเสียหายอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

 12.3  ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ


13. วิทยากรหรือคณาจารย์ผู้ทำการสอน

13.1วิทยากรภายในหรืออาจารย์ประจำจากมหาวิทยาลัยมหิดลนครสวรรค์

13.2 วิทยากรภายนอกหรืออาจารย์พิเศษจากสถานบริการอื่นๆที่มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์แผนไทย

เว็บไซต์ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์ รวมถึงเครื่องมือในรูปแบบฟอร์มรับข้อมูลที่ใช้บนเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่าง ๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save
*/ //]]>