หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต




หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) โดยจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – ชั้นปีที่ 2
ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และภาคฤดูร้อน ชั้นปีที่ 2 – ชั้นปีที่ 4 ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

1. คุณสมบัติทั่วไป เหมือนเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย

2. คุณสมบัติทางการศึกษา

เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์
มีคะแนนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.75

3. คุณสมบัติเฉพาะ

     3.1 น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 150 เซ็นติเมตร
3.2 ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคทางร่างกายและทางจิตที่จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการศึกษา
3.3 เป็นผู้ที่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 3 ปี ของโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 2 จังหวัดใดจังหวัดหนึ่งใน 5 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ และเป็นผู้ที่ศึกษาในเขตพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดใดจังหวัดหนึ่งใน 5 จังหวัดได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท กำแพงเพชร พิจิตร และนครสวรรค์ หรือบิดา หรือมารดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งในเขตพื้นที่ 10 จังหวัดข้างต้นไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกัน โดยนับย้อนหลังจากวันสมัคร
4.4 ต้องเป็นผู้มีรายชื่อตามที่โรงพยาบาลต้นสังกัดแจ้งการอุดหนุนทุนการศึกษา ผู้ที่ไม่มีรายชื่อจากโรงพยาบาลต้นสังกัดจะถูกตัดสิทธ์ในการสอบสัมภาษณ์ทั้งนี้ ติดต่อขอรับทุนได้ที่โรงพยาบาลในจังหวัดที่ใช้สิทธิ์ในการสมัครเข้าศึกษา โดยติดต่อที่กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล ภายในวันที่ 28 มีนาคม ถึง 4 เมษายน 2561
5.5 ต้องมีเจตคติที่ดี และมีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมแก่ประชากรในท้องถิ่น  สามารถทำสัญญากับมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนได้ ณ โรงพยาบาลที่ได้รับทุน

4. จำนวนรับในรอบที่ 2 : โควตา และรอบที่ 5 : รับตรงอิสระ (หากรอบ 2 ไม่เต็มจำนวน)

โครงการพื้นที่จำนวนรวม  40 คน ดังนี้

ติดต่อขอรับใบสมัครทุนอุดหนุนทุนการศึกษากับโรงพยาบาลต้นสังกัด แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังนี้

1. โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร

2. โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

3. โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท

4. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

5. โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

                กรณี ได้ผู้ผ่านการคัดเลือกไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดในแต่ละโรงพยาบาลต้นสังกัด ขอสงวนสิทธิ์ ในการเกลี่ยจำนวนไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดต่างๆ ให้เต็มจำนวนที่กำหนดโดยดำเนินการดังนี้

1. คัดเลือกจากผู้สอบผ่านข้อเขียนรวมทุกจังหวัด ของกลุ่มที่ยังไม่ได้รับคัดเลือก เรียงตามคะแนนสูงสุด
2. สอบถามความสมัครใจ หากที่ว่างไม่ใช่โรงพยาบาลต้นสังกัดที่สมัคร

5. การรับสมัคร วันที่ 28 มีนาคม ถึง 4 เมษายน 2561

รับสมัครทางออนไลน์ พร้อม Upload เอกสารการสมัครทั้งหมดที่  https://admission.mahidol.ac.th

6. การติดต่อและสอบถามข้อมูล

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ตั้งอยู่เลขที่ 402/1 ม.5 ตำบลเขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

รหัสไปรษณีย์ 60130 โทรศัพท์ 086–4456406  e-mail: partsagkorn.par@mahidol.ac.th

 เว็บไซต์ : www.na.mahidol.ac.th/academic

เว็บไซต์ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์ รวมถึงเครื่องมือในรูปแบบฟอร์มรับข้อมูลที่ใช้บนเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่าง ๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save
*/ //]]>