มหิดลนครสวรรค์ จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน Mindful Campus ครั้งที่ 2/2567
30/04/2024
มหิดลนครสวรรค์ ร่วมต้อนรับและนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในพระองค์ฯ
13/05/2024

มหิดลนครสวรรค์ จัดประชุมวิชาการสาธารณสุขระหว่างสถาบัน ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 The 4th Inter-Institutional Public Health Conference “Innovation and Research Enhanced Driving Well-Being in Society”

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานการประชุมวิชาการสาธารณสุขระหว่างสถาบัน ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 The 4th Inter Institutional Public Health Conference “Innovation and Research Enhanced Driving Well-Being in Society” โดยมีแพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยนายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภิรมย์ น้อยสำแดง
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.จันจิรา มหาบุญ รองคณบดี สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์ รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมนิภาธรรมวงศ์ ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์
การจัดงานครั้งนี้เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ Airlangga University สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ซึ่งในช่วงเช้ารับฟังการบรรยายพิเศษจากนายแพทย์ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ในหัวข้อ “ส่องอนาคต : เทคโนโลยีเพื่อการยกระดับการสาธารณสุข”
จากนั้นรับฟังการบรรยาย จาก ดร.อิสรภาพ มาเรือน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุข อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในหัวข้อ “การสร้างความร่วมมือทางสังคมทางสังคมระหว่างชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง เมี่ยง ลัวะ เพื่อการจัดการขยะอย่างมั่นคง ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน”
ต่อด้วยการนำเสนอผลงานวิจัย ผลการศึกษา ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งได้รับเกียรติจากกรรมการวิพากย์จากสถาบันการศึกษาร่วมการวิพากย์และสรุปผลรางวัล Oral Presentation ได้แก่
– Global health (International Research)
– Public​ Health Innovation
– Community Strengthening
– Good Health and Well-being
– Occupational and Environmental Health
หัวข้อ Oral Presentation ของบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่
– Health Promotion and Prevention (Thai)
– Public​ Health Innovation
– Mental Health
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอ Poster ในหัวข้อ Health Promotion and Prevention และร่วมกิจกรรมออกบูธขององค์กรเอกชนภายในงานอีกด้วย

เว็บไซต์ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์ รวมถึงเครื่องมือในรูปแบบฟอร์มรับข้อมูลที่ใช้บนเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่าง ๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save
*/ //]]>